๒. เสยยชาดก คบคนประเสริฐก็ประเสริฐ
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 254
๒. เสยยชาดก
คบคนประเสริฐก็ประเสริฐ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 254
๒. เสยยชาดก
คบคนประเสริฐก็ประเสริฐ
[๔๔๕] ผู้ใดคบหากับบุคคลผู้ประเสริฐ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนอันประเสริฐด้วยเราสมานไมตรีกับพระยาโจรคนเดียว ก็ปลดเปลื้องท่านทั้งหลายผู้ต้องโทษได้ทั้งร้อยคน.
[๔๔๖] เพราะฉะนั้น บุคคลคนเดียวสมานไมตรีกับโลกทั้งมวลสิ้นชีพแล้ว ก็พึงเข้าถึงสวรรค์ ท่านชาวาสิกรัฐทั้งหลายจงฟังคําของเรานี้เถิด.
[๔๔๗] พระเจ้ากังสมหาราช ครอบครองราชสมบัติเมืองพาราณสี ได้ตรัสพระดํารัสนี้แล้ว ก็ทรงสละทั้งธนูและลูกศรเสีย ทรงสมาทานสํารวมศีล.
จบ เสยยชาดกที่ ๒
อรรถกถาเสยยชาดกที่ ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภอํามาตย์ของพระเจ้าโกศลคนหนึ่งจึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า เสยฺ-ยํ โส เสยฺยโส อโหสิ ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 255
ได้ยินว่า อํามาตย์ผู้นั้นมีอุปการะเป็นอันมากแก่พระราชา ได้เป็นผู้จัดสรรพทั้งปวงให้สําเร็จ. พระราชาทรงพระดําริว่า อํามาตย์นี้มีอุปการะเป็นอันมากแก่เรา จึงได้ประทานยศใหญ่โตแก่อํามาตย์นั้นอํามาตย์พวกอื่นอดทนอํามาตย์นั้นไม่ได้ ก็คอยส่อเสียดยุยงพระราชาทําลายอํามาตย์นั้น. พระราชาทรงเชื่อคําของอํามาตย์เหล่านั้น มิได้ทรงพิจารณาโทษ รับสั่งให้จองจําอํามาตย์ผู้มีศีลนั้น ผู้หาโทษมิได้ด้วยเครื่องจองจําคือโซ่ตรวนแล้วให้ขังไว้ในเรือนจํา. อํามาตย์นั้นตัวคนเดียวแท้อยู่ในเรือนจํานั้น อาศัยศีลสมบัติได้เอกัคคตาจิตแน่วแน่ในอารมณ์เดียว พิจารณาสังขารทั้งหลายก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล.ครั้นในกาลต่อมา พระราชาทรงทราบว่า อํามาตย์นั้นไม่มีโทษจึงรับสั่งให้ถอดเครื่องพันธนาการคือโซ่ตรวน แล้วได้พระราชทานยศอันยิ่งใหญ่กว่ายศครั้งแรก. อํามาตย์คิดว่า จักถวายบังคมพระศาสดาจึงถือเอาของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นเป็นอันมาก ไปยังพระวิหาร บูชาพระตถาคตถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.พระศาสดาเมื่อจะทรงกระทําปฏิสันถารกับอํามาตย์นั้น จึงตรัสว่าเราตถาคตได้ยินว่า ราชทัณฑ์อันหาประโยชน์มิได้ เกิดขึ้นแก่ท่านหรือ. อํามาตย์กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญราชทัณฑ์อันหาประโยชน์มิได้ เกิดขึ้นแล้ว แต่ข้าพระองค์ได้กระทําประโยชน์จากสิ่งที่หาประโยชน์มิได้นั้น ข้าพระองค์นั้นนั่งอยู่ในเรือนจําแล้วทําโสดาปัตติผลให้เกิดขึ้นแล้ว. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 256
อุบาสก มิใช่ท่านเท่านั้น ที่นําเอาประโยชน์มาจากสิ่งที่มิใช่ประโยชน์แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ก็นําเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์มาจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนเหมือนกัน อันอํามาตย์นั้นทูลอาราธนาแล้วจึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตนั้น พอเจริญวัยก็เล่าเรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักกศิลา เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้วก็ดํารงอยู่ในราชสมบัติมิได้ทรงยังทศพิธราชธรรมให้กําเริบ ครองราชสมบัติโดยธรรมสม่ําเสมอ บําเพ็ญทาน รักษาศีล ๕ รักษาอุโบสถกรรมลําดับนั้น อํามาตย์ผู้หนึ่งของพระองค์ก่อการประทุษร้ายขึ้นภายในพระราชวัง. ข้าราชบริพารที่เป็นบาทบริจาริกาเป็นต้น จึงกราบทูลแก่พระราชาว่า อํามาตย์ผู้โน้นก่อประทุษร้ายในภายในพระราชวัง.พระราชาทรงสืบสวนแล้วทรงทราบได้ตามสภาพ จึงรับสั่งให้พาอํามาตย์นั้นมาเฝ้าแล้วตรัสว่า จําเดิมแต่นี้ไป เจ้าอย่าได้มาอุปัฏฐากเราเลย แล้วทรงถอดยศเสีย. อํามาตย์นั้นไปอุปัฏฐากพระเจ้าสามันตราชองค์อื่น. เรื่องทั้งปวงได้กล่าวไว้ในมหาสีลวชาดกในหนหลังนั่นแหละ แม้ในชาดกนี้ พระราชานั้นทรงทดลองถึง ๓ ครั้งจึงเชื่อคําของอํามาตย์นั้น ทรงดําริว่า จักยึดราชสมบัติในเมืองพาราณสี จึงพร้อมด้วยบริวารอันใหญ่หลวงประชิดราชอาณาเขต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 257
ของพระเจ้าพาราณสี. นายทหารผู้ใหญ่ของพระเจ้าพาราณสีประมาณ ๗๐๐ นาย รู้ประพฤติเหตุนั้นแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติ-เทพ ได้ยินว่า พระราชาองค์โน้นคิดว่าจักยึดราชสมบัติในเมืองพาราณสี จึงตีชนบทเข้ามา พวกข้าพระองค์จักไปในชนบทนั้นนั่นแหละ แล้วจักจับพระราชาองค์โน้นมา. พระเจ้าพาราณสีตรัสว่า เราไม่มีการกระทํากรรมด้วยราชสมบัติที่ได้ด้วยการเบียดเบียนผู้อื่น พวกท่านอย่ากระทําอะไรๆ เขา. พระราชาโจรเสด็จมาล้อมพระนครไว้.อํามาตย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระราชาอีกกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพขอพระองค์อย่าทรงกระทําอย่างนี้ พวกข้าพระองค์จะจับพระราชาโจรนั้น. พระราชาตรัสว่า อย่าได้กระทําอะไรๆ พวกท่านจงเปิดประตูเมืองทุกประตู พระองค์เองทรงแวดล้อมด้วยหมู่อํามาตย์ ประทับนั่งบนบัลลังก์ในท้องพระโรง. พระราชาโจรโบยตีพวกมนุษย์ที่ประตูทั้ง ๔ เข้าเมืองได้แล้วขึ้นยังปราสาทให้จับพระราชาผู้แวดล้อมด้วยอํามาตย์ ๑๐๐ คน จองจําด้วยโซ่ตรวนทั้งหลายแล้วให้ขังไว้ในเรือนจํา. พระราชาประทับนั่งในเรือนจํานั่นแล ทรงแผ่เมตตาไปยังพระราชาโจร ทรงยังฌานมีเมตตาเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น. ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาของพระเจ้าพาราณสีนั้น ความเร่าร้อนจึงเกิดขึ้นในกายของพระราชาโจร. พระสรีระกายทั้งสิ้นของพระราชาโจรนั้นเป็นประหนึ่งถูกคบเพลิงในยมโลกลวกลน. พระราชาโจรนั้นถูกมหันตทุกข์ครอบงําจึงตรัสถามว่า มีเหตุอะไรหนอ. อํามาตย์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 258
กราบทูลว่า พระองค์ให้จําขังพระราชาผู้มีศีลไว้ในเรือนจํา ด้วยเหตุนั้น ทุกข์อันนี้จักเกิดขึ้นแก่พระองค์. ราชาโจรนั้นจึงเสด็จไปขอขมาพระโพธิสัตว์ ตรัสว่า ราชสมบัติของพระองค์. จะเป็นของพระองค์เถิด แล้วทรงมอบราชสมบัติแก่พระเจ้าพาราณสีนั้นแล แล้วทูลว่า ตั้งแต่นี้ไปข้าศึกของพระองค์จงเป็นภาระของหม่อมฉัน ให้ลงอาญาแก่อํามาตย์ผู้ประทุษร้ายแล้วเสด็จไปยังพระนครของพระองค์เองพระโพธิสัตว์ประทับนั่งบนบัลลังก์ซึ่งยกเศวตรฉัตรขึ้นแล้วในท้องพระโรงอันอลงกต เมื่อจะทรงปราศัยกับหมู่อํามาตย์ที่นั่งห้อมล้อมอยู่จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาแรกว่า :-
ผู้ใดคบหากับบุคคลผู้ประเสริฐ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นส่วนอันประเสริฐด้วย เราสมาน-ไมตรีกับพระยาโจรคนเดียว ก็ปลดเปลื้องท่านทั้งหลายผู้ต้องโทษได้ตั้งร้อยคน.
เพราะฉะนั้น บุคคลคนเดียวสมานไมตรีกับโลกทั้งมวล สิ้นชีพแล้วก็พึงเข้าถึงสวรรค์ ท่านชาวกาสิกรัฐทั้งหลายจงฟังคําของเราเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยํ โส เสยฺยโส โหติ โยเสยฺยมุปเสวติ ความว่า บุคคลชื่อว่าผู้มีส่วนอันประเสริฐ เพราะมีส่วน คือโกฏฐาสอันประเสริฐกล่าวคือธรรมสูงสุดอันหาโทษมิได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 259
ได้แก่ บุคคลผู้อาศัยกุศลธรรม. บุคคลใดเข้าเสพกุศลธรรมภาวนาอันประเสริฐนั้น หรือบุคคลผู้สูงสุดผู้ยินดียิ่งในกุศลธรรมอันประเสริฐนั้นบ่อยๆ บุคคลนั้นเป็นผู้มีส่วนอันประเสริฐ คือเป็นผู้น่าสรรเสริญกว่าและเป็นผู้ยิ่งกว่า. ก็ด้วยบทว่า เอเกน สนฺธึ กตฺวาน สตํวชฺเฌ อโมจยึ แม้นี้ พึงทราบดังนี้ว่า ก็เมื่อเราซ่องเสพเมตตาภาวนาอันประเสริฐ ได้กระทําการติดต่อคือสืบต่อเมตตาภาวนากับพระยาโจรคนเดียว ด้วยเมตตาภาวนานั้น ได้ปลดเปลื้องท่านทั้งหลายผู้จะถูกฆ่าได้ตั้งร้อยคน. ในคาถาที่ ๒ มีเนื้อความต่อไปนี้. เพราะเหตุที่เรากระทําการติดต่อด้วยเมตตาภาวนา โดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระยาโจรคนเดียว จึงปลดเปลื้องท่านทั้งหลายผู้จะถูกฆ่าได้ตั้งร้อยคน เพราะฉะนั้น พึงทราบข้อนั้นว่าเพราะบุคคลผู้เดียวกระทําการติดต่อกับโลกทั้งปวง ด้วยเมตตาภาวนา ละไปแล้วจะเข้าถึงสวรรค์ในโลกหน้า. เพราะเมตตาภาวนาอันเป็นอุปจารฌานให้ปฏิสนธิในกามาวจรภพ เมตตาภาวนาอันเป็นอัปปนาฌาน ย่อมให้ปฏิสนธิในพรหมโลก ท่านแม้ทั้งปวงผู้เป็นชาวกาสิกรัฐ จงฟังคําของเรานี้ไว้.
พระมหาสัตว์พรรณนาคุณของภาวนา อันประกอบด้วยเมตตาแก่มหาชนอย่างนี้แล้วทรงสละเศวตรฉัตรในพระนครพาราณสีอันกว้างใหญ่ถึง ๑๒ โยชน์ แล้วเสด็จเข้าป่าหิมพานต์บวชเป็นฤๅษี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 260
พระศาสดาทรงเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว ทรงตรัสพระคาถาที่๓ ว่า :-
พระเจ้ากังสมหาราช ครอบครองราชสมบัติเมืองพาราณสี ได้ตรัสพระดํารัสนี้แล้ว ก็ทรงสละทิ้งธนูและลูกศรเสีย เข้าถึงความสํารวม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาราช แปลว่า พระราชาผู้ใหญ่. คําว่า กงฺโส เป็นพระนามของพระราชาผู้ใหญ่นั้น. บทว่าพาราณสิคฺคโห ได้แก่ ผู้ยืดครองพระนครพาราณสี เพราะยึดพระนครพาราณสีครอบครองอยู่. พระราชานั้น ตรัสพระดํารัสนี้แล้ว ทรงวางคือละทิ้งธนู และลูกธนูกล่าวคือลูกศร. เข้าถึงความสํารวมในศีล คือบวช ก็แหละครั้นบวชแล้วก็ยังฌานให้เกิดขึ้นเป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมจึงได้เกิดขึ้นในพรหมโลก.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาผู้เป็นโจรในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ส่วนพระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล
จบ อรรถกถาเสยยชวดกที่ ๒