พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. สุกชาดก โทษของการไม่รู้ประมาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35705
อ่าน  616

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 40

๕. สุกชาดก

โทษของการไม่รู้ประมาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 40

๕. สุกชาดก

โทษของการไม่รู้ประมาณ

[๓๖๔] ลูกนกแขกเต้าตัวนั้น รู้ประมาณในการบริโภคอยู่เพียงใด ก็ได้สืบอายุและได้เลี้ยงมารดาบิดาอยู่เพียงนั้น.

[๓๖๕] อนึ่ง ในกาลใด ลูกนกแขกเต้านั้นกลืนกินโภชนะมากเกินไป ในกาลนั้น ก็ได้ชื่อว่าไม่รู้จักประมาณในการบริโภค จึงได้จมลงในมหาสมุทรนั้นเทียว.

[๓๖๖] เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้รู้จักประมาณความไม่หลงติดอยู่ในโภชนะ เป็นความดีด้วยว่าบุคคลไม่รู้จักประมาณ ย่อมจมลงในอบายทั้ง ๔ บุคคลผู้รู้จักประมาณแล ย่อมไม่จมลงในอบาย ๔.

จบ สุกชาดกที่ ๕

อรรถกถาสุกชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่งผู้มรณภาพเพราะฉันมากเกินไปจนอาหารไม่ย่อย จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า ยาว โส มตฺตมฺาสิ ดังนี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 41

    ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นมรณภาพไปอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันถึงโทษมิใช่คุณของภิกษุรูปนั้นในโรงธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุโน้นไม่รู้ประมาณท้องของตน บริโภคมากเกินไปไม่สามารถทําอาหารให้ย่อยจึงมรณภาพ. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุนี้ก็ตายเพราะบริโภคมากเป็นปัจจัย ดังนี้แล้วจึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้

    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกําเนิดนกแขกเต้าในประเทศหิมพานต์ ได้เป็นพระยาของนกแขกเต้าหลายพัน อยู่ในหิมวันตประเทศอันเลียบไปตามมหาสมุทร. พระโพธิสัตว์นั้นมีลูกอยู่ตัวหนึ่ง เมื่อลูกนกนั้นเจริญวัย พระโพธิสัตว์ก็มีจักษุทุรพล. ได้ยินว่า นกแขกเต้าทั้งหลายมีกําลังบินเร็ว ด้วยเหตุนั้นในเวลานกแขกเต้าเหล่านั้นแก่ตัวลง จักษุนั่นแลจึงทุรพลไปก่อน ลูกนกแขกเต้าตัวนั้น ให้บิดามารดาอยู่เฉพาะในรัง แล้วนําอาหารมาเลี้ยงดู. วันหนึ่ง ลูกนกแขกเต้านั้นไปยังที่หากินแล้วจับอยู่บนยอดเขา มองดูสมุทรเห็นเกาะๆ หนึ่ง. ก็ที่เกาะนั้น มีป่ามะม่วง มีผลหวาน มีสีเหมือนทอง. วันรุ่งขึ้น ได้เวลาหากิน ลูกนกแขกเต้านั้นบินไปลงที่ป่ามะม่วงนั้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 42

ดื่มรสมะม่วงแล้วได้คาบเอาผลมะม่วงสุกมาให้บิดามารดา พระโพธิสัตว์กินผลมะม่วงนั้นแล้วจํารสได้จึงกล่าวว่า ลูกเอย นี้ผลมะม่วงสุกในเกาะโน้นมิใช่หรือ เมื่อลูกนกแขกเต้ารับว่าใช่จ้ะพ่อ จึงกล่าวว่าลูกเอย พวกนกแขกเต้าที่ไปยังเกาะนั้น ชื่อว่าจะรักษาอายุให้ยืนยาวได้ไม่มีเลย เจ้าอย่าได้ไปยังเกาะนั้นอีกเลย. ลูกนกแขกเต้านั้นไม่เชื่อคําของพระโพธิสัตว์นั้น คงไปอยู่อย่างนั้น. ครั้นวันหนึ่ง ลูกนกแขกเต้าดื่มรสมะม่วงเป็นอันมากแล้วคาบเอามะม่วงสุกมาเพื่อบิดามารดา เมื่อบินมาถึงกลางมหาสมุทร เพราะบินเร็วเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อยถูกความง่วงครอบงํา ทั้งที่หลับอยู่ก็ยังบินมาอยู่นั่นแหละ. ส่วนมะม่วงสุกที่คาบมาด้วยจงอยปากก็หลุดล่วงไป. ลูกนกแขกเต้านั้นได้ละทางที่เคยมาเสียโดยลําดับ จึงตกลงในน้ำ เขาลอยมาตามพื้นน้ำจึงจมลงในน้ำ. ที่นั้น ปลาตัวหนึ่งคาบลูกนกแขกเต้านั้นกินเสีย. เมื่อลูกนกแขกเต้านั้นไม่มาตามเวลาที่เคยมา พระโพธิสัตว์ก็รู้ได้ว่า เห็นจะตกมหาสมุทรตายเสียแล้ว. ครั้งนั้น เมื่อบิดามารดาของเขาไม่ได้อาหารจึงซูบผอมตายไป.

