พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. มัจฉทานชาดก ว่าด้วยบุญที่ให้ทานแก่ปลา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35738
อ่าน  516

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 304

๘. มัจฉทานชาดก

ว่าด้วยบุญที่ให้ทานแก่ปลา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 304

๘. มัจฉทานชาดก

ว่าด้วยบุญที่ให้ทานแก่ปลา

[๔๖๓] ปลาทั้งหลายมีราคาถึงหนึ่งพันกหาปณะกับ ๗ มาสก ย่อมจะไม่มีผู้เชื่อถือเลย และในที่นี้เราก็มี ๗ มาสกเท่านั้น แต่เราก็ซื้อปลาพวงนั้นได้.

[๔๖๔] ท่านได้ให้โภชนะแก่ปลาทั้งหลาย แล้วอุทิศส่วนบุญให้แก่เรา เราระลึกถึงส่วนบุญอันนั้น และความนอบน้อมที่ท่านได้กระทําแล้ว จึงรักษาทรัพย์ของท่านนี้ไว้.

[๔๖๕] บุคคลผู้มีจิตคิดประทุษร้าย ย่อมไม่มีความเจริญเลย ใช่แต่เท่านั้น เทวดาทั้งหลายไม่บูชาผู้นั้น ผู้ใดทํากรรมอันชั่วช้า ยักยอกเอาทรัพย์มรดกของบิดา ไม่ต้องการจะให้พี่ชาย เทวดาทั้งหลายย่อมไม่บูชาผู้นั้น.

จบ มัจฉทานชาดกที่ ๘

อรรถกถามัจฉทานชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพ่อค้าโกงคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคําเริ่มต้นว่า อคฺฆนฺติ มจฺฉาดังนี้. เรื่องนี้ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 305

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลกฎมพี พอรู้เดียงสาก็รวบรวมทรัพย์สมบัติไว้. และพระโพธิสัตว์นั้นมีน้องชายอยู่คนหนึ่ง.ในกาลต่อมา เมื่อบิดาของคนทั้งสองนั้นทํากาลกิริยาไปแล้ว วันหนึ่งพี่น้องทั้งสองนั้นคิดกันว่า พวกเราจักชําระสะสางการค้าขายอันเป็นของบิดาให้เรียบร้อยเสียที จึงไปยังบ้านหนึ่ง ได้ทรัพย์พ้นกหาปณะแล้วกลับมา บริโภคอาหารห่อแล้วรอเรืออยู่ที่ท่าแม่น้ำ.พระโพธิสัตว์ได้ให้อาหารที่เหลือแก่ปลาทั้งหลายในแม่น้ำคงคาแล้วให้ส่วนบุญแก่เทวดาประจําแม่น้ำ. เทวดาพออนุโมทนาส่วนบุญเท่านั้นก็เจริญพอกพูนด้วยยศอันเป็นทิพย์ จึงรําพึงถึงความเจริญยศของตนก็ได้รู้ถึงเหตุนั้น. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ลาดผ้าห่มลงบนทรายนอนหลับไป.ส่วนน้องชายของพระโพธิสัตว์นั้น มีปกตินิสัยค่อนข้างเป็นโจรอยู่บ้างเขาจึงทําห่อกรวดเข้าห่อหนึ่งให้เหมือนห่อกหาปณะ แล้ววางทั้งสองไว้รวมกัน เพราะประสงค์จะไม่ให้กหาปณะเหล่านั้นแก่พระโพธิสัตว์จะถือเอาเสียเองคนเดียว. เมื่อพี่น้องทั้งสองนั้นขึ้นเรือไปถึงกลางแม่น้ำคงคา น้องชายทําเรือให้โคลงแล้วคิดว่าเราจะโยนห่อกรวดทิ้งน้ำกลับโยนห่อทรัพย์พันกหาปณะลงไปเก็บช่อนห่อกรวดไว้ แล้วกล่าวว่าคุณพี่ ห่อทรัพย์พันกหาปณะตกน้ำไปแล้ว เราจะทําอย่างไรกัน.พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เมื่อมันตกน้ำไปแล้ว พวกเราจักกระทําอย่างไรได้ อย่าคิดมันเลย. เทวดาประจําแม่น้ำคิดว่า เราอนุโมทนาส่วนบุญที่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 306

