พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. กุณฑกกุจฉิสินธวชาดก รู้ว่าเขาดีก็ต้องเลี้ยงให้สมดี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35704
อ่าน  495

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 30

๔. กุณฑกกุจฉิสินธวชาดก

รู้ว่าเขาดีก็ต้องเลี้ยงให้สมดี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 30

๔. กุณฑกกุจฉิสินธวชาดก

รู้ว่าเขาดีก็ต้องเลี้ยงให้สมดี

[๓๖๑] ท่านเคยบริโภคหญ้าที่เป็นเดน เคยบริโภครําและข้าวตังมาแล้วจนเติบโต นี่เคยเป็นอาหารของท่านมาแล้ว เพราะเหตุไรบัดนี้ท่านจึงไม่บริโภคเล่า.

[๓๖๒] ข้าแต่ท่านมหาพราหมณ์ ในที่ใดชนทั้งหลายไม่รู้จักสัตว์ โดยชาติ หรือโดยวินัยในที่นั้นรําและข้าวตังมีเป็นอันมาก.

[๓๖๓] ก็ท่านรู้จักข้าพเจ้าดีแล้วว่า ม้าตัวนี้เป็นม้าอุดมเช่นไร ข้าพเจ้ารู้สึกตนอยู่เพราะอาศัยท่านผู้รู้ จึงไม่บริโภครําของท่าน.

จบ กุณฑกกุจฉิสินธวชาดกที่ ๔

อรรถกถากุณฑกกุจฉิสินธวชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพระสารีบุตรเถระ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า ภุตฺวา ติณปริฆาสํ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 31

    ได้ยินว่า สมัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี ออกพรรษาแล้วเสด็จเที่ยวจาริกแล้วเสด็จกลับมาอีก. คนทั้งหลายคิดกันว่า จักกระทําอาคันตุกสักการะ จึงถวายมหาทานแก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พากันตั้งภิกษุผู้ประกาศธรรมรูปหนึ่งไว้ในพระวิหาร. ภิกษุนั้นจัดภิกษุให้แก่ทายกเท่าจํานวนที่ต้องการ. ครั้งนั้น มีหญิงแก่เข็ญใจคนหนึ่ง ได้จัดแจงส่วนทานวัตถุไว้เฉพาะส่วนเดียว เมื่อพระธรรมโฆษกจัดภิกษุให้แก่คนเหล่านั้นแล้ว ในเวลาสายนางจึงไปยังสํานักของพระธรรมโฆษกแล้วกล่าวว่าขอท่านจงจัดภิกษุให้แก่ดิฉันรูปหนึ่งเถิด. พระธรรมโฆษกกล่าวว่าอาตมาจัดภิกษุให้ไปหมดแล้ว แต่พระสารีบุตรเถระยังอยู่ในวิหาร ท่านจงถวายภิกษาหารแก่ท่านเถิด. หญิงชรานั้นดีใจ. ยืนอยู่ที่ซุ้มประตูพระเชตวันในเวลาพระเถระมา จึงไหว้แล้วรับบาตรจากมือนําไปเรือนนิมนต์ให้นั่งในบ้าน. พวกตระกูลที่มีศรัทธาเป็นอันมากได้ข่าวว่า หญิงชราคนหนึ่งนิมนต์พระธรรมเสนาบดีให้นั่งในเรือนของตน. ในบรรดาชนเหล่านั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลได้ทรงสดับเหตุนั้น จึงทรงส่งภัตรและโภชนะพร้อมกับผ้าสาฏก และถุงทรัพย์หนึ่งพันไปให้หญิงชรา โดยตรัสสั่งว่า หญิงชราเมื่อจะอังคาสพระผู้เป็นเจ้าของเรา จงนุ่งห่มผ้าสาฎกนี้แล้วใช้จ่ายกหาปณะเหล่านี้อังคาสพระเถระเถิด. ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านจุลลอนาถบิณฑิกเศรษฐี แม้นางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ส่งไปเหมือนดังที่พระราชาทรงส่งไป ส่วน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 32

ตระกูลอื่นๆ ก็ส่งกหาปณะไปตามควรแก่กําลังของตนๆ คนละร้อยสองร้อยเป็นต้น. โดยวิธีอย่างนี้ หญิงชราคนนั้นได้ทรัพย์ประมาณหนึ่งแสนเพียงวันเดียวเท่านั้น. ฝ่ายพระเถระดื่มยาคูเฉพาะที่หญิงชรานั้นถวาย และฉันเฉพาะของเคี้ยว และเฉพาะภัตรที่สุกแล้วที่หญิงชรานั้นกระทํา แล้วกล่าวอนุโมทนา ให้หญิงชรานั้นดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วได้ไปยังวิหารทีเดียว. ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนาถึงคุณของพระเถระในโรงธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระธรรมเสนาบดีได้เป็นที่พึ่งช่วยปลดเปลื้องหญิงชราผู้เป็นแม่เรือนให้พ้นจากความเข็ญใจ ไม่รังเกียจอาหารที่นางถวาย ฉันได้. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นที่พึ่งอาศัยของหญิงชราคนนี้ ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ ทั้งมิได้รังเกียจบริโภคอาหารที่นางถวายในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้บริโภคเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในเมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพาณิช ในอุตตราปถชนบท. พ่อค้าม้า ๕๐๐ คน จากอุตตราปถชนบทนําม้ามาขายยังเมืองพาราณสี. พ่อค้าม้าอีกคนหนึ่ง นําม้า ๕๐๐ ตัวเดินทางไปเมืองพาราณสี. ในระหว่างทางมีหมู่บ้านนิคมหนึ่งอยู่ในที่ไม่ไกลเมืองพาราณสี. เมื่อ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 33

ก่อนได้มีเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติมากอยู่ในหมู่บ้านนั้น นิเวศน์ของเขาใหญ่โต แต่ตระกูลนั้นได้ถึงความเสื่อมสลายไปโดยลําดับ. เหลือแต่หญิงชราผู้เดียวเท่านั้น. หญิงชราคนนั้นอาศัยอยู่ในนิเวศน์นั้น. ครั้งนั้น พ่อค้าม้าคนนั้นไปถึงหมู่บ้านนั้นแล้วพูดกะหญิงชราว่า ฉันจะให้ค่าเช่าแก่ท่าน แล้วจับจองการอยู่อาศัยในนิเวศน์ของหญิงชรานั้น พักม้าทั้งหลายไว้ ณ ส่วนสุดด้านหนึ่ง. ในวันนั้นเองแม่ม้าอาชาไนยตัวหนึ่งของพ่อค้านั้นตกลูกออกมา. พ่อค้านั้นพักอยู่ ๒ - ๓ วัน พอให้ม้าทั้งหลายมีกําลัง จึงกล่าวว่า ฉันจักไปเฝ้าพระราชา จึงพาม้าทั้งหลายไป. ลําดับนั้น หญิงชราได้พูดกับพ่อค้านั้นว่า ท่านจงให้ค่าเช่าบ้าน เมื่อพ่อค้ากล่าวว่า ดีล่ะแม่ฉันจะให้ นางจึงกล่าวว่าดูก่อนพ่อ เมื่อท่านจะให้ค่าเช่าบ้านแก่ฉัน จงให้ลูกม้าตัวนี้ โดยหักกับค่าเช่าบ้าน พ่อค้านั้นได้กระทําเหมือนอย่างนั้นแล้วก็หลีกไป. หญิงชรานั้นเข้าไปตั้งความเสน่หาในลูกม้านั้นประหนึ่งบุตร เมื่อเป็นอย่างนั้น ได้ให้ภัตรที่เป็นข้าวตังและหญ้าที่เป็นเดนแก่ลูกม้านั้นปรนนิบัติอยู่. ครั้นกาลต่อมาอีก พระโพธิสัตว์พาม้า ๕๐๐ ตัวไปจับจองการอยู่อาศัยในเรือนนั้น พอได้กลิ่นจากที่ที่ลูกม้าสินธพกินรําอยู่ แม้ม้าสักตัวเดียวก็ไม่อาจเข้าไปยังลานของเรือนนั้น. พระโพธิสัตว์จึงถามหญิงชรานั้นว่า ดูก่อนแม่ ในเรือนนี้มีม้าบ้างไหม? หญิงชรากล่าวว่า ดูก่อนพ่อ ชื่อว่าม้าตัวอื่นไม่มี แต่เราปรนนิบัติลูกม้าตัวหนึ่งเหมือนอย่างลูก ลูกม้าตัวนั้นมีอยู่ในเรือนนี้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 34

