๖. กุรุธรรมชาดก ว่าด้วยให้ช้างแก่ท้าวกาลิงคราช
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 188
๖. กุรุธรรมชาดก
ว่าด้วยให้ช้างแก่ท้าวกาลิงคราช
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 188
๖. กุรุธรรมชาดก
ว่าด้วยให้ช้างแก่ท้าวกาลิงคราช
[๔๒๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่าประชาชนข้าพระบาททั้งหลายได้ทราบศรัทธาและศีลของพระองค์แล้ว จึงมาขอรับพระราชทานเอาทองคําแลกกับช้างมีสีดังดอกอัญชัน นําไปในแคว้นกาลิงคราช.
[๔๒๘] สัตว์ที่พึงเลี้ยงด้วยข้าวก็ดี ที่ไม่ได้เลี้ยงก็ดี ผู้ใดในโลกนี้ตั้งใจมาหาเรา สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดเราก็มิได้ห้ามเลย นี้เป็นถ้อยคําของท่านบูรพาจารย์.
[๔๒๙] ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย เราจะให้ช้างนี้อันควรเป็นราชพาหนะเป็นราชบริโภค ประกอบไปด้วยยศ ประดับไปด้วยเครื่องประดับปกคลุมไปด้วยข่ายทอง มีนายหัตถาจารย์พร้อมแก่ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านจงไปตามปรารถนาเถิด.
จบ กุรุธรรมชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 189
อรรถกถากุรุธรรมชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ฆ่าหงส์รูปหนึ่ง. จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า ตว สทฺธฺจสีลฺจ ดังนี้
มีสหาย ๒ คนชาวเมืองสาวัตถี บรรพชาใน สํานักภิกษุทั้งหลายแล้วได้อุปสมบท โดยมากเที่ยวไปด้วยกัน. วันหนึ่ง ภิกษุ ๒ สหายนั้นไปยังแม่น้ำอจิรวดีอาบน้ำ นั่งผิงแดดอยู่ที่เนินทรายกล่าวถ้อยคําให้ระลึกกันและกันอยู่. ขณะนั้นหงส์ ๒ ตัวบินมาทางอากาศ. ลําดับนั้นภิกษุรูปหนึ่งจับก้อนกรวดมาแล้วกล่าวว่า ผมจะดีดลูกตาของหงส์ตัวหนึ่ง ภิกษุนอกนี้กล่าวว่า ท่านจักไม่สามารถ. ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่านัยน์ตาข้างนี้จงยกไว้ ผมจะดีดนัยน์ตาข้างโน้น. ภิกษุนอกนี้ก็กล่าวว่า แม้นัยน์ตาข้างนี้ท่านก็จักไม่อาจดีดได้. ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านคอยดู ว่าแล้วก็หยิบก้อนกรวด ๓ เหลี่ยมมาดีดไปทางเบื้องหลังของหงส์. หงส์ได้ยินเสียงกรวดจึงเหลียวมองดู. ลําดับนั้นภิกษุนั้นก็เอาก้อนกรวดอีกก้อนหนึ่งดีดหงส์นั้นที่นัยน์ตาด้านนอกทลุออกทางนัยน์ตาด้านใน. หงส์ร้องม้วนตกลงมาแทบเท้าของภิกษุทั้งสองนั้น. ภิกษุทั้งหลายที่ยืนอยู่ในที่นั้นเห็นเข้า จึงพากันมาแล้วกล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านบวชในพระพุทธศาสนา ทําปาณาติบาตชื่อว่ากระทํากรรมอันไม่สมควร แล้วพาภิกษุผู้ดีดหงส์นั้นไปแสดงแก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 190
พระตถาคตทันที พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระทําปาณาติบาตจริงหรือ? เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่าดูก่อนภิกษุ เพราะเหตุไร เธอบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนําออกจากทุกข์เห็นปานนี้ จึงได้กระทําอย่างนี้ แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น อยู่อย่างเศร้าหมองในท่ามกลางเรือนยังกระทําความรังเกียจในฐานะทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อย ส่วนเธอบวชในศาสนาเห็นปานนี้ ไม่ได้กระทําแม้มาตรว่าความรังเกียจ ธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้สํารวมกาย วาจา และใจ มิใช่หรือ? แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระราชาพระนามว่า ธนัญชัยโกรัพย์ ครองราชสมบัติอยู่ในพระนครอินทปัฏฏ์ ในแคว้นกุรุ พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชานั้น ถึงความรู้เดียงสาโดยลําดับ แล้วเรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักกศิลา พระบิดาทรงแต่งตั้งให้ดํารงอยู่ในตําแหน่งอุปราช ในกาลต่อมา เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว ได้ดํารงอยู่ในราชสมบัติ มิได้ทรงกระทําทศพิธราชธรรมให้กําเริบ ทรงประพฤติในกุรุธรรมอยู่. ศีลห้า ชื่อว่ากุรุธรรม. พระโพธิสัตว์ทรงรักษาศีลห้านั้นให้บริสุทธิ์. พระมารดาของพระโพธิสัตว์ พระอัครมเหสี พระอุปราชผู้เป็นพระอนุชา พราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิต อํามาตย์ผู้รังวัดนา สารถี เศรษฐี มหาอํามาตย์ผู้ตวงข้าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 191
นายประตู นางวัณณทาสีผู้เป็นนครโสเภณี ก็เหมือนพระโพธิสัตว์รวมความว่า ชนเหล่านี้รักษาศีลห้าเหมือนดังพระโพธิสัตว์
ชน ๑๑ คน คือ พระราชา ๑ พระชนนี ๑ พระอัครมเหสี ๑ พระอุปราช ๑ ปุโรหิต ๑ อํามาตย์ผู้รังวัด ๑ สารถี ๑ เศรษฐี ๑ อํามาตย์ผู้ตวงข้าว ๑ นายประตู ๑ และนางคณิกา ๑ ดํารงอยู่ในกุรุธรรม.
ชนแม้ทั้งหมดเหล่านี้ รักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ ด้วยประการดังนี้. พระราชาให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือ ที่ประตูพระนครทั้ง ๔ ที่กลางเมือง ที่ประตูพระนิเวศน์ ทรงสละพระราชทรัพย์หกแสนทุกวันๆ ทรงบริจาคทานกระทําชมพูทวีปทั้งสิ้นให้ไม่ต้องทําไร่ไถนา. ก็ความที่พระโพธิสัตว์นั้นมีพระอัธยาศัยยินดีในการบริจาคทาน ได้แผ่คลุมไปทั่วชมพูทวีป. ในกาลนั้น พระเจ้ากาลิงคราชครองราชสมบัติในทันตปุรนคร ในแคว้นกาลิงคะ. ในแคว้นของพระเจ้ากาลิงคราชนั้นฝนไม่ตก ก็เกิดความอดอยากไปทั่วแคว้น. ก็เพราะอาหารวิบัติ โรคจึงเกิดขึ้นแก่มวลมนุษย์. ภัย ๓ ประการ คือ ฉาตกภัย ภัยคือความอดอยาก โรคภัย ภัยคือโรค ทุพภิกขภัย ภัยคือข้าวยากหมากแพง ก็เกิดขึ้น. มนุษย์ทั้งหลายหมดที่ยึดถือ ต่างพากันจูงมือเด็กๆ เที่ยวเร่ร่อนไป. ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้นรวมกันไปยังพระนครทันตปุระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 192
พากันส่งเสียงร้องอยู่ที่ประตูพระราชวัง. พระราชาประทับยืนพิงพระแกล ทรงสดับเสียงนั้น จึงตรัสถามว่า คนเหล่านี้เที่ยวไปเพราะเหตุอะไรกัน พวกอํามาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ภัยเกิดขึ้นทั่วแว่นแคว้นทั้งสิ้น ฝนไม่ตก ข้าวกล้าวิบัติเสียหาย เกิดความอดอยาก มนุษย์ทั้งหลายกินอยู่ไม่ดีถูกโรคภัยครอบงํา หมดที่ยึดถือระส่ําระสาย พากันจูงมือลูกๆ เที่ยวไป ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงยังฝนให้ตกเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า พระราชาแต่เก่าก่อนทั้งหลาย เมื่อฝนไม่ตก ทรงกระทําอย่างไร? พวกอํามาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระราชาแต่เก่าก่อนทั้งหลาย เมื่อฝนไม่ตก ได้ทรงบริจาคทาน อธิษฐานอุโบสถสมาทานศีลแล้ว เสด็จเข้าสู่ห้องสิริไสยาศน์ ทรงบรรทมเหนือเครื่องลาดซึ่งทําด้วยไม้ตลอด ๗ วัน ในกาลนั้น ฝนก็ตกลงมา. พระราชาทรงรับว่าดีละ. แล้วได้ทรงกระทําอย่างนั้น. แม้ทรงกระทําอย่างนั้น ฝนก็มิได้ตก. พระราชาตรัสกะอํามาตย์ทั้งหลายว่า เราได้กระทํากิจที่ควรกระทําแล้ว ฝนก็ไม่ตก เราจะกระทําอย่างไรต่อไป. พวกอํามาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยราชในนครอินทปัฏ มีช้างมงคลหัตถีชื่อว่าอัญชนสันนิภะ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจักนําช้างมงคลเชือกนั้นมาเมื่อเป็นเช่นนั้น ฝนก็จักตก. พระราชาตรัสว่า พระราชาพระองค์นั้นทรงสมบูรณ์ด้วยพลพาหนะ ใครๆ จะข่มได้ยาก พวกเราจักนําช้างพระราชาพระองค์นั้นมาได้อย่างไร. พวกอํามาตย์กราบทูลว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 193
ข้าแต่มหาราช ไม่มีกิจที่จะต้องทําการรบกับพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยราชนั้น พระราชาพระองค์นั้น มีพระอัธยาศัยยินดีในการบริจาคทานเป็นผู้ถูกเขาขอ แม้พระเศียรอันประดับแล้วก็ทรงตัดให้ได้ แม้ดวงพระเนตรอันสมบูรณ์ด้วยประสาทก็ทรงควักให้ได้ แม้ราชสมบัติทั้งสิ้นก็ทรงมอบให้ได้ ในเรื่องช้างมงคลไม่จําต้องพูดถึงเลย ทูลขอแล้วจักทรงประทานให้แน่แท้. พระราชาตรัสว่า ใครจะสามารถไปขอช้างมงคลนั้น อํามาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พวกพราหมณ์ พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้เรียกพราหมณ์ ๘ คนมาจากที่อยู่ของพราหมณ์แล้วทรงกระทําสักการะสัมมานะแล้วทรงส่งไปเพื่อให้ขอช้างมงคล. พราหมณ์เหล่านั้นถือเอาเสบียงเดินทาง ปลอมเพศเป็นคนเดินทาง รีบเดินทางไป โดยพักแรมอยู่ราตรีหนึ่งในที่ทุกแห่ง บริโภคอาหารในโรงทานที่ประตูพระนคร บํารุงร่างกายให้อิ่มหนําสิ้นเวลา ๒ - ๓ วันแล้วถามว่า เมื่อไรพระราชาจักเสด็จมาโรงทาน? พวกมนุษย์บอกว่า พระราชาจะเสด็จมาในวัน ๑๔ ค่ํา ๑๕ ค่ํา และวัน ๘ ค่ํา ตลอด ๓ วันแห่งปักษ์หนึ่งๆ ก็พรุ่งนี้ เป็นวันเพ็ญ ๑๕ ค่ํา เพราะฉะนั้น พระราชาจักเสด็จมาในวันพรุ่งนี้. วันรุ่งขึ้น พวกพราหมณ์รีบไปแต่เช้าตรู่ ยืนอยู่ที่ประตูด้านทิศตะวันออก. พระโพธิสัตว์ทรงสนานและลูบไล้พระวรกายแต่เช้าตรู่ ทรงประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เสด็จขึ้นคอช้างมงคลหัตถีอันประดับแล้ว เสด็จไปยังโรงทานทางประตูด้านทิศตะวันออก ด้วยบริวารอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 194
ยิ่งใหญ่ เสด็จลงจากคอช้างแล้วได้ประทานอาหารด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ แก่ชน ๗ - ๘ คน แล้วรับสั่งว่า พวกท่านจงให้โดยทํานองนี้นะ. แล้วได้เสด็จขึ้นช้างไปยังประตูด้านทิศใต้. พวกพราหมณ์ไม่ได้โอกาสที่ประตูด้านทิศตะวันออก เพราะมีการอารักขาแข็งแรง จึงได้ไปยังประตูด้านทิศใต้เหมือนกัน ยืนอยู่ในที่สูงไม่ไกลเกินไปจากประตูคอยดูพระราชาเสด็จมา พอพระราชาเสด็จมาประจวบเข้าก็ยกมือถวายคอยดูพระราชาเสด็จมา พอพระราชาเสด็จมาประจวบเข้าก็ยกมือถวายชัยมงคลว่า ขอพระมหาราชเจ้าจงทรงพระเจริญ จงมีชัยชํานะเถิดพระเจ้าข้า. พระราชาทรงเอาพระแสงขอเพ็ชรเหนี่ยวช้างให้หันกลับเสด็จไปยังที่ใกล้พราหมณ์เหล่านั้น แล้วตรัสถามว่า พราหมณ์ทั้งหลายผู้เจริญ ท่านทั้งหลายต้องการอะไร? พราหมณ์ทั้งหลายเมื่อจะพรรณนาคุณของพระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่าประชาชน ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบศรัทธาและศีลของพระองค์แล้ว จึงขอรับพระราชทานเอาทองคําแลกกับช้างมีสีดังดอกอัญชัน นําไปในแว่นแคว้นกาลิงคราช.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธํ ได้แก่ ศรัทธาความเชื่ออันควรไว้ใจ ด้วยอํานาจการเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม บทว่า สีลํ ได้แก่ สังวรศีล อวีติกกมศีล ศีลการไม่ล่วงละเมิด. ในสมัยใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 195
ประเทศนั้น เรียกทองว่า วณฺณํ . คํานั้นเป็นเพียงหัวข้อเทศนาเท่านั้น. ก็ด้วยบทนี้ ท่านสงเคราะห์เอาเงิน ทอง ทรัพย์และธัญญาหาร แม้ทั้งหมด. บทว่า อฺชนวณฺเณน ได้แก่ ด้วยช้างตัวประเสริฐของพระองค์เชือกนี้ซึ่งมีเสมอด้วยช่อดอกอัญชัน. บทว่า กาลิงฺคสฺมึ ได้แก่ ในสํานักของพระเจ้ากาลิงคราช. บทว่า วินิมฺหเส ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอถือเอาด้วยการแลก ถ้อยทีปฏิบัติต่อกัน หรือใส่ไปในท้องด้วยการบริโภคเข้าไป. บทว่า เส เป็นเพียงนิบาต. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่าประชาชนด้วยว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทราบศรัทธาและศีลของพระองค์แล้วคิดว่า พระราชาพระองค์นั้น ทรงสมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีลอย่างนี้ จะทูลขอแล้ว จักพระราชทานช้างตัวประเสริฐมีสีเหมือนดอกอัญชัน แก่พวกเราเป็นแน่ แล้วพูดกันว่า เราทั้งหลายจักนําช้างตัวประเสริฐไปในสํานักของพระเจ้ากาลิงคราช จึงเอาทรัพย์และธัญญาหารเป็นอันมากแลกกับช้างซึ่งมีสีเหมือนดอกอัญชันเชือกนี้เสมือนเป็นของๆ ตน คือใช้จ่ายทรัพย์และธัญญาหารเป็นอันมากและใส่ปากใส่ท้องเลี้ยงดูกัน. ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อจะขอช้างนั้นอย่างนี้ จึงได้มาในที่นี้ ขอพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐโปรดทรงทราบกิจที่จะพึงทรงกระทําในเรื่องช้างนั้น. อีกนัยหนึ่งข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทราบพระคุณ คือศรัทธาคุณและศีลคุณของพระองค์จึงคิดกันว่า พระราชาผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ แม้แต่ชีวิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 196
ถูกขอแล้วก็จะประทานให้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงช้างตัวประเสริฐอันเป็นสัตว์ดิรัจฉานเล่า จึงจะขอแลกคือเปรียบเทียบทองแก่พระองค์กับช้างอันมีสีเหมือนดอกอัญชันนี้ ไปไว้ในสํานักของพระเจ้ากาลิงคราชด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงได้มาในที่นี้.
พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น จึงทรงเล้าโลมให้เบาใจว่าดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย หากท่านทั้งหลายใช้จ่ายทรัพย์ เพราะจะแลกเปลี่ยนช้างตัวประเสริฐเชือกนี้ เป็นการใช้จ่ายไปดีแล้ว อย่าได้เสียใจเลย เราจักให้ช้างตัวประเสริฐตามที่ประดับแล้วทีเดียวแก่ท่านทั้งหลาย แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถานอกนี้ว่า :-
สัตว์ที่พึงเลี้ยงด้วยข้าวก็ดี ที่ไม่ได้เลี้ยงก็ดี ผู้ใดในโลกนี้ ตั้งใจมาหาเรา สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด เราก็มิได้ห้ามเลย นี้เป็นถ้อยคําของท่านบูรพาจารย์.
ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย เราจะให้ช้างเชือกนี้ อันควรเป็นราชพาหนะ เป็นราชบริโภคพระราชาควรใช้สอย ประกอบไปด้วยยศ ประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับปกคลุมตะพอง ด้วยตาข่ายทอง พร้อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 197
ทั้งนายหัตถาจารย์แก่ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านจงไปตามปรารถนาเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺนภจฺจา จ ภจฺจา จ ความว่าชื่อว่า ผู้ที่พึงเลี้ยงด้วยข้าว เพราะสัตว์ผู้เข้าไปอาศัยบุรุษเป็นอยู่ พึงเลี้ยงด้วยข้าวมียาคูและภัตเป็นต้น. สัตว์นอกนี้ ชื่อว่าผู้ไม่พึงเลี้ยงดูเพราะเป็นผู้ที่จะไม่ต้องเลี้ยงดูอย่างนั้น. ก็ในที่นี้ พึงทราบการลบ อ อักษรด้วยการเชื่อมบท. ด้วยลําดับคําเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันแสดงสัตว์ทุกจําพวกเป็นสองพวก ด้วยการเข้าไปอาศัยตนเลี้ยงชีวิต กับที่ไม่เข้าไปอาศัยตนเลี้ยงชีวิต. บทว่า โยธ อุทฺทิสฺส คจฺฉติ ความว่าบรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ใดในชีวโลกนี้ ย่อมเจาะจงบุรุษใดมาด้วยความหวังอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า สพฺเพเต อปฺปฏิกฺขิปฺปา ความว่า แม้ถ้ามีสัตว์เป็นจํานวนมาก เจาะจงมาอย่างนั้น แม้ถึงเช่นนั้น บุรุษนั้นก็ไม่ปฏิเสธสัตว์เหล่านั้นทั้งหมด อธิบายว่า จะพึงไม่ปฏิเสธอย่างนี้ว่า พวกท่านจงหลีกไป เราจักไม่ให้พวกท่าน. บทว่า ปุพฺพาจริยวโจ อิทํ ความว่า มารดาบิดาเรียกว่าบุรพาจารย์ นี้เป็นคําของบุรพาจารย์เหล่านั้น. ท่านแสดงว่า มารดาบิดาให้ข้าพเจ้าสําเนียกมาอย่างนี้.
บทว่า ททามิ โว ความว่า เพราะนี้เป็นถ้อยคําของบุรพาจารย์ของเราทั้งหลาย เหตุนั้น ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย เราจะให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 198
ช้างตัวประเสริฐเชือกนี้แก่ท่านทั้งหลาย. บทว่า ราชารหํ แปลว่าสมควรแก่พระราชา. บทว่า ราชโภคํ แปลว่า เป็นเครื่องใช้สอยของพระราชา. บทว่า ยสสฺสินํ ได้แก่ เพียบพร้อมด้วยบริวาร. อธิบายว่า คนห้าร้อยตระกูลมีหมอช้างเป็นต้น อาศัยช้างนั้นเลี้ยงชีวิตเราจักให้ท่านทั้งหลาย พร้อมทั้งคนห้าร้อยตระกูลนั้น. บทว่า อลงฺกตํ ความว่า ประดับประดาด้วยเครื่องประดับช้างชนิดต่างๆ . บทว่า เหมชาลาภิฉนฺนํ แปลว่า ประดับด้วยตาข่ายทอง. บทว่า สสารถี ความว่า เราจะให้แก่พวกท่าน พร้อมทั้งสารถี คืออาจารย์ผู้ฝึกช้างนั้น เพราะฉะนั้น พวกท่านเป็นผู้พร้อมด้วยสารถี คือควานช้าง พาเอาช้างนี้พร้อมทั้งบริวารไปตามความต้องการเถิด.
