๖. มัจฉชาดก ไฟราคะร้อนกว่าไฟอย่างอื่น
[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 348
๖. มัจฉชาดก
ไฟราคะร้อนกว่าไฟอย่างอื่น
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 348
๖. มัจฉชาดก
ไฟราคะร้อนกว่าไฟอย่างอื่น
[๒๘๑] ไฟนี้ก็ไม่เผาเราให้เร่าร้อน แม้หลาวที่นายพรานแหเสี้ยมเป็นอย่างดีแล้ว ก็ไม่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่เรา แต่การที่นางปลาเข้าใจว่า เราไปหานางปลาตัวอื่นด้วยความยินดี อันนี้แหละ จะเผาเราให้เร่าร้อน.
[๒๘๒] ไฟคือราคะนั้นแลย่อมเผาเราให้เร่าร้อน อนึ่ง จิตของเราเองย่อมเผาเราให้เร่าร้อน พรานแหทั้งหลาย ขอได้ปล่อยเราเถิด สัตว์ผู้ตกยากอยู่ในกาม ท่านไม่ควรฆ่าโดยแท้.
จบ มัจฉชาดกที่ ๖
อรรถกถามัจฉชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภการเล้าโลมของภรรยาเก่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น มายมคฺคิ ตปติ ดังนี้.
เรื่องย่อมีว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอกระสันจริงหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 349
ตรัสถามว่า ใครทำให้เธอกระสัน กราบทูลว่า ภรรยาเก่าพระเจ้าข้า. ลําดับนั้นพระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงนี้ทำความเสื่อมเสียให้แก่เธอ แม้เมื่อก่อนเธออาศัยหญิงนี้ ถึงกับถูกเสียบด้วยหลาวย่างในถ่านเพลิง ถูกกินเนื้อ ได้อาศัยบัณฑิตจึงรอดชีวิตมาได้ แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระราชา. อยู่มาวันหนึ่งชาวประมงยกปลาที่ติดตาข่ายตัวหนึ่ง วางไว้หลังหาดทรายอันร้อน เสี้ยมหลาวด้วยคิดว่าจะปิ้งปลานั้นที่ถ่านเพลิง แล้วเคี้ยวกิน. ปลาร้องรำพันถึงนางปลา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
ไฟนี้ก็ไม่เผาเราให้เร่าร้อน แม้หลาวที่พรานแหเสี้ยมเป็นอย่างดีแล้ว ก็ไม่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่เรา แต่การที่นางปลาเข้าใจว่า เราไปหานางปลาตัวอื่นด้วยความยินดี อันนี้จะเผาเราให้เร่าร้อน. ไฟคือราคะนั้นแล ย่อมเผาเราให้เร่าร้อน พรานแหทั้งหลาย ขอได้ปล่อยเราเถิด สัตว์ผู้ตกยากอยู่ในกาม ท่านไม่ควรฆ่า.
ในบทเหล่านั้น บทว่า น มายมคฺคิ ความว่า ไฟนี้ย่อมไม่เผาเรา คือไม่ทำให้เราเร่าร้อน ไม่ทำให้เราเศร้าโศก. บทว่า น สูโล คือ แม้หลาวนี้พรานแหเสี้ยมไว้อย่างดีก็ไม่เผาเรา คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 350
ไม่ยังความโศกให้เกิดแก่เรา. บทว่า ยญฺจ มํ มญฺเต มจฺฉี ความว่า แต่นางปลาเข้าใจเราอย่างนี้ว่า เราไปหานางปลาอื่น ด้วยความยินดีในกามคุณห้า นั่นแหละทำให้เราเร่าร้อน ทำให้เราเศร้าโศก เผาเรา. บทว่า โส มํ ทหติ ความว่า ไฟคือราคะนั้น ย่อมเผาเรา. บทว่า จิตฺตญฺจูปตเปติ มํ ความว่า จิตของเรา ประกอบด้วยราคะ ทำให้เราเร่าร้อน ลำบาก. บทว่า ชาลิโน เรียกชาวประมง. ด้วยว่าชาวประมงเหล่านั้น ท่านเรียกว่า ชาลิโน เพราะมีตาข่าย. บทว่า มุญฺจถยิรา ได้แก่ ปลาอ้อนวอนว่า ข้าแต่นาย โปรดปล่อยข้าพเจ้าเถิด. บทว่า น กาเม หญฺเต กฺวจิ ความว่า สัตว์ที่ตั้งอยู่ในกาม ถูกกามชักนำไป ไม่ควรฆ่า โดยแท้. ปลารำพันว่า คนเช่นท่านไม่ควรฆ่าปลานั้นเลย. อนึ่ง ปลาผู้ติดตามหานางปลา เพราะเหตุกาม คนเช่นท่านควรฆ่า โดยแท้.
ในขณะนั้นพระโพธิสัตว์ไปถึงฝั่ง ได้ยินปลานี้รำพัน จึงเข้าไปหาชาวประมงให้ปล่อยปลานั้นไป.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุกระสัน ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล นางปลาในครั้งนั้น ได้เป็นภรรยาเก่าในครั้งนี้ ภิกษุกระสันได้เป็นปลา ส่วนปุโรหิต คือ เราตถาคต นี้แล.
จบ อรรถกถามัจฉชาดกที่ ๖