    พ่อค้ากล่าวว่า ดูก่อนแม่ ลูกม้าตัวนั้นอยู่ที่ไหน. หญิงชราตอบว่า ไปเที่ยวหากินจ้ะพ่อ. พ่อค้าว่า เวลาใดจักมาล่ะแม่. หญิงชราตอบว่า ต่อเวลาจวนค่ํานั่นแหละ จึงจะมานะพ่อ. พระโพธิสัตว์เมื่อจะคอยการมาของลูกม้าสินธพนั้น จึงพักม้าทั้งหลายไว้ภายนอกแล้วนั่งอยู่. ฝ่ายลูกม้าสินธพเที่ยวหากินแล้ว ต่อเวลาจวนค่ํานั้นแล จึงได้กลับมา. พระโพธิสัตว์เห็นลูกม้าสินธพมีท้องเปื้อนรํา พิจารณาลักษณะทั้งหลายแล้วคิดว่า ม้าสินธพตัวนี้มีค่ามาก เราจะให้มูลค่าแก่หญิงชราแล้ว ถือเอาลูกม้าสินธพจึงจะควร. ฝ่ายลูกม้าสินธพก็เข้าเรือนยืนอยู่ในที่อยู่ของตนเท่านั้น. ขณะนั้น ม้าเหล่านั้นไม่อาจเข้าไปยังเรือน. พระโพธิสัตว์พักอยู่ ๒ - ๓ วัน ทําม้าทั้งหลายให้อิ่มหนำแล้ว เมื่อจะไปจึงกล่าวว่า แม่ท่านจงเอามูลค่าแล้วให้ลูกม้าตัวนี้แก่ฉัน. หญิงชราว่า ท่านพูดว่าอะไรพ่อ ขึ้นชื่อว่าบุตร คนที่จะขายย่อมไม่มี. พ่อค้าว่า แม่ ท่านให้ลูกม้าตัวนี้กินอะไรปรนนิบัติอยู่. หญิงชราว่า ดูก่อนพ่อ เราให้กินรําข้าว ข้าวตังและหญ้าที่เป็นเดนและให้ดื่มข้าวยาคูต้มด้วยรําข้าวปรนนิบัติอยู่. พ่อค้าว่า ดูก่อนแม่ ฉันได้ลูกม้าตัวนี้แล้วจักให้บริโภคโภชนะมีรสอร่อยทั้งก้อน แล้วขึงเพดานผ้าตรงที่ที่เขายืน แล้วให้ยืนตั่งที่ลาดไว้. หญิงชราว่า ดูก่อนพ่อเมื่อเป็นอย่างนั้น บุตรของเราจงเสวยสุขอันเกิดจากโภคะ ท่านจงพาเอาไปเถิด. ลําดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงวางถึงทรัพย์หกพัน โดยเป็นมูลค่าของเท้าทั้ง ๔ เท้า หางและศีรษะของลูกม้านั้น แห่งละพัน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 35

แล้วให้หญิงชรานุ่งห่มผ้าใหม่ ตกแต่งแล้วให้ยืนอยู่ข้างหน้าลูกม้าสินธพ. ลูกม้าสินธพนั้นลืมตาดูมารดาหลั่งน้ำตา. ฝ่ายหญิงชราลูบหลังลูกม้าอาชาไนยนั้นแล้วกล่าวว่า เราได้ทําการเลี้ยงดูเหมือนดังลูก เจ้าจงไปเถิดพ่อ. ขณะนั้น ลูกม้าสินธพนั้นได้ไปแล้ว วันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์จัดแจงโภชนะมีรส สําหรับลูกม้านั้น คิดว่า เราจักทดลองลูกม้านั้นดูก่อน ลูกม้านั้นจะรู้กําลังของตนหรือไม่ จึงให้เทข้าวยาคูที่ต้มด้วยรําลงในรางแล้วให้กิน. ลูกม้าสินธพนั้นคิดว่าเราจักไม่กินโภชนะนี้ จึงไม่ปรารถนาจะดื่มข้าวยาคูนั้น. พระโพธิสัตว์เมื่อจะทดลองลูกม้าสินธพนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

    ท่านกินหญ้าที่เป็นเดน กินข้าวตังและรํา นี้เป็นอาหารของท่าน บัดนี้ เพราะเหตุไรท่านจึงไม่มีโภค.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุตฺวา ติณปริฆาสํ ความว่าเมื่อก่อน ท่านกินหญ้าที่เป็นเดน คือเดนหญ้าที่เหลือจากม้าทั้งหลายนั้นๆ กิน ที่หญิงชราให้จนเติบโต. ในบทว่า ภุตฺวา อาจามกุณฺฑกํ นี้ ข้าวสุกสุดท้ายที่ติดก้นหม้อ เรียกว่าข้าวตัง รํานั่นแหละเรียกว่ากุณฑกะ. ท่านแสดงว่า ท่านกินข้าวตังและรํานั่นจนเติบโต.บทว่า เอตํ เต ความว่า ข้าวตังและรํานั่นเป็นโภชนะของท่านในกาลก่อน. บทว่า กสฺมาทานิ น ภุฺชสิ ความว่า เพราะเหตุไร

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 36

บัดนี้ ท่านจึงไม่กินข้าวตังและรํานั้น.

    ลูกม้าสินธพได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา นอกนี้ว่า :-

    ข้าแต่ท่านมหาพราหมณ์ ในที่ใดชนทั้งหลายไม่รู้จักสัตว์เลี้ยง โดยชาติ หรือโดยวินัย ในที่นั้น รําและข้าวตังมีอยู่เป็นอันมาก. ท่านก็รู้จักข้าพเจ้าดีแล้วว่า ม้าตัวนี้เป็นม้าสูงส่งเพียงไร ข้าพเจ้ารู้สึกตัว เพราะอาศัยท่านผู้รู้ จึงไม่บริโภครําของท่าน.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺถ แปลว่า ในที่ใด. บทว่า โปสํ แปลว่า สัตว์. บทว่า ชาติยา วินเยน วา ความว่า ชนทั้งหลายย่อมรู้อย่างนี้ว่า ม้าตัวนี้สมบูรณ์ด้วยชาติหรือไม่ หรือว่าประกอบด้วยมารยาทหรือไม่. ม้าสินธพเมื่อจะเรียกจึงกล่าวการเรียกอย่างเคารพว่า ข้าแต่ท่านมหาพราหมณ์. บทว่า ยาทิโสยํ ตัดเป็น ยาทิโส อยํ แปลว่า ม้านี้เป็นม้าเช่นใด. ม้าสินธพกล่าวหมายถึงตน. บทว่า ชานนฺโต ชานมาคมฺม ความว่า ข้าพเจ้ารู้กําลังของตน เพราะอาศัยท่านผู้รู้อยู่นั่นแหละ จึงไม่กินรําในสํานักของท่าน ก็ท่านให้ทรัพย์ ๖ พันแล้วพาเอาข้าพเจ้ามา เพราะประสงค์จะให้กินรํา ก็หามิได้.

    พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงปลอบโยนลูกม้าสินธพนั้นว่า เราทําดังนั้นเพื่อจะทดลองเจ้าอย่าโกรธเลย แล้วให้บริโภคโภชนะดี

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 37

พาไปพระลานหลวง กันม้า ๕๐๐ ตัวไว้ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่ง แวดวงด้วยม่านอันวิจิตร ลาดเครื่องลาดข้างล่าง เบื้องบนดาดเพดานผ้าให้ลูกม้าสินธพยืนอยู่ในนั้น. พระราชาเสด็จมาทอดพระเนตรดูฝูงม้า ตรัสถามว่า เหตุไฉน ม้าตัวนี้จึงแยกไว้ต่างหาก ได้ทรงสดับว่า ม้าตัวนี้เป็นม้าสินธพ ถ้าไม่แยกไว้ในฝูงม้าเหล่านี้ก็จักหลุดหนีไป จึงตรัสถามว่า พ่อมหาจําเริญ ม้าสินธพงดงามว่องไวหรือ? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า งดงามว่องไวดี พระเจ้าข้า. เมื่อพระองค์ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเราจะดูความว่องไวของม้าสินธพตัวนี้ จึงผูกม้านั้นแล้วขึ้นขี่ พลางกราบทูลว่า ขอเดชะ ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตร แล้วให้พวกมนุษย์หลีกออกไปแล้วควบขับไปในพระลานหลวง พระลานหลวงทั้งหมดได้เป็นเหมือนแถวม้าติดกันไปหมด. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอเดชะ ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรกําลังเร็วของลูกม้าสินธพพระเจ้าข้า แล้วปล่อยออกไปอีก แม้คนสักคนหนึ่งก็แลไม่เห็นลูกม้าสินธพนั้น. จึงเอาแผ่นผ้าแดงผูกที่ท้องแล้วปล่อยออกไปอีก. พวกมหาชนเห็นแต่แผ่นผ้าแดงที่เขาผูกไว้ที่ท้องของลูกม้าสินธพนั้นเท่านั้น. ลําดับนั้นพระโพธิสัตว์จึงปล่อยม้าสินธพนั้นบนหลังน้ำสระโบกขรณีแห่งหนึ่ง ภายในพระนคร. เมื่อม้าสินธพนั้นวิ่งไปบนหลังพื้นน้ำในสระโบกขรณีนั้น แม้แต่ปลายกีบก็ไม่เปียก เมื่อวิ่งควบไปบนใบบัวอีกครั้งหนึ่ง แม้ใบบัวสักใบหนึ่งก็มิได้จมลงในน้ำ. พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงสมบัติแห่งความรวดเร็ว

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 38

ของลูกม้าสินธพนั้นอย่างนี้แล้ว จึงลง ปรบมือยื่นฝ่ามือเข้าไป. ม้ากระโดดขึ้นไปยืนบนฝ่ามือ กระทําเท้าทั้งสี่ให้รวมอยู่ในที่เดียวกัน. ลําดับนั้น มหาสัตว์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช เมื่อข้าพระองค์แสดงกําลังเร็วของอัศวโปดกตัวนี้โดยอาการทุกอย่าง เมื่อจะทรงเก็บไว้ในแว่นแคว้นอันมีสมุทรเป็นขอบเขต ก็ย่อมไม่เพียงพอที่จะเก็บไว้. พระราชาทรงดีพระทัย ได้ประทานตําแหน่งอุปราชแก่พระมหาสัตว์ ได้อภิเษกลูกม้าสินธพแล้วตั้งให้เป็นม้ามิ่งมงคล. ลูกม้าสินธพนั้นได้เป็นที่รักใคร่โปรดปรานของพระราชา. แม้สักการะก็ได้มีเป็นอันมากแก่ลูกม้าสินธพนั้น. แม้ที่อยู่ของลูกม้าสินธพนั้น ได้เป็นดุจห้องเรือนอบที่พระราชาทรงตกแต่งประดับประดาไว้ได้ทําการฉาบทาพื้นด้วยความหอมมีชาติ ๔ ให้ห้อยพวงของหอมและพวงดอกไม้ เบื้องบนมีเพดานผ้าวิจิตรงดงามด้วยดาวทอง. ได้แวดวงม่านอันวิจิตรไว้รอบด้าน. ตามประทีปน้ำมันหอมไว้เป็นนิตย์. ให้ตั้งกระถางทองไว้ในที่ที่ลูกม้าสินธพนั้นถ่ายอุจจาระปัสสาวะ บริโภคโภชนะของเสวยสําหรับพระราชาเป็นนิตย์ทีเดียว. จําเดิมแต่ลูกม้าสินธพนั้นมาอยู่ ราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ได้อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระราชาทั้งนั้น. พระราชาทรงดํารงอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรงบําเพ็ญบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ได้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

    พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอันมากได้เป็น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 39

พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี. หญิงชราในกาลนั้น ได้เป็นหญิงชราคนนี้แหละ. ม้าสินธพในกาลนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร. พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนพ่อค้าม้า คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

    จบ อรรถกถากุณฑกกุจฉิสินธวชาดกที่ ๔