พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อันตชาดก ว่าด้วยที่สุด ๓ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35745
อ่าน  577

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 341

๕. อันตชาดก

ว่าด้วยที่สุด ๓ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 341

๕. อันตชาดก

ว่าด้วยที่สุด ๓ ประการ

[๔๘๔] ข้าแต่พระยาเนื้อ ร่างกายของท่านเหมือนของโคอุสุภราช ความองอาจของท่านเหมือนของสีหราช ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่ท่าน ทําอย่างไรข้าพเจ้าจึงจักได้อาหารสักหน่อย.

[๔๘๕] กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร ดูก่อนกาผู้มีสร้อยคองามดุจนกยูง เชิญท่านลงจากต้นละหุ่งมากินเนื้อให้สบายเถิด.

[๔๘๖] บรรดามฤคชาติทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอกเป็นเลวที่สุด บรรดาปักษีทั้งหลาย กาเป็นเลวที่สุด บรรดารุกขชาติทั้งหลาย ต้นละหุ่งเป็นเลวที่สุด ที่สุด ๓ ประเภทมารวมกันเอง.

จบ อันตชาดกที่ ๕

อรรถกถาอันตชาดกที่ ๕

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภคนทั้งสอง คือพระเทวทัตกับพระโกกาลิกะนั้นนั่นแหละ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า อุสภสฺเสว เต ขนฺโธ ดังนี้. เรื่องอันเป็นปัจจุบันเหมือนกับเรื่องแรกนั่นเอง ส่วนเรื่องในอดีตมีดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 342

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ที่ต้นละหุ่ง ในบริเวณบ้านแห่งหนึ่ง. ในกาลนั้น ชาวบ้านลากโคแก่ซึ่งตายในบ้านนั้น ไปทิ้งที่ป่าละหุ่งใกล้ประตูบ้าน. มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งมากินเนื้อของโคแก่ตัวนั้น. มีกาตัวหนึ่งบินมาจับอยู่ที่ต้นละหุ่งเห็นดังนั้นจึงคิดว่า ถ้ากระไรเรากล่าวคุณกถาอันไม่มีจริงของสุนัขจิ้งจอกตัวนี้แล้วจะได้กินเนื้อ จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า :-

ข้าแต่พระยาเนื้อ ร่างกายของท่านเหมือนร่างกายโคอุสุภราช ความองอาจของท่านเหมือนดังราชสีห์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแก่ท่าน ทําอย่างไรข้าพเจ้าจึงจักได้อาหารสักหน่อย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นโม ตฺยตฺถุ อันเป็น นโม เต อตฺถุแปลว่า ขอนอบน้อมแด่ท่าน.

สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-

กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร ดูก่อนกาผู้มีสร้อยคองามดุจนกยูง เชิญท่านลงจากต้นละหุ่งมากินเนื้อให้สบายเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อิโต ปริยาท นี้ สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า ท่านลงจากต้นละหุ่ง คือมาจากต้นละหุ่งนี้จนถึงเรา แล้วจง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 343

กินเนื้อ.

รุกขเทวดาเห็นกิริยาของสัตว์ทั้งสองนั้นจึงกล่าวคาถาที่สามว่า :-

บรรดามฤคชาติทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอกเป็นเลวที่สุด บรรดาปักษีทั้งหลาย กาเป็นเลวที่สุด บรรดารุกขชาติทั้งหลาย ต้นละหุ่งเป็นเลวที่สุด ที่สุดทั้ง ๓ ประเภทมาสมาคมกันแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺโต แปลว่า เลว คือ ลามก.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกในกาลนั้น ได้เป็นพระเทวทัต กาในกาลนั้นได้เป็นพระโกกาลิกะ ส่วนรุกขเทวดา คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาอันตชาดกที่ ๕