พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. วิกัณณกชาดก คนเห็นแก่อามิสย่อมเดือดร้อน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ส.ค. 2564
หมายเลข  35651
อ่าน  453

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 440

๓. วิกัณณกชาดก

คนเห็นแก่อามิสย่อมเดือดร้อน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 440

๓. วิกัณณกชาดก

คนเห็นแก่อามิสย่อมเดือดร้อน

[๓๑๕] เจ้าปรารถนาในที่ใด ก็จงไปในที่นั้นเถิด เจ้าเป็นผู้ถูกชะนักของเราแทงแล้ว เจ้าเป็นผู้โลภด้วยอาหารแท้ เมื่อติดตามปลาทั้งหลายมาก็ถูกอาหารมีเสียงกลองกำจัดเสียแล้ว.

[๓๑๖] บุคคลเห็นแก่โลกามิสแม้อย่างนี้ ชอบประพฤติตามอำนาจของจิต ย่อมเดือดร้อน เขาย่อมเดือดร้อนอยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติและสหาย ดุจจระเข้ผู้ติดตามปลาไปถูกแทง ฉะนั้น.

จบ วิกัณณกชาดกที่ ๓

อรรถกถาวิกัณณกชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุกระสันรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า กามํ ยหึ อิจฺฉสิ เตน คจฺฉ ดังนี้.

ความย่อมีว่า ภิกษุรูปนั้นถูกนำไปยังธรรมสภา พระศาสดาตรัสถาม ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสันจริงหรือ กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัสถามว่า เธอกระสันเพราะเหตุใด. กราบทูลว่า เพราะเหตุกามคุณ. ลำดับนั้นพระศาสดาจึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 441

ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่า กามคุณเหล่านี้เช่นกับลูกชะนัก เมื่อได้ที่ตั้งในหัวใจครั้งเดียว ย่อมให้ถึงความตายได้ทีเดียว เหมือนชะนักอันปักเข้าไปแล้ว ยังจระเข้ให้ถึงความตายฉะนั้น แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสีโดยธรรม วันหนึ่งประพาสอุทยานเสด็จไปถึงฝั่งสระโบกขรณี. พนักงานชำนาญในการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น ก็ประกอบการฟ้อนรำขับร้องถวาย. ปลาและเต่าทั้งหลายที่สระโบกขรณี ต่างก็มารวมกันเพราะมีใจจดจ่ออยู่ในเสียงขับร้อง ว่ายน้ำตามพระราชาไป. พระราชาทอดพระเนตรเห็นฝูงปลาประมาณเท่าลำตาล ตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า เหตุไรหนอ พวกปลาเหล่านี้จึงเที่ยวตามเราไป. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ปลาเหล่านี้คอยรับใช้พระองค์. พระราชาโปรดปรานว่า แม้ปลาเหล่านี้ก็ยังคอยรับใช้เรา จึงทรงตั้งอาหารไว้ประจำวันของปลาเหล่านั้น. เจ้าหน้าที่ต้องหุงข้าวสารหนึ่งอัมมณะทุกๆ วัน. ต่อมาปลาทั้งหลายถึงเวลาให้อาหารบางพวกก็มา บางพวกก็ไม่มา อาหารก็เสีย. เขาจึงกราบทูลความนั้นแด่พระราชา. พระราชารับสั่งว่า ตั้งแต่ไปจงตีกลองเวลาให้อาหาร. เมื่อพวกปลามารวมกันตามเสียงกลองแล้วก็จงให้อาหารเถิด. ตั้งแต่นั้นพนักงานผู้จัดอาหารให้ตีกลองแล้วจึงให้อาหารแก่พวกปลาที่มารวมกัน. แม้พวกปลาเหล่านั้นก็มารวมกันกินอาหารตามสัญญาเสียงกลอง. เมื่อพวก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 442

ปลารวมกันกินอาหารอยู่อย่างนี้ มีจระเข้ตัวหนึ่งมากินปลา เจ้าหน้าที่จัดอาหารจึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงรับสั่งว่า ท่านจงเอา ชะนักแทงจระเข้ที่เข้ามาในเวลากินปลา แล้วจับตัวให้ได้. เขารับพระราชโองการแล้ว กลับไปลงเรือคอยอยู่ ได้ใช้ชะนักแทงจระเข้ซึ่งเข้ามากินปลา ชะนักเสียบติดหลังจระเข้นั้น จระเข้ได้รับทุกขเวทนา จึงหนีพาเอาชะนักนั้นติดไปด้วย. เจ้าหน้าที่จัดอาหารทราบว่าแทงถูก จระเข้แล้ว เมื่อจะว่ากะจระเข้นั้น จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

เจ้าปรารถนาในที่ใด ก็จงไปในที่นั้นเถิด เจ้าเป็นผู้ถูกชะนักของเราแทงแล้ว เจ้าเป็นผู้โลภด้วยอาหารแท้ เมื่อติดตามปลาทั้งหลายมาก็ถูกอาหารมีเสียงกลองกำจัดเสียแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กามํ คือโดยส่วนเดียว. บทว่า ยหึ อิจฺฉสิ เตน คจฺฉ ความว่า ท่านปรารถนาในที่ใด จงไปในที่นั้นเถิด บทว่า มมฺมมฺหิ คือ ในที่ของเรา. บทว่า อนุพนฺธมาโน ความว่า เจ้าเมื่อเขาให้อาหารด้วยสัญญาเสียงกลอง เป็นผู้โลภติดตามปลาหวังจะกิน ก็ถูกอาหารมีเสียงกลองกำจัดเสียแล้ว. แม้ในที่ที่ท่านไป ท่านก็จะไม่มีชีวิต.

จระเข้นั้นไปถึงที่อยู่ของตนแล้วก็ตาย.

พระศาสดาครั้นทรงแสดงชาดกนี้แล้ว ตรัสรู้แล้วได้ ตรัสคาถาที่ ๒ ว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 443

บุคคลเห็นแก่โลกามิสแม้อย่างนี้ ชอบประพฤติตามอำนาจของจิตย่อมเดือดร้อน เขาย่อมเดือดร้อนอยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติและสหาย ดุจจระเข้ผู้ติดตามปลาไปถูกแทง ฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โลกามิสํ ได้แก่ กามคุณ ๕ เพราะกามคุณ ๕ เหล่านั้น ชาวโลกถือว่าเป็นของน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพึงพอใจ ฉะนั้น จึงเรียกว่า โลกามิส. บทว่า โอปตนฺโต ความว่า บุคคลผู้เป็นไปตามโลกามิสนั้น เป็นผู้คล้อยตามอำนาจจิตด้วยอำนาจกิเลส ย่อมเดือดร้อนลำบากถึงความพินาศ บทว่า โส หญฺติ ความว่า บุคคลนั้นยึดถือกามคุณ ๕ ว่าเป็นที่น่าพึงพอใจ แล้วย่อมเดือดร้อนลำบากถึงความมหาพินาศ ในท่ามกลางญาติและสหายทั้งหลาย ดุจจระเข้ที่ไล่ตามปลาถูกแทงด้วยชะนัก ฉะนั้น ดังนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจธรรม แล้วทรงประชุมชาดก. ครั้นจบสัจจธรรม ภิกษุกระสันตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ส่วนพระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาวิกัณณกชาดกที่ ๓