พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. วัฑฒกีสูกรชาดก หมูสู้เสือได้ด้วยสามัคคีกัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35733
อ่าน  447

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 261

๓. วัฑฒกีสูกรชาดก

หมูสู้เสือได้ด้วยสามัคคีกัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 261

๓. วัฑฒกีสูกรชาดก

หมูสู้เสือได้ด้วยสามัคคีกัน

[๔๔๘] ดูก่อนเสือโคร่ง วันก่อนๆ ท่านเคยย่ํายีหมูทั้งหลายในประเทศนี้ แล้วนําเอาหมูตัวอ้วนๆ มา บัดนี้ท่านเกิดซบเซามาแต่ผู้เดียว ดูก่อนเสือโคร่ง ก็วันนี้กําลังกายของท่านไม่มีหรือ.

[๔๔๙] ได้ยินว่า วันก่อนๆ หมูเหล่านี้เห็นข้าพเจ้าเข้าแล้วก็กลัว ต่างก็บ่ายหน้าหนีไปหาที่ซ่อนเร้นคนละทิศละทาง บัดนี้ หมูเหล่านั้นมาประชุมรวมกันเป็นหมวดเป็นหมู่อยู่ในที่ชัยภูมิดี ยากที่ข้าพเจ้าจะย่ํายีได้.

[๔๕๐] ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแก่หมู่หมูที่มาประชุมกัน ข้าพเจ้าได้เห็นมิตรภาพอันน่าอัศจรรย์ควรสรรเสริญแล้ว จึงขอกล่าวสรรเสริญไว้ หมูทั้งหลายผู้มีเขี้ยวเป็นกําลังได้ชนะเสือโคร่งด้วยความสามัคคีอันใด ก็พากันพ้นมรภัยด้วยความสามัคคีอันนั้น.

จบ วัฑฒกีสูกรชาดกที่ ๓

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 262

อรรถกถาวัฑฒกีสูกรชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพระธนุคคหติสสเถระ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า วรํ วรํ ตฺวํ ดังนี้.

ได้ยินว่า พระเจ้ามหาโกศลผู้เป็นพระชนกของเจ้าปัสเสนทิโกศล ได้พระราชทานนางโกศลเทวีราชธิดา แก่พระเจ้าพิมพิสาร ได้พระราชทานบ้านกาสิกคามอันเป็นบ้านที่มีรายได้เกิดขึ้นหนึ่งแสนให้เป็นมูลค่าแห่งจุรณสําหรับสรงสนานแก่พระราชธิดานั้น. แต่เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูปลงพระชนม์พระบิดา ฝ่ายพระนางโกศลเทวีถูกความโศกครอบงําก็ทิวงคต. ลําดับนั้น พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงพระดําริว่า พระเจ้าอชาตศัตรูปลงพระชนม์พระบิดา ฝ่ายพระภคินีของเรา เมื่อพระสวามีสวรรคตแล้วก็ทิวงคต เพราะความโศก เราจักไม่ให้กาสิกคามแก่โจรผู้ฆ่าพ่อ. ทรงดําริฉะนั้นแล้ว ก็ไม่ยอมยกบ้านกาสิกคามนั้นให้พระเจ้าอชาตศัตรู. เพราะอาศัยบ้านนั้นเองพระราชาแม้ทั้งสองพระองค์นั้น จึงมีการรบกันตลอดเวลา. พระเจ้าอชาตศัตรูทรงเป็นหนุ่มเข้มแข็งสามารถ ส่วนพระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงชราภาพแล้ว พระองค์จึงรบแพ้อยู่เนืองๆ. ผู้คนแม้ของพระเจ้ามหาโกศลก็พ่ายแพ้อยู่โดยมาก. ลําดับนั้น พระราชาตรัสถามพวกอํามาตย์ว่า พวกเราแพ้พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นเนืองๆ ควรจะทําอย่างไรดี อํามาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดาพระ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 263

ผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความคิดอ่าน ควรจะพึงถ้อยคําของภิกษุทั้งหลายในพระเชตวันมหาวิหาร. พระราชาทรงสั่งบังคับจารบุรุษทั้งหลายว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังถ้อยคําสนทนาของภิกษุทั้งหลายในเวลานั้น. จารบุรุษเหล่านั้น ได้กระทําอย่างนั้นจําเดิมแต่นั้นมา. ก็ในกาลนั้นพระเถระผู้เฒ่า ๒ รูป คือพระทันตเถระและพระธนุคคหติสสเถระ อยู่ในบรรณศาลาท้ายวิหาร. บรรดาพระเถระ ๒ รูปนั้น พระธนุคคหติสสเถระ หลับทั้งในปฐมยามและมัชฌิมยาม แล้วตื่นขึ้นในตอนปัจฉิมยาม นั่งเคาะดุ้นฟืนก่อไฟให้สว่างแล้วกล่าวว่า ท่านทันตเถระผู้เจริญ ท่านนอนอยู่หรือว่านั่งอยู่.พระทันตเถระกล่าวว่า ผมไม่นอนแล้วจักทําอะไร. พระธนุคคหติสสเถระกล่าวว่า ลุกขึ้นนั่งก่อนเถอะขอรับ. พระธนุคคหติสสเถระนั้นลุกขึ้นนั่งแล้วกล่าวว่า ท่านทันตเถระผู้เจริญ พระเจ้าโกศลท้องพลุ้ยองค์นี้เขลา กระทําพระกระยาหารที่เสวยในถาดให้เสียไปเปล่า แต่ไม่ทรงทราบการจัดกระบวนรบอะไรๆ พระองค์ผู้เป็นจอมนรชนจึงทรงแพ้แล้วแพ้เล่า. พระทันตเถระถามว่าก็อย่างนั้น ควรจะทําอย่างไร? ขณะนั้น จารบุรุษเหล่านั้น ได้ยินฟังถ้อยคําของพระเถระทั้งสองนั้น. พระธนุคคหติสสเถระวิจารณ์การรบว่า ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าในการรบมีกระบวนจัดทัพอยู่ ๓ กระบวน คือ ปทุมพยูหะ กระบวนทัพรูปดอกปทุม ๑ จักกพยูหะ กระบวนทัพรูปล้อรถ ๑ สกฏพยูหะกระบวนทัพรูปเกวียน ๑ ถ้าพระเจ้าปัสเสนทิโกศลมีพระประสงค์จะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 264

จับพระเจ้าอชาตศัตรู ควรซุ่มคนไว้ที่เหลี่ยมเขาทั้งสองด้านไว้ในท้องภูเขาชื่อโน้น แสดงกําลังพลข้างหน้าให้รู้ว่าอ่อนแอ อย่าให้พระเจ้าอชาตศัตรูทราบว่าเข้าไปในระหว่างภูเขา แล้วสกัดกั้นทางเข้าไปเสีย แล้วให้คนที่ซุ่มอยู่ที่เหลี่ยมเขาทั้งสองข้างโห่ร้องตีโอบเข้ามาทั้งข้างหน้าและข้างหลัง ก็อาจสามารถจับพระเจ้าอชาตศัตรูได้ เหมือนจับปลาที่เข้าไปในข่าย และเหมือนจับลูกนกกระจาบไว้ในกํามือฉะนั้น. พวกจารบุรุษจึงกราบทูลข่าวนั้นแก่พระราชา. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงรับสั่งให้ลั่นกลองสงครามเภรี แล้วเสด็จไปตั้งกระบวนรบสกฏพยูหะ จับพระเจ้าอชาตศัตรูได้ทั้งเป็น ได้ประทานราชธิดาของพระองค์พระนามว่าวชิรกุมารีแก่พระภาคิไนย และได้ประทานบ้านกาสิกคามให้เป็นค่าสําหรับสรงสนานแก่พระราชธิดานั้นแล้วทรงส่งไป. ประพฤติเหตุนั้นได้ปรากฏในหมู่ภิกษุสงฆ์. ครั้นวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่าพระเจ้าโกศลทรงชนะพระเจ้าอชาตศัตรู เพราะการวิจารณ์ของพระธนุคคหติสสเถระ. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลได้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น มิในกาลก่อนพระธนุคคหติสสะ ก็เป็นผู้ฉลาดในการจัดการรบมาแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 265

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในป่า. ในกาลนั้น ช่างไม้คนหนึ่งจากหมู่บ้านช่างไม้ซึ่งตั้งอาศัยเมืองพาราณสีอยู่ ไปป่าเพื่อต้องการไม้ เห็นลูกสุกรตกหลุมอยู่ จึงพาเอาไปเรือนเลี้ยงไว้. ลูกสุกรนั้นถึงความเติบโต มีร่างกายใหญ่ มีเขี้ยวโง้งเป็นสัตว์เพียบพร้อมด้วยมารยาท. ก็เพราะนายช่างไม้นํามาเลี้ยงไว้จึงปรากฏชื่อว่าวัฑฒกีสุกร. วัฑฒกีสุกรนั้น ในเวลาช่างไม้ถากไม้ก็เอาจะงอยปากพลิกไม้ให้ เอาปากคาบนํามีด ขวาน สีว และค้อนมาให้ ช่วยยุดปลายเส้นบรรทัดให้. ลําดับนั้น ช่างไม้นั้น จึงนําวัฑฒกีสุกรนั้นไปปล่อยป่า เพราะกลัวว่า ใครๆ นั่นแหละจะฆ่ามันกินเสีย. ฝ่ายวัฑฒกีสุกรนั้นก็เข้าป่าตรวจดูสถานที่อันผาสุกสําราญปลอดภัย ได้เห็นซอกเขาใหญ่ในระหว่างภูเขาแห่งหนึ่ง บริบูรณ์ด้วยเหง้ามันและรากไม้เป็นสถานที่อยู่น่าผาสุกคราคร่ําด้วยสุกรหลายร้อย. สุกรเหล่านั้นเห็นวัฑฒกีสุกรนั้นแล้ว จึงมายังสํานักของวัฑฒกีสุกรนั้น. ฝ่ายวัฑฒกีสุกรนั้นก็กล่าวกะสุกรเหล่านั้นว่า เราเที่ยวมองหาพวกท่านอยู่ทีเดียว เออก็บัดนี้เราได้พบพวกท่านแล้ว อนึ่ง สถานที่นี้ก็เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ และบัดนี้ เราก็จักอยู่ในที่นี้แล. สุกรทั้งหลายกล่าวว่า จริง สถานที่นี้น่ารื่นรมย์ แต่ในที่นี้มีอันตราย วัฑฒกีสุกรกล่าวว่า แม้เราได้เห็นท่านทั้งหลายแล้วก็ได้รู้ถึงข้อนั้นเมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในที่อันสมบูรณ์ด้วยโคจรอย่างนี้ เนื้อและเลือด

