พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ชรูทปานชาดก ขุดบ่อได้ทรัพย์กลับพินาศเพราะขุดเกิน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35706
อ่าน  415

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 46

๖. ชรูทปานชาดก

ขุดบ่อได้ทรัพย์กลับพินาศเพราะขุดเกิน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 46

๖. ชรูทปานชาดก

ขุดบ่อได้ทรัพย์กลับพินาศเพราะขุดเกิน

[๓๖๗] พ่อค้าทั้งหลายมีความต้องการด้วยน้ำพากันขุดบ่อน้ำเก่าได้แร่เหล็ก แร่ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว แก้วมณี เงิน ทอง แก้วมุกดาและแก้วไพฑูรย์ เป็นอันมาก

[๓๖๘] แต่พวกพ่อค้าเหล่านั้น ก็ไม่ได้ยินดีด้วยทรัพย์นั้น ได้พากันขุดให้ลึกยิ่งขึ้นๆ ในบ่อน้ำนั้นมีพระยานาคมีพิษร้ายแรงมีเดช ได้ฆ่าพวกพ่อค้าเหล่านั้นเสียด้วยเดชแห่งพิษ.

[๓๖๙] เพราะฉะนั้น บุคคลพึงขุดบ่อน้ำเถิด แต่ไม่ควรขุดให้ลึกเกินไป เพราะว่าบ่อที่ขุดลึกเกินไปเป็นของลามก ทรัพย์ที่พวกพ่อค้าได้แล้วด้วยการขุด และชีวิตก็พินาศไปเพราะการที่ขุดลึกเกินไป.

จบ ชรูทปานชาดกที่ ๖

อรรถกถาชรูทปานชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพ่อค้าชาวเมืองสาวัตถี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า ชรูทปานํ ขณมานา ดังนี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 47

    ได้ยินว่า พ่อค้าเหล่านั้นซื้อสินค้าในเมืองสาวัตถีบรรทุกเกวียนในเวลาจะไปเพื่อต้องการค้าขาย ได้นิมนต์พระตถาคตมาแล้ว ถวายมหาทาน รับสรณะตั้งอยู่ในศีล ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายจักเดินทางไกลไปค้าขายจําหน่ายสินค้าหมดแล้ว สําเร็จเสร็จการไป ได้กลับมาโดยปลอดภัยจักถวายบังคมพระองค์อีก ครั้นกราบทูลแล้วก็ออกเดินทางไป. พ่อค้าเหล่านั้น ได้พบบ่อน้ำเก่าในหนทางกันดาร จึงกล่าวกันว่า ในบ่อนี้ไม่มีน้ำดื่ม และพวกเราก็กระหายน้ำ จักขุดบ่อนั้น ว่าแล้วก็พากันขุดได้เหล็ก โลหะ และแก้วไพฑูรย์โดยลําดับ พ่อค้าเหล่านั้นเป็นผู้สันโดษด้วยทรัพย์นั้นเท่านั้น เอารัตนะเหล่านั้นบรรทุกจนเต็มเกวียน กลับมาพระนครสาวัตถีโดยปลอดภัย. พ่อค้าเหล่านั้นเก็บทรัพย์ที่ได้มาแล้วคิดกันว่า พวกเราเดินทางสําเร็จเรียบร้อยแล้วจักถวายทาน จึงนิมนต์พระตถาคต ถวายทาน ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลถึงเหตุที่ตนได้ทรัพย์แด่พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า ท่านทั้งหลายแลเป็นอุบาสก สันโดษด้วยทรัพย์นั้น จึงได้ทรัพย์และชีวิต เพราะความเป็นผู้รู้ประมาณ ส่วนพวกเก่าเป็นผู้ไม่สันโดษ ไม่รู้จักประมาณ ไม่กระทําตามคําของบัณฑิตทั้งหลาย จึงถึงความสิ้นชีวิตไป อันพ่อค้าเหล่านั้นอ้อนวอนอาราธนาแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

    ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพา-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 48

ราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพ่อค้าในนครพาราณสี พอเจริญวัยก็ได้เป็นหัวหน้าพ่อค้าเกวียน พระโพธิสัตว์นั้น ซื้อสินค้าในนครพาราณสีบรรทุกเกวียน พาพวกพ่อค้าเป็นอันมากเดินไปทางกันดารนั้นเหมือนกัน ได้เห็นบ่อน้ำเหมือนกัน. ณ ที่นั้น พ่อค้าเหล่านั้นกล่าวกันว่าจักดื่มน้ำ จึงขุดบ่อนั้น ได้ทรัพย์มีแก้วไพฑูรย์เป็นต้นมากมายโดยลําดับ. พ่อค้าเหล่านั้นได้รัตนะแม้มากมาย ก็ยังไม่สันโดษคือยินดีเท่าที่ได้รัตนะนั้น พากันขุดบ่อนั้นหนักยิ่งขึ้นด้วยหมายใจว่าในบ่อนี้ จักมีสิ่งแม้อื่นที่ดีกว่ารัตนะแม้นี้. ลําดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะพ่อค้าเหล่านั้นว่า พ่อค้าทั้งหลายผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่าความโลภนี้เป็นมูลแห่งความพินาศ พวกท่านได้ทรัพย์มากแล้ว จงสันโดษด้วยทรัพย์มีประมาณเท่านี้เถิด อย่าขุดเกินไปนัก. พ่อค้าเหล่านั้นแม้จะถูกพระโพธิสัตว์ห้ามก็ยังขืนขุดอยู่นั่นแหละ. ก็บ่อน้ำนั้นนาคหวงแหนไว้. ลําดับนั้น พระยานาคผู้อยู่ภายใต้บ่อน้ำนั้น เมื่อวิมานของตนถูกทําลาย เมื่อก้อนดินและฝุ่นตกใส่ก็โกรธใช้ลมจมูกเป่าพ่อค้าทั้งหมดให้ถึงความสิ้นชีวิตไม่มีเหลือ เว้นไว้แต่พระโพธิสัตว์ แล้วออกจากนาคพิภพให้เทียมเกวียนบรรทุกรัตนะทั้ง ๗ จนเต็ม ให้พระโพธิสัตว์นั่งในยานน้อยอันสบาย พวกนาคมาณพขับเกวียนนําพระโพธิสัตว์ไปยังนครพาราณสี เข้าไปยังเรือนเก็บทรัพย์แล้วก็ไปสู่นาคพิภพของตนตามเดิม. พระโพธิสัตว์จ่ายทรัพย์นั้น กระทําให้ชมพูทวีปทั้งสิ้นไม่ต้องไถนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ในเวลาสิ้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 49

ชีวิตได้ไปเกิดในสวรรค์.

    พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว เป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งเอง ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-

    พ่อค้าทั้งหลายผู้มีความต้องการน้ำพากันขุดบ่อน้ำเก่า ได้แร่เหล็ก แร่ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว แก้วมณี เงินทอง แก้วมุกดาและแก้วไพฑูรย์ เป็นอันมาก แต่พ่อค้าเหล่านั้นไม่ได้ยินดีด้วยทรัพย์นั้น พากันขุดลึกยิ่งขึ้นๆ ในบ่อน้ำนั้น มีพระยานาคมีพิษร้ายแรง มีเดช ได้ฆ่าพ่อค้าเหล่านั้นเสียด้วยเดชแห่งพิษ. เพราะฉะนั้น บุคคลพึงขุดบ่อน้ำเถิด แต่ไม่ควรขุดให้ลึกเกินไป เพราะบ่อที่ขุดลึกเกินไปเป็นของลามก ทรัพย์ที่พวกพ่อค้าได้แล้วด้วยการขุดก็พินาศไป เพราะการขุดลึกเกินไป.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยํ ได้แก่ โลหะสีดํา (เหล็ก) . บทว่า โลหํ ได้แก่ โลหะสีแดง (ทองแดง) บทว่า มุตฺตา ได้แก่แก้วมุกดาเป็นต้น. บทว่า เต จ เตน อสนฺตุฏา ความว่า ก็พ่อค้าเหล่านั้นไม่ได้ยินดีด้วยทรัพย์นั้น. บทว่า เต ตตฺถ ได้แก่ พ่อค้าเหล่านั้น ในบ่อน้ำนั้น. บทว่า เตชสี ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 50

เดชแห่งพิษ. บทว่า เตชสา หนิ ได้แก่ ฆ่าด้วยเดชแห่งพิษ. บทว่า อติกฺขาเตน นาสิตํ ความว่า เพราะขุดลึกเกินไป ทรัพย์และชีวิตนั้น จึงพินาศไป.

    พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระยานาคในกาลนั้น ได้เป็นพระสารีบุตรในบัดนี้ ส่วนหัวหน้าพ่อค้าเกวียนคือเราตถาคต ฉะนี้แล.

    จบ อรรถกถาชรูทปานชาดกที่ ๖