๒. วีณาถูณชาดก รักคนผิด
[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 436
๒. วีณาถูณชาดก
รักคนผิด
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 436
๒. วีณาถูณชาดก
รักคนผิด
[๓๑๓] เรื่องนี้เจ้าคิดคนเดียว บุรุษเตี้ยค่อมผู้โง่เขลานี้จะนำทางไปไม่ได้แน่ ดูก่อนเจ้าผู้เจริญ เจ้าไม่สมควรจะไปกับบุรุษเตี้ยค่อมผู้นี้เลย.
[๓๑๔] ดิฉันเข้าใจว่าบุรุษค่อมเป็นผู้องอาจ จึงได้รักใคร่บุรุษค่อมผู้นี้ นอนตัวงออยู่ ดุจคันพิณที่มีสายขาดแล้ว ฉะนั้น.
จบ วีณาถูณชาดกที่ ๒
อรรถกถาวีณาถูณชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภกุมาริกาผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอกจินฺติโต อยมตฺโถ ดังนี้.
ได้ยินว่า กุมาริกานั้นเป็นธิดาเศรษฐีผู้หนึ่ง ในกรุงสาวัตถี เห็นเครื่องสักการะที่เขาทำแก่โคอุสภราชในบ้านของตน จึงถามพี่เลี้ยงว่า แน่ะแม่ นั่นชื่อไร จึงได้เครื่องสักการะอย่างนี้. พี่เลี้ยงตอบว่า ชื่อโคอุสภราชจ้ะ. ครั้นวันหนึ่งนางยืนอยู่ตรงหน้าต่างแลดูระหว่างถนนเห็นชายค่อมผู้หนึ่งคิดว่า โคที่เป็นใหญ่ในหมู่โคย่อมมีโหนกที่หลัง แม้มนุษย์ผู้เป็นใหญ่ก็คง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 437
มีโหนกเช่นเดียวกัน บุรุษผู้นี้คงเป็นบุรุษอุสภราชเป็นแน่ เราควรเป็นบาทบริจาริกาของบุรุษนี้. นางจึงใช้ทาสีไปบอกแก่ชายค่อมว่า ธิดาเศรษฐีอยากจะไปกับท่าน ท่านจงไปรออยู่ ณ ที่โน้น แล้วถือเอาของมีค่าปลอมตัวไม่ให้ใครรู้จักลงจากปราสาทหนีไปกับชายค่อมนั้น. ต่อมา การกระทำของธิดาเศรษฐีนั้นได้ปรากฏกันในนครและหมู่ภิกษุ. ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่าธิดาเศรษฐีชื่อโน้นหนีไปกับชายค่อม. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธิดาเศรษฐีนี้ มิใช่ปรารถนาชายค่อมในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ปรารถนาเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐีในตำบลหนึ่ง ครั้นเจริญวัยแล้วมีครอบครัว เจริญด้วยบุตรธิดาทั้งหลาย จึงได้ขอธิดาของเศรษฐีกรุงพาราณสีให้แก่บุตรของตน กำหนดวันกันแล้ว. ธิดาเศรษฐีเห็นเครื่องสักการะ สัมมานะของโคอุสภราชที่เรือนของตน จึงถามพี่เลี้ยงว่า สัตว์นี้ชื่ออะไร ได้ฟังว่า โคอุสภราช ครั้นเห็นชายค่อมเดินอยู่ระหว่างถนน คิดว่า ชายนี้คงเป็นบุรุษอุสภราช จึงถือห่อของมีค่าหนีไปกับชายค่อมนั้น. ฝ่ายพระโพธิสัตว์คิดว่าจักนำธิดาเศรษฐีมาเรือน จึงไปยัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 438
กรุงพาราณสีกับบริวารเป็นอันมาก เดินทางไปทางนั้นเหมือนกัน. ฝ่ายชายค่อมกับธิดาเศรษฐี ทั้งคู่นั้นเดินทางกันตลอดคืน. ครั้งนั้น ชายค่อมซึ่งถูกความหนาวเบียดเบียนตลอดคืน ได้เกิดโรคลมกำเริบขึ้นในร่างกาย ในเวลาอรุณขึ้น เกิดทุกขเวทนาสาหัส. เขาจึงแวะลงจากทางทนทุกขเวทนานอนขดตัวดังคันพิณ. ฝ่ายธิดาเศรษฐีก็นั่งอยู่ที่ใกล้เท้าของเขา. พระโพธิสัตว์เห็นธิดาเศรษฐีนั่งอยู่ที่ใกล้เท้าชายค่อมจำได้จึงเข้าไปหา. เมื่อจะสนทนากับธิดาเศรษฐี ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-
เรื่องนี้เจ้าคิดคนเดียว บุรุษเตี้ยค่อมผู้โง่เขลานี้จะนำทางไปไม่ได้แน่ ดูก่อนเจ้าผู้เจริญ เจ้าไม่สมควรจะไปกับบุรุษเตี้ยค่อมผู้นี้เลย.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกจินฺติโต อยมตฺโถ ความว่า แน่ะแม่เจ้า คิดประโยชน์อันใดจึงได้หนีไปกับชายค่อมนี้ ประโยชน์อันนั้นเจ้าคงจะคิดคนเดียว. บทว่า พาโล อปริณายโก ความว่า เพราะว่าชายค่อมผู้เป็นพาลนี้ โดยที่มีปัญญาทรามถึงจะแก่ก็ยังโง่ จะเป็นเมื่อไม่มีผู้อื่นพาไปก็ไม่สามารถจะพาไปได้. แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าก็เกิดในตระกูลใหญ่มีรูปงามน่าเอ็นดู จึงไม่ควรไปกับชายค่อมผู้ต่ำต้อยเพราะเตี้ยนี้.
ลำดับนั้น ธิดาเศรษฐีฟังคำของพระโพธิสัตว์แล้ว กล่าว คาถาที่ ๒ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 439
ดิฉันเข้าใจว่าบุรุษค่อมเป็นผู้องอาจ จึงได้รักใคร่บุรุษค่อมผู้นี้นอนตัวงออยู่ ดุจคันพิณที่มีสายขาดแล้ว ฉะนั้น.
เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ข้าแต่ท่านเจ้า ข้าพเจ้าเห็นโคอุสภราชตัวหนึ่ง คิดว่าโคที่เป็นใหญ่กว่าโคทั้งหลายมีโหนกที่หลัง แม้บุรุษนี้ก็มีโหนกนั้น คงจะเป็นบุรุษอุสภราช ข้าพเจ้าเข้าใจชายค่อมว่าเป็นบุรุษอุสภราชจึงรักใคร่ ชายค่อมนี้นั้น นอนตัวงออยู่เหมือนคันพิณที่สายขาดมีแต่ราง ฉะนั้น.
พระโพธิสัตว์ทราบว่า นางปลอมตัวหนีมาจึงให้อาบน้ำตกแต่งตัวให้ขึ้นรถไปยังเรือนของตน.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก. ธิดาเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นธิดาเศรษฐีในครั้งนี้นี่แหละ ส่วนพระราชากรุงพาราณสี คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาวีณาถูณชาดกที่ ๒