๑๐. ปูฏทูสกชาดก ว่าด้วยผู้ชอบทําลาย
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 234
๑๐. ปูฏทูสกชาดก
ว่าด้วยผู้ชอบทําลาย
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 234
๑๐. ปูฏทูสกชาดก
ว่าด้วยผู้ชอบทําลาย
[๔๓๙] พระยาเนื้อเห็นจะฉลาดในการทําห่อใบไม้เป็นแน่ เพราะฉะนั้น จึงได้รื้อห่อใบไม้เสีย คงจะทําห่อใบไม้อย่างอื่นให้ดีกว่าเก่าเป็นมั่นคง.
[๔๔๐] บิดาหรือมารดาของเรา ไม่ใช่เป็นคนฉลาดในการทําห่อใบไม้เลย เราได้แต่รื้อสิ่งของที่ทําไว้แล้วๆ เท่านั้น ตระกูลของเรานี้เป็นธรรมดาอย่างนี้.
[๔๔๑] ธรรมดาของท่านทั้งหลายเป็นถึงเช่นนี้ก็สภาพที่มิใช่ธรรมดาจะเป็นเช่นไร ขอพวกเราอย่าได้เห็นธรรมดาหรือมิใช่ธรรมดาของท่านทั้งหลายในกาลไหนๆ เลย.
จบ ปูฏทูสกชาดกที่ ๑๐
อรรถกถาปูฏทูสกชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภกุมารผู้ประทุษร้ายห่อใบไม้คนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคําเริ่มต้นว่าอทฺธา หิ นูน มิคราชา ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 235
ได้ยินว่า อํามาตย์คนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้ประทับนั่งในสวน เมื่อจะถวายทานกล่าวว่า ในระหว่างภัตตาหาร ภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่จะเที่ยวไปในสวนก็จงเที่ยวไปเถิด. ภิกษุทั้งหลายจึงเที่ยวไปในสวน. ในขณะนั้นคนรักษาส่วนขึ้นต้นไม้อันสะพรั่งด้วยใบแล้วเก็บใบไม้ใหญ่ ทําให้เป็นห่อๆ แล้วทิ้งลงที่โคนต้นไม้ด้วยคิดว่า นี้จัดเป็นห่อดอกไม้ นี้จัดเป็นห่อผลไม้. ฝ่ายทารกผู้เป็นบุตรของตนรักษาสวนนั้น ก็ฉีกห่อใบไม้ที่คนรักษาสวนทิ้งลงมาๆ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนทารกผู้นี้ก็ได้เป็นผู้ทําลายห่อใบไม้เหมือนกัน แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในเมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่งในเมืองพาราณสี เจริญวัยแล้ว ได้อยู่ครองเรือน วันหนึ่ง ได้ไปสวนด้วยกรณียกิจเฉพาะบางอย่าง. วานรจํานวนหนึ่งได้อยู่ในสวนนั้นฝ่ายคนรักษาสวนทําห่อใบไม้ให้ตกลงโดยทํานองนี้แหละ. วานรจ่าฝูงก็มารื้อห่อใบไม้ที่คนรักษาสวนให้ตกลงมาๆ. พระโพธิสัตว์จึงเรียกวานรจ่าฝูงนั้นมากล่าวว่า เจ้ารื้อห่อใบไม้ที่คนรักษาสวนทิ้งลงมาๆ เห็นจะประสงค์จะทําห่อใบไม้ที่เขาทิ้งลงๆ ให้เป็นที่น่าชอบใจกว่ากระมัง แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 236
พระยาเนื้อเห็นจะฉลาดในการทําห่อใบไม้เป็นแท้ เพราะฉะนั้น จึงได้รื้อห่อใบไม่เสีย คงจะทําห่อใบไม้อย่างอื่นให้ดีกว่าเก่า.เป็นมั่นคง.
พระโพธิสัตว์เมื่อจะยกย่องลิงจึงกล่าวว่า มิคราชา พระยาเนื้อ ในคาถานั้น. บทว่า ปูฏกมฺมสฺส ได้แก่ ในการกระทําห่อดอกไม้. บทว่า เฉโก แปลว่า ผู้ฉลาด. ก็ในคาถานี้ มีความย่อดังต่อไปนี้. ก็พระยาเนื้อนี้ เห็นจะเป็นคนผู้ฉลาดในปูฏกรรมงานทําห่อใบไม้โดยแน่แท้จริงอย่างนั้น พระยาเนื้อนี้จึงทําลายห่อใบไม้อื่นที่คนเฝ้าสวนทิ้งลงมาเสีย คงจักกระทําห่อใบไม้อย่างอื่นให้เป็นที่น่าชอบใจกว่านั้นเป็นแน่.
ลิงได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
บิดาหรือมารดาของข้าพเจ้า มิใช่เป็นผู้ฉลาดในการทําห่อใบไม้ พวกเราได้แต่รื้อของที่เขาทําไว้แล้วๆ เท่านั้น ตระกูลของข้าพเจ้านี้ มีธรรมดาเป็นอย่างนี้.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ธรรมดาของพวกท่านเป็นถึงเช่นนี้ ก็สภาพที่มิใช่ธรรมดาจะเป็นเช่นไร ขอพวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 237
เราอย่าได้เห็นธรรมดาหรือมิใช่ธรรมดาของท่านทั้งหลายในกาลไหนๆ เลย.
ก็แหละครั้นกล่าวแล้วจึงติเตียนหมู่วานรแล้วหลีกไป.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกว่า วานรในครั้งนั้นได้เป็นทารกผู้ทําลายห่อใบไม้ในบัดนี้ ส่วนบุรุษบัณฑิตในครั้งนั้นได้เป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาปูฏทูสกชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุทปานทูสกชาดก
๒. พยัคฆชาดก
๓. กัจฉปชาดก๔. โลลชาดก
๕. รุจิรชาดก
๖. กุรุธรรมชาดก
๗. โรมชาดก๘. มหิสชาดก
๙. สตปัตตชาดก
๑๐. ปูฏทูสกชาดก
จบ อุทปานวรรคที่ ๓