พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ชัมพูขาทกชาดก ว่าด้วยการสรรเสริญกันและกัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35744
อ่าน  409

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 337

๔. ชัมพูขาทกชาดก

ว่าด้วยการสรรเสริญกันและกัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 337

๔. ชัมพูขาทกชาดก

ว่าด้วยการสรรเสริญกันและกัน

[๔๘๑] ใครนี่มีเสียงอันไพเราะเพราะพริ้ง อุดมกว่าสัตว์ผู้มีเสียงเพราะทั้งหลาย จับอยู่ที่กิ่งชมพู่ ส่งเสียงร้องไพเราะดุจลูกนกยูงฉะนั้น.

[๔๘๒] กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร ดูก่อนสหายผู้มีผิวพรรณคล้ายกับลูกเสือโคร่งเชิญท่านบริโภคเถิด เรายอมให้แก่ท่าน.

[๔๘๓] ดูก่อนบุคคลผู้สรรเสริญกันและกันเราได้เห็นคนพูดมุสา คือ กาผู้เคี้ยวกินของที่คนอื่นตายแล้ว และสุนัขจิ้งจอกผู้กินซากศพ มาประชุมกันนานมาแล้ว.

จบ ชัมพูขาทกชาดกที่ ๔

อรรถกถาชัมพูขาทกชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพระเทวทัตกับพระโกกาลิกะ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า โกยํวินฺทุสฺสโร วคฺคุ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 338

ได้ยินว่า ในครั้งนั้น เมื่อพระเทวทัตเสื่อมลาภสักการะ พระโกกาลิกะจึงเข้าไปยังตระกูลทั้งหลาย กล่าวคุณของพระเทวทัตว่าพระเถระผู้มีนามว่าเทวทัต เกิดในราชวงศ์แห่งพระเจ้าโอกกากราชโดยสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้ามหาสมมตราช เจริญในขัตติยวงศ์อันไม่ปะปน ทรงพระไตรปิฎก ได้ฌาน มีถ้อยคําไพเราะ เป็นธรรมกถึก ท่านทั้งหลายจงให้ จงกระทําแก่พระเถระเถิด. ฝ่ายพระเทวทัตก็กล่าวคุณของพระโกกาลิกะว่า พระโกกาลิกะออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ท่านทั้งหลายจงให้จงกระทํา แก่พระโกกาลิกะเถิด. พระเทวทัตกับพระโกกาลิกะนั้นต่างกล่าวคุณของกันและกัน เที่ยวฉันอยู่ในเรือนแห่งตระกูลทั้งหลายด้วยประการดังนี้. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตกับ พระโกกาลิกะต่างกล่าวถ้อยคําพรรณนาคุณอันไม่มีจริงของกันและกัน แล้วเที่ยวฉันอาหารอยู่. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้นที่พระเทวทัตกับพระโกกาลิกะนั้นกล่าวคําพรรณนาคุณอันไม่เป็นจริงแล้วบริโภคภัตตาหาร. แม้ในกาลก่อนพระเทวทัตกับพระโกกาลิกะก็บริโภคแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 339

นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในราวป่าชมพู่แห่งหนึ่ง. ในป่าชมพู่นั้น มีกาตัวหนึ่งจับอยู่ที่กึงชมพู่ กินผลชมพู่สุกๆ . ครั้งนั้น มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเดินมา แหงนดูเห็นกาคิดว่า ถ้ากระไร เรากล่าวคุณอันไม่เป็นจริงของกานี้ จะได้กินชมพู่สุก จึงเมื่อจะกล่าวคุณของกานั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ใครนี่มีเสียงอันไพเราะเพราะพริ้งอุดมกว่าสัตว์ผู้มีเสียงเพราะทั้งหลาย จับอยู่ที่กิ่งชมพู่ ส่งเสียงร้องไพเราะดุจลูกนกยูงฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วินฺทุสฺสโร ความว่า ประกอบด้วยเสียงหยดย้อย คือ ลมุนลมัย กลมกล่อม. บทว่า วคฺคุ ได้แก่มีเสียงทั้งอ่อนทั้งเพราะ. บทว่า อจฺจุโต ได้แก่ ไม่เคลื่อนที่ คือจับนิ่งอยู่. ด้วยบทว่า โมรจฺฉาโปว กุชฺชติ นี้ สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่านั่นชื่ออะไร ส่งเสียงร้องเป็นที่น่าเจริญใจ ดุจนกยูงรุ่นหนุ่มฉะนั้น.

ลําดับนั้น กาเมื่อจะสรรเสริญตอบสุนัขจิ้งจอกนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร ดูก่อนสหายผู้มีผิวพรรณคล้ายลูกเสือโคร่งเชิญท่านบริโภคเถิด เรายอมให้แก่ท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยคฺฆจฺฉาปสทิสวณฺณ ความว่าท่านย่อมปรากฏแก่ข้าพเจ้า เหมือนมีวรรณะเสมอกับลูกเสือโคร่ง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 340

ดูก่อนท่านผู้มีวรรณะเช่นกับลูกเสือโคร่งผู้เจริญ ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงขอกล่าวกะท่าน. บทว่า ภุฺช สมฺม ททามิ เต ความว่าดูก่อนสหาย ท่านจงกินผลชมพู่สุกจนพอแก่ความต้องการเถิด เรายอมให้ท่าน.

ก็แหละ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงเขย่ากิ่งชมพู่ให้ผลทั้งหลายหล่นลงไป. ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นชมพู่ เห็นกากับสุนัขจิ้งจอกทั้งสองแม้นั้น กล่าวคุณอันไม่เป็นจริงของกันและกันกินชมพู่สุกอยู่จึงกล่าวคาถาที่๓ ว่า

ดูก่อนบุคคลผู้สรรเสริญกันและกันเราได้เห็นคนพูดมุสา คือกาผู้เคี้ยวกินของที่คนอื่นคายแล้ว และสุนัขจิ้งจอกผู้กินซากศพ มาประชุมกันนานมาแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วนฺตาทํ ได้แก่ กาผู้กินภัตที่คนอื่นคายแล้ว. บทว่า กุณปาทฺจ ได้แก่สุนัขจิ้งจอกผู้กินซากศพ.

ก็แหละ เทวดานั้นครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว จึงแสดงรูปารมณ์อันน่ากลัวให้กาและสุนัขจิ้งจอกเหล่านั้นให้หนีไปจากที่นั้น.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกในกาลนั้น ได้เป็นพระเทวทัต กาในกาลนั้นได้เป็นพระโกกาลิกะ ส่วนรุกขเทวดาได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาชัมพูขาทกชาดกที่ ๔