พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. กิงสุโกปมชาดก คนไม่รู้ธรรมด้วยญาณย่อมสงสัยในธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ส.ค. 2564
หมายเลข  35668
อ่าน  444

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 514

๘. กิงสุโกปมชาดก

คนไม่รู้ธรรมด้วยญาณย่อมสงสัยในธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 514

๘. กิงสุโกปมชาดก

คนไม่รู้ธรรมด้วยญาณย่อมสงสัยในธรรม

[๓๔๖] ท่านทุกคนเห็นต้นทองกวาวแล้ว ยังจะสงสัยในต้นทองกวาวนั้นเพราะเหตุไรหนอ ท่านทั้งหลายหาได้ถามนายสารถีให้ถี่ถ้วนในที่ทั้งปวงไม่.

[๓๔๗] บุคคลเหล่าใดยังไม่รู้ธรรมทั้งหลายด้วยญาณทั้งปวง บุคคลเหล่านั้นแล ย่อมสงสัยในธรรมทั้งหลาย เหมือนพระราชบุตร ๔ พระองค์ ทรงสงสัยในต้นทองกวาว ฉะนั้น.

จบ กิงสุโกปมชาดกที่ ๘

อรรถกถากิงสุโกปมชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภกิงสุโกปมสูตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สพฺเพหิ กึสุโก ทิฏฺโ ดังนี้

ได้ยินว่า ภิกษุ ๔ รูปเข้าไปเฝ้าพระตถาคตทูลขอกรรมฐาน พระศาสดาทรงบอกกรรมฐานแก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น เรียนกรรมฐานไปสู่ที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน. ในภิกษุเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 515

ภิกษุรูปหนึ่งกำหนดผัสสายตนะ ๖ บรรลุพระอรหัตแล้ว. รูปหนึ่งกำหนดขันธ์ ๕. รูปหนึ่งกำหนดมหาภูต ๔. รูปหนึ่งกำหนดธาตุ ๑๘. ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลคุณวิเศษที่ตนบรรลุแด่พระศาสดา. ในบรรดาภิกษุเหล่านั้นมีรูปหนึ่งเกิดความปริวิตกว่า กรรมฐานเหล่านั้นมีข้อแตกต่างกัน แต่นิพพานเป็นอย่างเดียวกัน ภิกษุทั้งหมดบรรลุอรหัตได้อย่างไร. จึงทูลถามพระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุเธอก็ไม่ต่างกันกับพี่น้อง ๔ คน ที่เห็นต้นทองกวาว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลอาราธนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงแสดงเหตุนี้แก่ข้าพระองค์เถิด ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระองค์มีพระโอรส ๔ พระองค์. วันนี้โอรสทั้ง ๔ ตรัสเรียกสารถีมาตรัสว่า ดูก่อนสหาย พวกเราอยากเห็นต้นทองกวาว ท่านจงแสดงต้นทองกวาวมาให้พวกเราดูเถิด. สารถีรับว่า ดีละ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักแสดง แต่ไม่แสดงแก่ ราชบุตรทั้ง ๔ พร้อมกัน ให้ราชบุตรองค์ประทับนั่งบนรถไปก่อน พาไปในป่าแล้วชี้ให้ดูต้นทองกวาวในเวลาสลัดใบว่า นี้คือต้นทองกวาว. อีกองค์หนึ่งให้ดูในเวลาออกใบอ่อน อีกองค์หนึ่งให้ดูเวลาออกดอก อีกองค์หนึ่งให้ดูในเวลาออกผล. ต่อมาราชบุตรทั้ง ๔ พี่น้องประทับนั่งพร้อมหน้ากัน จึงไต่ถามกันขึ้นว่า ชื่อว่าต้นทองกวาวเป็นเช่นไร. องค์ที่หนึ่งตรัสว่า เหมือน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 516

ตอไหม้ไฟ องค์ที่สองตรัสว่า เหมือนต้นไทร องค์ที่สามตรัสว่า เหมือนชิ้นเนื้อ องค์ที่สี่ตรัสว่า เหมือนต้นซึก. ทั้ง ๔ พระองค์ไม่ตกลงตามคำของกันและกัน จึงไปเฝ้าพระบิดา ทูลถามว่า ข้าแต่พระบิดา ชื่อว่าต้นทองกวาวเป็นอย่างไร. เมื่อพระราชาตรัสว่า พวกเจ้าว่ากันอย่างไรเล่า. จึงกราบทูลพระราชาตามที่ถกเถียงกัน. พระราชาตรัสว่า พวกเจ้าแม้ทั้งสี่ได้เห็นต้นทองกวาวแล้วเป็นแต่สารถีผู้แสดงต้นทองกวาว. พวกเจ้ามิได้ไต่ถามจารไนออกไปว่า ในกาลนี้ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร. ด้วยเหตุนั้นความสงสัยจึงเกิดขึ้นแก่พวกเจ้า ตรัสคาถาแรกว่า :-

ท่านทุกคนเห็นต้นทองกวาวแล้ว ยังจะสงสัยในต้นทองกวาวนั้น เพราะเหตุไรหนอ ท่านทั้งหลายหาได้ถามสารถีให้ถี่ถ้วนในที่ทั้งปวงไม่.

พระศาสดาทรงแสดงเหตุนี้แล้วตรัสว่า แน่ะภิกษุ เหมือนอย่างพี่น้องทั้ง ๔ เกิดความสงสัยในต้นทองกวาว เพราะมิได้ไต่ถามให้ถ้วนถี่ฉันใด แม้เธอสงสัยเกิดขึ้นในธรรมนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระองค์ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

บุคคลเหล่าใด ยังไม่รู้ธรรมทั้งหลาย ด้วยญาณทั้งปวง บุคคลเหล่านั้นแล ย่อมสงสัยในธรรมทั้งปวง เหมือนพระราชบุตร ๔ พระองค์

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 517

ทรงสงสัยในต้นทองกวาวฉะนั้น.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า เหมือนอย่างพี่น้องเหล่านั้นสงสัยแล้ว เพราะไม่เห็นต้นทองกวาวทุกฐานะ ฉันใด ธรรมทั้งปวงแยกประเภทเป็นผัสสะ ๖ อายตนะ ขันธ์ ภูต และธาตุ. ชนเหล่าใดไม่ได้ให้เกิดด้วยวิปัสสนาญาณทั้งปวง คือมิได้แทงตลอด เพราะยังไม่ได้บรรลุโสดาปัตติมรรค ชนเหล่านั้นย่อมสงสัยในธรรมมี ผัสสะ ๖ และอายตนะเป็นต้น เหมือนพี่น้องทั้งสี่สงสัยในต้นทองกวาวต้นเดียวกันฉันนั้น.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก. พระเจ้ากรุงพาราณสีในครั้งนั้น คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถากิงสุโกปมสูตรที่ ๘