พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ลาภครหิกชาดก วิธีการหลอกลวง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35737
อ่าน  441

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 297

๗. ลาภครหิกชาดก

วิธีการหลอกลวง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 297

๗. ลาภครหิกชาดก

วิธีการหลอกลวง

[๔๖๐] ไม่ใช่คนบ้าทําเป็นเหมือนคนบ้า ไม่ใช่คนส่อเสียดก็ทําเป็นเหมือนคนส่อเสียดไม่ใช่นักฟ้อนรําก็ทําเป็นเหมือนนักฟ้อนรําไม่ใช่คนตื่นข่าวก็ทําเป็นเหมือนคนตื่นข่าวย่อมจะได้ลาภในคนผู้หลงใหลทั้งหลาย นี้เป็นคําสั่งสอนสําหรับท่าน

[๔๖๑] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ น่าติเตียนความประพฤตอันเป็นเหตุให้ได้ยศและทรัพย์โดยทําชื่อเสียงให้ตกไป หรือโดยไม่เป็นธรรม.

[๔๖๒] อนึ่ง ถ้าบุคคลจะถือเอาบาตรออกไปบวชเสีย ความเป็นอยู่นี้แล ประเสริฐกว่าการแสวงหาโดยอธรรม.

จบ ลาภครหิกชาดกที่ ๗

อรรถกถาลาภครหิกชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่านานุมฺมตฺโต ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 298

ได้ยินว่า สัทธิวิหาริกของพระเถระ เข้าไปหาพระเถระ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอกปฏิปทาอันจะให้ลาภเกิดแก่กระผม ภิกษุกระทําอะไรจึงจะได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ขอรับ. ลําดับนั้น พระเถระจึงบอกปฏิปทาอันจะให้ลาภเกิดขึ้นแก่สัทธิวิหาริกนั้น ดังนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ลาภสักการะย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ ๑. พึงทําลายหิริโอตตัปปะภายในตนอันละสมณสัญญาเสีย ไม่เป็นบ้าเลย ทําเป็นเหมือนคนบ้า๒. พึงกล่าววาจาส่อเสียด ๓. พึงเป็นเช่นกับนักฟ้อนรํา และ ๔. พึงเป็นคนเอิกเกริกมีวาจาพล่อยๆ . สัทธิวิหาริกนั้นติเตียนปฏิปทานั้นแล้วจึงลุกขึ้นหลีกไป. พระเถระเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตรภิกษุนั้นติเตียนลาภในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้ติเตียนแล้วเหมือนกัน อันพระเถระทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ พอเจริญวัยแล้วในกาลมีอายุ ๑๖ ปีเท่านั้น ก็เรียนจบไตรเพท และศิลปศาสตร์๑๘ประการ ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์บอกศิลปะแก่มาณพ ๕๐๐ คน ในจํานวนมาณพเหล่านั้น มีมาณพคนเพียบพร้อมด้วยศิลาจารวัตรวันหนึ่งเข้าไปหาอาจารย์ แล้วถามปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้เกิดลาภว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 299

ขอท่านจงบอก ลาภเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านี้ได้อย่างไรๆ อาจารย์กล่าวว่า ดูก่อนพ่อมหาจําเริญ ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านี้. ด้วยเหตุ๔ ประการ แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ไม่ใช่คนบ้าทําเป็นเหมือนคนบ้า ไม่ใช่คนส่อเสียดทําเป็นเหมือนคนส่อเสียด ไม่ใช่นักฟ้อนรําทําเป็นเหมือนนักฟ้อนรํา ไม่ใช่คนตื่นข่าวทําเป็นเหมือนคนตื่นข่าว ย่อมจะได้ลาภในหมู่คนหลงงมงาย นี้เป็นคําสอนสําหรับท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นํานุมฺมตฺโต ตัดเป็น อนุมฺมตฺโตแปลว่าไม่ใช่คนบ้า. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ชื่อว่าคนบ้าเห็นเด็กหญิงเด็กชายแล้ว แย่งเอาผ้าและเครื่องประดับเป็นต้นของเด็กเหล่านั้นถือเอาเนื้อ ปลา และขนมเป็นต้นจากที่นั้นๆ โดยพลการมาเคี้ยวกินฉันใด คนใดเป็นคฤหัสถ์ ละทิ้งหิริโอตตัปปะอันตั้งขึ้นภายในและภายนอก ไม่เอื้อเฟื้อกุศลและอกุศล ไม่กลัวภัยในนรก ถูกความโลภครอบงํา ถูกตัณหาครอบงําจิต มัวเมาในกามทั้งหลาย กระทํากรรมอันสาหัสมีตัดช่องย่องเบาเป็นต้น แม้เป็นบรรพชิตก็ละหิริโอตตัปปะเสีย ไม่เอื้อเฟื้อกุศลและอกุศล ไม่กลัวภัยในนรก ย่ํายีสิกขาบทที่พระศาสดาบัญญัติไว้ ถูกความโลภครอบงํา อันตัณหาครอบงําจิตอาศัยเพียงผ้าจีวรเป็นต้น ละทิ้งความเป็นสมณะของตนเสีย เป็นคน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 300

ประมาทมัวเมา กระทําเวชชกรรมและทูตกรรมเป็นต้น อาศัยอเนสนาการแสวงหาอันไม่สมควรมีการให้ไม้ไผ่เป็นต้นเลี้ยงชีวิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลนี้แม้จะไม่เป็นบ้าก็ชื่อว่าเป็นคนบ้า เพราะเป็นเหมือนคนบ้า ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์หรือบรรพชิตเห็นปานนี้โดยพลัน ส่วนบุคคลใด ไม่เป็นคนบ้าอย่างนั้น มีความละอาย มีความรังเกียจ บุคคลนี้ย่อมไม่ได้ลาภในหมู่คนผู้งมงายมิใช่บัณฑิต เพราะฉะนั้น บุคคลผู้ต้องการลาภ พึงทําเป็นเหมือนคนบ้า.

แม้ในบทว่า ไม่เป็นคนส่อเสียด นี้ พึงทราบความอย่างนี้ว่าส่วนบุคคลใดเป็นคนส่อเสียด นําความส่อเสียดเข้าไปในราชสกุลว่าบุคคลโน้นกระทํากรรมชื่อนี้ บุคคลนั้นแย่งชิงยศของตนอื่นถือเอามาเพื่อตนเอง ฝ่ายพระราชาทั้งหลายก็คิดว่า ผู้นี้มีความเสน่หาในพวกเรา จึงตั้งบุคคลนั้นไว้ในตําแหน่งสูงๆ ฝ่ายอํามาตย์เป็นต้นย่อมสําคัญสิ่งที่จะพึงให้แก่บุคคลนั้น เพราะกลัวว่า ผู้นี้จะทําพวกเราให้แตกร้าวในราชสกุล ลาภย่อมเกิดแก่คนผู้ส่อเสียดในทันที ด้วยประการอย่างนี้ ส่วนคนใดไม่ส่อเสียด คนนั้นย่อมไม่ได้ลาภในหมู่ชนผู้งมงาย.

บทว่า นานโฏ ความว่า อันผู้จะทําลาภให้เกิดขึ้น พึงเป็นเหมือนนักฟ้อนรํา. อธิบายว่า นักฟ้อนรําทั้งหลายละทิ้งหิริโอตตัปปะเสีย กระทําการเล่นด้วยฟ้อนรํา ขับร้อง และการประโคมรวบรวมทรัพย์อยู่ ฉันใด ผู้ต้องการลาภก็ฉันนั้นเหมือนกัน ต้องทําลายหิริ-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 301

โอตตัปปะเสีย เป็นเหมือนสหายนักเลงของสตรี บุรุษ เด็กชาย และเด็กหญิงทั้งหลาย เที่ยวแสดงการเล่น มีประการต่างๆ ส่วนบุคคลใดไม่เป็นนักฟ้อนรําอย่างนี้ บุคคลนั้นย่อมไม่ได้ลาภในหมู่คนงมงาย.