พระมหาสัตว์ประทับอยู่บนคอช้างตัวประเสริฐ ตรัสให้ด้วยพระวาจาอย่างนี้แล้ว กลับเสด็จลงจากคอช้าง ทรงดําเนินเวียนขวาไป ๓ รอบ ทรงพิจารณาว่า หากที่ที่ยังไม่ได้ประดับตกแต่งยังมีอยู่จักประดับตกแต่งก่อนแล้วจึงจะให้ ครั้นไม่ได้ทรงเห็นที่ที่ยังไม่ได้ตกแต่งที่ช้างนั้น จึงทรงเอางวงของช้างนั้น วางบนมือของพราหมณ์ทั้งหลาย แล้วได้เอาพระสุวรรณภิงคารพระเต้าน้ำทอง หลั่งน้ำอันอบด้วยดอกไม้และของหอมแล้วพระราชทานไป. พราหมณ์ทั้งหลายรับช้างพร้อมทั้งบริวาร แล้วนั่งบนหลังช้าง ได้ไปยังทันตปุรนครถวายช้างแก่พระราชา. ช้างแม้มาแล้ว ฝนก็ยังไม่ตก. พระราชาจึงทรงคาดคั้นถามว่า มีเหตุอะไรหนอ ได้ทรงสดับว่า พระเจ้าธนัญชัยโก-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 199
รัพยราช ทรงรักษากุรุธรรม ด้วยเหตุนั้น ฝนจึงตกในแว่นแคว้นของพระองค์ ทุกกึ่งเดือน ทุก ๑๐ วัน เพราะอานุภาพแห่งคุณความดีของพระราชาดอก ฝนจึงตก ก็สัตว์ดิรัจฉานนี้ แม้มีคุณอยู่ก็จะมีสักเท่าไร จึงรับสั่งว่าถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงนําช้างตามที่ประดับแล้วนี้แล พร้อมทั้งบริวารคืนไปถวายแก่พระราชา แล้วจดกุรุธรรมที่พระองค์รักษาลงในแผ่นทองแล้วนํามา แล้วทรงส่งพวกพราหมณ์และอํามาตย์ทั้งหลายไป. พราหมณ์และอํามาตย์เหล่านั้นไปมอบถวายแด่พระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อช้างนี้แม้ไปถึงแล้วฝนก็ยังมิได้ตกในแว่นแคว้นของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ทราบเกล้าว่า พระองค์ทรงรักษากุรุธรรม พระราชาแม้ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ทรงประสงค์จะรักษากุรุธรรมนั้น จึงทรงส่งมาด้วยรับสั่งว่า จงจดใส่ในแผ่นทองนํามา ขอพระองค์จงประทานกุรุธรรมนั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า. พระโพธิสัตว์ ตรัสว่าดูก่อนพ่อทั้งหลาย เรารักษากุรุธรรมนั้นจริง แต่บัดนี้ เรามีความรังเกียจในกุรุธรรมนั้นอยู่ กุรุธรรมนั้นไม่ทําจิตของเราให้ยินดี เพราะฉะนั้น เราไม่อาจให้กุรุธรรมนั้นแก่ท่านทั้งหลาย. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ศีลนั้นจึงไม่ทําให้พระราชาทรงยินดี? ตอบว่า นัยว่าในครั้งนั้นพระราชาทั้งหลาย มีการมหรสพเดือน ๑๒ ทุกๆ ๓ ปี พระราชาทั้งหลาย เมื่อจะเล่นมหรสพนั้น ทรงประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงถือเอาเพศเป็นเทวดา ยืนอยู่ในสํานักของยักษ์ชื่อว่าจิตตราชแล้วยิงศร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 200
อันวิจิตรประดับด้วยดอกไม้ในทิศทั้ง ๔. พระราชาแม้พระองค์นี้เมื่อจะทรงเล่นมหรสพนั้น จึงประทับยืนในสํานักของจิตตราชยักษ์ใกล้แนวบึงแห่งหนึ่ง แล้วทรงยิงจิตตศรไปในทิศทั้ง ๔. บรรดาลูกศรเหล่านั้น พระองค์ทรงเห็นลูกศร ๓ ลูกที่ยิงไปในทิศที่เหลือ แต่ไม่เห็นลูกศรที่ยิงไปบนหลังพื้นน้ำ. พระราชาทรงรังเกียจว่า ลูกศรที่เรายิงไป คงจะตกลงในตัวปลากระมังหนอ พระองค์ทรงปรารภถึงศีลเภท เพราะกรรมคือทําสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป. เพราะฉะนั้น ศีลจึงไม่ทําพระราชาให้ยินดี. พระโพธิสัตว์นั้นจึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เรามีความรังเกียจในกุรุธรรมอยู่. แต่พระมารดาของเรารักษาไว้ได้เป็นอย่างดี พวกท่านจงถือเอาในสํานักของพระมารดาเราเถิด. ทูตทั้งหลายจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ไม่มีเจตนาว่าจักฆ่าสัตว์ เพราะเว้นเจตนานั้นจึงชื่อว่าไม่เป็นปาณาติบาต ขอพระองค์จงให้กุรุธรรมที่ทรงรักษาแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นจงเขียนเอาเถิดพ่อ แล้วให้จารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏว่า ปาโณ น หนฺตพฺโพ ไม่พึงฆ่าสัตว์ ๑ อทินฺนํนาทาตพฺพํ ไม่พึงถือสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ๑ กาเมสุมิจฺริฉาจาโร น จริตพฺโพ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ๑ มุสาวาโท น ภาสิตพฺโพ ไม่พึงกล่าวคําเท็จ ๑ มชฺชปานํ น ปาตพพํ ไม่พึงดื่มน้ำเมา ๑. ก็แลครั้นให้จารึกแล้วจึงตรัสว่า. แม้เป็นอย่างนี้ ศีลก็ยังเราให้ยินดีไม่ได้ พวกท่านจงไปเฝ้าพระมารดาของเราเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 201
ทูตทั้งหลายถวายบังคมพระราชาแล้วไปยังสํานักของพระมารดาพระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี ได้ยินว่าพระองค์ทรงรักษากุรุธรรม ขอพระองค์จงประทานกุรุธรรมนั้น แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. พระเทวีตรัสว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เรารักษากุรุธรรมก็จริงแต่บัดนี้ เราเกิดความรังเกียจในกุรุธรรมนั้น กุรุธรรมนั้นไม่ทําเราให้ยินดี เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่อาจให้แก่ท่านทั้งหลาย. ได้ยินว่าพระเทวีนั้นมีพระโอรส ๒ องค์ คือพระราชาผู้เป็นพระเชษฐาและอุปราชผู้เป็นพระกนิษฐา. ครั้งนั้น มีพระราชาองค์หนึ่งทรงส่งแก่นจันทน์อันมีค่าแสนหนึ่ง และดอกไม้ทองมีค่าพันหนึ่งมาถวายพระโพธิสัตว์. พระองค์ทรงคิดว่าจักบูชาพระมารดา จึงทรงส่งของทั้งหมดนั้นไปถวายพระราชมารดา. พระราชมารดาทรงพระดําริว่าเราจะไม่ลูบไล้แก่นจันทน์ จะไม่ทัดทรงดอกไม้ จักให้แก่นจันทน์และระเบียบดอกไม้นั้นแก่สะใภ้ทั้งสอง. ลําดับนั้น พระเทวีได้มีความดําริดังนี้ว่า สะใภ้คนโตของเราเป็นใหญ่ ดํารงอยู่ในตําแหน่งอัครมเหสีเราจักให้ระเบียบดอกไม้ทองแก่สะใภ้คนโต ส่วนสะใภ้คนเล็กเป็นคนยากจน เราจักให้แก่นจันทน์แก่สะใภ้คนเล็ก. พระนางจึงประทานระเบียบดอกไม้ทองแก่พระเทวีของพระราชา ได้ประทานแก่นจันทน์แก่พระมเหสีของพระอุปราช. ก็แหละครั้นประทานไปแล้วพระราชมารดาได้มีความรังเกียจว่า เรารักษากุรุธรรม ความที่หญิงสะใภ้เหล่านั้น ยากจนหรือไม่ยากจน ไม่เป็นประมาณสําหรับเรา ก็การ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 202
กระทําเชษฐาปจายิกกรรมเท่านั้นสมควรแก่เรา เพราะความที่เราไม่ทําเชษฐาปจายิกกรรมนั้น ศีลของเราจะแตกทําลายบ้างไหมหนอ. เพราะฉะนั้น พระราชมารดาจึงตรัสอย่างนั้น. ลําดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกราบทูลพระราชมารดาว่า ขึ้นชื่อว่าของของตนบุคคลย่อมให้ได้ตามชอบใจ พระองค์ทรงกระทําความรังเกียจด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ จักทรงกระทํากรรมอันลามกอย่างอื่นได้อย่างไร ธรรมดาศีลย่อมไม่แตกทําลายด้วยเหตุเห็นปานนี้ ขอพระองค์จงประทานกุรุธรรมแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด แล้วถือเอากุรุธรรมในสํานักของพระราชมารดา แม้นั้นจดจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แหละพวกทูตอันพระราชมารดาตรัสว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลายเมื่อเป็นอย่างนั้น กุรุธรรมก็ยังไม่ทําให้เรายินดีพอใจได้ แต่พระสุณิสาของเรารักษากุรุธรรมนั้นได้เป็นอย่างดี ท่านทั้งหลายจงถือเอาในสํานักของพระสุณิสานั้นเถิด. จึงพากันไปเฝ้าพระอัครมเหสีทูลขอกุรุธรรมโดยนัยก่อนนั้นแหละ. ฝ่ายพระอัครมเหสีตรัสโดยนัยก่อนเหมือนกันแล้วตรัสว่า ชื่อว่าศีลย่อมไม่ทําเราให้ยินดีพอใจ เพราะเหตุนั้น เราไม่อาจให้พวกท่าน. ได้ยินว่าพระอัครมเหสีนั้น วันหนึ่งประทับยืนที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชประทับนั่งบนหลังช้างเบื้องหลังพระราชาผู้กําลังทรงประทักษิณเลียบพระนครบังเกิดความโลภอยากขึ้น ทรงพระดําริว่า ถ้าเราได้ทําความเชยชิดกับพระมหาอุปราชนี้ไซร้ เมื่อพระเชษฐาสวรรคตไป พระมหาอุปราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 203
นี้ได้ดํารงอยู่ในราชสมบัติจะได้สงเคราะห์เรา. ลําดับนั้น พระอัครมเหสีนั้นได้มีความรังเกียจว่า เรากําลังรักษากุรุธรรมอยู่ ทั้งเป็นผู้มีพระสวามีอยู่ยังแลดูชายอื่นด้วยอํานาจกิเลส ศีลของเราคงจะต้องแตกทําลาย เพราะฉะนั้น พระอัครมเหสีจึงได้ตรัสอย่างนั้น. ลําดับนั้นทูตทั้งหลายจึงกราบทูลพระอัครมเหสีว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ธรรมดาว่าการประพฤติล่วงละเมิด ย่อมไม่มีด้วยเหตุเพียงจิตตุปบาทเกิดความคิดขึ้น พระองค์ทรงกระทําความรังเกียจแม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จักทรงกระทําความล่วงละเมิดอะไรได้ ศีลย่อมไม่แตกทําลายด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ขอพระองค์จงประทานกุรุธรรมแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด. แล้วถือเอาในสํานักของพระอัครมเหสี แม้นั้นแล้วจดจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แลทูตทั้งหลายผู้อันพระอัครมเหสีตรัสว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลายแม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ศีลก็ยังไม่ทําเราให้ยินดีพอใจ ก็เพราะมหาอุปราชทรงรักษาได้อย่างดี. พวกท่านจงถือเอาในสํานักของพระมหาอุปราชเถิด จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระมหาอุปราช ทูลขอกุรุธรรมโดยนัยก่อนนั่นแหละ. ก็พระมหาอุปราชนั้น เมื่อเสด็จไปยังที่บํารุงของพระราชาในเวลาเย็น เสด็จไปด้วยรถ ถึงพระลานหลวงแล้ว ถ้าทรงพระประสงค์จะเสวยในสํานักของพระราชาแล้วทรงบรรทมค้างอยู่ในที่นั้น ก็จะทรงทิ้งเชือกและปฏักไว้ระหว่างแอกรถ ด้วยสัญญาเครื่องหมายนั้น มหาชนบริวารจะกลับไปต่อเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น จะไปยืนคอย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 204
ดูพระมหาอุปราชนั้นเสด็จออก. ฝ่ายนายสารถีก็จะนํารถนั้นไป ต่อเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น จึงจะนํารถมาจอดที่ประตูพระราชนิเวศน์. ถ้าทรงมีพระประสงค์จะเสด็จในขณะนั้น จะทรงวางเชือกและปฏักไว้เฉพาะภายในรถ แล้วเสด็จไปเฝ้าพระราชา ด้วยสัญญาณนั้น ชนบริวารจะยืนอยู่ที่ประตูพระราชนิเวศน์นั่นเอง ด้วยหมายใจว่า จักเสด็จออกมาในขณะนี้. อันพระมหาอุปราชนั้น ทรงกระทําอย่างนั้น แล้วเสด็จเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ เมื่อพระมหาอุปราชนั้น พอเสด็จเข้าไปเท่านั้น ฝนก็ตก พระราชาตรัสว่า ฝนกําลังตก จึงไม่ให้พระมหาอุปราชนั้นเสด็จออกมา. พระมหาอุปราชจึงทรงเสวยแล้วบรรทมอยู่ในพระราชนิเวศน์นั้นนั่นเอง. ชนบริวารคิดว่า ประเดี๋ยวจักเสด็จออกจึงได้ยืนเปียกฝนอยู่ตลอดคืนยังรุ่ง. ในวันที่สอง พระมหาอุปราชจึงเสด็จออกมา ทรงเห็นชนบริวารยืนเปียกฝนอยู่ ทรงเกิดความรังเกียจว่าเราเมื่อรักษากุรุธรรมอยู่ ยังทําชนมีประมาณเท่านี้ให้ลําบาก ศีลของเราเห็นจะพึงแตกทําลาย. ด้วยเหตุนั้น พระมหาอุปราชจึงตรัสแก่ทูตเหล่านั้นว่า เรารักษากุรุธรรมอยู่ก็จริง แต่บัดนี้ เรามีความรังเกียจอยู่ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่อาจให้แก่ท่านทั้งหลาย แล้วตรัสบอกเรื่องราวนั้นให้ทราบ. ลําดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงทูลพระมหาอุปราชว่าข้าแต่สมมติเทพ พระองค์มิได้มีความคิดว่า ชนเหล่านี้จงลําบากกรรมที่ทําโดยหาเจตนามิได้ ไม่จัดว่าเป็นกรรม เมื่อพระองค์ทรงกระทําความรังเกียจแม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ความล่วงละเมิดจักมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 205
