พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ราธชาดก เรื่องจริงเก่าไม่ดีไม่ควรพูด

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ส.ค. 2564
หมายเลข  35612
อ่าน  612

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 262

๘. ราธชาดก

เรื่องจริงเก่าไม่ดีไม่ควรพูด


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 262

๘. ราธชาดก

เรื่องจริงเก่าไม่ดีไม่ควรพูด

[๒๔๕] ลูกรัก พ่อกลับมาจากที่ค้างแรม กลับมาเดี๋ยวนี้เอง ไม่นานเท่าไรนัก แม่ของเจ้าไม่ไปคบหาบุรุษอื่นดอกหรือ.

[๒๔๖] ธรรมดาบัณฑิตไม่พูดวาจาที่ประกอบด้วยความจริง แต่ไม่ดี ขืนพูดไปจะต้องนอนอยู่ดุจนกแขกเต้าชื่อว่า โปฏฐปาทะ ถูกเผานอนจมอยู่ในเตาไฟ ฉะนั้น.

จบ ราธชาดกที่ ๘

อรรถกถาราธชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปวาสา อาคโต ตาต ดังนี้.

ได้ยินว่า พระศาสตาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสันจริงหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัสถามว่า เพราะเหตุไรเธอจึงกระสัน กราบทูลว่า ข้าพระองค์เห็นหญิงงดงามคนหนึ่ง จึงกระสันเพราะอำนาจกิเลส

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 263

พระพุทธเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรมดามาตุคามใครๆ ก็ไม่อาจรักษาไว้ได้ แม้เมื่อก่อน เขาวางยามประตูรักษาไว้ ยังไม่อาจรักษาไว้ได้ เธอจะต้องการมาตุคามไปทำอะไร แม้ได้แล้ว ก็ไม่อาจรักษาไว้ได้ แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดนกแขกเต้า. ชื่อว่า ราธะ. นกแขกเต้านั้นมีน้องชื่อโปฏฐปาทะ. พรานคนหนึ่งจับนกแขกเต้าสองพี่น้องในขณะยังอ่อนอยู่ไปให้แก่พราหมณ์คนหนึ่งในกรุงพาราณสี. พราหมณ์เลี้ยงดูนกแขกเต้าไว้ในฐานะบุตร. แต่นางพราหมณีของพราหมณ์เป็นหญิงไม่รักษาเนื้อรักษาตัว เป็นคนทุศีล. เมื่อพราหมณ์จะไปทำการค้าจึงเรียกลูกนกแขกเต้านั้นมาสั่งว่า แน่ะลูกพ่อ พ่อจะไปทำการค้า เจ้าทั้งสองคอยดูการกระทำของแม่เจ้าทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน พึงสืบดูว่า มีชายอื่นไปมาหรือไม่ ครั้นมอบหมายนางพราหมณีกับลูกนกแขกเต้าแล้วก็ไป. นางพราหมณีตั้งแต่พราหมณ์ออกไปแล้ว ก็ประพฤติอนาจาร. คนที่มาๆ ไปๆ ทั้งกลางคืนกลางวัน ช่างมากมายเหลือเกิน นกโปฏฐปาทะเห็นดังนั้น จึงถามนกราธะว่า พราหมณ์ได้มอบพราหมณีนี้แก่เราไว้แล้วจึงไป และนางพราหมณี นี้ก็ทำการน่าอดสู เราจะว่าแกดีหรือ. นกราธะตอบว่า อย่าว่าแกเลยน้อง. นกโปฏฐปาทะ ไม่เชื่อฟังคำของนกราธะ จึงไปต่อว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 264

นางพราหมณีว่า แม่ เพราะอะไร แม่จึงทำการน่าอดสูอย่างนี้. นางพราหมณีอยากจะฆ่านกโปฏฐปาทะนักทำเป็นรัก เรียกมาพูด ว่า นี่ลูกเจ้าก็เป็นลูกของแม่ ตั้งแต่นี้ไปแม่จักไม่ทำอีก มานี่ก่อนซิลูก พอนกโปฏฐปาทะมาก็ตะคอกว่า เจ้าพูดกะเรา เจ้าไม่รู้ประมาณตน แล้วบิดคอเสียจนตายโยนลงไปในเตา. พราหมณ์ มาถึงพักผ่อนแล้วเมื่อจะถามพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะพ่อราธะ แม่ของเจ้าทำอนาจารหรือเปล่า จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ลูกรัก พ่อกลับมาจากที่ค้างแรม กลับมาเดี๋ยวนี้เอง ไม่นานเท่าไรนัก แม่ของเจ้าไม่ไปคบหาบุรุษอื่นดอกหรือ.

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า แน่ะพ่อราธะ พ่อกลับมาจากที่ค้างแรม พ่อเพิ่งมาเดี๋ยวนี้เอง มาไม่นานนัก ด้วยเหตุนั้น พ่อไม่รู้เรื่องราวจะขอถามเจ้า ดูก่อนลูก แม่ของเจ้าไม่คบหาชายอื่นดอกหรือ

นกราธะตอบว่า ข้าแต่พ่อธรรมดาบัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่กล่าวคำจริงหรือไม่จริงที่ไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้ เมื่อจะแจ้งให้ทราบ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ธรรมดาบัณฑิตไม่พูดวาจาที่ประกอบด้วยความจริง แต่ไม่ดี ขืนพูดไปจะต้องนอนอยู่ดุจนกแขกเต้าโปฏฐปาทะถูกเผานอนจมอยู่ในเตาไฟฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 265

ในบทเหล่านั้น บทว่า คิรํ คือ คำพูด. จริงอยู่ คำพูดท่านเรียกว่า คิระ เหมือนดังวาจาที่เปล่งออกในเวลานี้. ลูกนกแขกเต้านั้นมิได้คำนึงถึงเพศ จึงกล่าวอย่างนั้น. อธิบายความในคาถานี้ ดังนี้. ข้าแต่พ่อ ธรรมดาบัณฑิตจะไม่กล่าวแม้คำที่ประกอบด้วยสัจจะคือ มีสภาพที่เป็นจริงและประกอบด้วยประโยชน์ แต่ไม่ทำให้พ้นทุกข์และความจริงที่ไม่ดี คือ ไม่ทำให้พ้นทุกข์. บทว่า สเยถ โปฏฺฐปาโทว มุมฺมเร อุปกูสิโต ความว่า เหมือนนก โปฏฐปาทะ นอนไหม้อยู่ในเถ้ารึง ฉะนั้น. บาลีว่า อุปกุฏฺฐิโต ก็มี ความอย่างเดียวกัน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม ประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสันตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. นกแขกเต้าโปฏฐปาทะในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ แต่นกแขกเต้าราธะ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาราธชาดกที่ ๘