    พระศาสดาครั้นทรงนําเรื่องในอดีตมาสาธกแล้ว ทรงเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

    ลูกนกแขกเต้าตัวนั้น รู้ประมาณในการบริโภคอยู่เพียงใด ก็ได้สืบอายุ และได้เลี้ยงดูบิดามารดาอยู่เพียงนั้น. อนึ่ง ใน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 43

กาลใด ลูกนกแขกเต้านั้นกลืนกินโภชนะมากเกินไป ในกาลนั้น ก็ได้ชื่อว่าไม่รู้จักประมาณในการบริโภค จึงจมลงในมหาสมุทรนั่นเอง. เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้รู้ประมาณความไม่หลงติดในโภชนะเป็นความดี. ด้วยว่า บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณ ย่อมจมลงในอบายทั้ง ๔ บุคคลผู้รู้จักประมาณเท่านั้นย่อมไม่จมลงในอบาย ๔.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว โส ความว่า นกนั้นได้รู้ประมาณในโภชนะอยู่เพียงใด. บทว่า ตาว อทฺธานมาปาทิ ความว่า ให้ถึงความเป็นอยู่นาน คือได้อายุ ตลอดกาลเพียงนั้น. บทว่า มาตรฺจ นี้เป็นเพียงหัวข้อเทศนา. อธิบายว่า ได้เลี้ยงดูบิดามารดา. บทว่า ยโต จ โข แปลว่า ก็ในกาลใดแล. บทว่า โภชนํ อชฺฌวาหริ ความว่า กลืนกินรสมะม่วง. บทว่า ตโต แปลว่า ในกาลนั้น. บทว่า ตตฺเถว สํสีทิ ความว่า จมลง คือดําลงในสมุทรนั้นนั่นแหละ ถึงความเป็นอาหารของปลา. บทว่าตสฺมา มตฺตฺุตา สาธุ ความว่า เพราะเหตุที่นกแขกเต้าไม่รู้ประมาณในโภชนะ จึงตกมหาสมุทรตาย เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้รู้จักประมาณ กล่าวคือความเป็นผู้ไม่ติดในโภชนะเป็นความดี อธิบายว่า การรู้ประมาณเป็นความดี. อีกอย่างหนึ่งแม้ความเป็นผู้รู้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 44

ประมาณก็เป็นความดี ซึ่งท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมาฯลฯด้วยการอยู่อย่างผาสุก และว่า :-

    ภิกษุบริโภคของสดหรือของแห้งไม่ควรให้อิ่มเกินไป เป็นผู้มีท้องพร่อง รู้จักประมาณในอาหาร มีสติพึงงดเว้นเสีย ยังอยู่ ๔ - ๕ คํา ก็จะอิ่ม อย่าบริโภค พึงดื่มน้ำแทน เป็นการเพียงพอเพื่อจะอยู่อย่างผาสุก สําหรับภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น. เวทนาของภิกษุนั้นผู้เป็นมนุษย์มีสติอยู่ทุกเวลา ผู้ได้โภชนะแล้วรู้จักประมาณ ย่อมเป็นเวทนาที่เบา อาหารที่บริโภคย่อมค่อยๆ ย่อยไปเลี้ยงอายุ.

    แม้ความเป็นผู้ไม่ติดก็เป็นความดี ซึ่งท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า :-

    บุคคลไม่ติดรส ย่อมกลืนกินอาหารเพื่อต้องการยังอัตภาพให้เป็นไปเหมือนบริโภคเนื้อบุตรในหนทางกันดาร เหมือนใช้น้ำมันหยอดเพลารถฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 45

    แต่ในบาลีท่านเขียนว่า อคิทฺธิตา ปาฐะในอรรถกถานี้ไพเราะกว่าพระบาลีนั้น. บทว่า อมตฺตฺู หิ สีทนฺติ ความว่า ด้วยว่าบุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ กระทํากรรมอันลามกด้วยอํานาจความอยากในรส ย่อมจมลงในอบายทั้ง ๔. บทว่า มตฺตฺูวน สีทเร ความว่า ส่วนชนเหล่าใดย่อมรู้จักประมาณในโภชนะชนเหล่านั้นย่อมไม่จมลงทั้งในทิฏฐธรรม ทั้งในสัมปรายภพ.

    พระศาสดาครั้นทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธกแล้ว ทรงประกาศอริยสัจ ๔ แล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบอริยสัจ ชนเป็นอันมากได้เป็นพระโสดาบันบ้าง พระสกทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้างพระอรหันต์บ้าง. ภิกษุผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะได้เป็นลูกของพระยานกแขกเต้าในกาลนั้น ส่วนพระยานกแขกเต้า คือเราตถาคตฉะนี้แล.

    จบ อรรถกถาสุกชาดกที่ ๕