พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ขันติวรรณนชาดก ต้องอดใจในคนที่หาคุณธรรมยาก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ส.ค. 2564
หมายเลข  35643
อ่าน  501

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 403

๕. ขันติวรรณนชาดก

ต้องอดใจในคนที่หาคุณธรรมยาก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 403

๕. ขันติวรรณนชาดก

ต้องอดใจในคนที่หาคุณธรรมยาก

[๒๙๙] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระบาทมีบุรุษผู้ขวนขวายในกิจทุกอย่างอยู่คนหนึ่ง แต่เขามีความผิดอยู่ข้อหนึ่ง พระองค์จะทรงโปรดดำริในความผิดของเขานั้นเป็นประการใด พระเจ้าข้า.

[๓๐๐] บุรุษเช่นนี้ของเราก็มีอยู่ในที่นี้ แต่บุรุษผู้ประกอบด้วยองค์คุณหาได้ยาก เราจึงสู้อดใจเสีย.

จบ ขันติวรรณนชาดกที่ ๕

อรรถกถาขันติวรรณนชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อตฺถิ เม ปุริโส เทว ดังนี้.

ได้ยินว่า อำมาตย์ของพระเจ้าโกศลผู้หนึ่ง ผู้มีอุปการะมาก ได้ลอบเป็นชู้กับนางสนม. พระราชาแม้ทรงทราบก็ทรง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 404

อดกลั้นนิ่งไว้ด้วยคิดว่า เป็นผู้มีอุปการะแก่เรา ได้กราบทูลพระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร แม้พระราชาในกาลก่อนก็ทรงอดกลั้นอย่างนี้เหมือนกัน พระเจ้าโกศลทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี อำมาตย์ผู้หนึ่งได้ลอบเป็นชู้กับนางสนมของพระองค์. แม้คนใช้ของอำมาตย์ก็ลอบเป็นชู้ในครอบครัวของเขา. เขาไม่อาจอดกลั้นความผิดของคนใช้ได้ จึงพาตัวไปเฝ้าพระราชา เพื่อจะถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ คนใช้ของข้าพระองค์คนหนึ่ง เป็นผู้ทำกิจการทั้งปวง เขาได้เป็นชู้กับครอบครัวของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ควรจะทำอะไรแก่เขา จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระบาทมีบุรุษผู้ขวนขวายในกิจการทุกอย่างอยู่คนหนึ่ง แต่เขามีความผิดอยู่ข้อหนึ่ง พระองค์จะทรงโปรดดำริในความผิดของเขานั้นเป็นประการใด พระเจ้าข้า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส เจโกปราธตฺถิ ความว่า บุรุษนั้นมีความผิดอยู่ข้อหนึ่ง. บทว่า ตตฺถ ตฺวํ กินฺติ มญฺสิ ความว่า พระองค์จะทรงดำริในความผิดของบุรุษนั้นในข้อนั้นว่าควรทําอย่างไร ขอพระองค์จงทรงปรับสินไหมบุรุษนั้นตามสมควรแก่ความผิดของเขาเถิด พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 405

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

บุรุษเช่นนี้ของเราก็มีอยู่ในที่นี้ แต่บุรุษผู้ประกอบด้วยองค์คุณหาได้ยาก เราจึงสู้อดใจเสีย.

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า บุรุษผู้ประทุษร้าย เช่นนี้ คือมีอุปการะมาก มีอยู่ในเรือนของเราผู้เป็นพระราชา เป็นสัตบุรุษ. ก็บุรุษนั้นมีอยู่ในที่นี้ เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่ในที่นี้แหละ แม้เราผู้เป็นพระราชาก็ยังอดกลั้น เพราะบุรุษนั้นเป็นผู้มีอุปการะมาก. บทว่า องฺคสมฺปนฺโน ความว่า ชื่อว่าบุรุษผู้ประกอบด้วยส่วนแห่งคุณธรรมทั้งปวงหาได้ยาก ด้วยเหตุนั้น เราจึงสู้อดกลั้นเสีย ในฐานะเห็นปานนี้.

อำมาตย์รู้ว่าพระราชาตรัสหมายถึงตน ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่กล้าเป็นชู้กับนางสนมอีก. แม้คนใช้ของอำมาตย์นั้น ก็รู้ว่า พระราชาทรงว่ากล่าวตน ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่กล้าทำกรรมนั้นอีก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก. พระราชาพาราณสีในครั้งนั้น คือเราตถาคตนี้เอง อำมาตย์นั้นรู้ว่าพระราชากราบทูลแด่พระศาสดา ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่อาจ ทำกรรมนั้น.

จบ อรรถกถาขันติวรรณนชาดกที่ ๕