พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. รุหกชาดก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ส.ค. 2564
หมายเลข  35605
อ่าน  771

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 224

๕. รุหกวรรค

๑. รุหกชาดก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 224

๕. รุหกวรรค

๑. รุหกชาดก

[๒๓๑] ดูก่อนพ่อรุหกะ สายธนูถึงขาดแล้วก็ยังต่อกันได้อีก ท่านจงคืนดีกันเสียกับภรรยาเก่าเถิด อย่าลุอำนาจแก่ความโกรธเลย.

[๒๓๒] เมื่อป่านอ่อนยังมีอยู่ ช่างทำก็ยังมีอยู่ ข้าพระบาทจักกระทำสายอื่นใหม่ พอกันทีสำหรับสายเก่า.

จบ รุหกชาดกที่ ๑

อรรถกถารุหกวรรคที่ ๕

อรรถกถารุหกชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภการเล้าโลมของภรรยาเก่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อมฺโภ รุหกจฺฉินฺนาปิ ดังนี้. เรื่องราวจักมีแจ้งในอินทริยชาดกในอัฏฐกนิบาต.

ก็ในเรื่องนี้พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงคนนี้ทำความพินาศให้แก่เธอ แม้เมื่อก่อนหญิงคนนี้ก็ได้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 225

ทำอาการให้เธออายในท่ามกลางบริษัท พร้อมทั้งพระราชา แล้วออกจากเรือนไป แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงบังเกิดในครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระองค์ ครั้นทรงเจริญวัย เมื่อพระชนกสวรรคตแล้ว ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติ ทรงครองราชย์โดยธรรม. พระองค์มีปุโรหิตคนหนึ่งชื่อ รุหกะ. ภรรยาของรุหกะชื่อ ปุรณีพราหมณี. พระราชาพระราชทานม้าประดับเครื่องอลังการแก่พราหมณ์. เขาขี่ม้าไปทำราชการ. ลำดับนั้น ประชาชนผู้ยืนอยู่ในที่นั้นๆ เห็นเขานั่งบนหลังม้าที่ประดับแล้วผ่านไปมาอยู่ จึงสรรเสริญม้าเท่านั้นว่า แม่เจ้าโวยม้านี้งามอย่างประหลาด. รุหกปุโรหิตมาถึงเรือน ขึ้นเรือนเรียกภรรยามาพูดว่า นี่น้อง ม้าของเรางามเหลือเกิน ประชาชนที่ยืนอยู่ทั้งสองข้าง สรรเสริญแต่ม้าของเราเท่านั้น. ฝ่ายพราหมณีนั้นเป็นหญิง ค่อนข้างจะเป็นชาตินักเลง เหลาะแหละ เพราะฉะนั้นนางจึงตอบเขาอย่างนี้ว่า นายท่านไม่รู้เหตุที่ทำให้ม้างาม ม้าตัวนี้งามเพราะอาศัยเครื่องม้าที่ประดับไว้ที่ตัว. หากท่านประสงค์จะงามเหมือนม้า จงประดับเครื่องม้าแล้วขึ้นไประหว่างถนน แล้วซอยเท้าเหมือนม้า ไปเฝ้าพระราชา. แม้พระราชาก็จักยกย่องท่าน แม้พวกมนุษย์ก็จักสรรเสริญท่านเท่านั้น. รุหกปุโรหิตเป็นพราหมณ์ค่อนข้างบ้าๆ บอๆ ฟังคำของพราหมณี ก็ไม่รู้ว่านางพูดกะเราเพราะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 226

เหตุนี้ มุ่งแต่จะงามจึงได้ทำตามนั้น. พวกมนุษย์ที่เห็นต่างพากันพูดเย้ยหยันว่า อาจารย์งาม. ส่วนพระราชารับสั่งกะเขาเป็นต้นว่า อาจารย์จิตใจไม่ปกติไปแล้วหรือ เป็นบ้าไปแล้วหรือ แล้วทรงทำให้ปุโรหิตละอาย.

ในกาลนั้น พราหมณ์ละอายว่า เราทำสิ่งอันไม่สมควรเสียแล้ว จึงเกรี้ยวกราดนางพราหมณีว่า เราถูกนางทำให้ได้อายในระหว่างเสนากับพระราชานั้น เราจักโบยตีนางแล้วขับไล่นางไปเสีย แล้วกลับไปเรือน นางพราหมณีนักเลงรู้ว่า สามีโกรธกลับมา จึงออกไปทางประตูเล็กก่อนแล้วไปพระราชวัง พักอยู่ในพระราชวังสี่ห้าวัน. พระราชาทรงทราบเหตุนั้น จึงรับสั่งให้เรียกปุโรหิตมาตรัสว่า อาจารย์ ธรรมดาสตรีย่อมมีความผิดได้เหมือนกัน ควรยกโทษให้นางเสียเถิด เพื่อให้ปุโรหิต ยกโทษ จึงตรัสคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนรุหกะ สายธนูถึงขาดแล้วก็ยังต่อกันได้อีก ท่านจงคืนดีเสียกับภรรยาเก่าเถิด อย่าลุอำนาจความโกรธเลย.

ความย่อในคาถานั้นมีดังนี้

รุหกะผู้เจริญ สายธนูแม้ขาดแล้ว ก็ยังยังคือทำให้ติดกันได้มิใช่หรือ ท่านก็เหมือนกันควรสมัครสมานกับภรรยาเก่าเสียเถิด อย่าลุอำนาจความโกรธเลย.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 227

รุหกะได้สดับพระราชาดำรัสดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า

เมื่อป่านอ่อนยังมีอยู่ ช่างทำก็ยังมีอยู่ ข้าพระบาทจักกระทำสายอื่นใหม่ พอกันทีสำหรับสายเก่า.

ใจความแห่งคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราช เมื่อป่านอ่อนยังมีและเมื่อช่างทำยังมี ข้าพระองค์จักทำสายอื่น ไม่ต้องการสายเก่าที่ขาดแล้วนี้ ไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับข้าพระองค์.

ก็และครั้นปุโรหิตกราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงไล่นางพราหมณีออกไป นำนางพราหมณีอื่นมา.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม แล้วทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุกระสันตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. นางปุราณีในครั้งนั้น ได้เป็นภรรยาเก่าในครั้งนี้ รุหกะได้เป็นภิกษุกระสัน ส่วนพระราชาพาราณสี คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถารุหกชาดกที่ ๑