พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. กายนิพพินทชาดก ว่าด้วยความเบื่อหน่ายร่างกาย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35743
อ่าน  426

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 333

๓. กายนิพพินทชาดก

ว่าด้วยความเบื่อหน่ายร่างกาย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 333

๓. กายนิพพินทชาดก

ว่าด้วยความเบื่อหน่ายร่างกาย

[๔๗๘] เมื่อเราถูกโรคอย่างหนึ่งถูกต้อง ได้เสวยทุกขเวทนาอย่างสาหัส อันทุกขเวทนาเบียดเบียนอยู่ ร่างกายนี้ก็ซูบผอมลงอย่างรวดเร็ว ดุจดอกไม้ที่ทิ้งตากแดดไว้ที่ทราย

[๔๗๙] ก็รูปร่างอันไม่น่าพอใจ ถึงการนับว่านี้พอใจ ที่ไม่สะอาด สมมติว่าเป็นของสะอาดเต็มด้วยซากศพต่างๆ ปรากฏแก่คนพาลผู้ไม่พิจารณา เห็นว่าเป็นของน่าพอใจ.

[๔๘๐] น่าติเตียนกายอันเปือยเน่า กระสับกระส่าย น่าเกลียดไม่สะอาด มีความป่วยไข้เป็นธรรมดา เป็นที่ที่หมู่สัตว์ผู้ประมาทหมกมุ่นอยู่ ย่อมยังหนทางเพื่อความเข้าถึงสุคติให้เสื่อมไป.

จบ กายนิพพินทชาดกที่ ๓

อรรถกถากายนิพพินทชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภบุรุษคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า ผุฏฺสฺส เม ดังนี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 334

ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี มีบุรุษคนหนึ่งเป็นผู้เดือดร้อนด้วยโรคผอมเหลือง พวกแพทย์ไม่ยอมรักษา. แม้บุตรและภรรยาของเขาก็คิดว่า ใครจะสามารถปฏิบัติพยาบาลผู้นี้ได้. บุรุษผู้นั้นได้มีความดําริดังนี้ว่า ถ้าเราหายจากโรคนี้ เราจักบวช. โดยล่วงไป ๒ - ๓ วันเท่านั้น บุรุษผู้นั้นได้ความสบายเล็กน้อยจนเป็นผู้ไม่มีโรค จึงไปยังพระเชตวันมหาวิหาร ทูลขอบรรพชากับพระศาสดา. เขาได้บรรพชาและอุปสมบทในสํานักของพระศาสดาแล้ว ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัต. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุรุษผู้มีโรคผอมเหลืองชื่อโน้นคิดว่าเราหายจากโรคนี้ จักบวช ครั้นหายโรคแล้วจึงบวชและบรรลุพระอรหัต. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรเมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บุรุษผู้นี้เท่านั้นแม้ในกาลก่อน บัณฑิตทั้งหลายก็กล่าวอย่างนี้ ครั้นหายจากโรคผอมเหลืองแล้วบวช ได้ทําความเจริญแก่ตน ดังนี้ แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ พอเจริญวัยแล้ว ได้รวบรวมทรัพย์สมบัติอยู่ ได้เกิดเป็นโรคผอมเหลือง. พระโพธิสัตว์นั้นคิดว่า เราหายจากโรคนี้แล้วจักบวช จึงกล่าวอย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 335

ออกมา ได้ความสบายขึ้นมาบ้างจนเป็นผู้ไม่มีโรค จึงเข้าป่าหิมพานต์บวชเป็นฤๅษี ทําสมาบัติและอภิญญาให้เกิดขึ้น แล้วอยู่ด้วยความสุขในฌาน คิดว่า เราไม่ได้ความสุขเห็นปานนี้ ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้เมื่อจะเปล่งอุทาน จึงได้กล่าวคําถาเหล่านี้ว่า.

เมื่อเราถูกโรคอย่างหนึ่งถูกต้อง ได้เสวยทุกขเวทนาอย่างสาหัส อันทุกขเวทนาเบียดเบียนอยู่ ร่างกายนี้ก็ซูบผอมลงอย่างรวดเร็วดุจดอกไม่ที่ทิ้งตากแดดไว้ที่ทรายฉะนั้น.

รูปร่างอันไม่น่าพอใจ ถึงการนับว่าน่าพอใจ ที่ไม่สะอาด สมมติว่าเป็นของสะอาด.เต็มด้วยซากศพต่างๆ ปรากฏแก่คนพาลผู้ไม่พิจารณาเห็นว่าเป็นของน่าพอใจ.

น่าติเตียนกายอันเปือยเน่า กระสับกระ-ส่าย น่าเกลียดไม่สะอาด มีความป่วยไข้เป็นธรรมดา เป็นที่ที่หมู่สัตว์ผู้ประมาทหมกมุ่นอยู่ย่อมยังหนทางเพื่อเข้าถึงสุคติให้เสื่อมไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฺตเรน ได้แก่ พยาธิ คือโรคผอมเหลืองอย่างหนึ่ง ในบรรดาโรค ๙๖ ประเภท. บทว่า โรเคนได้แก่ อันได้นามว่าโรคอย่างนี้ เพราะมีการเสียดแทงเป็นสภาวะ.บทว่า รุปฺปโต แปลว่า เบียดเบียน คือบีบคั้น. บทว่า ปํ สุนิ อาตเปกตํ ความว่า ย่อมซูบผอมไป เหมือนดอกไม้อันละเอียดอ่อน ซึ่ง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 336

บุคคลเอาวางไว้ในที่ร้อน คือ ที่ทรายอันร้อนฉะนั้น. บทว่า อชฺํชฺพสงฺขาตํ ได้แก่ เป็นของปฏิกูลไม่น่าชอบใจเลย แต่ถึงการนับว่าเป็นที่น่าพอใจของพวกคนพาล. บทว่า นานากุณปปริปูรํได้แก่ บริบูรณ์ด้วยซากศพ ๓๒ ชนิด มีผมเป็นต้น. บทว่า ชฺรูปํอปสฺสโต ความว่า ย่อมปรากฏเป็นที่น่าพอใจ คือเป็นของดี มีสภาวะเป็นเครื่องบริโภคใช้สอย สําหรับคนผู้เป็นอันธพาลปุถุชนผู้ไม่เห็นอยู่ คือ ภาวะอันไม่สะอาดที่ท่านประกาศโดยนัยมีอาทิว่า คูถตาออกจากนัยน์ตา ดังนี้ ย่อมไม่ปรากฏแก่คนพาลทั้งหลาย. บทว่าอาตุรํ คือ จับไข้เป็นนิตย์. บทว่า อธิมุจฺฉิตา ได้แก่ สยบหมกมุ่นด้วยความสยบเพราะกิเลส. ว่า ปชา ได้แก่ ปุถุชนผู้บอดเขลา.หาเปนฺติ มคฺคํ สุคตูปปตฺติยา ความว่า หมู่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ข้องอยู่ในกายอันเปือยเน่านี้ ทําหนทางอบายให้เต็ม ทําหนทางเพื่อเข้าถึงสุคติอันต่างด้วยเทวดาและมนุษย์ ให้เสื่อมไป.

พระมหาสัตว์กําหนดพิจารณาภาวะอันไม่สะอาด และภาวะอันกระสับกระส่ายเป็นนิตย์ โดยประการต่างๆ ด้วยประการดังนี้อยู่ เบื่อหน่ายในกาย จึงเจริญพรหมวิหาร ๔ จนตลอดชีวิต ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอันมากได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น. พระดาบสในครั้งนั้น คือเราตถาคตฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากายนิพพินทชาดกที่ ๓