๒. ติลมุฏฐิชาดก การเฆี่ยนตีเป็นการสั่งสอน
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 12
๒. ติลมุฏฐิชาดก
การเฆี่ยนตีเป็นการสั่งสอน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 12
๒. ติลมุฏฐิชาดก
การเฆี่ยนตีเป็นการสั่งสอน
[๓๕๕] การที่ท่านให้จับแขนเราไว้แล้วเฆี่ยนตีเราด้วยซีกไม้ไผ่เพราะเหตุเมล็ดงากํามือหนึ่งนั้น ยังฝังอยู่ในใจของเราจนทุกวันนี้.
[๓๕๖] ดูก่อนพราหมณ์ ชะรอยท่านจะไม่ยินดีในชีวิตของตนแล้วสินะ จึงได้มาจับแขนแล้วเฆี่ยนตีเราถึง ๓ ครั้ง วันนี้ท่านจะได้เสวยผลของกรรมนั้น.
[๓๕๗] อารยชนใด ย่อมข่มขี่คนที่ไม่ใช่อารยชนผู้ทํากรรมชั่วด้วยอาชญากรรมของอารยชนนั้น เป็นการสั่งสอนหาใช่เป็นเวรไม่ บัณฑิตทั้งหลายรู้ชัดข้อนั้นอย่างนี้แล.
จบ ติลมุฏฐิชาดกที่ ๒
อรรถกถาติลมุฏฐิชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้มักโกรธรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า อชฺชาปิ เมตํ มนสิ ดังนี้.
ได้ยินว่า มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้มักโกรธมากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกใครว่าอะไรแม้เพียงนิดเดียวก็โกรธ ข้องใจ กระทําความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 13
โกรธ ความประทุษร้าย และความน้อยใจให้ปรากฏ. อยู่มาวันหนึ่งภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรูปโน้นเป็นคนโกรธง่าย มากไปด้วยความคับแค้นใจ เที่ยวทําเสียงเอะอะเหมือนเกลือที่เขาใส่ในเตาไฟ เป็นผู้บวชในศาสนาที่สอนมิให้โกรธเห็นปานนี้ แม้แต่ความโกรธเท่านั้น ก็ไม่อาจข่มได้. พระศาสดาทรงตรัสถ้อยคําของภิกษุเหล่านั้น จึงทรงสั่งภิกษุรูปหนึ่งให้ไปเรียกภิกษุรูปนั้นมา แล้วตรัสถามว่า ข่าวว่าเธอเป็นผู้โกรธง่ายจริงหรือ? เมื่อภิกษุรูปนั้นรับเป็นสัตย์แล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายมิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุนี้ก็ได้เป็นคนมักโกรธเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนา จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี โอรสของพระเจ้าพรหมทัต นั้นได้มีนามว่า พรหมทัตตกุมาร. แท้จริงพระราชาครั้งเก่าก่อน แม้จะมีอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในนครของตน ก็ย่อมส่งพระราชโอรสของตนๆ ไปเรียนศิลปะยังภายนอกรัฎฐะในที่ไกล ด้วยหวังใจว่า เมื่อกระทําอย่างนี้ พระราชโอรสเหล่านั้น จักเป็นผู้ขจัดความเย่อหยิ่งด้วยมานะ ๑ จักเป็นผู้อดทนต่อความหนาวและความร้อน ๑ จักได้รู้จารีตประเพณีของชาวโลก ๑ เพราะฉะนั้น พระราชาแม้พระองค์นั้น จึงมีรับสั่งให้หาพระราชโอรสซึ่งมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษามา แล้วพระราชทานฉลองพระบาทชั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 14
เดียวคู่หนึ่ง ร่มใบไม้คันหนึ่ง และทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ พลางตรัสว่าลูกรัก เจ้าจงไปยังเมืองตักกศิลา ร่ําเรียนเอาศิลปะมา แล้วทรงส่งไป. พระราชโอรสรับพระราชโองการแล้วถวายบังคมพระชนกชนนีแล้วเสด็จออกไป บรรลุถึงเมืองตักกศิลาโดยลําดับ ได้ไปถามหาบ้านอาจารย์ ก็ในเวลานั้น อาจารย์สอนศิลปะแก่พวกมาณพเสร็จแล้วลุกขึ้นมานั่ง ณ ที่ข้างหนึ่งที่ประตูเรือน. พระราชโอรสนั้นไปที่บ้านอาจารย์นั้น ได้เห็นอาจารย์นั่งอยู่ในที่นั้น ครั้นแล้วจึงถอดรองเท้าตรงที่นั้นแหละ ลดร่ม ไหว้อาจารย์แล้วยืนอยู่. อาจารย์นั้นรู้ว่าพระราชโอรสนั้นเหน็ดเหนื่อยมาจึงให้กระทําอาคันตุกสงเคราะห์. พระกุมารเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว พักผ่อนอยู่ครู่หนึ่ง จึงเข้าไปหาอาจารย์ไหว้แล้วยืนอยู่ เมื่ออาจารย์ทิศาปาโมกข์ถามว่า เธอมาจากไหนน่ะพ่อ จึงกล่าวตอบว่า มาจากเมืองพาราณสี. เธอเป็นลูกใคร? เป็นโอรสของพระเจ้าพาราณสี. พระองค์เสด็จมาด้วยประสงค์อะไร? ท่านอาจารย์ข้าพเจ้ามาเพื่อต้องการเรียนศิลปะ. พระองค์นําทรัพย์อันเป็นส่วนของอาจารย์มาด้วยหรือเปล่า หรือพระองค์จะเป็นธัมมันเตวาสิก. พระราชกุมารนั้นกล่าวว่า ทรัพย์อันเป็นส่วนของอาจารย์ข้าพเจ้านํามาด้วยแล้ว ว่าแล้วก็วางถุงทรัพย์พันกหาปณะลงที่ใกล้เท้าของอาจารย์แล้วก็ไหว้. อันศิษย์ที่เป็นธัมมันเตวาสิก เวลากลางวันต้องทําการงานให้อาจารย์ กลางคืนจึงจะได้เรียน. ศิษย์ที่ให้ทรัพย์อันเป็นส่วนของอาจารย์ เป็นเหมือนบุตรคนโตในเรือน เรียน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 15
แต่ศิลปะเท่านั้น. เพราะฉะนั้น อาจารย์แม้นั้น พอมีฤกษ์งามยามดีแล้ว จึงเริ่มสอนศิลปะแก่พระกุมารโดยพิสดาร. ฝ่ายพระราชกุมารก็เรียนเอาศิลปะด้วยความตั้งใจ วันหนึ่ง ได้ไปอาบน้ำพร้อมกับอาจารย์. ครั้งนั้นมีหญิงชราคนหนึ่ง ขัดสีเมล็ดงาให้หมดเปลือกแล้วเอามาแผ่ตากไว้ นั่งเฝ้าอยู่. พระกุมารเห็นเมล็ดงาที่ตากไว้ ก็อยากจะเสวย จึงหยิบเมล็ดงามาหนึ่งกํามือแล้วเคี้ยวเสวย. หญิงชราคิดว่ามาณพนี้คงอยากกิน จึงนิ่งเสียมิได้กล่าวประการใด. แม้ในวันรุ่งขึ้นพระกุมารนั้นก็ได้ทําเหมือนอย่างนั้น ในเวลานั้น. แม้หญิงชรานั้นก็ไม่กล่าวอะไรกะพระราชกุมารนั้น. แม้ในวันที่ ๓ พระราชกุมารก็ได้ทําเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. คราวนั้น หญิงชราเห็นเข้าจึงประคองแขนทั้งสองร้องคร่ําครวญว่า อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ใช้ให้พวกศิษย์ของตนปล้นเรา. อาจารย์หันกลับมาถามว่า นี่อะไรกันแน่. หญิงชรากล่าวว่า นาย ศิษย์ของท่านเคี้ยวกินเมล็ดงาล่อนที่ข้าพเจ้าทําไว้ วันนี้กํามือหนึ่ง เมื่อวานกํามือหนึ่ง เมื่อวันซืนกํามือหนึ่ง ก็เมื่อศิษย์ของท่านเคี้ยวกินอยู่อย่างนี้ เมล็ดงาที่มีอยู่ของดิฉันเท่าไรๆ ก็จักหมดสิ้นไปมิใช่หรือ. อาจารย์ทิศาปาโมกข์กล่าวว่า แม่ อย่าร้องไห้ไปเลย ฉันจักให้มูลค่าแก่ท่าน. หญิงชรากล่าวว่า ดิฉันไม่ต้องการมูลค่าดอกนาย ดิฉันขอให้ท่านสั่งสอน โดยอย่าให้กุมารนี้กระทําอย่างนี้อีกต่อไป. อาจารย์กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น จงคอยดูนะแม่ แล้วให้มาณพ ๒ คนจับพระราชกุมารนั้นที่แขนทั้ง ๒ ข้างไว้ จึงเอาซีกไม้ไผ่มาเฆี่ยนที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 16
กลางหลัง ๓ ครั้งพร้อมกับสอนว่า เธออย่าได้ทําอย่างนี้อีกต่อไป พระราชกุมารโกรธอาจารย์ ทำนัยน์ตาแดงมองดูตั้งแต่หลังเท้าจนถึงปลายผม. แม้อาจารย์นั้นก็รู้ว่า พระราชกุมารนั้นมองดูเพราะโกรธเคือง. พระราชกุมารเรียนศิลปะจบแล้วทําการฝึกซ้อม เก็บโทษที่อาจารย์นั้นกระทําไว้ในหทัย โดยอาฆาตว่า เราต้องฆ่าอาจารย์ผู้นี้ ครั้นเวลาจะไป จึงไหว้อาจารย์ ทําทีมีความสิเนหาอย่างสุดซึ้งรับเอาปฏิญญาว่า ท่านอาจารย์ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้ราชสมบัติในพระนครพาราณสี แล้วส่งข่าวมาถึงท่าน เมื่อนั้น ขอให้ท่านพึงมาหาข้าพเจ้า กล่าวดังนี้แล้วก็จากไป. ครั้นไปถึงพระนครพาราณสีแล้วถวายบังคมพระชนกชนนี แล้วแสดงศิลปะให้ทอดพระเนตร. พระราชาตรัสว่า เรามีชีวิตอยู่ทันเห็นบุตรเราขณะมีชีวิตอยู่นี้แหละ จักได้เห็นความสง่าในราชสมบัติแห่งบุตรของเรา จึงทรงสถาปนาพระราชโอรสไว้ในราชสมบัติ. เมื่อพระราชโอรสได้ครอบครองศิริราชสมบัติก็ระลึกถึงโทษที่อาจารย์ได้กระทําไว้ ก็ทรงพระพิโรธ จึงทรงส่งทูตไปถึงอาจารย์เพื่อให้มาเฝ้าด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักฆ่าอาจารย์นั้น. ท่านอาจารย์คิดว่า ในเวลาที่เขายังหนุ่มแน่นเราจักไม่อาจให้พระราชานั้นเข้าใจได้ จึงมิได้ไป ในเวลาที่พระราชานั้นล่วงเข้ามัชฌิมวัย คิดว่าบัดนี้เราจักอาจทําให้พระราชานั้นเข้าใจได้ จึงได้เดินทางไปยืนอยู่ที่ประตูพระราชวัง ให้กราบทูลว่าอาจารย์จากเมืองตักกศิลามาแล้ว. พระราชาทรงโสมนัสยินดีรับสั่งให้เรียกพราหมณ์มา พอเห็นอาจารย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 17
นั้นมาเฝ้าพระองค์เท่านั้น ทรงพระพิโรธจนพระเนตรทั้งสองข้างแดง ตรัสเรียกอํามาตย์ทั้งหลายมาว่า แน่ะผู้เจริญที่ที่อาจารย์เฆี่ยนยังเสียดแทงเรา อยู่จนทุกวันนี้ อาจารย์บากหน้าพาเอาความตายมาโดยไม่รู้ว่า เราจักตายวันนี้ อาจารย์ผู้นั้นจะไม่มีชีวิตแล้ว จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถา อันมีในเบื้องต้นว่า :-
การที่ท่านให้จับแขนเราไว้แล้วเฆี่ยนตีเราด้วยซีกไม้ไผ่ เพราะเหตุเมล็ดงากํามือหนึ่งนั้น ยังฝังใจเราอยู่จนทุกวันนี้. ดูก่อนพราหมณ์ ท่านไม่ใยดีในชีวิตของท่านแล้วหรือ จึงมาหาเราถึงที่นี่ ผลที่ท่านให้จับแขนทั้งสองของเราแล้วเฆี่ยนตีเราถึง ๓ ทีนั้นจักสนองท่านในวันนี้.
ทุติยาวิภัติในบททั้งสองว่า ยํ มํ และ พาหายํ มํ ในคาถานั้น เพ่งถึงการเฆี่ยนตีและการจับ. ในบทนี้มีอธิบายดังนี้ว่าข้อที่ท่านเฆี่ยนตีเรา เพราะเมล็ดงากํามือหนึ่ง และเมื่อเฆี่ยนตียังได้จับแขนเราแล้วเฆี่ยนตีนั้น ยังฝังใจเราอยู่แม้ทุกวันนี้. บทว่า นนุชีวิเต น รมสิ ความว่า ท่านเห็นจะไม่ยินดีในชีวิตของตน. บทว่า เยนาสิ พฺราหฺมณาคโต ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุที่ท่านมาหาเราในที่นี้. บทว่า ยํ มํ พาหา คเหตฺวาน ความว่า ข้อที่จับแขนทั้งสองของเรา อธิบายว่า จับที่แขนดังนี้ก็มี. บทว่า ติกฺขตฺตํุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 18
อนุตาลยิ ความว่า ท่านเฆี่ยนตีเราด้วยซีกไม้ไผ่ถึง ๓ ครั้ง วันนี้แหละ ท่านจะได้รับผลแห่งการเฆี่ยนตีเรานั้น. พระราชาเอาความตายมาขู่อาจารย์ดังนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น.
อาจารย์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
อริยชนใดย่อมเกียดกันอนารยชน ผู้กระทําชั่วด้วยการลงโทษ กรรมของอริยชนนั้นเป็นการสั่งสอนหาใช่เป็นเวรไม่ บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้ชัดข้อนั้นอย่างนี้แล.
บทว่า อริโย ในคาถานั้น เป็นชื่อของผู้สอน. ก็อริยชนนี้นั้นมี ๔ ประเภท คือ อาจารอริยชน อริยชนผู้มีอาจาระ ๑ ทัสสนอริยชน อริยชนที่ควรแลดู ๑ ลิงคอริยชน อริยชนผู้ถือเพศ ๑ ปฏิเวธอริยชน อริยชนผู้รู้แจ้งแทงตลอด ๑ ในอริยชน ๔ ประเภทนั้น อริยชนผู้ตั้งอยู่ในมารยาทอันประเสริฐ จะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ดิรัจฉานก็ตาม ชื่อว่าอาจารอริยชน. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
ข้าพเจ้าขอสละภัสดาผู้ประพฤติเยี่ยงอริยชนคนโกง เชิดชูบิณฑะ ที่พามาได้นั้นแก่ท่าน ขอท่านทั้งสองจงไปตามสบายเถิด.
ส่วนอริยชนผู้ประกอบด้วยรูปและอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส น่าดูชื่อว่าทัสสนอริยชน. สมจริงดังคําที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 19
ท่านผู้เจริญ ท่านมีนัยน์ตาผ่องใส่ มีท่าทางอันประเสริฐ ออกบวชจากตระกูลอะไร จิตของท่านสละโภคทรัพย์ได้ละหรือ ผู้มีปัญญาเท่านั้นจึงจะออกจากเรือนบวชได้.
อริยชนผู้เป็นคล้ายสมณะ โดยถือเพศด้วยการนุ่งห่มเที่ยวไปอยู่ แม้จะเป็นผู้ทุศีล ก็ชื่อว่าลิงคอริยชน ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า :-
บุคคลผู้ทําการนุ่งห่มเหมือนผู้มีพรตอันงามทั้งหลาย มักเอาหน้า ประทุษร้ายตระกูล เป็นคนคะนอง เป็นคนเจ้าเล่ห์ ไม่สํารวม เป็นคนพร่ําเพ้อ ประพฤติโดยอาการเทียม ชื่อว่าเป็นผู้ทําลายหนทาง.
ฝ่ายพระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ชื่อว่าปฏิเวธอริยชน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธสาวกทั้งหลาย เรียกว่า พระอริยะ. บรรดาอริยชนเหล่านั้น ในที่นี้ พราหมณ์ประสงค์เอาอาจารอริยชนอย่างเดียว. บทว่า อนริยํ ได้แก่ ผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก. บทว่า กุพฺพํ ได้แก่ผู้กระทํากรรมของผู้ทุศีล ๕ อย่าง มีปาณาติบาตเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่งอรรถบทนี้เป็นอย่างเดียวกันว่า บุคคลผู้กระทํากรรมอันเป็นเวรและภัย ๕ อันไม่ประเสริฐ คือ เลวทราม ลามก บทว่า โย ความว่าก็บรรดากษัตริย์เป็นต้น คนใดคนหนึ่งนั้น บทว่า ทณฺเฑน ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 20
ด้วยเครื่องประหารอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า นิเสธติ ความว่า เฆี่ยนตีห้ามปรามว่า อย่าทํากรรมเห็นปานนี้อีกต่อไป. บทว่า สาสนํ ตํ นตํ เวรํ ความว่า ข้าแต่มหาราช ชื่อว่าการเฆี่ยนตีกีดกันบุตรธิดาหรือศิษย์ผู้กระทําสิ่งไม่ควรทําด้วยอาการอย่างนี้ เป็นการสั่งสอนในโลกนี้ คือ เป็นการพร่ําสอน เป็นโอวาท หาใช่เป็นการก่อเวรไม่ บทว่า อิติ นํ ปณฺฑิตาวิทู ความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้ชัดข้อนั้นอย่างนี้ทีเดียว. ข้าแต่มหาราช เพราะฉะนั้น แม้พระองค์ก็โปรดทรงทราบอย่างนี้ พระองค์ไม่ควรก่อเวรในฐานะเห็นปานนี้ ถ้าแม้ข้าพระองค์จักไม่ได้ให้พระองค์ทรงสําเนียกอย่างนี้แล้ว ต่อไปภายหน้า พระองค์ลักขนม น้ำตาลกรวด แลผลไม้เป็นต้น ติดในโจรกรรมทั้งหลาย จะทําการตัดช่องย่องเบา ฆ่าคนในหนทางและฆ่าชาวบ้านเป็นต้น โดยลําดับ ถูกจับพร้อมทั้งของกล่าวว่า โจรผู้ผิดต่อพระราชาแล้วแสดงต่อพระราชา จักได้รับภัยคืออาญา โดยพระดํารัสว่า พวกท่านจงไปลงอาญาอันสมควรแก่โทษของโจรนี้ สมบัติเห็นปานนี้ จักได้มีแก่พระองค์มาแต่ไหน พระองค์ได้ความเป็นใหญ่โดยเรียบร้อยเพราะอาศัยข้าพระองค์มิใช่หรือ อาจารย์ได้ทําให้พระราชายินยอมด้วยประการดังกล่าวมานี้.
ฝ่ายอํามาตย์ทั้งหลายผู้ยืนห้อมล้อมอยู่ ได้ฟังถ้อยคําของอาจารย์นั้นแล้วจึงกราบทูลว่า ขอเดชะ คําที่อาจารย์กล่าวนั้นเป็นความจริง ความเป็นใหญ่นี้เป็นไปของท่านอาจารย์ของพระองค์ ขณะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 21
พระราชาทรงกําหนดได้ถึงคุณของอาจารย์จึงกล่าวว่า ท่านอาจารย์ข้าพเจ้าให้ความเป็นใหญ่นี้แก่ท่าน ขอท่านจงรับราชสมบัติเถิด. อาจารย์ปฏิเสธว่า ข้าพระองค์ไม่ต้องการราชสมบัติ. พระราชาทรงส่งข่าวไปยังเมืองตักกศิลา ให้นําบุตรและภรรยาของอาจารย์มา แล้วประทานอิสริยยศใหญ่ ทรงตั้งอาจารย์นั้นนั่นแล ให้เป็นปุโรหิตแล้วตั้งไว้ในฐานเป็นบิดา ตั้งอยู่ในโอวาทของอาจารย์นั้น บําเพ็ญบุญทั้งหลาย มีทานเป็นต้น ได้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประกาศอริยสัจ ๔ ทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบอริยสัจ ภิกษุผู้มักโกรธดํารงในอนาคามิผล คนอื่นๆ ได้เป็นพระโสดาบันและพระสกทาคามี. พระราชาในคราวนั้น ได้เป็นภิกษุผู้มักโกรธในบัดนี้ ส่วนอาจารย์ในคราวนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาติลมุฏฐิชาดกที่ ๒