๓. ขันธปริตตชาดก ว่าด้วยพระปริตป้องกันสัตว์ร้ายต่างๆ
[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 286
๓. ขันธปริตตชาดก
ว่าด้วยพระปริตป้องกันสัตว์ร้ายต่างๆ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 286
๓. ขันธปริตตชาดก
ว่าด้วยพระปริตป้องกันสัตว์ร้ายต่างๆ
[๒๕๕] ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางู ชื่อว่า วิรูปักขะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า เอราปถะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่าฉัพยาปุตตะและ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า กัณหาโคตมกะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ที่ไม่มีเท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ที่มี ๒ เท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ที่มี ๔ เท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ที่มีเท้ามาก ขอสัตว์ที่ไม่มีเท้า สัตว์ที่มี ๒ เท้า สัตว์ที่มี ๔ เท้า สัตว์ที่มีเท้ามาก อย่าได้เบียดเบียนเราเลย ขอสัตว์ผู้ข้องอยู่ สัตว์ผู้มีลมปราณ สัตว์ผู้เกิดแล้วหมดทั้งสิ้นด้วยกัน จงประสบพบแต่ความเจริญทั่วกัน ความทุกข์อันชั่วช้าอย่าได้มาถึงสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งเลย.
[๒๕๖] พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีพระคุณหาประมาณมิได้ บรรดาสัตว์เลื้อยคลาน คือ งู
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 287
แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก และหนู เป็นสัตว์ประมาณได้ เราได้ทำการรักษาตัวแล้วป้องกันตัวแล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายจงพากันหลีกไป ข้าพเจ้านั่นขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์.
จบ ขันธปริตตชาดกที่ ๓
อรรถกถาขันธปริตตชาดกที่ ๓
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า วิรูปกฺเขหิ เม เมตฺตํ ดังนี้.
ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นกำลังผ่าฟืนอยู่ที่ประตูเรือนไฟ งู ตัวหนึ่งเลื้อยออกจากระหว่างไม้ผุได้กัดเข้าที่นิ้วเท้า. ภิกษุนั้นมรณภาพในที่นั้นทันที. เรื่องที่ภิกษุนั้นมรณภาพได้ปรากฏไปทั่ววัด. ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า ได้ยินว่า ภิกษุรูปโน้นกำลังผ่าฟืนอยู่ที่ประตูเรือนไฟ ถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพ ณ ที่นั้นเอง. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุรูปนั้นจักได้เจริญเมตตาแผ่ถึงตระกูลพญางูทั้งสี่แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 288
งูก็จะไม่กัดภิกษุนั้น. แม้ดาบสทั้งหลายซึ่งเป็นบัณฑิตแต่ปางก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติ ก็ได้เจริญเมตตาในตระกูลพญางู ทั้ง ๔ ปลอดภัยอันจะเกิดเพราะอาศัยตระกูลพญางูเหล่านั้น แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ แคว้นกาสี ครั้นเจริญวัย สละกามสุข ออกบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด สร้างอาศรมบทอยู่ที่คุ้งแม่น้ำแห่งหนึ่งในหิมวันตประเทศ เพลิดเพลินในฌาน เป็นครูประจำคณะ มีหมู่ฤๅษีแวดล้อมอยู่อย่างสงบ.
ครั้งนั้นที่ฝั่งคงคา มีงูนานาชนิดทำอันตรายแก่พวกฤาษี. พวกฤๅษีโดยมากได้ถึงแก่กรรม. ดาบสทั้งหลายจึงบอกเรื่องนั้นแก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เรียกประชุมดาบสทั้งหมด แล้วกล่าวว่า หากพวกท่านเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ งูทั้งหลายก็จะไม่กัดพวกเธอ เพราะฉะนั้นตั้งแต่นี้ไป พวกเธอจงเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ แล้วจึงตรัสคาถานี้ว่า :-
ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า วิรูปักขะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า เอราปถะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า ฉัพยาปุตตะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า กัณหาโคตมกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 289
พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงตระกูลพญางูทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว จึงกล่าวว่า หากพวกท่านจักสามารถเจริญเมตตาในตระกูลพญางู ทั้ง ๔ นั้น งูทั้งหลายก็จักไม่กัดไม่เบียดเบียนพวกท่าน. แล้ว กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ขอไมตรีจิตของเรา จงมีกับสัตว์ที่ไม่มี เท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์สองเท้า ขอ ไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์สี่เท้า ขอไมตรีจิต ของเราจงมีกับสัตว์มีเท้ามาก.
พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงเมตตาภาวนาโดยสรุปอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะแสดงด้วยการขอร้องจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
ขอสัตว์ที่ไม่มีเท้า สัตว์ที่มี ๒ เท้า สัตว์ที่มี ๔ เท้า สัตว์ที่มีเท้ามาก อย่าได้เบียดเบียนเราเลย.
บัดนี้เมื่อจะแสดงการเจริญเมตตาโดยไม่เจาะจง จึงกล่าว คาถานี้ว่า :-
ขอสัตว์ผู้ข้องอยู่ สัตว์ผู้มีลมปราณ สัตว์ ผู้เกิดแล้วหมดทั้งสิ้นด้วยกัน จงประสบพบแต่ ความเจริญทั่วกัน ความทุกข์อันชั่วช้า อย่าได้ มาถึงสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งเลย.
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พวกท่านจงเจริญเมตตาไม่เฉพาะ เจาะจงในสรรพสัตว์อย่างนี้ เพื่อให้ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย อีก จึงกล่าวว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 290
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีพระคุณหาประมาณมิได้ บรรดาสัตว์เลื้อยคลาน คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก และหนู เป็นสัตว์ประมาณได้.
พระโพธิสัตว์แสดงว่า เพราะธรรมทั้งหลายอันทำประมาณ มีราคะภายในของสัตว์เหล่านั้นยังมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์เลื้อยคลานเหล่านั้น จึงชื่อว่ามีประมาณ แล้วกล่าวว่าท่านทั้งหลายจงระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยอย่างนี้ว่า ด้วยอานุภาพของพระรัตนตรัยอันหาประมาณมิได้ ขอสัตว์ทั้งหลายอันมีประมาณเหล่านี้ จงทำการปกป้องรักษาพวกเราทั้งกลางคืนกลางวันเถิด เพื่อแสดงกรรมที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
เราได้ทำการรักษาตัวแล้ว ป้องกันตัวแล้ว ขอสัตว์ทั้งหลาย จงพากันหลีกไป ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์.
พระโพธิสัตว์ผูกพระปริตรนี้ให้แก่คณะฤๅษี. ก็พระปริตรนี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้ในชาดกนี้ด้วยคาถาทั้งหลายตอนต้น เพราะแสดงเมตตาในตระกูลพญานาคทั้งสี่ หรือเพราะแสดง เมตตาภาวนาทั้งสอง คือ โดยเจาะจงและไม่เจาะจง ควรค้นคว้า หาเหตุอื่นต่อไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 291
ตั้งแต่นั้นคณะฤๅษีตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ เจริญเมตตารำลึกถึงพระพุทธคุณ. เมื่อฤาษีรำลึกถึงพระพุทธคุณอยู่อย่างนี้ บรรดางูทั้งหลายทั้งหมดต่างก็หลีกไป แม้พระโพธิสัตว์ ก็เจริญพรหมวิหาร มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก. คณะฤๅษีในครั้งนั้นได้เป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้. ส่วนครูประจำคณะ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาขันธปริตตชาดกที่ ๓