๒. สุนขชาดก ผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 480
๒. สุนขชาดก
ผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 480
๒. สุนขชาดก
ผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
[๓๓๔] สุนัขตัวใดไม่กัดเชือกหนังให้ขาด สุนัขตัวนั้นโง่เขลามาก สุนัขควรจะเปลื้องตนเสียจากเครื่องผูก กินเชือกหนังเสียให้อิ่ม แล้วจึงค่อยกลับไปยังที่อยู่ของตน.
[๓๓๕] คำที่ท่านกล่าวนี้ฝังอยู่ในหัวใจของข้าพเจ้า อนึ่งข้าพเจ้ายังได้จำไว้ในใจแล้ว ข้าพเจ้าจะรอเวลาจนกว่าคนจะหลับ.
จบ สุนขชาดกที่ ๒
อรรถกถาสุนขชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภสุนัขกินอาหารที่ศาลานั่งพัก ใกล้ซุ้มรางน้ำ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า พาโล วตายํ สุนโข ดังนี้.
ได้ยินว่า พวกตักน้ำนำสุนัขนั้นมาเลี้ยงไว้ในที่นั้นตั้งแต่เกิด. ครั้นต่อมาสุนัขนั้นได้กินอาหารในที่นั้นจนมีร่างกายอ้วนพี. วันหนึ่งมีบุรุษชาวบ้านผู้หนึ่งมาถึงที่นั่น เห็นสุนัขจึงให้ผ้าสาฎก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 481
เนื้อดีและเงินแก่คนตักน้ำ แล้วเอาโซ่ผูกพาสุนัขไป. สุนัขนั้นถูกเขานำไปก็ไม่ดิ้นรน กินอาหารที่เขาให้เดินตามไปข้างหลัง. บุรุษนั้นคิดว่าเดี๋ยวนี้สุนัขนี้รักเรา จึงแก้โซ่ออก. สุนัขพอเขาแก้แล้วเท่านั้น วิ่งรวดเดียวถึงศาลานั่งพักตามเดิม. ภิกษุทั้งหลายเห็นสุนัขนั้น ทราบเหตุที่มันทำ จึงสนทนากันในโรงธรรมในตอนเย็นว่า อาวุโสทั้งหลาย สุนัขที่ศาลานั่งพัก ฉลาดในการทำให้พ้นจากเครื่องผูก พอเขาปล่อยเท่านั้นกลับหนีมาได้. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุนัขนั้นมิใช่ฉลาดในการทำให้พ้นจากเครื่องผูกในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ฉลาดในการทำให้พ้นจากเครื่องผูกเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีต มาตรัสเล่า.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลที่มีสมบัติมากตระกูลหนึ่งในแคว้นกาสี ครั้นเจริญวัยได้ครองฆราวาส. ครั้งนั้นมนุษย์คนหนึ่งในกรุงพาราณสี ได้มีสุนัขอยู่ตัวหนึ่ง. สุนัขนั้นได้ก้อนข้าวกินจนอ้วนท้วน. ชาวบ้านคนหนึ่งมากรุงพาราณสี เห็นสุนัขนั้นจึงให้ผ้าสาฎกเนื้อดีและเงินแก่มนุษย์นั้น แล้วเอาสุนัขไป เอาเชือกหนังล่าม ถือปลายเชือกเดินจูงไป จึงเข้าไปยังศาลาไม้อ้อแห่งหนึ่งใกล้ปากดง จึงผูกสุนัขไว้ นอนหลับบนแผ่นกระดาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 482
ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เดินผ่านดงไปทำธุระอย่างหนึ่ง เห็นสุนัขนั้นถูกล่ามไว้จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-
สุนัขตัวใด ไม่กัดเชือกหนังให้ขาด สุนัขตัวนั้นโง่เขลามาก สุนัขควรจะเปลื้องตนเสียจากเครื่องผูก กินเชือกหนังเสียให้อิ่ม แล้วจึงค่อยกลับไปยังที่อยู่ของตน.
สุนัขได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
คำที่ท่านกล่าวนี้ ฝังอยู่ในหัวใจของข้าพเจ้า อนึ่งข้าพเจ้ายังได้จำไว้ในใจแล้ว ข้าพเจ้า จะรอเวลาจนกว่าคนจะหลับ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺิตํ เม มนสฺมึ เม ความว่า ท่าน กล่าวคำใด คำนั้นเราตั้งใจไว้แล้ว คือเก็บไว้แล้วแต่ในใจของเรา. บทว่า อโถ เม หทเย กตํ คือ แม้คำของท่านเราก็เก็บไว้ในใจ ทีเดียว. บทว่า กาลญฺจ ปฏิกงฺขามิ คือ ข้าพเจ้ากำลังรอเวลาอยู่. บทว่า ยาว ปสุปตุชฺชโน ความว่า ข้าพเจ้ารอเวลาจนกว่ามหาชนจะหลับ. นอกเหนือไปจากนี้ สุนัขนี้คิดว่า ความปรารถนาของตนพึงเกิดขึ้นว่าจะหนี เพราะฉะนั้น ในตอนกลางคืนเมื่อคนหลับกันหมด เราจะกัดเชือกหนีไป.
สุนัขนั้นครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อมหาชนพากันหลับ จึงกัดเชือกกินแล้วหนีไปยังเรือนของเจ้าของตนตามเดิม.