พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทูตชาดก ทุกชีวิตเป็นทูตของท้อง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35710
อ่าน  461

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 88

๑๐. ทูตชาดก

ทุกชีวิตเป็นทูตของท้อง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 88

๑๐. ทูตชาดก

ทุกชีวิตเป็นทูตของท้อง

[๓๗๙] สัตว์เหล่านี้เป็นไปในอํานาจของตัณหาย่อมไปสู่ประเทศอันไกล หวังจะขอสิ่งของตามแต่จะได้ เพื่อประโยชน์แก่ท้องใด ข้าพระองค์เป็นทูตของท้องนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ขอพระองค์อย่าได้ทรงพิโรธแก่ข้าพระองค์เลย.

[๓๘๐] อนึ่ง มาณพทั้งหลาย ย่อมตกอยู่ในอํานาจของท้องใด ทั้งกลางวันและกลางคืน ข้าพระองค์ก็เป็นทูตของท้องนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ขอพระองค์อย่าได้ทรงพิโรธแก่ข้าพระองค์เลย.

[๓๘๑] ดูก่อนพราหมณ์ เราจะให้โคสีแดงแก่ท่านสักพันตัวพร้อมทั้งโคจ่าฝูงแก่ท่าน แม้เราและสัตว์ทั้งมวลก็ชื่อว่าเป็นทูตของท้องทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เราก็เป็นทูตไฉนจะไม่ให้สิ่งของแก่ท่านผู้เป็นทูตเล่า.

จบ ทูตชาดกที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 89

อรรถกถาทูตชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุโลเลรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคําเริ่มต้นว่า ยสฺสตฺถา ทูรมายนฺติ ดังนี้. เรื่องจักมีแจ้งในกากชาดก นวกนิบาต. ก็พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุรูปนั้นมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอเป็นผู้โลเลเหลาะแหละเฉพาะในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน เธอก็เป็นผู้โลเลเหลาะแหละก็เพราะความเป็นผู้โลเลเหลาะแหละ เธอจวนจะถูกตัดศีรษะด้วยดาบ. แล้วทรงนําเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นโอรสของพระเจ้าพรหมทัตนั้น พอเจริญวัยก็ได้เล่าเรียนศิลปศาสตร์ทั้งปวงในเมืองตักกศิลา พอพระชนกล่วงลับไป ก็ได้ดํารงอยู่ในราชสมบัติ ได้เสวยโภชนะอันบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงมีพระนามว่า พระเจ้าโภชนสุทธิกราช. ได้ยินว่า พระองค์ทรงดํารงอยู่ในวิธีการเห็นปานนั้นเสวยพระกระยาหารซึ่งมีภาชนะใบหนึ่งสิ้นเปลืองค่าถึงแสนกหาปณะ อนึ่ง เมื่อเสวยก็ไม่เสวยภายในพระราชมณเฑียรเพราะมีพระประสงค์จะให้มหาชนผู้ได้เห็นวิธีการเสวยของพระองค์ได้กระทําบุญ จึงให้สร้างรัตนมณฑปที่ประตูพระราชวัง เวลาจะเสวยก็ให้ประดับประดารัตนมณฑปนั้น แล้วประทับนั่งบนราชบัลลังก์อันล้วนด้วยทองคําภายใต้เศวตรฉัตร แวดล้อมด้วยนางกษัตริย์ทั้งหลาย จึงเสวยพระ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 90

กระยาหารอันมีรสซึ่งมีค่าถึงแสนกหาปณะ ด้วยภาชนะทองอันมีค่าแสนกหาปณะ.

ครั้งนั้น มีบุรุษโลเลคนหนึ่งได้เห็นวิธีเสวยพระกระยาหารของพระราชานั้น อยากจะบริโภคโภชนะนั้น เมื่อไม่สามารถจะอดกลั้นความอยากได้ คิดว่าอุบายนี้ดี จึงนุ่งผ้าให้มั่นคงแล้วยกมือขึ้นข้างหนึ่งร้องเสียงดังๆ ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เราเป็นทูต พลางเข้าไปเฝ้าพระราชา. ก็สมัยนั้น ในชนบทนั้น ใครๆ ย่อมห้ามคนที่กล่าวว่าเราเป็นทูต เพราะฉะนั้น มหาชนจึงแยกออกเป็นสองฝ่ายให้โอกาส. บุรุษผู้นั้นรีบไปคว้าเอาก้อนภัตรก้อนหนึ่งจากภาชนะทองของพระราชาใส่ปาก. ลําดับนั้น ทหารดาบชักดาบออกด้วยหมายใจจักตัดหัวของบุรุษนั้น. พระราชาตรัสห้ามว่า อย่าประหาร แล้วตรัสว่า เจ้าอย่ากลัว จงบริโภคเถอะ แล้วทรงล้างพระหัตถ์ประทับนั่ง. และในเวลาเสร็จสิ้นการบริโภค พระราชาให้ประทานน้ำดื่มและหมากพลูแก่บุรุษผู้นั้นแล้วตรัสถามว่า บุรุษผู้เจริญ เจ้ากล่าวว่าเป็นทูต เจ้าเป็นทูตของใคร. บุรุษนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์เป็นทูตของตัณหา ตัณหาตั้งข้าพระองค์ให้เป็นทูตแล้วบังคับส่งมาว่าเจ้าจงไป ดังนี้แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถาแรกว่า :-

สัตว์เหล่านี้ย่อมไปสู่ประเทศอันไกลหวังจะขอสิ่งของตามแต่จะได้ เพื่อประโยชน์แก่ท้องใด ข้าพระองค์เป็นทูตของท้องนั้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 91

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ขอพระองค์อย่าได้ทรงพิโรธแก่ข้าพระองค์เลย. อนึ่ง มาณพทั้งหลาย ย่อมตกอยู่ในอํานาจของท้องใดทั้งกลางวันและกลางคืน ข้าพระองค์ก็เป็นทูตของท้องนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ขอพระองค์อย่าได้ทรงพิโรธแก่ข้าพระองค์เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺสตฺถา ทูรมายนฺติ ความว่า สัตว์เหล่านี้เป็นผู้อยู่ในอํานาจของตัณหา ย่อมไปแม้ไกลๆ เพื่อประโยชน์แก่ท้องใด. บทว่า รเถสภ ได้แก่ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพรถ.

พระราชาได้ทรงสดับคําของบุรุษนั้นแล้วทรงพระดําริว่า ข้อนี้จริง สัตว์เหล่านี้เป็นทูตของท้อง เที่ยวไปด้วยอํานาจตัณหา และตัณหาก็ย่อมจัดแจงสัตว์เหล่านี้ บุรุษผู้นี้กล่าวถ้อยคําเป็นที่ชอบใจเรายิ่งนัก จึงทรงโปรดบุรุษผู้นั้น ตรัสพระคาถาที่๓ ว่า :-

ดูก่อนพราหมณ์ เราจะให้โคสีแดงพันตัวพร้อมทั้งโคจ่าฝูงแก่ท่าน แม้เราและสัตว์ทั้งมวลก็เป็นทูตของท้องทั้งสิ้น เพราะเราก็เป็นทูต ไฉนจะไม่ให้สิ่งของแก่ท่านผู้เป็นทูตเล่า.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 92

บทว่า พราหมณ นี้ในคาถานั้น เป็นเพียงคําร้องเรียก. บทว่า โรหิณีนํ แปลว่า มีสีแดง. บทว่า สห ปุงฺคเวน ได้แก่ พร้อมกับโคผู้ซึ่งเป็นปริณายกจ่าฝูงผู้จะป้องกันอันตรายให้. บทว่า มยมฺปิ ความว่า เราและสัตว์ทั้งปวงที่เหลือ ย่อมเป็นทูตของท้องนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เราเป็นทูตของท้องเสมอกันเพราะเหตุไร จึงจะไม่ให้แก่ท่านผู้เป็นทูตของท้องเล่า.

ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้วทรงมีพระทัยยินดีว่า บุรุษผู้เช่นท่านนี้แลให้เราได้ฟังเหตุที่ไม่เคยฟัง จึงได้ประทานยศใหญ่แก่บุรุษผู้นั้น.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้โลเลดํารงอยู่ในอนาคามิผล. ชนเป็นอันมากได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้น. บุรุษผู้โลเลในกาลนั้น ได้เป็นภิกษุผู้เหลาะแหละในบัดนี้ ส่วนพระเจ้าโภชนสุทธิกราช ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาทูตชาดกที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 93

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังกัปปราคชาดก

๒. ติลมุฏฐิชาดก

๓. มณิกัณฐชาดก

๔. กุณฑกกุจฉิสินธวชาดก

๕. สุกชาดก

๖. ชรูทปานชาดก

๗. คามณิจันทชาดก

๘. มันธาตุราชชาดก

๙. ติรีติวัจฉชาดก

๑๐. ทูตชาดก

จบ สังกัปปวรรคที่ ๑