พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. กามนีตชาดก ผู้ถูกโรครักครอบงำรักษายาก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ส.ค. 2564
หมายเลข  35646
อ่าน  380

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 415

๘. กามนีตชาดก

ผู้ถูกโรครักครอบงํารักษายาก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 415

๘. กามนีตชาดก

ผู้ถูกโรครักครอบงํารักษายาก

[๓๐๕] เราปรารถนาระหว่างเมืองทั้ง ๓ คือ เมืองปัญจาละ ๑ เมืองกุรุยะ ๑ เมืองเกกกะ ๑ ดูก่อนท่านพราหมณ์ เราปรารถนาราชสมบัติทั้ง ๓ เมืองนั้นมากกว่าสมบัติที่เราได้แล้วนี้ ดูก่อนพราหมณ์ ขอให้ท่านช่วยรักษาเราผู้ถูกความใคร่ครอบงำด้วยเถิด.

[๓๐๖] อันที่จริง เมื่อบุคคลถูกงูเห่ากัด หมอบางคนก็รักษาได้ อนึ่ง บุคคลถูกผีเข้าสิง หมอผู้ฉลาดก็ไล่ออกได้ แต่บุคคลผู้ถูกความใคร่ครอบงำแล้ว ใครๆ ก็รักษาไม่หาย เพราะว่า เมื่อบุคคลล่วงเลยธรรมขาวเสียแล้ว จะรักษาได้อย่างไร.

จบ กามนีตชาดกที่ ๘

อรรถกถากามนีตชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพราหมณ์ชื่อ กามนีตะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ตโย คิรึ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 416

เรื่องราวทั้งปัจจุบัน และอดีตจักมีแจ้งในกามชาดก ในทวาทสนิบาต.

พระราชบุตรทั้งสองพระองค์นั้น พระองค์พี่ได้กลับมา เป็นพระราชาในกรุงพาราณสี. พระองค์น้องได้เป็นอุปราช. ทั้งสองพระองค์นั้น องค์พี่เป็นพระราชาเป็นผู้ไม่อิ่มในวัตถุกาม และกิเลสกาม มีพระทัยโลภในทรัพย์สมบัติ. ในคราวนั้นพระโพธิสัตว์เป็นท้าวสักกเทวราช ตรวจดูชมพูทวีป ทรงทราบว่า พระราชานั้นมิได้ทรงอิ่มในกามทั้งสอง ทรงดําริว่า จักไปข่มขี่พระราชานี้ให้ละอายพระทัย จึงทรงแปลงเป็นพราหมณ์มาณพเข้าเฝ้าพระราชา. เมื่อพระราชาตรัสถามว่า แน่ะมาณพ ท่านมาด้วยประสงค์อะไร. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์พบนครสามนครน่ารื่นรมย์มีภิกษาหารสมบูรณ์ พรั่งพร้อมด้วย ช้าง ม้า รถ พลนิกร และเงินทองเครื่องอลังการ แต่พระองค์สามารถยึดนครทั้ง ๓ นั้นด้วยกำลังเล็กน้อยเท่านั้น ข้าพระองค์จึงมาเพื่อรับอาสาไปตีเมืองทั้งสามถวายพระองค์. เมื่อตรัสถามว่า เราจะไปกันเมื่อไรเล่ามาณพ. กราบทูลว่า ไปพรุ่งนี้พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นเราไปด้วยกัน ท่านมาแต่เช้าๆ หน่อย ท้าวสักกะตรัสว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า พระองค์จงเตรียมพลไว้โดยเร็ว แล้วเสด็จกลับวิมานของพระองค์.

รุ่งขึ้นพระราชารับสั่งให้เที่ยวตีกลองเรียกชุมนุมพล รับสั่งให้อำมาตย์ทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า เมื่อวานนี้มีพราหมณ์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 417

