๖. พกชาดก นกเจ้าเล่ห์
[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 454
๖. พกชาดก
นกเจ้าเล่ห์
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 454
๖. พกชาดก
นกเจ้าเล่ห์
[๓๒๑] นกมีปีกตัวนี้ดีจริง ยืนนิ่งดังดอกโกมุทหุบปีกทั้ง ๒ ไว้ ง่วงเหงาซบเซาอยู่.
[๓๒๒] เจ้าทั้งหลายไม่รู้จักกิริยาของมัน พวกเจ้าไม่รู้จึงได้พากันสรรเสริญ นกตัวนี้ไม่ได้คุ้มครองรักษาพวกเราดอก เพราะเหตุนั้น นกตัวนี้จึงไม่ เคลื่อนไหวเลย.
จบ พกชาดกที่ ๖
อรรถกถาพกชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุโกหกรูปหนึ่ง ตรัสธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ภทฺทโก วตายํ ปกฺขี ดังนี้.
ความย่อมีอยู่ว่า พระศาสดาทรงเห็นภิกษุโกหกรูปหนึ่ง ซึ่งถูกนำตัวมาเฝ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้มิใช่โกหกในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็โกหก แล้วทรงนำเรื่องอดีต มาตรัสเล่า.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นปลามีบริวารมากอาศัยอยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 455
สระแห่งหนึ่งในหิมวันตประเทศ. ครั้งนั้นนีมีนกยางตัวหนึ่ง คิดว่า จักกินปลา จึงยืนก้มหัวกางปีกทำเซื่องๆ มองดูปลาในที่ใกล้สระ คอยดูปลาเหล่านั้นเผลอ. ขณะนั้นพระโพธิสัตว์แวดล้อมด้วยฝูงปลาเที่ยวหาเหยื่อกินไปถึงที่นั้น. ฝูงปลาเห็นนกยางนั้น จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-
นกมีปีกตัวนี้ดีจริงหุบปีกทั้งสองไว้ ง่วงเหงาซบเซาอยู่.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มนฺทมนฺโท ว ฌายติ ได้แก่ นกยาง ซบเซาอยู่ตัวเดียว เหมือนจะหมดแรง ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้อะไรทั้งนั้น.
ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์มองดูนกยางนั้น กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
เจ้าทั้งหลาย ไม่รู้จักกิริยาของมัน พวกเจ้าไม่รู้จึงพากันสรรเสริญ นกตัวนี้ไม่ได้คุ้มครอง รักษาพวกเราดอก เพราะเหตุนั้นนกตัวนี้จึงไม่เคลื่อนไหวเลย.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนญฺาย แปลว่าไม่รู้. บทว่า อเมฺห ทิโช น ปาเลติ ความว่า นกนี้ไม่รักษา ไม่คุ้มครองพวก เรา ครุ่นคิดอยู่แต่ว่าในปลาเหล่านี้ เราจะจิกตัวไหนกิน. บทว่า เตน ปกฺขี น ผนฺทติ ด้วยเหตุนั้น นกตัวนี้จึงไม่เคลื่อนไหวเลย.
เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้ ฝูงปลาก็พ่นน้ำให้นกยาง