พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. โรมชาดก ว่าด้วยอาชีวกเจ้าเล่ห์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35727
อ่าน  486

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 215

๗. โรมชาดก

ว่าด้วยอาชีวกเจ้าเล่ห์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 215

๗. โรมชาดก

ว่าด้วยอาชีวกเจ้าเล่ห์

[๔๓๐] ดูก่อนปักษีผู้มีขนปีก เมื่อเรามาอยู่ในถ้ำแห่งภูเขานี้กว่า ๕๐ ปี นกพิราบทั้งหลายมิได้รังเกียจ เป็นผู้มีจิตเยือกเย็นเป็นอย่างยิ่ง ย่อมพากันมาสู่บ่วงมือของเราในกาลก่อน.

[๔๓๑] ดูก่อนท่านผู้มีอวัยวะคด บัดนี้ นกพิราบเหล่านั้นคงจะเห็นอะไรกระมัง จึงใคร่จะพากันไปเสพอาศัยซอกภูเขาอื่น นกเหล่านี้ครั้งก่อนย่อมสําคัญเราอย่างไร บัดนี้ย่อมไม่สําคัญเราอย่างนั้นหรือ หรือนกเหล่านี้พลัดพรากไปนานแล้วจําเราไม่ได้ หรือว่าเป็นนกใหม่จึงไม่เข้าใกล้เรา.

[๔๓๒] พวกเราเป็นผู้ไม่หลงใหล รู้อยู่ว่าท่านก็คือท่านนั่นแหละ พวกเราเหล่านั้นก็ไม่ใช่นกอื่น ก็แต่ว่าจิตของท่านเป็นจิตประทุษ-ร้ายในชนนี้ ดูก่อนอาชีวก เพราะเหตุนั้นพวกเราจึงหวาดกลัวท่าน.

จบ โรมชาดกที่ ๗

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 216

อรรถกถาโรมชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภความตะเกียกตะกายเพื่อจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า วสฺสานิ ปฺาส สมาธิกานิ ดังนี้.เรื่องปัจจุบันมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ส่วนเรื่องอดีตมีดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นนกพิราบ อันนกพิราบเป็นอันมากห้อมล้อมสําเร็จการอยู่ในถ้ำแห่งภูเขาในป่า. มีดาบสรูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยอาจาระมารยาท เข้าไปอาศัยปัจจันตคามแห่งหนึ่งสร้างอาศรมบทอยู่ในที่ไม่ใกล้จากที่อยู่ของนกพิราบเหล่านั้น สําเร็จการอยู่ในบรรพตคูหา. พระโพธิสัตว์มายังสํานักของดาบสในระหว่างๆ ไม่ขาด ฟังสิ่งที่ควรฟัง. พระดาบสอยู่ในที่นั้นช้านานแล้วหลีกจากไป.ครั้งนั้น ชฎิลโกงคนหนึ่งได้มาสําเร็จการอยู่ในบรรพตคูหานั้น.ฝ่ายพระโพธิสัตว์อันนกพิราบทั้งหลายแวดล้อม เข้าไปหาชฎิลโกงนั้นไหว้แล้วกระทําปฏิสันถาร เที่ยวไปในอาศรมบทหาเหยื่ออยู่ในที่ใกล้ซอกเขา ในเวลาเย็นจึงบินไปยังที่อยู่ของตน. ดาบสโกงอยู่ในที่นั้นได้ ๕๐ กว่าปี. ครั้นวันหนึ่ง ชาวบ้านปัจจันตคามได้ปรุงเนื้อนกพิราบถวายดาบสโกงนั้น. ดาบสโกงนั้นติดใจด้วยตัณหาความอยาก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 217

ในรสแห่งเนื้อของนกพิราบนั้น จึงถามว่า นี่ชื่อว่าเนื้ออะไร ได้ฟังว่าเนื้อนกพิราบ จึงคิดว่านกพิราบจํานวนมากมายังอาศรมบทของเราเราฆ่านกพิราบเหล่านั้นกินเนื้อจึงจะควร. ชฎิลโกงนั้นจึงนําเอาข้าวสาร เนยใส นมส้ม นมสด และพริกเป็นต้นมาเก็บไว้ส่วนข้างหนึ่ง เอาชายจีวรคลุมค้อนนั่งคอยดูพวกนกพิราบจะมาอยู่ที่ประตูบรรณศาลา. พระโพธิสัตว์ห้อมล้อมด้วยนกพิราบบินมา เห็นกิริยาชั่วร้ายของชฎิลโกงนั้น จึงคิดว่า ดาบสชั่วร้ายนี้นั่งด้วยอาการอย่างหนึ่งผิดสังเกต ชรอยจะได้กินเนื้อสัตว์ผู้มีชาติเสมอกับเราบ้างแล้วกระมัง เราจักกําหนดจับดาบสโกงนั้น จึงยืนอยู่ในที่ใต้ลมสูดดมกลิ่นตัวของดาบสนั้น รู้ได้ว่า ดาบสนี้ประสงค์จะฆ่าพวกเรากินเนื้อ ไม่ควรไปยังสํานักของดาบสนั้น แล้วพานกพิราบทั้งหลายถอยกลับออกมา. ดาบสเห็นนกพิราบนั้นไม่มาจึงคิดว่า เราควรกล่าวมธุรกถาถ้อยคําอันไพเราะกับนกพิราบเหล่านั้นแล้วฆ่านกพิราบที่เข้าไปใกล้ด้วยความคุ้นเคยแล้วกินเนื้อ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาเบื้องต้นว่า :-

ดูก่อนปักษ์ผู้มีขนปีก เราอยู่ในถ้ำแห่งภูเขาศิลามากว่า ๕๐ ปี นกพิราบทั้งหลายก็มิได้รังเกียจ มีจิตเยือกเย็นอย่างยิ่ง ย่อมพากันมาสู่บ่วงมือของเราในกาลก่อน. ดูก่อนท่านผู้มีอวัยวะคด บัดนี้ นกพิราบเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 218

คงจะเห็นเหตุอะไรกระมัง จึงเป็นผู้ขวนขวายพากันไปเสพอาศัยซอกเขาอื่น ย่อมไม่สําคัญเราเหมือนเมื่อก่อนหนอ หรือว่านกเหล่านี้พลัดพรากไปนานจึงจําเราไม่ได้หรือนี้เหล่านั้นไม่ใช่นกเหล่านี้จึงไม่เข้าใกล้เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมาธิกานิ ตัดบทเป็น สมอธิกานิ แปลว่า เกินจํานวน ๕๐ ปี. บทว่า โรมกแปลว่า ผู้มีขนพอกขึ้น. ดาบสโกงเรียกพระโพธิสัตว์ว่า ปาราวตะเพราะมีเท้าแดง มีวรรณะเสมอด้วยแก้วประพาฬอันเจียรไนดีแล้ว.บทว่า อสงฺกมานา ความว่า เมื่อเราอยู่ในบรรพตคูหานี้เกิน ๕๐ ปีอย่างนี้ นกเหล่านี้ไม่ได้กระทําความรังเกียจเราแม้แต่วันเดียว เป็นผู้มีจิตเยือกเย็นอย่างยิ่ง เมื่อก่อนย่อมมาสู่บ่วงมือของเราอันโอกาสช่องว่างที่เหยียดมือออก. บทว่า เตทานิ ตัดบทออกเป็น เต อิทานิแปลว่า บัดนี้ นกเหล่านั้น. ดาบสโกงเรียกพระโพธิสัตว์ว่า วงฺกงฺคผู้มีอวัยวะคด ก็นกแม้ทุกชนิด เรียกได้ว่า วังกังคะ ผู้มีอวัยวะคดเพราะในเวลาบินทําคอเอี้ยวบินไป. บทว่า กิมตฺถํ ความว่า เห็นเหตุอะไร. บทว่า อุสฺสุกฺกา ได้แก่ เป็นผู้ระอาใจ บทว่าคิริกนฺทรํ ได้แก่ ซอกเขาอื่นจากภูเขา. บทว่า ยถา ปุเร ความว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 219

เมื่อก่อนนกเหล่านี้ย่อมสําคัญเราว่าเป็นที่เคารพ เป็นที่รัก ฉันใดบัดนี้ย่อมไม่สําคัญ ฉันนั้นหนอ ท่านแสดงความหมายว่า นกเหล่านี้เห็นจะสําคัญเราอย่างนี้ว่า แม้ดาบสที่เคยอยู่ในที่นี้มาก่อน เป็นคนหนึ่ง ดาบสนี้ก็เป็นอีกคนหนึ่ง คือคนละคนกัน. ด้วยบทว่าจิรมฺปวุฏา อถวา น เต อิเม นี้ ดาบสโกงถามว่า นกเหล่านี้พลัดพรากไปนานเพราะระยะกาลนานล่วงไปจึงได้มา จึงจําเราไม่ได้ว่าดาบสนี้ ก็คือดาบสรูปนั้นแหละ หรือว่านกเหล่าใดมีจิตสนิทในเรานกเหล่านั้นไม่ใช่นกเหล่านี้ คือเป็นนกพวกอื่นจรมา. ด้วยเหตุนั้นนกเหล่านี้จึงไม่เข้ามาใกล้เรา.

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงหันกลับมายืนกล่าวคาถาที่๓ ว่า :-

พวกเราเป็นผู้ไม่หลงใหล รู้อยู่ว่าท่านก็คือท่านนั่นแหละ พวกเรานั้นก็ไม่ใช่นกพวกอื่น ก็แต่ว่าจิตของท่านคิดประทุษร้ายในชนนี้ ดูก่อนอาชีวก เพราะเหตุนั้นพวกเราจึงหวาดกลัวท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มยํ สมฺมุฬฺหา พวกเราเป็นผู้หลงใหล คือประมาทมัวเมาก็หามิได้. บทว่า จิตฺตฺจ เตอสฺมิ ชเน ปทุฏํ ความว่า ท่านก็คือท่าน แม้เราก็คือนกเหล่านั้นยังจําท่านได้ ก็อนึ่งแล จิตของท่านประทุษร้ายในชน คือเกิดจิต

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 220

เพื่อจะฆ่าพวกเรา. บทว่า อาชีวก ได้แก่ ดูก่อนดาบสชั่ว ผู้บวชเพราะเหตุต้องการเลี้ยงชีพ. บทว่า เตน ตํ อุตฺตสาม ความว่าเพราะเหตุนั้น เราจึงสดุ้งกลัวท่านไม่เข้าใกล้.

ดาบสโกงคิดว่า นกเหล่านี้รู้จักเราแล้วจึงขว้างค้อนไป แต่ผิดจึงกล่าวว่า จงไปเถิด นกผู้เจริญ เราเป็นผู้ผิดเสียแล้ว. ลําดับนั้นพระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะดาบสโกงนั้นว่า เบื้องต้น ท่านผิดเราก่อนแต่ท่านจะไม่ผิดพลาดอบายทั้ง ๔ ถ้าท่านจักอยู่ในที่นี้ต่อไป เราจักบอกชาวบ้านว่า ดาบสนี้เป็นโจร แล้วให้มาจับท่านไป ท่านจงรีบหนีไปเสีย ครั้นคุกคามดาบสนั้นแล้วก็หลีกไป. ฝ่ายชฏิลโกงไม่อาจอยู่ในที่นั้น ได้ไปที่อื่น.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ ๔ แล้วทรงประชุมชาดกว่า ดาบสโกงในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในบัดนี้ ดาบสผู้มีศีลรูปก่อนในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตรในบัดนี้ ส่วนหัวหน้านกพิราบในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคตฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาโรมชาดกที่ ๗