พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ปุณณนทีชาดก ว่าด้วยการไม่ระลึกถึง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ส.ค. 2564
หมายเลข  35629
อ่าน  411

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 338

๔. ปุณณนทีชาดก

ว่าด้วยการไม่ระลึกถึง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 338

๔. ปุณณนทีชาดก

ว่าด้วยการไม่ระลึกถึง

[๒๗๗] ชนทั้งหลายพูดถึงแม่น้ำที่เต็มแล้วว่า กาดื่มกินได้ก็ดี พูดถึงข้าวกล้าที่เกิดแล้วว่า กาซ่อนอยู่ได้ก็ดี พูดถึงบุคคลที่รักกันไปสู่ที่ไกลว่า จะกลับมาถึงเพราะกาบอกข่าวก็ดี กานั้นเรานำมาให้ท่านแล้ว ขอเชิญบริโภคเนื้อกานั้นเถิด ท่านพราหมณ์.

[๒๗๘] คราวใด พระราชาทรงระลึกถึงเรา เพื่อจะส่งเนื้อกาให้เรา คราวนั้น เนื้อหงส์ก็ดี เนื้อนกกะเรียนก็ดี เนื้อนกยูงก็ดี เป็นของที่เรานำไปถวายแล้ว การไม่ระลึกถึงเสียเลยเป็นความเลวทราม.

จบ ปุณณนทีชาดกที่ ๔

อรรถกถาปุณณนทีชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระปัญญาบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น ว่า ปุณฺณํ นทึ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 339

ความย่อมีว่าในวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากัน ปรารภพระปัญญาของพระตถาคต ในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระปัญญามาก มีพระปัญญาลึกซึ้ง มีพระปัญญาแจ่มใส มีพระปัญญาว่องไว มีพระปัญญาแหลม มีพระปัญญาชำแรกกิเลส ทรงประกอบด้วยพระปัญญาเฉลียวฉลาด. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนตถาคตก็มีปัญญาฉลาดในอุบายเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลปุโรหิต ครั้นเจริญวัย เรียนศิลปะสำเร็จทุกอย่าง ในเมืองตักกสิลา เมื่อบิดาล่วงลับไปแล้ว ได้ตำแหน่งปุโรหิต เป็นผู้สอนอรรถและธรรมของพระเจ้าพาราณสี. ครั้นต่อมา พระราชาทรงเชื่อคำของผู้ยุแหย่ทรงพิโรธขับพระโพธิสัตว์ออกจากกรุงพาราณสี ด้วยพระดำรัสว่า เจ้าอย่าอยู่ในราชสำนักของเราเลย. พระโพธิสัตว์พาบุตรภรรยาไปอาศัยอยู่ ณ หมู่บ้านแคว้นกาสีแห่งหนึ่ง. ต่อมา พระราชาทรงระลึกถึงคุณของพระโพธิสัตว์ ทรงดำริว่า การที่เราจะส่งใครๆ ไปเรียกอาจารย์ไม่สมควร แต่เราจะผูกคาถาหนึ่งคาถา เขียนหนังสือ ให้ต้มเนื้อกา แล้วห่อหนังสือและเนื้อด้วย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 340

ผ้าขาวประทับตราส่งไปให้ ผิว่า ปุโรหิตเป็นคนฉลาด อ่านหนังสือแล้วรู้ว่าเนื้อกาก็จักกลับมา ถ้าไม่รู้ก็จักไม่มา. ทรงเขียนคาถานี้เริ่มต้นว่า ปุณฺณํ นทึ ลงในใบลานว่า :-

ชนทั้งหลายพูดถึงแม่น้ำที่เต็มแล้วว่า การดื่มกินได้ก็ดี พูดถึงข้าวกล้าที่เกิดแล้วว่า กาซ่อนอยู่ได้ก็ดี พูดถึงคนที่รักกันไปสู่ที่ไกลว่า จะกลับมาถึงเพราะกาบอกข่าวก็ดี กานั้นเรานำมาให้ท่านแล้ว ขอเชิญบริโภคเนื้อกานั้นเถิด ท่านพราหมณ์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุณฺณํ นทึ เยน จ เปยฺยมาหุ ความว่า ชนทั้งหลายกล่าวว่าแม่น้ำที่กาดื่มได้ ได้กล่าวถึงแม่น้ำที่เต็มแล้วกาดื่มได้ เพราะแม่น้ำที่ไม่เต็มไม่เรียกว่า กาดื่มได้. เมื่อใด กายืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสามารถยืดคอลงไปดื่มได้ เมื่อนั้น ท่าน กล่าวแม่น้ำนั้นว่า กาดื่มได้. คำว่า ยวํ ในบทว่า ชาตํ ยวํ เยว จ คุยฺหมาหุ เป็นเพียงเทศนา แต่ในที่นี้หมายเอาข้าวกล้าอ่อน ที่เกิดงอกงามสมบูรณ์ทุกชนิด. ด้วยว่า ข้าวกล้านั้นเมื่อใดสามารถปกปิดกาที่เข้าไปภายในได้ เมื่อนั้นชื่อว่า กาซ่อนอยู่ได้. บทว่า ทูรํ คตํ เยน จ อวุหยํ ความว่า บุคคลเป็นที่รักจากไปไกลนานๆ ย่อมพูดถึงกัน เพราะได้เห็นกามาจับหรือได้ยินเสียงกาส่งข่าวว่า กากา พูดกันอย่างนี้ว่า บุคคลชื่อนี้คงจักมา เพราะกาส่งข่าว. บทว่า โส ตฺยาภโต ความว่า เนื้อนั้นเรานำมาให้ท่านแล้ว. บทว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 341

หนฺท จ ภุญฺช พฺราหฺมณ ความว่า เชิญท่านพราหมณ์รับไปบริโภคเถิด คือ บริโภคเนื้อกานี้. พระราชาทรงเขียนคาถานี้ลงในใบลานแล้ว ทรงส่งไป ให้พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์อ่านหนังสือแล้ว ก็ทราบว่า พระราชาทรงต้องการพบเรา จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

คราวใดพระราชาทรงระลึกถึงเรา เพื่อจะส่งเนื้อกาให้เรา คราวนั้นเนื้อหงส์ก็ดี เนื้อนก กะเรียนก็ดี เนื้อนกยูงก็ดี เป็นของที่เรานำไป ถวายแล้ว การไม่ระลึกถึงเสียเลย เป็นความเลวทราม.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยโต มํ สรตี ราชา วายสมฺปิ ปหาตเว ความว่า คราวใดพระราชาทรงได้เนื้อกามาย่อมระลึกถึงเรา เพื่อจะส่งเนื้อกานั้นมาให้. บทว่า หํสา โกญฺจา มยุรา จ ความว่า แต่คราวใด เขานำเนื้อหงส์เป็นต้นมาถวาย พระองค์ได้เนื้อหงส์ เป็นต้นเหล่านั้น คราวนั้นไฉนพระองค์จึงไม่ระลึกถึงเรา. บทว่า อสติเยว ปาปิยา ความว่าการได้เนื้ออะไรก็ตาม แล้วระลึกถึงเป็นความดี แต่ไม่ระลึกถึงเสียเลย เป็นความลามกในโลก เหตุแห่งการไม่ระลึกถึงเสียเลยเป็นความเลวทราม แต่เหตุนั้นมิได้มีแต่พระราชาของเรา พระราชายังทรงระลึกถึงเรา ทรงหวังการกลับของเรา เพราะฉะนั้นเราจะไป.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 342

พระโพธิสัตว์ได้เทียมยานไปเฝ้าพระราชา พระราชา พอพระทัย แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตตามเดิม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม ชาดก. พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนปุโรหิต คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาปุณณนทีชาดกที่ ๔