พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. สุชาตาชาดก ถ้อยคําไพเราะทําให้คนรัก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35719
อ่าน  598

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 147

๙. สุชาตาชาดก

ถ้อยคําไพเราะทําให้คนรัก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 147

๙. สุชาตาชาดก

ถ้อยคําไพเราะทําให้คนรัก

[๔๐๖] สัตว์เหล่านี้สมบูรณ์ด้วยสีสันวรรณะ มีสําเนียงอ่อนหวาน น่ารักน่าชม แต่เป็นสัตว์มีวาจากระด้าง ย่อมไม่เป็นที่รักของใครทั้งในโลกนี้ และโลกหน้าเลย.

[๔๐๗] พระองค์ก็ได้เห็นมิใช่ หรือว่า นกดุเหว่านี้ดํา สีไม่สวยตัวลายพร้อย แต่เป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก เพราะวาจาอ่อนหวาน.

[๔๐๘] เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการจะให้ตนเป็นที่รักของประชาชน พึงกล่าวแต่ถ้อยคําสละสลวย พูดด้วยความคิด ไม่ฟุ้งซ่าน ถ้อยคําของผู้แสดงอรรถ และธรรม เป็นถ้อยคําไพเราะ.

จบ สุชาตาชาดกที่ ๙

อรรถกถาสุชาตาชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภนางสุชาดาน้องหญิงของนางวิสาขา ธิดาของธนัญชัยเศรษฐี สะใภ้ของ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 148

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า น หิ วณฺเณน สมฺปนฺนา ดังนี้.

ได้ยินว่า นางสุชาดานั้นเข้าไปยังเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เต็มไปด้วยยศอย่างใหญ่หลวง. นางสุชาดานั้นคิดว่า เราเป็นธิดาของตระกูลใหญ่ จึงเป็นผู้ถือตัวจัด มักโกรธ ดุร้าย หยาบช้า ไม่กระทําวัตรปฏิบัติแก่พ่อผัว แม่ผัว และสามี เที่ยวคุกคามเฆี่ยนตีคนในเรือน. ครั้นวันหนึ่ง พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ เสด็จเข้าไปยังเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ประทับนั่งอยู่. ฝ่ายมหาเศรษฐีก็เข้าไปนั่งใกล้พระศาสดา ฟังธรรมอยู่. ขณะนั้น นางสุชาดาทําการทะเลาะกับพวกทาส และกรรมกร. พระศาสดาทรงหยุดธรรมกถาตรัสว่า นี่เสียงอะไร. ท่านเศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีหญิงสะใภ้ในตระกูลคนหนึ่ง ไม่มีความเคารพ. นางไม่มีวัตรปฏิบัติต่อพ่อผัว แม่ผัว และสามี ไม่ให้ทาน ไม่รักษาศีล ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เที่ยวก่อแต่การทะเลาะทุกวันทุกคืน. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียกนางมา. นางสุชาดามาถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ลําดับนั้น พระศาสดาตรัสถามนางว่า ดูก่อนสุชาดา ภรรยาของบุรุษมี ๗ จําพวก เธอเป็นภรรยาพวกไหน ในบรรดาภรรยา ๗ จําพวกนั้น. นางสุชาดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่ทราบความแห่งพระดํารัสที่พระองค์ตรัสโดยย่อ ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่หม่อมฉันโดย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 149

พิสดารเถิด. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอจงเงี่ยโสตสดับ แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

ภรรยาคนใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ มีจิตคิดประทุษร้ายสามี มิได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สามี ยินดีรักใคร่ในบุรุษอื่น ดูหมิ่นล่วงเกินสามี ขวนขวายเพื่อจะฆ่าสามีผู้ถ่ายมาด้วยทรัพย์ ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า วธกาภริยา ภรรยาเสมอเพชฌฆาต. ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ สามีได้ทรัพย์สิ่งใดมา โดยทางศิลปวิทยาก็ดี โดยทางค้าขายก็ดี ทางกสิกรรมก็ดี แม้จะน้อยมากเพียงใด ก็มอบให้ภรรยาเก็บรักษาไว้ แต่ภรรยานั้นไม่รู้จักเก็บงําปรารถนาแต่จะใช้ทรัพย์นั้นให้หมดเปลืองไป ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า โจรีภริยา ภรรยาเสมอดังโจร. ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ ไม่ปรารถนาทําการงานเกียจคร้าน กินจุ หยาบช้า ดุร้าย ปากคอเราะราน ประพฤติข่มขี่พวกคนผู้คอยรับใช้ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า อัยยาภริยา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 150

ภรรยาเสมอดังเจ้า. ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ โอบอ้อมอารี ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามีคล้ายมารดาตามรักษาบุตร รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่ามาตาภริยา ภรรยาเสมอดังมารดา. ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ มีความเคารพสามีของตน มีความละอายใจ ประพฤติตามอํานาจ ความพอใจของสามี คล้ายกับน้องหญิงมีความเคารพพี่ชายฉะนั้น ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า ภคินีภริยา ภรรยาเสมอดังน้องหญิง. ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ เห็นสามีย่อมร่าเริงยินดี คล้ายกับหญิงสหาย เห็นมิตรสหายมาเรือนของตนฉะนั้น เป็นผู้รักษาวงศ์ตระกูล มีศีลมีวัตรปฏิบัติต่อสามี ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า สขีภริยา ภรรยาเสมอดังเพื่อน. ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้ คือ เป็นคนไม่มีความขึ้งโกรธ ถึงจะถูกคุกคามด้วยการฆ่า และลงอาญา ก็ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย อดกลั้นต่อ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 151

สามี ไม่โกรธ ยอมประพฤติตามอํานาจสามี ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า ทาสีภริยา ภรรยาเสมอดังทาส. (๑)

ดูก่อนสุชาดา ภรรยาของบุรุษมี ๗ จําพวกนี้แล บรรดาภรรยา ๗ จําพวกนั้น ภรรยา ๓ จําพวกเหล่านี้ คือ ภรรยาเสมอดังเพชฌฆาต ๑ ภรรยาเสมอดังโจร ๑ ภรรยาเสมอดังเจ้า ๑ ย่อมบังเกิดในนรก ส่วนภรรยา ๔ จําพวกนอกนี้ ย่อมบังเกิดในเทวโลกชั้นนิมมานรดิ ครั้นพระศาสดาตรัสจําแนกภรรยา ๗ จําพวกด้วยพระคาถาแล้ว จึงตรัสนิคมพจน์ดังนี้ว่า :-

ก็ภรรยาใดในโลกนี้ ที่เรียกว่าวธกาภริยา โจรีภริยา และอัยยาภริยา เป็นคนทุศีลหยาบช้า มีได้เอื้อเฟื้อ ภรรยานั้น ครั้นแตกกายทําลายขันธ์ ย่อมไปสู่นรก. ส่วนภรรยาใดในโลกนี้ ที่เรียกว่า มาตาภริยา ภคินีภริยาสขีภริยา และทาสีภริยา เป็นคนดํารงอยู่ในศีล สํารวมระวังดีตลอดเวลานาน ภรรยานั้น ครั้นแตกกายทําลายขันธ์ ย่อมไปสู่สุคติ.


(๑) องฺ. สตฺตก. ๒๓/๖๐.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 152

เมื่อพระศาสดาทรงแสดงภรรยา ๗ จําพวก ด้วยประการอย่างนี้แล้ว นางสุชาดาได้ดํารงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนสุชาดา บรรดาภรรยา ๗ จําพวกนี้ เธอเป็นภรรยาพวกไหน? นางสุชาดาจึงกราบทูลว่า กระหม่อมฉัน ขอเป็นภรรยาเสมอด้วยทาส พระเจ้าข้า แล้วถวายบังคมขอขมาพระศาสดา. พระศาสดาทรงทรมานนางสุชาดาหญิงสะใภ้ ด้วยพระโอวาทครั้งเดียวเท่านั้น ด้วยประการดังนี้ ทรงทําภัตตกิจเสร็จแล้วเสด็จไปพระวิหารเชตวัน เมื่อภิกษุสงฆ์แสดงวัตรแล้ว จึงเสด็จเข้าพระคันธกุฎี. ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันถึงพระคุณของพระศาสดาในโรงธรรมสภาว่าอาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาทรงทรมานนางสุชาดาหญิงสะใภ้ด้วยพระโอวาทครั้งเดียวเท่านั้น ให้ดํารงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่าภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เราก็ได้ทรมานนางสุชาดาด้วยโอวาทครั้งเดียวเหมือนกัน แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตนั้น พอเจริญวัย ได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักกศิลา เมื่อพระราชบิดาสวรรคต ก็ได้ดํารงอยู่ในราชสมบัติ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 153

ทรงครองราชย์โดยธรรม โดยสม่ําเสมอ. พระมารดาของพระโพธิสัตว์นั้น เป็นผู้มักโกรธ ดุร้าย หยาบช้า ชอบด่า ชอบบริภาษ. พระโพธิสัตว์นั้นประสงค์จะถวายโอวาทแก่พระมารดา ทรงพระดําริว่า การกราบทูลถ้อยคําที่ไม่มีเรื่องอ้างอิงอย่างนี้ ไม่สมควร จึงเสด็จเที่ยวมองหาข้อเปรียบเทียบ เพื่อทรงแนะนําพระมารดา. ครั้นวันหนึ่ง ได้เสด็จไปยังพระราชอุทยาน. แม้พระมารดาก็ได้เสด็จไปพร้อมกับพระโอรสเหมือนกัน. ครั้งนั้น นกกระต้อยตีวิดกําลังส่งเสียงร้องอยู่ในระหว่างทาง. บริษัทของพระโพธิสัตว์ได้ยินเสียงนั้น จึงพากันปิดหูแล้วกล่าวว่า ดูก่อนเจ้านกผู้มีเสียงกระด้างหยาบช้า เจ้าอย่าได้ส่งเสียงร้อง. ก็เมื่อพระโพธิสัตว์แวดล้อมด้วยนักฟ้อนเสด็จเที่ยวพระราชอุทยานกับพระมารดา มีนกดุเหว่าตัวหนึ่งแอบอยู่ที่ต้นสาละต้นหนึ่งมีดอกบานสะพรั่ง ส่งเสียงร้องด้วยสําเนียงอันไพเราะ. มหาชนพากันหลงใหลเสียงนั้น ประคองอัญชลีกล่าวว่า ดูก่อนนกผู้มีเสียงอ่อนหวานสละสลวยนุ่มนวล เจ้าจงร้องต่อไปๆ แล้วต่างแหงนคอเงี่ยโสตยืนแลดูอยู่. ลําดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้ทรงทราบชัดเหตุการณ์ทั้งสองนั้นแล้ว ทรงพระดําริว่า เราจักสามารถทําพระมารดาให้ยินยอมได้ในบัดนี้ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมารดา มหาชนได้ยินเสียงนกต้อยตีวิดในระหว่างทาง ต่างพูดว่า เจ้าอย่าส่งเสียงร้อง แล้วปิดหูเสีย ชื่อว่าวาจาหยาบไม่เป็นที่รักของใครๆ แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

สัตว์เหล่านี้สมบูรณ์ด้วยสีสันวรรณะ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 154

มีสําเนียงอ่อนหวานน่ารักน่าชม แต่เป็นสัตว์มีวาจากระด้าง ย่อมไม่เป็นที่รักของใครๆ ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า. พระองค์ก็ได้เห็นมิใช่ หรือว่า นกดุเหว่าตัวนี้ ดํา สีไม่สวย ตัวลายพร้อย แต่เป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก เพราะวาจาอ่อนหวาน. เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการจะให้ตนเป็นที่รักของมหาชน พึงเป็นผู้มีวาจาสละสลวย พูดด้วยความคิด ไม่ฟุ้งซ่าน ถ้อยคําของผู้ที่แสดงอรรถ และธรรม เป็นถ้อยคําไพเราะ.

คาถาเหล่านั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ ข้าแต่พระมารดา สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยสีกายมีสีเหมือนดอกประยงค์เป็นต้น ชื่อว่ามีเสียงไพเราะ เพราะเสียงเปล่งไพเราะ ชื่อว่าน่ารักน่าชม เพราะมีรูปร่างงดงาม แต่ชื่อว่าเป็นสัตว์มีวาจาหยาบ เพราะประกอบด้วยวาจาแข็งกระด้างอันเป็นไปด้วยการด่า และการบริภาษเป็นต้น จนชั้นที่สุดบิดามารดา จึงชื่อว่าไม่เป็นที่รักของใครๆ ในโลกนี้ และในโลกหน้าเหมือนนกต้อยตีวิดที่มีวาจากระด้างในระหว่างทางฉะนั้น ส่วนนกดุเหว่ามีปกติกล่าวอ่อนหวาน ประกอบด้วยวาจากลมเกลี้ยง ไพเราะ ถึงจะมีรูปไม่งามก็เป็นที่รักใคร่ได้. ด้วยเหตุนั้น กระหม่อมฉัน จึงขอกล่าวกะพระองค์ว่า พระองค์เห็นมิใช่ หรือ นกดุเหว่าตัวนี้ ดํา

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 155

มีสีไม่สวย ลายพร้อยด้วยเมล็ดงาดํา อันดํายิ่งกว่าแม้สีกาย แต่ถึงนกดุเหว่านั้น แม้จะเป็นสัตว์มีสีกายไม่สวยงามอย่างนี้ ก็ยังเป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก เพราะมีวาจาอ่อนหวาน. ดังนั้น เพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลายมีวาจาแข็งกระด้าง ย่อมไม่เป็นที่รักแม้ของบิดามารดาในโลก ฉะนั้น บุคคลผู้ปรารถนาจะให้เป็นที่รักของชนเป็นอันมาก พึงเป็นผู้มีวาจาสละสลวย อ่อนหวาน กลมกล่อม ไพเราะนุ่มนวล. และชื่อว่ากล่าวด้วยความคิด เพราะกล่าวกําหนดด้วยความคิด กล่าวคือปัญญา ชื่อว่าไม่ฟุ้งซ่านเพ้อเจ้อ เพราะกล่าวถ้อยคําพอประมาณ เว้นความฟุ้งซ่านเพ้อเจ้อ. ก็บุคคลใดผู้เห็นปานนี้แสดงอรรถ และธรรม ถ้อยคําของบุคคลนั้น ชื่อว่าไพเราะอาศัยเหตุกล่าวไม่ทําคนอื่นให้โกรธเคือง.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่พระมารดา ด้วยคาถา ๓ คาถาเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ทําให้พระมารดารู้สึกพระองค์ได้. จําเดิมแต่นั้น พระมารดาได้เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยพระมารยาท. ก็พระโพธิสัตว์ทรงกระทําพระมารดาให้หมดพยศ ด้วยพระโอวาท เพียงโอวาทเดียวเท่านั้น แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระมารดาของพระเจ้าพาราณสี ในครั้งนั้น ได้เป็นนางสุชาดาในบัดนี้ ส่วนพระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาสุชาตาชาดกที่ ๙