อำนาจของความยึดติด
องค์ธรรมของอุปาทานมี ๒ อย่าง คือ โลภะและทิฏฐิ อุปาทานคือ การยึดมั่นในความเห็นผิด เช่น ไม่เชื่อเรื่องบุญบาป ยึดมั่นในข้อปฏิบัติผิด เช่น รับประทานอาหารหรือก๋วยเตี๋ยวไม่ใส่เครื่องปรุง เพราะคิดว่าเป็นการลดโลภะ ยึดมั่นในความเห็นว่าเป็นตัวตน และยึดมั่น ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
อุปาทาน ความยึดถือ ก็ไม้พ้นไปจากขันธ์ ๕ เลย อุปาทานขันธ์ ๕ ซึ่งก็เป็นสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้เอง ที่ยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคลตัวตน ด้วยความเห็นผิด และด้วยโลภะ ดังนั้น หนทางเดียวที่จะดับความยึดถือ อุปาทาน ในสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ว่าเป็นเรา คือการอบรมปัญญา ระลึกรู้ (สติ) สภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธัมมะ เป็นหนทางเดียวที่จะละอุปาทานได้ ชื่อยาก (อุปาทาน) แต่ก็เป็นสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้เองครับ ซึ่งกามุปาทาน ความพอใจ (โลภะ) จะละได้เมื่อเป็นพระอรหันต์ ทิฏฐุปาทานความเห็นผิดต่างๆ สีลัพพตุปาทาน ข้อประพฤติปฏิบัติที่ผิดต่างๆ และอัตตวาทุปาทาน ความยึดถือ ว่าเป็นเรา สัตว์ บุคคล อุปาทาน ๓ อย่างที่กล่าวมาจะละหมดเมื่อเป็นพระโสดาบัน ดังนั้น การดับกิเลสต้องเป็นพระโสดาบันก่อน ปัญญาจึงต้องดับความเห็นผิดก่อนว่า ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย