พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ภัทรฆฏเภทกชาดก คนโง่เขลาเดือดร้อนภายหลัง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35741
อ่าน  431

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 321

๕. กุมภวรรค

๑. ภัทรฆฏเภทกชาดก

คนโง่เขลาเดือดร้อนภายหลัง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 321

๕. กุมภวรรค (๑)

๑. ภัทรฆฏเภทกชาดก

คนโง่เขลาเดือดร้อนภายหลัง

[๔๗๒] นักเลงได้หม้อสารพัดนึกอันเป็นยอดทรัพย์ใบหนึ่ง ยังรักษาหม้อนั้นไว้ได้คราบใดเขาก็จะได้รับความสุขอยู่ตราบนั้น.

[๔๗๓] เมื่อใด เขาประมาทและเย่อหยิ่ง ได้ทําลายหม้อให้แตก เพราะความประมาทเมื่อนั้น ก็เป็นคนเปลือยและนุ่งผ้าเก่าเป็นคนโง่เขลา ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.

[๔๗๔] คนผู้ประมาทโง่เขลา ได้ทรัพย์มาแล้วย่อมใช้สอยไปอย่างนี้ จะต้องเดือดร้อนในภายหลัง เหมือนนักเลงทุบหม้อขอดทรัพย์เสีย ฉะนั้น.

จบ ภัตรฆฏเภทกชาดกที่ ๑

อรรถกถาสุปัตตวรรคที่ ๕

อรรถกถาภัทรฆฏเภทกชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง


(๑) บาลี. เป็นกุมภวรรค.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 322

ปรารภหลานของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า สพฺพกามททํ กุมฺภํ ดังนี้

ได้ยินว่า หลานของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น ผลาญเงิน๔๐ โกฏิอันเป็นของบิดามารดา ให้ฉิบหายไปด้วยการดื่มสุรา แล้วจึงได้ไปยังสํานักของท่านเศรษฐี. แม้ท่านเศรษฐีก็ได้ให้ทรัพย์แก่เขาพันหนึ่ง โดยสั่งว่าจะทําการค้าขาย. เขาก็ทําทรัพย์ทั้งพันให้ฉิบหายแล้วได้มาอีก. ท่านเศรษฐีก็ให้ทรัพย์เขาอีก ๕๐๐ เขาทําทรัพย์๕๐๐นั้น ให้ฉิบหายแล้วกลับมาขออีก ท่านเศรษฐีจึงให้ผ้าสาฎกเนื้อหยาบไป๒ ผืน. เขาทําผ้าสาฎกแม้ทั้งสองผืนนั้นให้ฉิบหายแล้วมาหาอีก ท่านเศรษฐีจึงให้คนใช้จับคอลากออกไป. เขากลายเป็นคนอนาถาอาศัยฝาเรือนคนอื่นตายไป. ชนทั้งหลายจึงลากเขาไปทิ้งเสียภายนอกบ้าน.ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีไปยังพระวิหาร กราบทูลความเป็นไปของหลานชายนั้นทั้งหมดให้พระตถาคตเจ้าทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่าเมื่อก่อน เราแม้ให้หม้อสารพัดนึก ก็ยังไม่สามารถทําบุคคลใดให้อิ่มหนําได้ ท่านจะทําบุคคลนั้นให้อิ่มหนําได้อย่างไร อันท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น ทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐี เมื่อบิดาล่วงลับไปแล้วก็ได้ตําแหน่งเศรษฐี. ในเรือนของท่านเศรษฐี ได้มีทรัพย์ฝัง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 323

ดินไว้ประมาณ ๔๐ โกฏิ. อนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้น มีบุตรคนเดียวเท่านั้น. พระโพธิสัตว์กระทําบุญมีทานเป็นต้น กระทํากาลกิริยาแล้วบังเกิดเป็นท้าวสักกะเทวราช. ครั้งนั้น บุตรของท่านเศรษฐีนั้นไม่จัดแจงทานวัตรอะไรๆ ได้แต่ให้สร้างมณฑป อันมหาชนแวดล้อมนั่งอยู่ ปรารภจะดื่มสุรา. เขาให้ทรัพย์ทีละพันแก่คนผู้กระทําการเต้นรําเล่นระบํา รําฟ้อน และขับร้องเป็นต้น ถึงความเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงกินเนื้อเป็นต้น. เป็นผู้ต้องการแต่มหรสพเท่านั้นว่าท่านจงขับร้อง ท่านจงฟ้อนรํา ท่านจงประโคม เป็นผู้ประมาทมัวเมาเที่ยวไปไม่นานนัก ได้ผลาญทรัพย์ ๔๐ โกฏิ และอุปกรณ์เครื่องอุปโภค บริโภค ให้ฉิบหาย กลายเป็นคนเข็ญใจ กําพร้า นุ่งผ้าเก่าเที่ยวไป. ท้าวสักกะทรงรําพึงถึง ทรงทราบว่า บุตรตกระกําลําบากจึงมาเพราะความรักบุตร ได้ให้หม้อสารพัดนึกแล้ว โอวาทสั่งสอนว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจงรักษาหม้อนี้ไว้อย่าให้แตกทําลายไป ก็เมื่อเจ้ายังมีหม้อใบนี้อยู่ ในชื่อว่าความสิ้นเปลื้องแห่งทรัพย์จักไม่มีเลย ดังนี้แล้วก็กลับไปเทวโลก. จําเดิมแต่นั้น เขาก็เที่ยวดื่มสุรา. อยู่มาวันหนึ่งเขาเมามาก โยนหม้อนั้นขึ้นไปในอากาศแล้วรับ ครั้งหนึ่ง พลาดไป.หม้อตกบนพื้นดินแตกไป. ตั้งแต่นั้นมา ก็กลับเป็นคนจน นุ่งผ้าท่อนเก่า มือถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอาศัยฝาเรือนคนอื่นอยู่จนตายไป. พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสอภิสัมพุทธคาถาเหล่านี้ว่า :-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 324

นักเลงได้หม้อ อันเป็นหม้อสารพัดนึกใบหนึ่ง ยังรักษาหม้อนั้นไว้ได้ตราบใดเขาก็จะได้รับความสุขอยู่ตราบนั้น.เมื่อใด เขาประมาทและเย่อหยิ่ง ได้ทําลายหม้อให้แตก เพราะความประมาท เมื่อนั้น ก็เป็นคนเปลือยและนุ่งผ้าเก่า เป็นคนโง่เขลา ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.

คนผู้ประมาทโง่เขลา ได้ทรัพย์มาแล้วใช้สอยไปอย่างนี้ จะต้องเดือดร้อนในภายหลัง เหมือนนักเลงทุบหม้อสารพัดนึกฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพกามททํ ได้แก่หม้อที่สามารถให้วัตถุอันน่าใคร่ทั้งปวง. บทว่า กูฏํ เป็นไวพจน์ของ กุมภะหม้อ.บทว่า ยาว แปลว่า ตลอดกาลเพียงใด. บทว่า อนุปาเลติ ความว่าคนใดคนหนึ่ง ได้หม้อเห็นปานนี้ ยังรักษาไว้ตราบ เขาย่อมได้ความสุขอยู่ตราบนั้น. บทว่า มตฺโต จ ทิตฺโต จ ความว่า ชื่อว่ามัตตะ เพราะเมาเหล้า ชื่อว่า ทิตตะ เพราะเย่อหยิ่ง บทว่า ปมาทากุมฺภมพฺภิทา แปลว่า ทําลายหม้อเสีย เพราะความประมาท. บทว่านคฺโค จ โปตฺโถ จ ความว่า บางคราว เป็นคนเปลือย บางคราวเป็นคนนุ่งผ้าเก่า เพราะเป็นคนนุ่งผ้าท่อนเก่า. บทว่า เอวเมว ก็คือเอวเมว แปลว่า อย่างนั้นนั่นแหละ. บทว่า ปมตฺโต ได้แก่ ด้วย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 325

ความประมาท. บทว่า ตปฺปติ ได้แก่ ย่อมเศร้าโศก.

พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถาดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่านักเลงผู้ทําลายหม้อความเจริญในครั้งนั้นได้เป็นหลานเศรษฐีในบัดนี้ส่วนท้าวสักกะ คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาภัทรฆฏเภทกชาดกที่ ๑