ได้อย่างไร แล้วรับเอาศีลในสํานักของพระมหาอุปราชแม้นั้น จดจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แหละ พวกทูตอันพระมหาอุปราชตรัสว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ศีลก็มิได้ทําเราให้ปลื้มอกปลื้มใจได้ ก็ปุโรหิตย่อมรักษาได้ดีพวกท่านจงถือเอาในสํานักของปุโรหิตนั้นเถิด จึงพากันเข้าไปหาปุโรหิตแล้วขอกุรุธรรม. ฝ่ายปุโรหิตนั้น วันหนึ่ง ไปเฝ้าพระราชาระหว่างทางได้เห็นรถมีสีอ่อนๆ งดงามเหมือนแสงอาทิตย์อ่อนๆ ซึ่งพระราชาองค์หนึ่งทรงส่งมาถวายพระราชานั้น จึงถามว่า นี้รถของใครได้ฟังว่านํามาถวายพระราชา จึงคิดว่า เราก็แก่แล้ว ถ้าพระราชาจะพระราชทานรถคันนี้แก่เราไซร้ เราจักขึ้นรถคันนี้เที่ยวไปอย่างสบายแล้วไปเฝ้าพระราชา. ในเวลาที่ปุโรหิตนั้นถวายพระพรชัยแล้วยืนเฝ้าอยู่ ราชบุรุษต่างเมืองก็ทูลถวายรถแก่พระราชา. พระราชาทอดพระเนตรแล้วตรัสว่า รถของเราคันนี้งามเหลือเกิน พวกท่านจงให้แก่อาจารย์ของเราเถิด. ปุโรหิตมิได้ปรารถนาจะรับพระราชทาน แม้พระราชาจะตรัสอยู่บ่อยๆ ก็ไม่ปรารถนาจะรับพระราชทานเลย. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะนัยว่า ปุโรหิตนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เรารักษากุรุธรรมอยู่แท้ๆ ยังได้กระทําความโลภในสิ่งของของคนอื่น ศีลของเราจะพึงแตกทําลายไปแล้ว. ปุโรหิตนั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแล้วกล่าวว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เรามีความรังเกียจในกุรุธรรมอยู่ กุรุธรรมนั้นมิได้ยังเราให้ปลื้มอกปลื้มใจเลย เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 206
ฉะนั้น เราไม่อาจให้. ลําดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะปุโรหิตว่านาย ศีลย่อมไม่แตกทําลายด้วยเหตุเพียงเกิดความโลภอยากได้ ท่านเมื่อกระทําความรังเกียจ แม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้. จักกระทําความล่วงละเมิดอะไรได้ แล้วรับเอาศีลในสํานักของปุโรหิตแม้นั้นจดลงในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แหละ ทูตทั้งหลายผู้อันท่านปุโรหิตกล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น กุรุธรรมก็ไม่ยังเราให้ยินดีพอใจได้ ก็อํามาตย์ผู้ถือเชือกรังวัดรักษาได้ดี พวกท่านจงรับเอาในสํานักของอํามาตย์นั้น จึงพากันเข้าไปหาอํามาตย์แม้นั้น แล้วขอกุรุธรรม. ฝ่ายอํามาตย์ผู้รังวัดนั้นวันหนึ่ง เมื่อจะวัดเนื้อที่นาในชนบท จึงเอาเชือกผูกที่ไม้ ให้เจ้าของนาจับปลายข้างหนึ่ง ตนเองจับปลายข้างหนึ่ง. ไม้ที่ผูกปลายเชือกซึ่งอํามาตย์ถือไปจรดตรงกลางรูปูตัวหนึ่ง อํามาตย์นั้นคิดว่า ถ้าเราจักปักไม้ลงในรูปู ปูภายในรูจักฉิบหาย ก็ถ้าเราจักปักล้ำไปข้างหน้าเนื้อที่ของหลวงก็จักขาด ถ้าเราจักปักร่นเข้ามา เนื้อที่ของกฎมพีก็จักขาด เราจะทําอย่างไรดีหนอ. ลําดับนั้น อํามาตย์ผู้นั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ปูควรจะมีในรู ถ้ามีจะต้องปรากฏ เราจะปักไม้นั้นตรงนี้แหละ แล้วก็ปักท่อนไม้นั้นลงในรูปู ฝ่ายปูก็ส่งเสียงดังกริ๊กๆ . ลําดับนั้น อํามาตย์นั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ท่อนไม้จักปักลงบนหลังปู ปูก็จักตายและเราก็รักษากุรุธรรม เพราะเหตุนั้น ศีลของเราคงจะแตกทําลาย. อํามาตย์นั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแก่ทูตทั้งหลายแล้วกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 207
ว่า เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวมานี้ เราจึงมีความรังเกียจในกุรุธรรมด้วยเหตุนั้น เราจึงไม่อาจให้แก่พวกท่าน. ลําดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะอํามาตย์นั้นว่า ท่านไม่มีจิตคิดว่า ปูจงตาย กรรมที่ไม่มีเจตนาความจงใจไม่ชื่อว่าเป็นกรรม ท่านกระทําความรังเกียจ แม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ จักกระทําความล่วงละเมิดอะไรได้ แล้วรับเอาศีลในสํานักของอํามาตย์ แม้นั้นแล้วจดจารึกลงโนแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แหละ อํามาตย์นั้นพูดว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ กุรุธรรมก็มิได้ทําข้าพเจ้าให้ปลื้มใจ ก็นายสารถีรักษาได้อย่างดี ท่านทั้งหลายจงรับเอาในสํานักของนายสารถีนั้นเถิด ทูตทั้งหลาย จึงเข้าไปหานายสารถี แม้นั้นแล้วขอกุรุธรรม. นายสารถีนั้น วันหนึ่ง นําเสด็จพระราชาไปยังราชอุทยานด้วยราชรถ พระราชาทรงเล่นในพระราชอุทยานนั้นตลอดวัน ในเวลาเย็น จึงเสด็จออกจากพระราชอุทยานเสด็จขึ้นทรงรถ. เมื่อราชรถนั้นยังไม่ทันถึงพระนคร เมฆฝนก็ตั้งขึ้นในเวลาที่พระอาทิตย์จะอัศดงคต เพราะกลัวว่าพระราชาจะเปียกฝนนายสารถีจึงได้ให้สัญญาณด้วยปฏักแก่ม้าสินธพทั้งหลายๆ จึงควบไปด้วยความเร็ว ก็แหละตั้งแต่นั้นมา ม้าสินธพเหล่านั้น ขาไปยังพระราชอุทยานก็ดี ขามาจากพระราชอุทยานนั้นก็ดี พอถึงที่ตรงนั้นก็วิ่งควบไปด้วยความเร็ว. ถามว่า เพราะเหตุอะไร? ตอบว่า เพราะนัยว่า ม้าสินธพเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ในที่นี้ จะพึงมีภัยเป็นแน่ ด้วยเหตุนั้น นายสารถีของพวกเราจึงได้ให้สัญญาณด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 208
ปฏักในคราวนั้น. แม้นายสารถีก็มีความคิดดังนี้ว่า ในเมื่อพระราชาจะเปียกฝนหรือไม่เปียกฝนก็ตาม เราย่อมไม่มีโทษ แต่เราได้ให้สัญญาปฏักแก่ม้าสินธพที่ฝึกหัดมาดีแล้ว ในสถานที่อันไม่ควร ด้วยเหตุนั้น ม้าสินธพเหล่านี้ วิ่งควบทั้งไปและมา ลําบากอยู่จนเดียวนี้ และเราก็รักษากุรุธรรม ด้วยเหตุนั้น ศีลของเราคงจะแตกทําลายแล้ว. นายสารถีนั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นให้ทราบแล้วกล่าวว่า เพราะเหตุนี้เราจึงมีความรังเกียจในกุรุธรรม เพราะฉะนั้น เราไม่อาจให้แก่พวกท่านได้. ลําดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะนายสารถีนั้นว่า ท่านไม่มีจิตคิดว่า ม้าสินธพทั้งหลายจงลําบาก กรรมที่ไม่มีเจตนาคือความจงใจ ไม่จัดว่าเป็นกรรม อนึ่ง ท่านกระทําความรังเกียจด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ จักกระทําความล่วงละเมิดได้อย่างไร จึงรับเอาศีลในสํานักของนายสารถีนั้นจดจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แหละ นายสารถีกล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้นศีลก็มิได้ทําเราให้ปลื้มใจได้ แต่ท่านเศรษฐีรักษาได้ดี พวกท่านจงรับเอาในสํานักของท่านเศรษฐีนั้นเถิด พวกทูตจึงเข้าไปหาท่านเศรษฐีนั้น แล้วขอกุรุธรรม. แม้เศรษฐีนั้น วันหนึ่ง ไปนําข้าวสาลีของตน พิจารณารวงข้าวสาลีที่ออกจากท้อง เมื่อจะกลับ คิดว่าจักผูกรวงข้าวให้เป็นพุ่มข้าวเปลือก จึงให้คนผูกรวงข้าวสาลีกําหนึ่ง ผูกเป็นจุกไว้. ลําดับนั้นท่านเศรษฐีได้มีความคิดดังนี้ว่า เราจะต้องให้ค่าภาคหลวงจากนานี้ แต่เราก็ได้ให้คนถือเอารวงข้าวสาลีกําหนึ่ง จากอันนาที่ยังไม่ได้ให้ค่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 209
ภาคหลวง ก็เรารักษากุรุธรรม เพราะเหตุนั้น ศีลของเราคงจะแตกทําลายแล้ว. ท่านเศรษฐีนั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแก่ทูตทั้งหลายแล้วกล่าวว่า เรามีความรังเกียจในกุรุธรรมด้วยเหตุนี้ เพราะเหตุนั้นเราไม่อาจให้กุรุธรรมแก่พวกท่าน. ลําดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะท่านเศรษฐีว่า ท่านไม่มีไถยจิตคิดจะลัก เว้นจากไถยจิตนั้น ใครๆ . ไม่อาจบัญญัติอทินนาทานได้ ก็ท่านกระทําความรังเกียจแม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จักถือเอาของของคนอื่นได้อย่างไร แล้วรับเอาศีลในสํานักของเศรษฐี แม้นั้นแล้วจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แหละ ทูตทั้งหลายอันท่านเศรษฐีกล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ศีลก็ยังมิได้ทําให้เราปลื้มใจได้ แต่ท่านอํามาตย์ผู้ตวงข้าวหลวงรักษาได้ดี พวกท่านจงถือเอาในสํานักของอํามาตย์ผู้ตวงข้าวนั้นเถิดจึงพากันเข้าไปหาท่านอํามาตย์ผู้ตวงข้าวแล้วขอกุรุธรรม. ได้ยินว่าอํามาตย์ผู้ตวงข้าวนั้น. วันหนึ่ง ให้คนนับข้าวเปลือกอันเป็นส่วนของหลวง ส่วนตนเอาข้าวเปลือกจากกองข้าวที่ยังไม่ได้นับใส่คะแนน. ขณะนั้น ฝนตก มหาอํามาตย์จึงเพิ่มคะแนนข้าวเปลือก แล้วกล่าวว่าข้าวเปลือกที่นับแล้ว มีประมาณเท่านี้ แล้วโกยข้าวเปลือกที่เป็นคะแนนใส่ลงในกองข้าวเปลือกที่นับไว้แล้ว ก็รีบไปยืนที่ซุ้มประตูแล้วคิดว่า เราใส่ข้าวเปลือกคะแนนในกองข้าวที่นับแล้ว หรือใส่ในกองข้าวที่ยังไม่ได้นับ. ลําดับนั้น ท่านมหาอํามาตย์ได้มีความคิดดังนี้ว่าถ้าเราใส่ในกองข้าวเปลือกที่นับไว้แล้ว ของหลวงก็จะเพิ่มขึ้นโดยมิใช่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 210
เหตุ ของคฤหบดีทั้งหลายก็จะขาดไป และเราก็รักษากุรุธรรม ด้วยเหตุนั้น ศีลของเราจะต้องแตกทําลายแล้ว. ท่านมหาอํามาตย์นั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแล้วกล่าวว่า เรามีความรังเกียจในกุรุธรรม ด้วยเหตุนี้ เพราะเหตุนั้น เราไม่อาจให้แก่พวกท่าน. ลําดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะท่านมหาอํามาตย์นั้นว่า ท่านไม่มีไถยจิตคิดจะลัก เว้นไถยจิตนั้นเสียใครๆ ไม่อาจบัญญัติอทินนาทานได้ ก็ท่านการทําความรังเกียจด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อย่างไรจักถือเอาสิ่งของของคนอื่นแล้วรับเอาศีลในสํานักของมหาอํามาตย์ผู้ตวงข้าวนั้น จารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แหละ ทูตทั้งหลายผู้อันท่านมหาอํามาตย์กล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ศีลก็มิได้ทําเราให้ปลื้มใจยินดีได้ แต่นายประตูรักษาได้ดี ท่านทั้งหลายจงถือเอาในสํานักของนายประตูนั้นเถิด จึงพากันเข้าไปหานายประตู แม้นั้นแล้วขอกุรุธรรม. ฝ่ายนายประตูนั้นวันหนึ่ง เวลาจะปิดประตูเมือง ได้ออกเสียงประกาศขึ้น ๓ ครั้ง. ครั้งนั้น มีคนเข็ญใจคนหนึ่ง เข้าป่าหาฟืนและหญ้ากับน้องสาว กําลังกลับมา ได้ยินเสียงนายประตูนั้นประกาศ จึงรีบพาน้องสาวมาทันพอดี. ลําดับนั้น นายประตูกล่าวกะคนเข็ญใจนั้นว่า ท่านไม่รู้ว่าพระราชามีอยู่ในพระนครนี้หรือ ท่านไม่รู้หรือว่า เขาจะต้องปิดประตูพระนครนี้ ต่อเวลายังวัน ท่านพาภรรยาของตนเที่ยวไปในป่า เที่ยวเล่นรื่นเริงตลอดวัน. ครั้นเมื่อคนเข็ญใจกล่าวว่า ไม่ใช่ภรรยาฉัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 211