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 266

ในร่างกายของท่านก็ไม่มี พวกท่านมีภัยอะไรในที่นี้. สุกรทั้งหลายกล่าวว่า มีเสือโคร่งตัวหนึ่งมาแต่เช้าตรู่ ตะครุบเอาสุกรตัวใดตัวหนึ่งที่มันพบเห็นเอาไป. วัฑฒกีสุกรถามว่า ก็เสือโคร่งนั้นมันตะครุบเอาไปทุกวันเป็นประจํา หรือเว้นวันบ้าง? สุกรทั้งหลายกล่าวว่า มันตะครุบอาเป็นประจําทุกวัน. วัฑฒกีสุกรถามว่า เสือโคร่งนั้นมีเท่าไร. สุกรทั้งหลายกล่าวว่า ตัวเดียว. วัฑฒกีสุกรกล่าวว่า พวกท่านมีประมาณเท่านี้ ไม่สามารถเอาชนะเสือโคร่งตัวเดียวได้หรือ?. สุกรทั้งหลายกล่าวว่า ไม่สามารถ. วัฑฒกีสุกรกล่าวว่า เราจักจับมันขอให้พวกท่านกระทําตามคําของเราอย่างเดียว เสือโคร่งตัวนั้นมันอยู่ที่ไหน? สุกรทั้งหลายกล่าวว่า มันอยู่ที่ภูเขาลูกหนึ่ง. วัฑฒกีสุกรนั้นในคืนนั้นเองให้จัดสุกรทั้งหลาย เมื่อจะจัดแจงเฉพาะการสู้รบ จึงกล่าวว่า ชื่อว่าการสู้รบมี ๓ กระบวน คือ กระบวนปทุมพยูหะ ๑ กระบวนจักกพยูหะ ๑ กระบวนสกกฏพยูหะ ๑ แล้วจัดโดยกระบวนปทุมพยูหะ. ก็วัฑฒกีสุกรนั้นรู้จักที่อันเป็นชัยภูมิ เพราะฉะนั้นจึงคิดว่า ควรจัดการสู้รบในที่นี้ จึงวางสุกรชั้นพ่อแม่ที่มีลูกอ่อนไว้ในที่ท่ามกลางของสุกรเหล่านั้น วางนางสุกรปูนกลางล้อมสุกรชั้นพ่อแม่ที่มีลูกอ่อนเหล่านั้น วางสุกรหนุ่มล้อมนางสุกรวัยปูนกลางเหล่านั้น วางสุกรแก่ล้อมสุกรหนุ่มเหล่านั้น วางสุกรที่มีเขี้ยวยาวล้อมสุกรแก่เหล่านั้น แล้ววางสุกรที่มีพลกําลังสามารถในการสู้รบ จัดทําให้หมวดหมู่ในที่นั้นๆ หมู่ละ ๑๐ และ ๒๐ ตัว ล้อมพวกสุกรที่มี

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 267

เขี้ยวยาวเหล่านั้น. ให้ขุดหลุมกลมไว้หลุมหนึ่ง ข้างหน้าที่ที่ตนยืนและให้ขุดหลุมหนึ่งไว้ข้างหลังที่ที่ตนยืน ให้มีสัณฐานเหมือนกระด้งฝัดข้าว ลาดลึกไปโดยลําดับคล้ายเงื้อมเขา. เมื่อวัฑฒกีสุกรนั้นพาสุกรนักรบประมาณ ๖๐ - ๗๐ ตัว เที่ยวจัดแจงการงานในที่นั้นๆ พร้อมกับพูดว่าพวกท่านอย่ากลัวเลย ดังนี้ จนอรุณขึ้น ฝ่ายเสือโคร่งลุกขึ้นแล้วรู้ว่าได้เวลา ก็ไปยืนที่พื้นภูเขาชื่อตั้งอยู่ตรงหน้าสุกรเหล่านั้น จ้องตาแลดูสุกรทั้งหลาย. วัฑฒกีสุกรได้อาณัติสัญญาณแก่สุกรเหล่านั้นว่า พวกท่านจงจ้องตาตอบมัน สุกรเหล่านั้นก็จ้องตาตอบ. เสือโคร่งอ้าปากหายใจ ฝ่ายสุกรทั้งหลายก็ได้กระทําเหมือนอย่างนั้น เสือโคร่งถ่ายปัสสาวะ แม้พวกสุกรก็ถ่ายปัสสาวะบ้าง. ดังนั้น เสือโคร่งนั้นกระทํากิริยาอาการอย่างใด สุกรทั้งหลายก็ทํากิริยาอาการอย่างนั้น. เสือโคร่งนั้นคิดว่า เมื่อก่อนในเวลาที่เรามองดูสุกรทั้งหลายพากันหนีไป วันนี้มันไม่หนีกลับเป็นศัตรูตอบเรากระทําล้อเลียนกิริยาอาการที่เรากระทํา ในพื้นที่อันเป็นประธานนั้น มีสุกรตัวหนึ่งยืนสั่งการสุกรเหล่านั้นอยู่ วันนี้ความปราชัยจะปรากฏแก่เราผู้มาแล้ว. เสือโคร่งคิดดังนี้แล้วจึงได้กลับไปยังที่อยู่ของตนที่เดียว. อนึ่ง มีชฎิลโกงคนหนึ่งผู้คอยกินเนื้อที่เสือโคร่งนั้นคาบเอามาแล้วๆ ชฎิลโกงนั้น เสือโคร่งกลับมามือเปล่า เมื่อจะปราศรัยกับเสือโคร่งนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนเสือโคร่ง วันก่อนๆ ท่านเคย

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 268

ย่ํายีหมูทั้งหลายในประเทศนี้ แล้วนําเอาหมูตัวอ้วนๆ มา บัดนี้ ท่านเดินซบเซามาแต่ผู้เดียว ดูก่อนเสือโคร่ง ก็วันนี้ กําลังกายของท่านไม่มีหรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วรํ วรํ ตฺวํ นิหนํ ปุเร จริอสฺมึ ปเทเส อภิภุยฺย สูกเร ความว่า ดูก่อนเสือโคร่งผู้เจริญเมื่อก่อน ท่านครอบงําสุกรทั้งปวงในประเทศนี้ บรรดาสุกรเหล่านี้ท่านเที่ยวฆ่าสุกรตัวล่ําๆ คือตัวอ้วนๆ ได้แก่ ตัวที่อุดมสมบูรณ์.บทว่า โสทานิ เอโก พฺยคฺฆ ปคมฺม ฌายสิ ความว่า บัดนี้ท่านไม่จับสุกรตัวอื่น ตัวเดียวเท่านั้น เดินซบเซาซึมมา. บทว่าพลนฺนุ เจ พฺยคฺฆ น จชฺช วิชฺชติ ความว่า ดูก่อนเสือโคร่งผู้เจริญ วันนี้ กําลังกายของท่านไม่มีหรือหนอ.

เสือโคร่งได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ได้ยินว่า วันก่อนๆ หมูเหล่านี้เห็นข้าพเจ้าแล้วก็กลัว ต่างบ่ายหน้าหนีไปหาที่ซ่อนเร้นคนละทิศละทาง บัดนี้หมูเหล่านั้นมาประชุมกันเป็นหมวดเป็นหมู่ อยู่ในที่ชัยภูมิดี ยากที่จะย่ํายีได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสุตา เป็นนิบาต. ก็เนื้อความย่อมีดังต่อไปนี้ :- เมื่อก่อนสุกรเหล่านี้เห็นข้าพเจ้าแล้วถูกความ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 269

กลัวกดขี่เบียดเบียน แสวงหาที่ต้านทานที่ซ่อนเร้นของตนๆ เป็นคนละพวกคือต่างแยกกันไปคนละทิศละทาง คือบ่ายหน้าหนีไปยังทิศนั้นๆ บัดนี้ สุกรเหล่านั้นแม้ทั้งหมดมาประชุมอยู่รวมกันบันลืออยู่ และอยู่ในชัยภูมิอันยากที่ข้าพเจ้าจะย่ํายีได้ คือว่า วันนี้สุกรเหล่านี้ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ข้าพเจ้าข่มขี่ย่ํายีได้ยาก.

ลําดับนั้น ชฎิลโกงเมื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดแก่เสือโคร่งนั้นจึงกล่าวว่า อย่ากลัว ไปเถอะ เมื่อท่านบันลือวิ่งเข้าไป สุกรทั้งหมดกลัว จักพากันแตกหนีไป. เมื่อชฎิลโกงนั้นทําให้เกิดความอุตสาหะเสือโคร่งก็มีใจกล้าหาญกลับไปยืนที่พื้นภูเขาอีก. วัฑฒกีสุกรคงยืนอยู่ระหว่างหลุมทั้งสอง. ฝ่ายสุกรทั้งหลายก็กล่าวว่า นาย มหาโจรมาอีกแล้ว. วัฑฒกีสุกรกล่าวว่า อย่ากลัว อย่ากลัว เราจักจับมันเดี๋ยวนี้. เสือโคร่งบันลือแล้วกระโจนขึ้นเบื้องบนวัฑฒกีสุกร. ในเวลาที่เสือโคร่งนั้นตกลงมาเหนือตน วัฑฒกีสุกรก็กลิ้งตัวหลูบขึ้นไปในหลุมที่ขุดไว้ตรงๆ โดยส่วนเบื้องหลังของเสือโคร่ง เสือโคร่งไม่อาจยั้งความเร็วไว้ได้ก็เลยไปทางส่วนเบื้องบน ตกลงไปในปากหลุมอันคับแคบที่ขุดขวางไว้อันมีปากคล้ายกระด้ง ได้เป็นเหมือนกระทําให้กองฉะนั้น. วัฑฒกีสุกรขึ้นจากหลุมรีบไปโดยเร็วดุจสายฟ้า เอาเขี้ยวขวิดเสือโคร่งเข้าในระหว่างขาอ่อน ฉีกผ่าไปจนถึงม้าม เอาเขี้ยวพันเนื้ออร่อย ๕ อย่าง ออกมาวงรอบหัวเสือโคร่งแล้วยกขึ้นทิ้งออกไปนอกหลุมโดยกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงจับปัจจามิตรของพวกท่าน.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 270

พวกสุกรที่มาก่อนก็ได้กินเนื้อเสือโคร่ง พวกที่มาภายหลังกล่าวว่าชื่อว่าเนื้อเสือโคร่งเป็นเช่นไร? จึงเที่ยวดมปากของสุกรเหล่านั้น. สุกรเหล่านั้นต่างก็ยังไม่พากันดีใจ. วัฑฒกีสุกรเห็นอาการของสุกรเหล่านั้นจึงกล่าวว่า เพราะเหตุไรหนอ. พวกท่านจึงไม่ยินดี. สุกรทั้งหลายกล่าวว่า นาย ประโยชน์อะไรด้วยเสือโคร่งตัวเดียวที่ถูกฆ่า ชฎิลโกงผู้สามารถจะนําเอาเสือโคร่งตัวอื่นๆ ตั้ง ๑๐ มาได้ ยังมีอยู่.วัฑฒกีสุกรถามว่า ชฎิลโกงนั้นคือใคร? พวกสุกรกล่าวว่า ดาบสทุศีลคนหนึ่ง. วัฑฒกีสุกรกล่าวว่า แม้เสือโคร่งเราก็ยังฆ่าได้ ดาบสทุศีลนั้นจะพออะไรเรา มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจักจับดาบสทุศีลนั้น ว่าแล้วก็ไปพร้อมหมู่สุกร. ฝ่ายดาบสโกง เมื่อเสือโคร่งชักช้าอยู่ก็คิดว่า พวกสุกรจับเสือโคร่งไปกระมังหนอ จึงเดินสวนทางไปได้เห็นสุกรทั้งหลายกําลังเดินมา จึงถือเอาบริขารของตนหนีไป ถูกสุกรเหล่านั้นติดตาม จึงทิ้งบริขารทั้งหลายแล้วรีบขึ้นต้นมะเดื่อไปโดยเร็ว. สุกรทั้งหลายกล่าวว่า นาย บัดนี้ดาบสร้ายหนีขึ้นต้นไม้ไปแล้ว. วัฑฒกีสุกรถามว่า ต้นไม้ชื่ออะไร? สุกรทั้งหลายบอกว่าต้นมะเดื่อ. วัฑฒกีสุกรนั้นจัดแจงว่า นางสุกรจงไปนําน้ำมา ลูกสุกรจงขุด สุกรที่มีเขี้ยวยาวจงกัดราก ฝ่ายสุกรที่เหลือจงล้อมรักษาไว้เมื่อสุกรเหล่านั้นกระทําอยู่อย่างนั้น ตนเองก็งัดรากแก้วของต้นมะเดื่อให้ต้นมะเดื่อล้มลงทันที เหมือนคนเอาขวานฟันฉะนั้น. พวกสุกรที่ยืนล้อมอยู่ ก็ทําให้ชฎิลโกงล้มลงบนภาคพื้นแล้วทําให้เป็นท่อนน้อย

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 271

ท่อนใหญ่แล้วกัดกินจนถึงกระดูก เชิญให้วัฑฒกีสุกรนั่งบนลําต้นมะเดื่อนั่นแหละ แล้วให้เอาสังข์เครื่องใช้สอยของชฎิลโกงไปตักน้ำมาอภิเษกแต่งตั้งให้เป็นราชา และแต่งตั้งนางสุกรรุ่นสาวตัวหนึ่ง แต่งตั้งให้เป็นอัครมเหสีของวัฑฒกีสุกรนั้น. ได้ยินว่าจําเดิมแต่นั้นมาอํามาตย์ราชเสวกทั้งหลาย เชิญเสด็จพระราชาให้นั่ง ณ อุทุมพรภัตรบิฐ แล้วอภิเษกด้วยสังข์ ๓ ชนิด สืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้ เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในไพรสณฑ์นั้น เห็นความอัศจรรย์อันนั้น จึงเยี่ยมหน้าเฉพาะต่อสุกรทั้งหลาย ณ ค่าคบไม้แห่งหนึ่ง กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แก่หมู่สุกรที่มาประชุมกัน ข้าพเจ้าได้เห็นมิตรภาพอันน่าอัศจรรย์ควรสรรเสริญ จึงขอกล่าวสรรเสริญไว้ หมูทั้งหลายผู้มีเขี้ยวเป็นกําลัง ได้ชนะเสือโคร่งด้วยสามัคคีอันใด ก็พากันพ้นมรณภัย ด้วยสามัคคีอันนั้น ในเพราะกําลังแห่งเขี้ยวทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นมตฺถุ สงฺฆานํ ความว่า การกระทําความนอบน้อมของเรานี้ จงมีแก่หมู่สุกรผู้มาประชุมกัน. บทว่า ทิสฺวา สยํ สขฺยํ วทามิ อพฺภุตํ ความว่า ข้าพเจ้าได้เห็นความเป็นสหาย คือมิตรภาพอันไม่เคยมีในกาลก่อน ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 272

ไม่เคยมีนี้จึงกล่าว. บทว่า พฺยคฺฆํ มิคา ยตฺถ ชินึสุ ทาิโน ความว่า ชื่อก็สุกรมฤคทั้งหลายผู้มีเขี้ยว ชนะเสือโคร่งด้วยความสามัคคีใด. อีกอย่างหนึ่งบาลีก็อันนี้แหละ. บทว่า สามคฺคิยาทาพเลสุ มุจฺจเร ความว่า ก็ความสามัคคี คือความเป็นผู้มีอัธยาศัยเป็นอันเดียวกันในหมู่สุกรผู้มีเขี้ยวเป็นกําลังนี้ใด ด้วยความสามัคคีในหมู่สุกรอันนั้น สุกรผู้มีเขี้ยวเป็นกําลังเหล่านั้น จับปัจจามิตรได้จึงพ้นจากมรณภัยในวันนี้.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระธนุคคหติสสะ ได้เป็นวัฑฒกีสุกรในครั้งนั้นส่วนรุกขเทวดาในครั้งนั้นได้เป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาวัฑฒกีสุกรชาดกที่ ๓