พระโพธิสัตว์นี้ให้ จึงเจริญด้วยยศทิพย์เราจักรักษาทรัพย์อันเป็นของพระโพธิสัตว์นี้ไว้ จึงบันดาลให้ปลาปากกว้างตัวหนึ่ง กลิ่นห่อทรัพย์นั้นไว้ด้วยอานุภาพของตน ตนเองถือการอารักขาอยู่. ฝ่ายน้องชายผู้เป็นโจรแม้นั้นแล ไปถึงเรือนแล้วคิดว่า เราลวงพี่ชายได้แล้ว จึงแก้ห่อออกเห็นแต่กรวด มีหัวใจเหี่ยวแห้ง นอนกอดแม่แคร่เตียงอยู่.ในกาลนั้น พวกชาวประมงได้ทอดแหเพื่อจับปลา. ปลาตัวนั้นได้เข้าไปติดแหด้วยอานุภาพของเทวดา. พวกชาวประมงจับปลานั้นได้แล้วจึงเข้าไปยังพระนครเพื่อจะขายปลา. คนทั้งหลายเห็นปลาใหญ่จึงถามราคา. ชาวประมงกล่าวว่า ท่านให้ทรัพย์หนึ่งพันกหาปณะกับเจ็ดมาสก แล้วจงถือเอาปลานั้นไป. พวกประชาชนทําการหัวเราะเยาะว่าแหมปลาราคาทั้งพันไม่เคยเห็น. พวกชาวประมงจึงถือเอาปลาไปยังประตูเรือนของพระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านจงถือเอาปลาตัวนี้. พระโพธิสัตว์ถามว่า ปลานี้ราคาเท่าไร? ชาวประมงกล่าวว่า ท่านให้เจ็ดมาสกแล้วเอาไปเถอะ. พระโพธิสัตว์ถามว่า พวกท่านเมื่อให้แก่คนอื่นให้อย่างไร? พวกชาวประมงกล่าวว่า ให้แก่คนอื่น ๑ พันกับ ๗มาสก แต่ท่านให้๗ มาสก แล้วเอาไปเถิด. พระโพธิสัตว์ให้พวกชาวประมงไป ๗ มาสก แล้วส่งปลาให้แก่ภรรยา. ภรรยาผ่าท้องปลาเห็นห่อทรัพย์พันกหาปณะ จึงมอบแก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ตรวจดูห่อทรัพย์นั้นเห็นตราของตน ก็รู้ว่าเป็นของตน จึงคิดว่าบัดนี้ ชาวประมงเหล่านี้เมื่อให้ปลาตัวนี้แก่คนอื่น ก็ให้ถึง ๑ พัน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 307

กหาปณะกับ ๗ มาสก แต่พอมาถึงเราเข้าไม่พูดถึงพันเลย ได้ให้เอาเพียง ๗ มาสกเท่านั้น เพราะพันกหาปณะนั้นเป็นของของตน เราไม่อาจให้ใครๆ ผู้ไม่รู้เหตุการณ์นี้เชื่อถือได้ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า

ปลาทั้งหลายมีราคา ๑ พันกหาปณะกับ ๗ มาสก ย่อมจะไม่มีผู้เชื่อถือเลย และในที่นี้ เราก็มี ๗ มาสกเท่านั้น แต่ก็ซื้อปลาพวงนั้นได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิกํ ความว่า ชาวประมงถูกคนอื่นถามย่อมกล่าวว่า ปลาทั้งหลายมีราคา ๑ พันกหาปณะกับอีก ๗มาสก. บทว่า น โส อตฺถิ โย อิมํ สทฺทเหยฺย ความว่า คนที่ไม่รู้เหตุการณ์นี้โดยประจักษ์จะเชื่อถือคําของเรา ย่อมไม่มี หรือว่าคนที่จะเชื่อคํานี้ที่ว่า ปลาทั้งหลายมีราคาประมาณเท่านี้ ย่อมไม่มี.เพราะเหตุนั้นแหละ คนอื่นๆ จึงไม่ถือเอาปลาเหล่านั้น. บทว่ามยฺหฺจ อสฺสู ความว่า อนึ่ง เราก็มี๗ มาสกเท่านั้น. บทว่ามจฺฉทานํ แปลว่า พวงปลา. เพราะว่า เขาผูกปลา แม้อื่นๆ รวมกับปลาตัวนั้น ท่านหมายเอาพวงปลาแม้ทั้งสิ้นนั้น จึงกล่าวคําว่ามจฺฉทานํ ได้แก่พวงปลานั้น บทว่า กิเณยฺยํ แปลว่า เราซื้ออธิบายว่า เราให้๗ มาสกเท่านั้น ถือเอาพวงปลามีประมาณเท่านี้ได้.ก็แหละ พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงคิดดังนี้ว่าเพราะอาศัยอะไรหนอ เราจึงได้กหาปณะเหล่านี้. ขณะนั้น เทวดา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 308

ประจําแม่น้ำแสดงรูปร่างให้ปรากฏ ยืนอยู่ในอากาศกล่าวว่า เราเป็นเทวดาประจําอยู่ในแม่น้ำคงคา ท่านให้อาหารส่วนเกินแก่ปลาทั้งหลายแล้วให้ส่วนบุญแก่เรา ด้วยเหตุนั้น เราจึงมาอารักขาทรัพย์ของท่านไว้ เมื่อจะแสดงความให้แจ่มแจ้ง จึงกล่าวคาถาว่า :-

ท่านได้ให้โภชนะแก่ปลาทั้งหลาย แล้วอุทิศส่วนบุญให้แก่เรา เราระลึกถึงส่วนบุญอันนั้น และความนอบน้อมที่ท่านกระทําแล้วจึงรักษาทรัพย์ของท่านนี้ไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขิณํ ความว่า การให้ส่วนบุญชื่อว่า ทักษิณา ในที่นี้ . บทว่า กตํ อปจิตึ ตยา ความว่า เราระลึกถึงความนอบน้อมที่ท่านกระทําแก่เรานั้น จึงรักษาทรัพย์ของท่านนี้ไว้.

ก็แหละ เทวดาประจําแม่น้ำนั้น ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว จึงบอกการคดโกงที่น้องชายกระทําทั้งหมดแก่พระโพธิสัตว์นั้น แล้วกล่าวว่า บัดนี้น้องชายของท่านั้นมีหัวใจเหี่ยวแห้งนอนอยู่ ชื่อว่าความเจริญย่อมไม่เกิดแก่คนผู้มีจิตประทุษร้าย อันเราคิดว่า ทรัพย์อันเป็นของท่านอย่าได้พินาศฉิบหายเสีย จึงได้นําทรัพย์นั้นมาให้ท่านท่านอย่าให้ทรัพย์นี้แก่น้องชายโจรของท่าน จงถือเอาผู้เดียวทั้งหมดเถิด แล้วกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 309

บุคคลผู้นี้จิตคิดประทุษร้าย ย่อมไม่มีความเจริญเลย ใช่แต่เท่านั้น เทวดาทั้งหลายก็ไม่บูชาผู้นั้น ผู้ใดทํากรรมอันชั่วช้า ยักยอกเอาทรัพย์มรดกของบิดา ไม่ต้องการให้พี่ชายเทวดาทั้งหลายย่อมไม่บูชาผู้นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ผาติ โหติ ความว่า ชื่อว่าความเจริญในโลกนี้หรือในโลกหน้า ย่อมไม่มีแก่บุคคลเห็นปานนั้น.บทว่า น จาปิ นํ ความว่า เทวดาทั้งหลายผู้อารักขาสมบัติของพระโพธิสัตว์นั้น ย่อมไม่บูชาบุคคลนั้น.

ดังนั้น เทวดาผู้ไม่ประสงค์จะให้กหาปณะแก่โจรผู้ประทุษร้ายมิตร จึงกล่าวอย่างนั้น. ส่วนพระโพธิสัตว์คิดว่า เราไม่อาจกระทําอย่างนั้น จึงได้ส่งทรัพย์จํานวน ๕๐๐ ไปให้แก่น้องชายผู้เป็นโจรแม้นั้น.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลายแล้วทวงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ พ่อค้าดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล. น้องชายในครั้งนั้น ได้เป็นพ่อค้าโกงในบัดนี้. ส่วนพี่ชายในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามัจฉทานชาดกที่ ๘