พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. มณิสูกรชาดก ของดีใครทําลายไม่ได้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35735
อ่าน  417

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 284

๕. มณิสูกรชาดก

ของดีใครทําลายไม่ได้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 284

๕. มณิสูกรชาดก

ของดีใครทําลายไม่ได้

[๔๕๔] พวกข้าพเจ้าประมาณ ๓๐ ตัว อาศัยอยู่ในถ้ำแก้วมณี ๗ ปี ได้ปรึกษากันว่า จะช่วยกันกําจัดแสงแก้วมณีให้เศร้าหมอง.

[๔๕๕] พวกข้าพเจ้าช่วยกันเสียดสีแก้วมณีแก้วมณีกลับมีสีสุกใสขึ้นกว่าเก่า บัดนี้พวกข้าพเจ้าขอถามท่านถึงเหตุนั้น ท่านย่อมสําคัญกิจในเรื่องนี้อย่างไร.

[๔๕๖] ดูก่อนหมูทั้งหลาย แก้วไพฑูรย์นี้เป็นของบริสุทธิ์งามผ่องใสใครๆ ไม่สามารถจะกําจัดแสงแก้วไพฑูรย์นั้นให้เศร้าหมองได้ท่านทั้งหลายจงพากันหลีกหนีไปอยู่ที่อื่นเสียเถิด.

จบ มณิสูกรชาดกที่ ๕

อรรถกถามณิสูกรชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภการสมาคมแห่งนางสุนทรี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า ทริยาสตฺต วสฺสานิ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 285

ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยําเกรง ทรงได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นปกติ. แม้ภิกษุสงฆ์ก็เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์สักการะ. เคารพ นับถือ บูชา ยําเกรงและเป็นผู้ได้จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นปกติ. ฝ่ายพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ใครๆ ไม่สักการะ เคารพนับถือ บูชา ยําเกรงไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. ได้ยินว่า เมื่อลาภสักการประดุจห้วงน้ำใหญ่แห่งแม่น้ำใหญ่ ๕ สาย เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์พวกอัญญเดียรถีย์ เสื่อมลาภสักการะ เป็นผู้อับรัศมี ประดุจหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น จึงมาร่วมประชุมหารือกันว่าจําเดิมแด่พระสมณโคดมเกิดขึ้นแล้ว พวกเราเป็นผู้เสื่อมลาภสักการะ ใครๆ ย่อมไม่รู้แม้ความที่พวกเรามีอยู่ พระสมณโคดมถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภพวกเราจะร่วมกับใครดีหนอ จึงจะยังโทษมิใช่คุณ ให้เกิดขึ้นแก่พระสมณโคดม ทําลาภสักการะ ของพระสมณโคดมนั้นให้อันตรธานไป. ลําดับนั้น พวกเดียรถีย์เหล่านั้นได้มีความคิดกันว่า พวกเราร่วมกับนางสุนทรี จักสามารถทําได้. วันหนึ่ง พวกเดียรถีย์เหล่านั้นไม่พูดจากะนางสุนทรีผู้เข้าไปยังอารามของเดียรถีย์ ไหว้แล้วยืนอยู่.นางสุนทรีนั้นถึงจะพูดจาบ่อยๆ ก็ไม่ได้คําตอบ จึงถามว่า เออก็พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายถูกใครๆ เบียดเบียนหรือ พวกอัญญเดียรถีย์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 286

กล่าวว่า น้องหญิงเธอไม่เห็นหรือ พระสมณโคดมเที่ยวเบียดเบียนพวกเรา กระทําให้เสื่อมลาภสักการะ. นางสุนทรีนั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ในเรื่องนี้ ดิฉันควรจะทําอย่างไร. อัญญเดียรถีย์ทั้งหลายกล่าวว่าน้องหญิง เจ้าแล เป็นผู้มีรูปร่างงดงาม ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความงาม จงยกโทษมิใช่ยศขึ้นแก่พระสมณโคดม ให้มหาชนเชื่อถือคําของเจ้า แล้วกระทําให้เสื่อมลาภสักการะ. นางสุนทรีนั้นรับคําว่าได้จึงไหว้แล้วหลีกไป จําเดิมแต่นั้นมา นางก็ถือดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ กระบูร และผลเผ็ดร้อนเป็นต้น แล้วบ่ายหน้าตรงไปยังพระเชตวันวิหารในตอนเย็น เวลาที่มหาชนฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วเข้าเมือง และถูกถามว่า เธอจะไปไหน? ก็กล่าวว่าไปสํานักพระสมณโคดม. ด้วยว่าเราอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดม แล้วก็ไปอยู่เสียในอารามของอัญญเดียรถีย์แห่งหนึ่งพอเช้าตรู่ ก็ย่างลงหนทางสายที่จะไปพระเชตวัน บ่ายหน้ามุ่งไปพระนคร และถูกถามว่า สุนทรี เธอไปไหนมาหรือ? จึงกล่าวว่า เราอยู่ในพระคันธกุฎีหลังเดียวกันกับพระสมณโคดม ให้พระสมณโคดมรื่นรมย์ยินดีด้วยกิเลสแล้วจึงมา. ครั้นล่วงไป ๒ - ๓ วัน พวกอัญญเดียรถีย์ให้กหาปณะแก่พวกนักเลง แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงไปฆ่านางสุนทรี แล้วหมกไว้ในระหว่างกองหยากเยื่อดอกไม้ใกล้ๆ กับพระคันธกุฏีของพระสมณโคดมแล้วจงมา. พวกนักเลงเหล่านั้นได้กระทําอย่างนั้น. ลําดับนั้น พวกอัญญเดียรถีย์พากันทําความโกลาหลว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 287

เราทั้งหลายไม่เห็นนางสุนทรี จึงกราบทูลพระราชา เป็นผู้อันพระราชาตรัสถามว่า ท่านทั้งหลาย มีความรังเกียจแหนงใจที่ไหน จึงกราบทูลว่า ทุกวันนี้ นางสุนทรีอยู่ในพระเชตวัน ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทราบความเป็นไปของนางในพระเชตวันนั้น พระราชาทรงอนุญาตว่า ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงไปค้นหานาง จึงพาคนผู้เป็นอุปัฏฐากของตนไปยังพระเชตวันค้นหาอยู่ เห็นนางสุนทรีอยู่ในระหว่างกองขยะดอกไม้ จึงให้ยกศพนางสุนทรีขึ้นวางบนเตียงน้อยแล้วเข้าไปยังพระนคร กราบทูลแก่พระราชาว่า พวกสาวกของพระสมณโคดมคิดว่าจักปกปิดกรรมชั่วที่พระศาสดาของตนกระทํา จึงฆ่านางสุนทรีแล้วหมกไว้ในระหว่างกองขยะดอกไม้. พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงไปเที่ยว ประกาศให้ทั่วพระนคร เดียรถีย์เหล่านั้นจึงเที่ยว ประกาศ ในถนน ทั่วพระนคร โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านทั้งหลายจงดูกรรมของพวกสมณะ ศากยบุตร ดังนี้แล้วก็กลับมายังประตูพระราชนิเวศน์อีก. พระราชารับสั่งให้ยกร่างของนางสุนทรีขึ้นสู่เตียงน้อยในป่าช้าผีดิบแล้วให้อารักขาไว้. ชาวเมืองสาวัตถี ยกเว้นพระอริยสาวก ที่เหลือโดยมาก กล่าวคําเป็นต้นว่า ท่านทั้งหลาย จงดูการกระทําของพวกสมณะ ศากยบุตร ดังนี้ แล้วเที่ยวด่าภิกษุทั้งหลายทั้งภายในเมืองและนอกเมือง. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแก่พระตถาคตเจ้า. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น แม้เธอทั้งหลายจงโจทย์ท้วงตอบพวกมนุษย์เหล่านั้นอย่างนี้ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 288

บุคคลผู้พูดคําไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรกหรือแม้บุคคลใดทําแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทํา ชนแม้ทั้งสองนั้น เป็นมนุษย์มีกรรมเลวทราม ละไปในโลกอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกัน.

พระราชาทรงส่งพวกราชบุรุษไปโดยรับสั่งว่า พวกท่านจงรู้ว่านางสุนทรีถูกคนอื่นฆ่า. ลําดับนั้น พวกนักเลงแม้เหล่านั้น ดื่มสุราด้วยกหาปณะเหล่านั้น กระทําการทะเลาะกันและกันอยู่. ในนักเลงเหล่านั้น นักเลงคนหนึ่งพูดอย่างนี้ว่า ท่านฆ่านางสุนทรีด้วยการประหารคราวเดียวเท่านั้น แล้วหมกไว้ในระหว่างกองขยะดอกไม้ จึงได้ดื่มสุราด้วยกหาปณะที่ได้จากการฆ่านางสุนทรีนั้น. พวกราชบุรุษจึงจับนักเลงเหล่านั้นแสดงแก่พระราชา. ลําดับนั้น พระราชาตรัสถามนักเลงเหล่านั้นว่า พวกเจ้าฆ่าหรือ? พวกนักเลงกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ. พระราชาตรัสถามว่า ใครใช้ให้ฆ่า?นักเลงทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ พวกอัญญเดียรถีย์ใช้ให้ฆ่าพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้เรียกพวกอัญญเดียรถีย์มาแล้วตรัสว่าพวกเจ้าจงให้หามนางสุนทรีไป จงเที่ยวไปตลอดทั่วพระนคร กล่าวอย่างนี้ว่า นางสุนทรีนี้พวกเราประสงค์จะยกโทษพระสมณโคดม จึงให้ฆ่าเสีย โทษแห่งสาวกทั้งหลายของพระสมณโคดมไม่มีเลย เป็นโทษของเราทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นได้กระทําอย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 289

ตามรับสั่ง. ในกาลนั้น มหาชนผู้เขลาเชื่อ. ฝ่ายพวกอัญญเดียรถีย์ถูกลงอาญาในฐานฆ่าคน. จําเดิมแต่นั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้มีสักการะมากยิ่งขึ้น. ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พวกเดียรถีย์คิดว่า จักยังความมัวหมองให้เกิดแก่พระพุทธเจ้า ตนเองกลับเป็นฝ่ายมัวหมองอนึ่ง ลาภสักการะใหญ่ยิ่งเกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้า. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้หลงทราบแล้ว จึงตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครๆ ไม่อาจทําความมัวหมองให้เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้า ชื่อว่าการกระทําความเศร้าหมองแก่พระพุทธเจ้า ก็เป็นเช่นกับ ทําความเศร้าหมองแก่แก้วมณีชาติ. ในกาลก่อน สุกรทั้งหลายแม้พยายามอยู่ด้วยหวังว่าจักทําแก้วมณีชาติ คือมณีโดยกําเนิด ให้เศร้าหมอง ก็ไม่ได้อาจทําให้เศร้าหมอง อันภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง พอเจริญวัยแล้ว เห็นโทษในกามทั้งหลายจึงออกจากเรือนข้ามทิวเขา ๓ ลูกในหิมวันตประเทศ ไปเป็นดาบสอยู่ในบรรณศาลา. ได้มีถ้ำแก้วมณีอยู่ในที่ไม่ไกลบรรณศาลานั้น. สุกรประมาณ ๓๐ ตัวอยู่ในถ้ำแก้วมณีนั้น มีราชสีห์ตัวหนึ่งเที่ยวไปในที่ไม่ใกล้ถ้ำนั้น. เงา

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 290

ของราชสีห์นั้นย่อมปรากฏที่แก้วมณี. สุกรทั้งหลายเห็นเงาราชสีห์ตกใจกลัวสะดุ้ง จึงได้มีเนื้อและเลือดน้อย. สุกรเหล่านั้นคิดกันว่าเพราะแก้วมณีนี้ใส เงานี้จึงปรากฏ พวกเราจงทําแก้วมณีนี้ ให้เศร้าหมอง ไม่มีสี จึงไปยังสระแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล กลิ้งเกลือกในเปือกตมแล้วมาสีที่แก้วมณีนั้น. แก้วมณีนั้นถูกขนสุกรทั้งหลายเสียดสีอยู่กลับใสแจวยิ่งขึ้น ประหนึ่งพื้นสุทธากาสอันบริสุทธิ์ สุกรทั้งหลายมองไม่เห็นอุบาย จึงตกลงกันว่า จักถามอุบายเป็นเครื่องทําแก้วมณีนี้ให้ปราศจากสีกะพระดาบา จึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ ไหว้แล้วยืน ณส่วนข้างหนึ่ง กล่าวคาถา ๒ คาถาแรกว่า :-

พวกข้าพเจ้าประมาณ ๓๐ ตัวอาศัยอยู่ในถ้ำแก้วมณี ๑ ปี ได้ปรึกษากันว่า จะช่วยกันกําจัดแสงแก้วมณีให้เศร้าหมอง. พวกข้าพเจ้าช่วยกันเสียดสีแก้วมณี แก้วมณีกลับมีสีสุกใสขึ้นกว่าเก่า บัดนี้ พวกข้าพเจ้าขอถามท่านถึงเหตุนั้น ท่านย่อมสําคัญกิจในเรื่องนี้อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทริยา แปลว่า ในถ้ำแก้วมณี.บทว่า วสามเส แปลว่า ย่อมอยู่. บทว่า หฺาม ความว่า พวกข้าพเจ้าจักขจัด คือ แม้พวกข้าพเจ้าก็จักกระทําให้หมดสี. บทว่าอิทฺจิทานิ ปุจฺฉาม ความว่า บัดนี้ พวกข้าพเจ้าขอถามท่านถึง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 291

ข้อนี้ว่า เพราะเหตุไร? แก้วมณีนี้อันพวกข้าพเจ้าทําให้เศร้าหมองอยู่ยังกลับสุกใส. บทว่า กึ กิจฺจํ อิธ มฺสิ ความว่า ในเรื่องนี้ท่านสําคัญกิจนี้ว่าอย่างไร.

ลําดับนั้น พระโพธิสัตว์ เมื่อจะบอกแก่สุกรเหล่านั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ดูก่อนหมูทั้งหลาย แก้วไพฑูรย์นี้เป็นของบริสุทธิ์งามผ่องใส ใครๆ ไม่อาจกําจัดแสงแก้วไพฑูรย์นั้นให้เศร้าหมองได้ ท่านทั้งหลายจงพากันหลบหนีไปอยู่ที่อื่นเสียเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกาโจ แปลว่า ในกระด้าง. บทว่าสุโภ แปลว่า งาม. บทว่า สิรึ แปลว่า รัศมี. บทว่า อปกฺกมถความว่า ใครๆ ไม่อาจทําแสงของแก้วมณีนี้ให้พินาศไปได้ ก็พวกท่านแหละ จงละถ้ำแก้วมณีนี้ไปอยู่ที่อื่นเสียเถิด.

สุกรเหล่านั้นพึงฟังถ้อยคําของพระโพธิสัตว์นั้นแล้วได้กระทําเหมือนอย่างนั้น. พระโพธิสัตว์ทําฌานให้เกิดขึ้นแล้ว ในเวลาสิ้นอายุชัย ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระดาบสในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล

จบ อรรถกถามณิสุกรชาดกที่ ๕