บทว่า นากุตูหโล ความว่า คนผู้มีวาจาพล่อยๆ ชื่อว่าคนตื่นข่าว. จริงอยู่ พระราชาทั้งหลายแวดล้อมด้วยหมู่อํามาตย์ ตรัสถามอํามาตย์ทั้งหลายว่า เราได้ฟังมาว่า ในที่โน้น คนถูกฆ่า ถูกปล้นเรือน ลูกเมียของคนอื่นถูกข่มขืน นี้เป็นกรรมของพวกไหนนะ?ในหมู่อํามาตย์เหล่านั้น เมื่ออํามาตย์ที่เหลือไม่ทูลอะไรเลย ผู้ใดลุกขึ้นกราบทูลว่า คนชื่อโน้นๆ กระทําดังนี้ ผู้นี้ชื่อว่าคนตื่นข่าว. พระราชาทั้งหลาย ก็จะส่งราชบุรุษเหล่านั้นไปสืบสวน ห้ามปรามตามคําของอํามาตย์ผู้นั้น ย่อมประทานยศใหญ่โตให้แก่อํามาตย์ผู้นั้น ด้วยทรงพระดําริว่า เพราะอาศัยผู้นี้ บ้านเมืองของเราจึงปราศจากโจรผู้ร้าย. ฝ่ายชนที่เหลือก็ให้ทรัพย์แก่ผู้นั้นเหมือนกัน เพราะกลัวว่า ผู้นี้ถูกราชบุรุษไต่ถาม จะกล่าวมิดีมิร้ายให้. ลาภย่อมเกิดแก่คนตื่นข่าวด้วยประการอย่างนี้. ส่วนผู้ที่ไม่ตื่นข่าวย่อมไม่ได้ลาภในหมู่ชนที่งมงาย. บทว่า เอสา เต อนุสาสี ความว่า นี้เป็นการพร่ําสอนในเรื่องการจะได้ลาภแก่เจ้า จากสํานักของเรา.

อันเตวาสิกได้ฟังคาถาของอาจารย์แล้ว เมื่อจะติเตียนลาภ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 302

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ น่าติเตียนความประพฤติอันเป็นเหตุให้ได้ลาภและยศ โดยการทําชื่อเสียงให้ตกไปหรือโดยไม่เป็นธรรม.อนึ่ง หากจะถือบาตรออกไปบวชเสีย ความเป็นอยู่นี้แล ประเสริฐกว่าการแสวงหาโดยไม่เป็นธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยา วุตฺติ ได้แก่ การประพฤติเลี้ยงชีพอันใด บทว่า วินิปาเตน คือ โดยการทําตนให้เสื่อมเสียไป.บทว่า อธมฺมจริยาย วา ได้แก่ ด้วยการประพฤติไม่เป็นธรรม และด้วยการกระทําอันไม่สม่ําเสมอ. อธิบายว่า ความประพฤติอันใด โดยทําตนให้เสื่อมเสียด้วยการถูกฆ่า ถูกจองจํา และถูกติเตียนเป็นต้นและโดยประพฤติไม่เป็นธรรม ดังเราจะติเตียน คือนินทา ครหาความประพฤตินั้น และการได้ยศและทรัพย์ทั้งปวง เราไม่ต้องการความประพฤติเลี้ยงชีพอันนั้น. บทว่า ปตฺตมาทาย ได้แก่ ถือภาชนะสําหรับเที่ยวภิกขาจาร. บทว่า อนาคาโร ปริพฺพเช ความว่า พึงเป็นบรรพชิตไม่มีเหย้าเรือนเที่ยวไป. และเป็นสัปบุรุษไม่ประพฤติอธรรมด้วยกายทุจริตเป็นต้น. เพราะเหตุไร? เพราะความเป็นอยู่แลประเสริฐกว่าการแสวงหาโดยไม่เป็นธรรม. ด้วยบทว่า เอสาว ชีวิกาเสยฺยา ยา จาธมฺเมน เอสนา นี้ ท่านแสดงว่า การที่บรรพชิต

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 303

มีบาตรในมือเที่ยวภิกขาจารในตระกูลอื่นๆ เท่านั้น ประเสริฐกว่าการแสวงหาเลี้ยงชีพโดยอธรรม คือ ดีกว่าร้อยเท่า พันเท่า.

มาณพครั้นพรรณนาคุณของบรรพชาอย่างนี้แล้วจึงออกบวชเป็นฤๅษี แสวงหาภิกษาโดยธรรม ยังสมาบัติทั้งหลายให้เกิดขึ้น ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า มาณพในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้ติเตียนลาภในบัดนี้ส่วนอาจารย์คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาลาภครหิกชาดกที่ ๗