๔. สิริชาดก โภคะเกิดแก่ผู้มีบุญ
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 273
๔. สิริชาดก
โภคะเกิดแก่ผู้มีบุญ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 273
๔. สิริชาดก
โภคะเกิดแก่ผู้มีบุญ
[๔๕๑] ผู้ไม่มีบุญ จะเป็นผู้มีศิลปหรือไม่ก็ตามย่อมขวนขวายรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมากผู้มีบุญย่อมใช้สอยทรัพย์เหล่านั้น
[๔๕๒] โภคะเป็นอันมากย่อมล่วงเลยสัตว์เหล่าอื่นไปเสีย เกิดขึ้นในที่ทั้งปวงเทียวสําหรับผู้มีบุญอันกระทําไว้ ใช่แต่เท่านั้นรัตนะทั้งหลายก็บังเกิดขึ้นแม้ในที่มิใช่บ่อ-เกิด.
[๔๕๓] ไก่ แก้วมณี ไม้เท้า และหญิงชื่อว่าบุญญลักษณาเทวี ย่อมเกิดขึ้นแก่อนาถบิณ-ฑิกเศรษฐีผู้ไม่มีบาป มีบุญอันกระทําไว้แล้ว.
จบ สิริชาดกที่ ๔
อรรถกถาสิริชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภพราหมณ์โจรผู้ลักสิริคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า ยํ อุสฺ-สุกฺกา สงฺฆรนฺติ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 274
ในชาดกนี้ เรื่องปัจจุบันมีพิสดารแล้วในขทิรังคารชาดกในหนหลังนั่นแล. แต่ในที่นี้ เทวดาผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งสิงอยู่ที่ซุ้มประตูที่สี่ ในเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น เมื่อจะทําทัณฑกรรมแก่ตนเอง จึงนําเอาเงิน ๕๔ โกฏิมาใส่เต็มฉาง ได้เป็นสหายกับท่านเศรษฐี. ลําดับนั้น ท่านเศรษฐีได้นําเทวดานั้นไปยังสํานักของพระศาสดา. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เทวดานั้น เทวดานั้นครั้นได้ฟังธรรมแล้วได้เป็นพระโสดาบัน. ตั้งแต่นั้นมายศของท่านเศรษฐีก็ได้เป็นเหมือนอย่างเดิม. ครั้งนั้น มีพราหมณ์ผู้รู้ลักษณะสิริชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่งคิดว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นคนเข็ญใจแล้วกลับเป็นใหญ่ขึ้นอีก อย่ากระนั้นเลย เราทําทีเหมือนต้องการจะไปเยี่ยมท่านเศรษฐีนั้น ไปลักเอาสิริจากเรือนของท่านเศรษฐีนั้นมาเสีย.พราหมณ์นั้นไปยังเรือนของท่านเศรษฐี อันท่านเศรษฐีนั้นกระทําสักการะและสัมมานะแล้ว เมื่อกําลังกล่าวถ้อยคําเครื่องให้ระลึกถึงกันและกันอยู่ ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ท่านมาหาข้าพเจ้า เพื่อต้องการอะไร?ก็ตรวจดูว่า สิริประดิษฐานอยู่ที่ไหนหนอ. ก็ท่านเศรษฐีมีไก่ขาวปลอดมีส่วนเปรียบดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ใส่ไว้ในกรงทองตั้งอยู่. สิริประดิษฐานอยู่ที่หงอนของไก่นั้น. พราหมณ์ตรวจดูอยู่รู้ว่าสิริประดิษฐานอยู่ที่ไก่นั้น จึงกล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐีข้าพเจ้าสอนมนต์พวกมาณพ ๕๐๐ คน เพราะอาศัยไก่ตัวหนึ่งขันไม่เป็นเวลา พวกมาณพและข้าพเจ้าจึงย่อมลําบาก ได้ยินว่า ก็ไก่ตัวนี้ขันตรงเวลา ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 275
มาเพื่อต้องการไก่ตัวนี้ ท่านโปรดให้ไก่ตัวนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด ท่านเศรษฐีกล่าวว่า จับเอาไปเถอะพราหมณ์ข้าพเจ้าให้ไก่ตัวนี้ก็ท่าน.ก็ในขณะที่ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ให้ เท่านั้น สิริก็เคลื่อนจากหงอนของไก่นั้นไปประดิษฐานอยู่ที่ดวงแก้วมณี ซึ่งวางอยู่เหนือหัวนอน.พราหมณ์รู้ว่าสิริไปประดิษฐานอยู่ที่แก้วมณึจึงขอแก้วมณีแม้ดวงนั้น.ในขณะที่ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ข้าพเจ้าให้แก้วมณี เท่านั้น สิริก็เคลื่อนจากแก้วมณีไปประดิษฐานอยู่ที่ไม้เจว็ดซึ่งวางอยู่เหนือหัวนอน.พราหมณ์รู้ว่าสิริไปประดิษฐานอยู่ที่ไม้เจว็ดนั้น จึงขอไม้เจว็ดแม้นั้น.ในขณะที่ท่านเศรษฐีกล่าวว่า จงถือเอาไปเถอะ เท่านั้น สิริก็เคลื่อนจากไม้เจว็ดไปประดิษฐานอยู่ที่ศีรษะของภรรยาเอกของท่านเศรษฐีชื่อว่าบุญญลักษณาเทวี. พราหมณ์ผู้เป็นโจรลักสิริรู้ว่าสิริไปประดิษฐานอยู่ที่ภรรยาเอกของท่านเศรษฐี จึงคิดว่า เราไม่อาจขอภรรยาเอกนี้ซึ่งเป็นภัณฑ์ที่ท่านเศรษฐีสละไม่ได้ จึงได้กล่าวคํานี้กะท่านเศรษฐีว่าท่านมหาเศรษฐี ข้าพเจ้ามาด้วยใจว่า จักลักสิริในเรือนของท่านไปก็สิริได้ประดิษฐานอยู่ที่หงอนไก่ของท่าน เมื่อท่านให้ไก่นี้แก่ข้าพเจ้าสิริก็เคลื่อนที่จากไก่นั้นไปประดิษฐานที่แก้วมณี เมื่อท่านให้แก้วมณีสิริก็ไปประดิษฐานอยู่ที่ไม้เจว็ด เมื่อท่านให้ไม้เจว็ด สิริก็เคลื่อนจากไม้เจว็ดไปประดิษฐานที่ศีรษะของนางบุญญลักษณาเทวี ข้าพเจ้าคิดว่า สิ่งนี้หนอเป็นสิ่งที่สละไม่ได้ จึงไม่อาจลักสิริของท่าน ของของท่านก็จงเป็นของท่านเท่านั้น ครั้นกล่าวแล้วก็ลุกจากอาสนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 276
หลีกไป. ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีคิดว่าจักกราบทูลเหตุการณ์นี้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไปยังวิหาร บูชาพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง กราบทูลเรื่องราวนั้นทั้งหมดแก่พระตถาคตเจ้า. พระศาสดาได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสว่า คฤหบดีมิใช่ในบัดนี้เท่านั้นที่สิริของคนอื่นจะไปในที่อื่น ก็แม้ในกาลก่อนสิริที่คนผู้มีบุญน้อยให้เกิดขึ้น ก็ไปอยู่แทบบาทมูลของคนผู้มีบุญเท่านั้น อันท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาสิกรัฐพอเจริญวัยแล้วก็ได้เล่าเรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักกศิลา อยู่ครองเรือน สลดใจเพราะบิดามารดาทํากาลกิริยาตายไป จึงออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในหิมวันตประเทศ ยังอภิญญาและสมบัติให้บังเกิดขึ้น โดยกาลล่วงมาช้านาน ได้ไปยังชนบทเพื่อต้องการรสเค็มและรสเปรี้ยวได้อยู่ในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี วันรุ่งขึ้น เมื่อจะเที่ยวภิกขาจาร ได้ไปยังประตูเรือนของนายหัตถาจารย์. นายหัตถาจารย์นั้นเลื่อมใสในอาจารมารยาทและวิหารธรรมของดาบสนั้น จึงถวายภิกษาหารแล้วให้อยู่ในอุทยานปรนนิบัติอยู่เป็นนิตย์. เวลานั้น คนหาฟืนเลี้ยงชีพคนหนึ่ง นําฟืนมาจากป่าไม่สามารถจะมาทันประตูเมืองได้ตามเวลา ในเวลาเย็นจึงทําฟ่อนไม้ให้เป็นเครื่องหนุนศีรษะนอน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 277
ณ ศาลเจ้าแห่งหนึ่ง. มีไก่จํานวนมากแม้ที่ชาวบ้านเขาปล่อยไว้ที่ศาลเจ้า พากันนอนอยู่บนต้นไม้ต้นหนึ่ง ไม่ใกล้ชายหาฟืนนั้น. ในเวลาใกล้รุ่ง ไก่ตัวที่นอนอยู่เหนือไก่เหล่านั้น ถ่ายคูถรดตามตัวของไก่ซึ่งนอนอยู่เบื้องล่าง และเมื่อไก่ที่นอนเบื้องล่างถามว่า ใครถ่ายคูถรดตัวเรา จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าเอง. และเมื่อไก่ตัวล่างกล่าวว่าเพราะอะไร? จึงกล่าวว่า เพราะไม่ทันพิจารณาแล้วก็ถ่ายคูถรดลงไปอีก. แต่นั้น ไก่ทั้งสองตัวก็โกรธกันและกัน ทําการทะเลาะกันว่ากําลังของท่านมีหรือ กําลังของท่านมีหรือ? ลําดับนั้น ไก่ตัวที่นอนอยู่เบื้องล่างกล่าวว่า ใครฆ่าเราแล้วกินเนื้อที่สุกด้วยถ่านไฟ จักได้ทรัพย์พันกหาปณะแต่เช้าตรู่. ไก่ตัวที่นอนอยู่เบื้องบนกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าอวดอ้างด้วยอานุภาพมีประมาณเท่านี้ ด้วยว่าบุคคลผู้กินเนื้อล่าของเราจะได้เป็นพระราชา ผู้กินเนื้อภายนอก ถ้าเป็นบุรุษจะได้ตําแหน่งเสนาบดี ถ้าเป็นสตรีจะได้ตําแหน่งอัครมเหสีส่วนผู้กินเนื้อติดกระดูกของเรา ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะได้ตําแหน่งขุนคลังถ้าเป็นบรรพชิตจะได้เป็นพระประจําราชตระกูล. ชายหาฟืนได้ฟังคําของไก่ทั้งสองตัวนั้นแล้ว คิดว่า เมื่อเราได้ครองราชสมบัติแล้วกิจด้วยทรัพย์พันหนึ่ง ย่อมไม่มีจึงค่อยๆ ปีนขึ้นไปจับไก่ตัวที่นอนเบื้องบนฆ่าแล้วห่อไว้ คิดว่าเราจักเป็นพระราชา จึงเดินไป พอประตูเมืองเปิดก็เข้าเมืองจัดการถอนขนไก่ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วได้ให้แก่ภรรยาโดยสั่งว่า จงปรุงเนื้อไก่นี้ให้ดี. ภรรยาจัดแจงเนื้อไก่และข้าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 278
เสร็จแล้วน้อมเข้าไปให้แก่สามีโดยกล่าวว่า จงบริโภคเถอะนาย. สามีกล่าวว่า นางผู้เจริญ เนื้อนี้มีอานุภาพมาก เราบริโภคเนื้อนี้แล้วจักเป็นพระราชา เธอจักได้เป็นอัครมเหสี ดังนั้น สามีภรรยาทั้งสองจึงถือเอาข้าวและเนื้อนั้นไปฝังแม่น้ำคงคา คิดว่า อาบน้ำแล้วจึงจักบริโภค จึงได้วางภาชนะอาหารไว้ที่ริมฝังแล้วลงไปอาบน้ำ.ขณะนั้น น้ำถูกลมพัดปันป่วนซัดมา ได้พาเอาภาชนะภัตตาหารลอยไป. ภาชนะภัตตาหารนั้นถูกกระแสน้ำพัดมา มหาอํามาตย์ผู้เป็นหัตถาจารย์ผู้หนึ่ง กําลังให้ช้างอาบน้ำอยู่ในแม่น้ำข้างใต้เห็นเข้า จึงให้ยกขึ้นมาแล้วให้เปิดดู ถามว่ามีอะไร? พวกบริวารบอกว่า ภัตตาหารและเนื้อไก่ครับนาย. มหาอํามาตย์นั้นจึงให้ปิดภาชนะภัตตาหารนั้นแล้วให้ประทับตรา ส่งไปให้ภรรยาโดยสั่งว่า เธออย่าเปิดเนื้อและข้าวจนกว่าฉันจะมา. ฝ่ายบุรุษหาฟืนนั้นท้องอืดเพราะน้ำปนทรายซัดเข้าปาก จึงหนีไป. ลําดับนั้น ดาบสผู้มีจักษุทิพย์รูปหนึ่งซึ่งเป็นกุลุปกะของนายหัตถาจารย์นั้น คิดว่าอุปัฏฐากของเรายังไม่พ้นตําแหน่งนายหัตถาจารย์ เมื่อไรหนอจึงจักได้สมบัติ จึงใคร่ครวญด้วยทิพยจักษุ เห็นบุรุษนั้น รู้เหตุการณ์นั้น จึงรีบไปเรือนเสียก่อนแล้วนั่งในนิเวศน์ของนายหัตถาจารย์. นายหัตถาจารย์มาถึงไหว้พระดาบสนั้น แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ให้นําภาชนะภัตตาหารนั้นมา แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงอังคาสพระดาบสด้วยเนื้อและข้าวสุก. พระดาบสรับแต่ข้าวไม่รับเนื้อที่เขาถวายกล่าวว่า เราจะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 279
จัดแจงเนื้อนี้ เมื่อนายหัตถาจารย์กล่าวว่า จงจัดเถิดขอรับ จึงให้กระทําเป็นส่วนๆ ในบรรดาเนื้อล่ําเป็นต้น แล้วให้เนื้อล่ําแก่นายหัตถาจารย์ ให้เนื้อภายนอกแก่ภรรยาของนายหัตถาจารย์นั้น ตนเองบริโภคเนื้อติดกระดูก. ในเวลาเสร็จภัตตกิจ พระดาบสนั้นเมื่อจะไปกล่าวว่า ในวันที่สามจากวันนี้ไป ท่านจักได้เป็นพระราชา จงอย่าเป็นผู้ประมาทครั้นกล่าวแล้วก็หลีกไป. ในวันที่สาม พระเจ้าสามันตราชยกทัพมาล้อมเมืองพาราณสี. พระเจ้าพาราณสีให้นายหัตถาจารย์แต่งตัวเป็นพระราชาแล้วทรงสั่งว่า ท่านจงขี่ช้างรบ ส่วนพระองค์เองปลอมเพศที่ใครไม่รู้จักเที่ยวไปในหมู่เสนา ถูกยิงด้วยลูกศรลูกหนึ่งซึ่งมีกําลังเร็วมาก จึงสวรรคตในขณะนั้นทันที. นายหัตถาจารย์นั้นรู้ว่าพระราชาสวรรคตแล้ว จึงให้ขนกหาปณะออกมาเป็นอันมาก แล้วให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องว่า ผู้ที่ต้องการทรัพย์จงออกแนวหน้าสู้รบเถิด. พลนิกายจึงปลงพระชนม์พระราชาผู้เป็นข้าศึกได้โดยครู่เดียวเท่านั้น. อํามาตย์ทั้งหลายถวายพระเพลิงพระศพของพระราชาแล้ว ปรึกษากันว่า