ดอกนาย หญิงคนนี้เป็นน้องสาวของฉันเอง นายประตูนั้นจึงมีความปริวิตกดังนี้ว่า เราเอาน้องสาวเขามาพูดว่าเป็นภรรยา กระทํากรรมอันหาเหตุมิได้หนอ และเราก็รักษากุรุธรรม ด้วยเหตุนั้น ศีลของเราจะพึงแตกทําลายแล้ว. นายประตูนั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแล้วกล่าวว่า เรามีความรังเกียจในกุรุธรรมด้วยเหตุนี้ เพราะเหตุนั้น เราไม่อาจให้แก่พวกท่านได้. ลําดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะนายประตูนั้นว่า คํานั้นท่านกล่าวตามความสําคัญอย่างนั้น ในข้อนี้ ความแตกทําลายแห่งศีลจึงไม่มีแก่ท่าน ก็ท่านรังเกียจด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ จักกระทําสัมปชานมุสาวาทกล่าวเท็จทั้งรู้ในกุรุธรรมได้อย่างไรแล้วถือเอาศีลในสํานักของนายประตูแม้นั้น จดจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ก็แหละ ทูตทั้งหลายอันนายประตูนั้นกล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ศีลก็ยังไม่ทําให้เรายินดีปลื้มใจได้ แต่นางวรรณทาสีรักษาได้ดี พวกท่านจงถือเอาในสํานักของนางวรรณทาสีแม้นั้นเถิด จึงพากันเข้าไปหานางวรรณทาสีแม้นั้นแล้วขอกุรุธรรม. ฝ่ายนางวรรณทาสีก็ปฏิเสธโดยนัยอันมีในหนหลังนั่นแหละ. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะได้ยินว่า ท้าวสักกะจอมเทวดาทรงดําริว่า จักทดลองศีลของนาง จึงแปลงเพศเป็นมาณพน้อยมาพูดว่าฉันจักมาหาแล้วโต้ทรัพย์ไว้พันหนึ่ง กลับไปยังเทวโลก แล้วไม่มาถึง ๓ ปี. นางวรรณทาสีนั้นไม่รับสิ่งของแม้มาตรว่าหมากพลูจากมือชายอื่นถึง ๓ ปี เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 212
กลัวศีลของตนขาด. นางยากจนลงโดยลําดับ จึงคิดว่า เมื่อชายผู้ให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่เราแล้วไปเสีย ไม่มาถึง ๓ ปี เราจึงยากจน ไม่อาจสืบต่อชีวิตต่อไปได้ จําเดิมแต่บัดนี้ไป เราควรบอกแก่มหาอํามาตย์ผู้วินิจฉัยความแล้วรับเอาค่าใช้จ่าย. นางจึงไปศาลกล่าวฟ้องว่า เจ้านาย บุรุษผู้ให้ค่าใช้จ่ายแก่ดิฉันแล้วไปเสีย ๓ ปีแล้ว ดิฉันไม่ทราบว่าเขาตายแล้วหรือยังไม่ตาย ดิฉันไม่อาจสืบต่อเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ เจ้านาย ดิฉันจะทําอย่างไร. มหาอํามาตย์ผู้วินิจฉัยอรรถคดีกล่าวตัดสินว่า เมื่อเขาไม่มาถึง ๓ ปี ท่านจักทําอะไร ตั้งแต่นี้ท่านจงรับค่าใช้จ่ายได้. เมื่อนางวรรณทาสีนั้นได้รับการวินิจฉัยตัดสินแล้ว พอออกจากศาลที่วินิจฉัยเท่านั้น บุรุษคนหนึ่งก็น้อมนําห่อทรัพย์พันหนึ่งเข้าไปให้. ในขณะที่นางเหยียดมือจะรับ ท้าวสักกะก็แสดงพระองค์ให้เห็น. นางพอเห็นท้าวสักกะนั้นเท่านั้นจึงหดมือพร้อมกับกล่าวว่า บุรุษผู้ให้ทรัพย์แก่เราพันหนึ่งเมื่อ ๓ ปีมาแล้วได้กลับมาแล้ว ดูก่อนพ่อ เราไม่ต้องการกหาปณะของท่าน. ท้าวสักกะจึงแปลงร่างกายของพระองค์ทันที ได้ประทับยืนอยู่ในอากาศเปล่งแสงโชติช่วงประดุจดวงอาทิตย์อ่อนๆ ฉะนั้น. พระนครทั้งสิ้นพากันตื่นเต้น. ท้าวสักกะได้ประทานโอวาทในท่ามกลางมหาชนว่า ในที่สุด ๓ ปีมาแล้ว เราได้ให้ทรัพย์พันหนึ่ง เนื่องด้วยจะทดลองนางวรรณทาสีนี้ ท่านทั้งหลายชื่อว่าเมื่อจะรักษาศีล จงเป็นผู้เห็นปานนี้รักษาเถิด แล้วทรงบรรดาลให้นิเวศน์ของนางวรรณทาสีเต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ ทรงอนุศาสน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 213
พร่ําสอนนางวรรณทาสีนั้นว่า เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาทตั้งแต่บัดนี้ไปแล้วได้เสด็จไปยังเทวโลกนั่นแล. เพราะเหตุนี้ นางรรณทาสีนั้นจึงปฏิเสธห้ามปรามทูตทั้งหลายว่า เรายังมิได้เปลื้องค่าจ้างที่รับไว้ ยื่นมือไปรับค่าจ้างที่ชายอื่นให้ ด้วยเหตุนี้ ศีลจึงทําเราให้ยินดีปลื้มใจไม่ได้ เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่อาจให้แก่ท่านทั้งหลาย. ลําดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะนางวรรณทาสีนั้นว่า ศีลเภทศีลแตกทําลาย ย่อมไม่มีด้วยเหตุสักว่ายื่นมือ ชื่อว่าศีลย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่งด้วยประการอย่างนี้ แล้วรับเอาศีลในสํานักของนางวรรณทาสีแม้นั้น จดจารึกลงในแผ่นสุพรรณบัฏ.
ทูตทั้งหลายจารึกศีลที่ชนทั้ง ๑๑ คนนั้นรักษา ลงในแผ่นสุพรรณบัฏ ด้วยประการดังนี้แล้ว ได้ไปยังทันตปุรนคร ถวายแผ่นสุพรรณบัฏแก่พระเจ้ากาลิงคราช แล้วกราบทูลประพฤติเหตุนั้นให้ทรงทราบ. พระราชาเมื่อทรงประพฤติกุรุธรรมนั้น ทรงบําเพ็ญศีล ๕ ให้บริบูรณ์. ในกาลนั้น ฝนก็ตกลงในแว่นแคว้นกาลิงครัฐทั้งสิ้น ภัยทั้ง ๓ ก็สงบระงับ. และแว่นแคว้นก็ได้มีความเกษมสําราญ มีภักษาหารสมบูรณ์. พระโพธิสัตว์ทรงกระทําบุญมีทานเป็นต้นตราบเท่าพระชนมายุ พร้อมทั้งบริวารได้ทําเมืองสวรรค์ให้เต็มบริบูรณ์.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศอริยสัจ ในเวลาจบอริยสัจ บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 214
ได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี บางพวกได้เป็นพระอรหันต์. แล้วทรงปรชุมชาดกว่า :-
นางวรรณทาสีหญิงคณิกา ได้เป็นนางอุบลวรรณา นายประตูในครั้งนั้น ได้เป็นพระปุณณะ รัชชุคาหกะอํามาตย์ผู้รังวัด ได้เป็นพระกัจจายนะ โทณมาปกะอํามาตย์ผู้ตวงข้าว ได้เป็นพระโมคคัลลานะ เศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร นายสารถีได้เป็นพระอนุรุทธะ พราหมณ์ ได้เป็นพระกัสสปเถระ พระมหาอุปราช ได้เป็นพระนันทะผู้บัณฑิต พระมเหสีในครั้งนั้น ได้เป็นราหุลมารดา พระชนนีในครั้งนั้น ได้เป็นพระมายาเทวี พระเจ้ากุรุราชโพธิสัตว์ได้เป็นเราตถาคต ท่านทั้งหลายจงทรงจําชาดกด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถากุรุธรรมชาดกที่ ๖