พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. มิตตามิตตชาดก อาการของผู้เป็นมิตรและมิใช่มิตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ส.ค. 2564
หมายเลข  35611
อ่าน  459

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 258

๗. มิตตามิตตชาดก

อาการของผู้เป็นมิตรและมิใช่มิตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 258

๗. มิตตามิตตชาดก

อาการของผู้เป็นมิตรและมิใช่มิตร

[๒๔๓] ศัตรูเห็นเข้าแล้วไม่ยิ้มแย้ม ไม่แสดงความยินดีตอบ สบตากันแล้วเบือนหน้าหนีไม่แลดู ประพฤติตรงกันข้ามเสมอ.

[๒๔๔] อาการเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในศัตรู เป็นเครื่องให้บัณฑิตเห็นและได้ฟังแล้ว พึงรู้ได้ว่าเป็นศัตรู.

จบ มิตตามิตตชาดกที่ ๗

อรรถกถามิตตามิตตชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น นํ อุมฺหยเต ทิสฺวา ดังนี้.

ภิกษุรูปหนึ่งถือเอาเศษผ้าผืนหนึ่งด้วยความวิสาสะที่พระอุปัชฌายะวางไว้ ด้วยคิดว่า เมื่อเราถือเอาแล้ว พระอุปัชฌายะของเราจะไม่โกรธ แล้วทำเป็นถุงใส่รองเท้า ภายหลังจึงบอกพระอุปัชฌายะ. ครั้นพระอุปัชฌายะถามภิกษุนั้นว่า เพราะเหตุใดท่านจึงถือเอา เมื่อภิกษุนั้นตอบว่า ถือเอาโดยวิสาสะของ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 259

พระคุณท่านด้วยคิดว่า เมื่อเราถือเอาแล้ว พระอุปัชฌายะจักไม่โกรธขอรับ พระอุปัชฌายะจึงกล่าวว่า ชื่อว่าวิสาสะของคุณกับของผมเป็นอย่างไร แล้วโกรธลุกขึ้นตบ. การกระทำของพระอุปัชฌายะนั้นได้ปรากฏในพวกภิกษุ.

อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินมาว่า ภิกษุหนุ่มรูปโน้น ได้ถือเอาเศษผ้าของพระอุปัชฌายะโดยวิสาสะ แล้วทำเป็นถุงใส่รองเท้า ครั้นพระอุปัชฌายะถามว่า ชื่อว่าวิสาสะของคุณกับของผมเป็นอย่างไร แล้วโกรธลุกขึ้นตบ. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่มีวิสาสะกับสัทธิวิหาริกของตน มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ไม่มีวิสาสะเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ แคว้นกาสี ครั้นเจริญวัยออกบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดเป็นครูประจําคณะอาศัยอยู่ ณ หิมวันตประเทศ. ในหมู่ฤๅษีนั้นมีดาบสรูปหนึ่งไม่เชื่อคำพระโพธิสัตว์ เลี้ยงลูกช้างกำพร้าไว้เชือกหนึ่ง. ครั้นลูกช้างเติบใหญ่ขึ้นได้ฆ่าดาบสนั้นเสีย แล้วหนีเข้าป่าไป. หมู่ฤๅษีครั้นทำการฌาปนกิจศพดาบสนั้นเสร็จแล้ว จึงเข้าไปล้อมถามพระโพธิสัตว์ว่า พระคุณเจ้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 260

ขอรับ ความเป็นมิตรหรือความเป็นศัตรู จะสามารถรู้ได้ด้วยเหตุอะไร. พระโพธิสัตว์เมื่อจะบอกว่าด้วยเหตุนี้ๆ จึงได้กล่าว คาถาเหล่านี้ว่า :-

ศัตรูเห็นเข้าแล้ว ไม่ยิ้มแย้ม ไม่แสดงความยินดีตอบ สบตากันแล้วเบือนหน้าหนี ไม่แลดู ประพฤติตรงกันข้ามเสมอ. อาการเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในศัตรู เป็นเครื่องให้บัณฑิตเห็น และได้ฟังแล้วพึงรู้ได้ว่าศัตรู.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น นํ อุมฺหยเต ทิสฺวา ความว่า ก็ผู้ได้เป็นศัตรูของคนใด ผู้นั้นเห็นคนนั้นแล้ว ย่อมไม่ยิ้มแย้ม คือ ไม่หัวเราะ ไม่แสดงอาการร่าเริง. บทว่า น จ นํ ปฏินนฺทติ ได้แก่ แม้ได้ยินคำของเขา ย่อมไม่ชื่นชมบุคคลนั้น คือไม่พลอยยินดีว่า คำพูดของผู้นั้นดี เป็นสุภาษิต. บทว่า จกฺขูนิ จสฺส น ททนฺติ ได้แก่ ตาต่อตา จ้องกันแล้วหลบหน้าเสียไม่มองดู คือ เมินตาไปทางอื่นเสีย. บทว่า ปฏิโลมญฺจ วตฺตติ. ได้แก่ ไม่ชอบใจการกระทำทางกาย ทางวาจาของเขา คือถือตรงกันข้าม แสดงกิริยาเป็นข้าศึก. บทว่า อาการา ได้แก่เหตุ. บทว่า เยหิ อมิตฺตํ ความว่า เหตุที่บุคคลผู้เป็นบัณฑิตเห็นและได้ยินแล้ว พึงรู้ได้ว่า ผู้นี้เป็นศัตรูของเรา. ส่วนความเป็นมิตรพึงรู้ได้จากอาการตรงกันข้ามกับศัตรูนั้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 261

พระโพธิสัตว์ครั้นบอกเหตุแห่งความเป็นมิตรและเป็นศัตรูกันอย่างนี้แล้ว จึงเจริญพรหมวิหาร เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก. ดาบสผู้เลี้ยงช้างในครั้งนั้น ได้เป็นสัทธิวิหาริกในครั้งนี้ ช้างได้เป็นพระอุปัชฌายะ หมู่บริษัทได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนครูประจำคณะ คือ เราตถาคต.

จบ อรรถกถามิตตามิตตชาดกที่ ๗