เราจะตั้งใครให้เป็นพระราชา จึงตกลงกันว่า พระราชาเมื่อยังมีพระชนม์อยู่ได้พระราชทานเพศของพระองค์แก่นายหัตถาจารย์ นายหัตถาจารย์นี้แหละกระทําการรบจึงยึดราชสมบัติไว้ได้ เราทั้งหลายจักให้ราชสมบัติแก่นายหัตถาจารย์นี้เท่านั้นแล้วจึงอภิเษกนายหัตถาจารย์นั้นในราชสมบัติ ทั้งได้กระทําภรรยาของนายหัตถาจารย์นั้นให้เป็นอัครมเหสี. พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 280
ประจําราชตระกูล.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว พระองค์เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถามนี้ว่า :-
ผู้ไม่มีบุญ จะเป็นผู้มีศิลปะหรือไม่มีศิลปะก็ตาม ย่อมขวนขวายรวบรวมทรัพย์ใดไว้เป็นอันมาก ผู้มีบุตย่อมใช้สอยทรัพย์เหล่านั้น. โภคะเป็นอันมากย่อมล่วงเลยสัตว์เหล่าอื่นไปเสีย เกิดขึ้นในที่ทั้งปวงแก่ผู้มีบุญอันได้กระทําไว้แล้ว ใช่แต่เท่านั้นรัตนะทั้งหลายยังเกิดขึ้นแม้ในที่อันมิใช่บ่อ-เกิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ อุสฺสุกฺกา ความว่า บุคคลผู้ไม่มีบุญถึงความขวนขวาย คือ เกิดฉันทะเพื่อจะรวบรวมทรัพย์ใดย่อมรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมากด้วยกิจการงาน. บาลีว่า เยอุสฺสุกฺกาดังนี้ก็มี. อธิบายว่า บุรุษเหล่าใดขวนขวายในการรวบรวมทรัพย์จะมีศิลปะเช่นศิลปะในเพราะช้างเป็นต้น หรือไม่มีศิลปะก็ตาม กระทําการงานโดยชั้นที่สุดด้วยการรับจ้าง รวบรวมทรัพย์เป็นอันมากไว้บทว่า ลกฺขิกา ตานิ ภฺุชเร ความว่า บุรุษอื่นผู้มีบุญเมื่อจะบริโภคผลบุญของตนแม้จะไม่ทําการงานอะไรๆ ก็ย่อมได้ใช้สอยทรัพย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 281
ทั้งหลายที่เรียกว่าทรัพย์มากเหล่านั้น. บทว่า อติจฺจฺเว ปาณิโนได้แก่ ล่วงเลยสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นเสีย. เอว อักษร ในบทว่าอติจฺจฺเว นี้แหละ พึงประกอบเข้ากับบทแรก มีใจความว่าล่วงเลยเหล่าสัตว์ผู้ไม่ได้กระทําบุญไว้ ย่อมเกิดขึ้นในที่ทั้งปวงทีเดียวแก่บุคคลผู้ที่ได้กระทําบุญไว้. บทว่า อปิ นายตเนสุปิ ความว่าโดยที่แท้ โภคะทั้งหลายเป็นอันมากทั้งที่เป็นทรัพย์ที่มีวิญญาณครองและทรัพย์ที่ไม่มีวิญญาณครอง ย่อมเกิดขึ้นแม้ในที่อันมิใช่บ่อเกิด คือรัตนะทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในที่อันมิใช่บ่อเกิดแห่งรัตนะ ทองเป็นต้นย่อมเกิดขึ้นในที่อันมิใช่บ่อเกิดแห่งทองเป็นต้น ช้างเป็นต้นย่อมเกิดขึ้นในที่อันมิใช่บ่อเกิดแห่งช้างเป็นต้น. จริงอยู่ ในการที่แก้วมุกดาและแก้วมณีเป็นต้นเกิดขึ้นในที่อันมิใช่บ่อเกิดนั้น พึงแสดงเรื่องของพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยมหาราช.
