พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ขุรัปปชาดก ถึงคราวกล้าควรกล้า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35715
อ่าน  539

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 123

๕. ขุรัปปชาดก

ถึงคราวกล้าควรกล้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 123

๕. ขุรัปปชาดก

ถึงคราวกล้าควรกล้า

[๓๙๔] เมื่อท่านเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอันแหลม ถือดาบอันคมกล้าซึ่งขัดแล้วด้วยน้ำมัน เมื่อมรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เหตุไฉนหนอท่านจึงไม่มีความครั่นคร้าม.

[๓๙๕] เมื่อเราเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอันแหลม ถือดาบอันคมกล้าซึ่งขัดแล้วด้วยน้ำมัน เมื่อมรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เรากลับได้ความยินดีและโสมนัสมากยิ่ง.

[๓๙๖] เรานั้นเกิดความยินดีและโสมนัสแล้วก็ครอบงําศัตรูทั้งหลายเสียได้ เพราะว่าชีวิตของเราๆ ได้สละมาแต่ก่อนแล้ว เมื่อทําความอาลัยในชีวิต เพราะว่าพึงกระทํากิจของคนกล้าหาญในกาลบางคราวหาได้ไม่.

จบ ขุรัปปชาดกที่ ๕

อรรถกถาขุรัปปชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้สละความเพียรรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า ทิสฺวา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 124

ขุรปฺเป ดังนี้

ความว่า พระศาสดาทรงตรัสกะภิกษุนั้นผู้ถูกนํามาในโรงธรรมสภาว่า ได้ยินว่า เธอสละความเพียรจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนําออกจากทุกข์อย่างนี้ เพราะเหตุไรจึงละความเพียรเสีย โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่สละความเพียร แม้ในฐานะไม่เป็นเครื่องนําออกจากทุกข์ แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลผู้รักษาดงแห่งหนึ่ง พอเจริญวัยมีบุรุษ ๕๐๐ เป็นบริวาร เป็นหัวหน้าคนทั้งปวง ในบรรดาคนผู้รักษาดง สําเร็จการอยู่ในบ้านแห่งหนึ่งที่ปากดง. ก็หัวหน้าผู้รักษาดงนั้นรับจ้างพาพวกมนุษย์ให้ข้ามดง. ครั้นวันหนึ่ง บุตรพ่อค้าชาวเมืองพาราณสีกับเกวียน ๕๐๐ เล่ม มาถึงบ้านนั้น เรียกหัวหน้าผู้รักษาดงนั้นมาพูดว่า ดูก่อนสหาย ท่านจงรับทรัพย์๑,๐๐๐ แล้วพาเราให้ข้ามพ้นดง. เขารับคําแล้วถือเอาทรัพย์ ๑,๐๐๐ จากมือของบุตรพ่อค้านั้น เมื่อรับค่าจ้างอย่างนี้ จะต้องสละชีวิตเพื่อบุตรพ่อค้านั้น. เขาพาบุตรพ่อค้านั้นเข้าดง. พวกโจร ๕๐๐ ซุ่มอยู่กลางดง. บุรุษที่เหลือพอแลเห็นพวกโจรเท่านั้นพากันนอนราบ. หัวหน้าผู้อารักขาคนเดียวเท่านั้นเปล่งสีหนาทวิ่งเข้าประหัตประหาร ให้พวกโจร

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 125

๕๐๐ หนีไป. ให้บุตรพ่อค้าข้ามพ้นทางกันดารโดยปลอดภัย. ฝ่ายบุตรพ่อค้าให้หมู่เกวียนพักอยู่ในที่ห่างไกลทางกันดารแล้ว ให้หัวหน้าผู้อารักขาบริโภคโภชนะมีรสเลิศต่างๆ ส่วนตนเองบริโภคอาหารเช้าแล้วนั่งสบาย เจรจาอยู่กับหัวหน้าผู้อารักขานั้น เมื่อจะถามว่า ดูก่อนสหาย ในเวลาที่พวกโจรผู้ร้ายกาจเห็นปานนั้นจับอาวุธกรูเข้ามา เพราะเหตุไรหนอ แม้ความสะดุ้งตกใจกลัวก็ไม่เกิดขึ้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:-

เมื่อท่านเห็นพวภโจรยิ่งลูกธนูอันแหลมคม ถือดาบอันคมกล้าซึ่งขัดด้วยน้ำมัน เมื่อมรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เหตุไฉนหนอ ท่านจึงไม่มีความครั่นคร้าม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนุเวคนุณฺเณ ได้แก่ ยิงไปด้วยกําลังลูกธนู. บทว่า ขคฺเค คหิเต ได้แก่ ถือดาบด้ามงาอย่างกระชับ. บทว่า มรเณ วิรุฬฺเห ได้แก่ เมื่อความตายปรากฏ. บทว่า กสฺมา นุ เต นาหุ ความว่า เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงไม่มีความสะดุ้งตกใจ. บทว่า ฉมฺภิตตฺตํ ได้แก่ ตัวสั่น.

หัวหน้าผู้ทําหน้าที่อารักขาได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถานอกนี้ว่า :-

เมื่อเราเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอันแหลมคม ถือดาบอันคมกล้าซึ่งขัดแล้วด้วย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 126

น้ำมัน เมื่อมรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เรากลับได้ความยินดีและความโสมนัสมากยิ่ง. เรานั้นเกิดความยินดีและโสมนัสแล้วก็ครอบงําศัตรูทั้งหลายเสียได้ เพราะว่าชีวิตของเรา เราได้สละมาแต่ก่อนแล้ว ก็บุคคลผู้กล้าหาญ เมื่อทําความอาลัยในชีวิตอยู่ จะพึงกระทํากิจของตนผู้กล้าหาญในกาลบางคราวหาได้ไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวทํ อลตฺถํ คือกลับได้ความยินดีและโสมนัส. บทว่า วิปุลํ แปลว่า มาก. บทว่า อุฬารํ แปลว่า ยิ่ง. บทว่า อุชฺฌภวึ ได้แก่ บริจาคชีวิตครอบงําแล้ว. บทว่า ปุพฺเพว เม ชีวิตมาสิ จตฺตํ ความว่า เพราะว่าเราเมื่อรับค่าจ้างจากมือของท่านในตอนก่อนนั่นแล ได้สละชีวิตแล้ว. บทว่า น หิ ชีวิเต อาลยํ กุพฺพมาโน ความว่า บุคคลผู้กล้าหาญ เมื่อยังกระทําเสน่หา ความยินดีในชีวิตอยู่ จะพึงทํากิจของผู้กล้าหาญแม้ในกาลบางคราว หาได้ไม่.

หัวหน้าผู้ทําหน้าที่อารักขานั้น ทําบุตรของพ่อค้าให้รู้ว่าตนได้ทํากิจของคนกล้าหาญแล้ว เพราะได้สละความยินดีในชีวิตซึ่งสละให้ไว้ในอํานาจของคนอื่น ได้ส่งบุตรพ่อค้าไปแล้ว กลับมายังบ้านของตนตามเดิม ทําบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ไปตามยถากรรมแล้ว.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 127

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้สละความเพียรดํารงอยู่ในพระอรหัต. ก็หัวหน้าคนทําการอารักขาในกาลนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาขุรัปปชาดกที่ ๕