มาณพผู้หนึ่ง รับอาสาจะตีนครทั้งสามเอาราชสมบัติถวาย คือ นครอุตตรปัญจาละ นครอินทปัตร นครเกกกะ เราจะพามาณพนั้นไปตีเอาราชสมบัติในนครทั้งสามนั้น. พวกท่านจงไปตามตัวมาณพนั้นมาโดยเร็ว. พวกอำมาตย์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ พระองค์พระราชทานที่พักให้มาณพนั้น ณ ที่ไหน. ตรัสว่า เราไม่ได้ให้ที่พักแก่เขา. กราบทูลถามว่า เสบียงอาหารพระองค์ พระราชทาน หรือเปล่า ตรัสว่า เสบียงอาหารก็ไม่ได้ประทาน ทูลถามว่า ข้าพระองค์จะไปตามตัวได้ที่ไหน. ตรัสว่า พวกท่านจงเที่ยวตามหาดูตามถนนในนครเถิด. พวกอำมาตย์เที่ยวตรวจตราดูแล้วไม่พบ จึงกราบทูลว่า ไม่พบตัว พระเจ้าข้า เมื่อพระราชาไม่ได้ตัวมาณพมาก็เกิดความโศกเสียพระทัยว่า เราเสื่อมจากอิสสริยสมบัติอันใหญ่หลวงอย่างนี้เสียแล้ว ดวงพระทัยก็เร่าร้อน โลหิตที่ฉีดเลี้ยงหทัยก็กำเริบ จนเกิดสำรอกโลหิตออกมา. บรรดาแพทย์ทั้งหลายก็ไม่สามารถจะรักษาได้. ถัดจากนั้น มา ๓ - ๔ วัน ท้าวสักกเทวราชทรงตรวจดู ทรงทราบการประชวรของพระราชา ทรงดำริว่า จักช่วยรักษา จึงแปลงเป็นพราหมณ์มาเยือนประตูพระราชวัง ให้กราบทูลว่ามีหมอพราหมณ์จะมารักษาพระองค์. พระราชาทรงสดับดังนั้นตรัสว่า หมอหลวงล้วนแต่ใหญ่โต ยังรักษาเราไม่ได้ ท่านจงจ่ายค่าป่วยการให้เขากลับไปเถิด. ท้าวสักกเทวราชได้สดับคำอำมาตย์มาบอกแล้วตรัสว่า เราไม่ต้องการที่พัก และค่าป่วยการแม้ค่าขวัญข้าวเรา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 418

ก็ไม่ขอรับ เราขออาสารักษาพระองค์. ขอพระราชาจงให้เราเฝ้าเถิด. พระราชาทรงสดับดังนั้น แล้วรับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นจงมาเถิด. ท้าวสักกเทวราชเสด็จเข้าไปแล้ว ถวายบังคมยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระราชาตรัสถามว่า ท่านจะรักษาเรา หรือ. ทูลว่าอย่างนั้นพระเจ้าข้า. ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นจงรักษาเถิด. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอประทานโอกาส ขอพระองค์จงบอกลักษณะของโรคแก่ข้าพระองค์ว่าเกิดเพราะเหตุอะไร เกิดเพราะเสวยอะไร หรือได้ทอดพระเนตร หรือทรงสดับอะไร พระราชาตรัสว่า แน่ะพ่อ โรคของเราเกิดเพราะได้ฟังข่าว ทูลถามว่า พระองค์สดับข่าวอะไร. ตรัสว่าแน่ะพ่อ มีมาณพคนหนึ่งมาบอกว่า จักรับอาสาตีเอาราชสมบัติในนครทั้งสามถวายเรา เราก็ไม่ได้ให้ที่พัก หรือค่ากินอยู่แก่เขา เขาคงโกรธเราจึง ไปเฝ้าพระราชาองค์อื่น. เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็เฝ้าแต่คิดอยู่ว่า เราเสื่อมจากอิสสริยสมบัติอันใหญ่หลวงดังนี้ จึงได้เกิดโรคขึ้น ถ้าท่านสามารถก็จงรักษาโรคอันเกิดเพราะจิตปรารถนาของเรา. เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

เราปรารถนาระหว่างเมืองทั้งสาม คือ เมืองปัญจาละ ๑ เมืองกุรุยะ ๑ เมืองเกกกะ ๑ ดูก่อนท่านพราหมณ์ เราปรารถนาราชสมบัติทั้งสามเมืองนั้นมากกว่าราชสมบัติที่เราได้แล้ว

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 419

นี้ ดูก่อนพราหมณ์ ขอท่านรักษาเราผู้ถูกความใคร่ครอบงำด้วยเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตโย คิรึ คือ นครทั้งสาม. เหมือนสุทัสสนเทพนคร ท่านเรียกว่า สุทัสสคีรี เพราะจะรบยึดเอาได้ยาก หวั่นไหวได้ยากในประโยคนี้ว่า สุทสฺสนคิริโน ทฺวารํ เหตํ ปกาสติ. เพราะฉะนั้น ในคาถานี้จึงมีเนื้อความดังนี้ เราต้องการนครสามนคร และแคว้นทั้งสามแคว้นในระหว่างนครเหล่านั้น. เราต้องการหมดทั้งสามแว่นแคว้น อันมีนามว่า อุตตรปัญจาละ ซึ่งมีนครชื่อว่า กปิละ แว่นแคว้นหนึ่ง มีนามว่า กุรุยะ ซึ่งมีนครชื่อว่า อินทปัตร แว่นแคว้นหนึ่ง มีนามว่า เกกกะ ซึ่งมีนคร ชื่อว่า เกกกะราชธานี แว่นแคว้นหนึ่ง. เราปรารถนาราชสมบัติทั้งสามแว่นแคว้นนั้นยิ่งไปเสียกว่าราชสมบัติกรุงพาราณสี ซึ่งเราครองอยู่นี้. บทว่า ติกิจฺฉ มํ พฺรหฺมณ กามนีตํ ความว่า ท่านพราหมณ์ เราถูกวัตถุกาม และกิเลสกามเหล่านั้นชักนำไปแล้ว ถูกรบกวนประหัตประหารแล้ว ถ้าท่านอาจก็จงรักษาเรา เถิด.

ลําดับนั้นท้าวสักกเทวราชจึงตรัสกะพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์จะรักษาด้วยโอสถรากไม้เป็นต้นไม่หาย ต้องรักษาด้วยโอสถ คือญาณอย่างเดียว ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

อันที่จริงเมื่อบุคคลถูกงูเห่ากัด หมอบางคนก็รักษาได้ อนึ่ง บุคคลถูกผีสิง หมอผู้ฉลาด

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 420

ก็ไล่ออกได้ แต่บุคคลผู้ถูกความใคร่ครอบงำแล้ว ใครๆ ก็รักษาไม่หาย เพราะว่าเมื่อบุคคลล่วงเลยธรรมขาวเสียแล้ว จะรักษาได้อย่างไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กณฺหาหิ ทุฏฺสฺส กโรนฺติ เหเก ความว่า อันที่จริงเมื่อบุคคลถูกงูเห่ามีพิษร้ายกัด หมอบางคนก็รักษาด้วยมนต์ และด้วยโอสถให้หายได้. บทว่า อมนุสฺสวิฏฺสฺส กโรนฺติ ปณฺฑิตา ความว่า หมอผีผู้ฉลาดจำพวกหนึ่ง เมื่อคนถูกอมนุษย์มีผี และยักษ์เป็นต้น เข้าสิงแล้วย่อมทำการรักษาได้ ด้วยวิธี ต่างๆ มีการเซ่นสรวง สวดพระปริตร และวางยาเป็นต้น ให้หายได้. บทว่า น กามนีตสฺส กโรติ โกจิ ความว่า แต่คนที่ถูกกามชักนำไปแล้ว คืออยู่ในอำนาจของกามเว้นบัณฑิตเสียใครๆ อื่นก็ทำการรักษไม่ได้ แม้จะรักษาก็ไม่สามารถจะรักษาให้หายได้. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะบุคคลที่ ก้าวล่วงเขตแดน สุกกธรรม คือ กุศลธรรม ตั้งอยู่ในอกุศลธรรมเสียแล้ว จะรักษาด้วยมนต์ และโอสถเป็นต้นอย่างไรไหว คือ ไม่อาจรักษาได้ด้วยมนต์ และโอสถเป็นต้นนั้น.

พระมหาสัตว์แสดงเหตุนี้แด่พระราชาฉะนี้แล้ว ได้ตรัสให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าพระองค์จักได้ราชสมบัติทั้งสามแคว้นนั้น เมื่อพระองค์เสวยราชทั้ง ๔ นคร จะฉลองพระองค์ด้วยผ้าสาฎกทั้ง ๔ คู่ คราวเดียวกันได้อย่างไรเล่าหนอ. จะเสวยทั้ง ๔ ถาดทอง จะบรรทมทั้ง ๔ พระแท่น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 421

สิริไสยาสน์คราวเดียวกันได้อย่างไร. ข้าแต่มหาราช พระองค์ไม่พึงเป็นไปในอำนาจตัณหา. ชื่อว่าตัณหานี้เป็นมูลรากของความวิบัติ. เมื่อเจริญขึ้นผู้ใดทําให้งอกงาม ย่อมซัดบุคคลนั้นลงนรกทั้ง ๘ ขุม อุสสทนรก ๑๖ ขุม และอบายภูมิที่เหลือมีประเภทนานาประการ. พระมหาสัตว์แสดงธรรมขู่พระราชา ด้วยภัยในนรกเป็นต้นอย่างนี้. ฝ่ายพระราชาฟังธรรมของพระมหาสัตว์แล้วก็สร่างโศก หายพระโรคทันใดนั้นเอง. แม้ท้าวสักกะประทานโอวาทแด่พระราชาให้ดำรงอยู่ในศีลแล้วเสด็จกลับเทวโลก. ฝ่ายพระราชาตั้งแต่นั้นทรงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุมชาดก. พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพราหมณ์ชื่อ กามนีตะ ในครั้งนี้ ส่วนท้าวสักกเทวราช คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถากามนีตชาดกที่ ๘