ก็พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถานี้แล้ว จึงตรัสสืบไปว่าดูก่อนคฤหบดี ชื่อว่าบ่อเกิดอย่างอื่นเช่นกับบุญของสัตว์เหล่านี้ ย่อมไม่มีเพราะว่ารัตนะทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นแก่คนผู้มีบุญ แม้ในที่อันมิใช่บ่อเกิดทั้งหลาย แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้ว่า :-
ขุมทรัพย์คือบุญนี้ ให้สมบัติอันน่าใคร่ทั้งปวงแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมปรารถนาผลใดย่อมได้ผลนั้นทั้งหมดด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 282
ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ๑ ความเป็นผู้มีเสียงไพเราะ ๑ ความเป็นผู้มีทรวดทรงงาม ๑ความเป็นผู้มีรูปสวย ๑ ความเป็นอธิบดี ๑ความเป็นผู้มีบริวาร ๑ ผลทั้งหมดนี้ อันเทวดาและมนุษย์ ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้. ความเป็นเจ้าประเทศราช ๑ ความเป็นผู้มีอิสริยยศ ๑ ความสุขของพระเจ้าจักรพรรดิอันเป็นที่รัก ๑ ความเป็นราชาแห่งเทวดาในเทวโลก ผลทั้งหมดนี้อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้. สมบัติอันเป็นของมนุษย์ .ความรื่นรมย์ยินดีในเทวโลก ๑ นิพพานสมบัติ ๑ ผลทั้งหมดนี้ อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้. ผลทั้งหมดคือความที่บุคคลถึงพร้อมด้วยมิตรสัมป-ความเพียรด้วยอุบายอันแยบคายได้เป็นผู้ชํานาญในวิชชาและวิมุตติ อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์ค้าบุญนี้. ปฏิ-สัมภิทา ๑ วิโมกข์ ๑ สาวกบารมี ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 283
ปัจเจกโพธิ ๑ พุทธภูมิ ๑ ผลทั้งหมดนี้อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้. ปุญญสัมปทา คือความถึงพร้อมด้วยบุญนี้ ให้ความสําเร็จผลอันใหญ่ยิ่งอย่างนี้เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ทั้งหลาย จึงสรรเสริญความเป็นผู้มีบุญอันได้กระทําไว้ ดังนี้.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงรัตนะทั้งหลาย อันเป็นที่ประดิษฐานแห่งสิริแม้ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคํามีอาทิว่า กุกฺกุโฏ ดังนี้. ดังมีคาถาประพันธ์ว่า :-
ไก่ แก้วมณี ไม้เท้า หญิงผู้มีบุญญ-ลักษณะ ย่อมเกิดแก่คนผู้ไม่มีบาป มีแต่บุญอันได้กระทําไว้แล้ว.
คําว่า ทณฺโฑ ไม้เท้า ในคาถานั้น ท่านกล่าวหมายเอาไม้เจว็ด. บทว่า ถิโย ได้แก่ นางบุญญลักษณาเทวี ผู้เป็นภรรยาของเศรษฐี. คําที่เหลือในคาถานี้ ง่ายทั้งนั้น. ก็แหละ ครั้นตรัสพระคาถานี้แล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ดาบสผู้เป็นกุลุปกะในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคตฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสิริชาดกที่ ๔