๗. กามวิลาปชาดก ว่าด้วยผู้พิลาปถึงกาม
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 349
๗. กามวิลาปชาดก
ว่าด้วยผู้พิลาปถึงกาม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 349
๗. กามวิลาปชาดก
ว่าด้วยผู้พิลาปถึงกาม
[๔๙๐] ดูก่อนนกผู้มีปีกเป็นยาน บินทะยานไปในเวหา บินไปในอากาศอันสูง ท่านช่วยบอกกะภรรยาของข้าพเจ้าผู้มีลําขาเสมอด้วยต้นกล้วย ว่าข้าพเจ้าถูกเสียบอยู่บนหลาวภรรยาของข้าพเจ้านั้น เมื่อไม่รู้ข่าวคราวอันนี้ ก็จักทําการรอคอยข้าพเจ้าเป็นเวลานาน.
[๔๙๑] ภรรยาของข้าพเจ้านั้นยังไม่รู้ว่าหลาวและหอกนี้เขาวางไว้ เพื่อเสียบประจานนางเป็นคนดุร้าย ก็จะโกรธข้าพเจ้า ความโกรธแห่งภรรยาของข้าพเจ้านั้น จะทําให้ข้าพเจ้าเดือดร้อนไปด้วย อนึ่ง หลาวนี้มิได้ทําให้ข้าพเจ้าเดือดร้อนเลย.
[๔๙๒] หอกและเกราะนี้ข้าพเจ้าเก็บไว้ที่หัวนอนอนึ่ง แหวนก้อยที่ทําด้วยทองคําสุก และผ้าแคว้นกาสีเนื้ออ่อน ข้าพเจ้าก็เก็บไว้ที่หัวนอน ขอภรรยาที่รักของข้าพเจ้า ผู้มีความต้องการทรัพย์ จงยินดีด้วยทรัพย์นี้เถิด.
จบ กามวิลาปชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 350
อรรถกถากามวิลาปชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการประเล้าประโลมภรรยาเก่า จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า อุจฺเจสกุเณ เฑมาน ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันได้กล่าวไว้แล้วในปุปผรัตตชาดก เรื่องอดีตจักมีแจ้งในอินทรียชาดก.
แต่ในที่นี้ ราชบุรุษทั้งหลายทําให้บุรุษนั้นเร่าร้อน เสียบประจานไว้บนหลาวทั้งเป็นๆ. บุรุษนั้นนั่งอยู่บนหลาวนั้น เห็นกาบินมาทางอากาศ ไม่อนาทรถึงเวทนาทั้งที่แรงกล้าเห็นปานนั้นเมื่อจะเรียกกานั้นมาเพื่อจะส่งข่าวสารถึงภรรยาผู้เป็นที่รัก จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
ดูก่อนนกผู้มีปีกเป็นยาน บินทะยานไปในเวหา บินไปในอากาศอันสูง ท่านช่วยบอกภรรยาของข้าพเจ้าผู้มีลําขาเสมอด้วยต้นกล้วยให้ทราบด้วย ว่าข้าพเจ้าถูกเสียบอยู่บนหลาว ภรรยาที่รักของข้าพเจ้านั้นเมื่อไม่ทราบข่าวคราวอันนี้ จักทําการรอคอยข้าพเจ้าตลอดกาลนาน.
ภรรยาของข้าพเจ้านั้นยังไม่รู้ว่าหลาวและหอกนี้เขาวางไว้ เพื่อเสียบประจาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 351
นางเป็นคนดุร้าย ก็จะโกรธข้าพเจ้า ความโกรธแห่งภรรยาของข้าพเจ้านั้นจะทําข้าพเจ้าให้เดือดร้อนไปด้วย. แต่หลาวนี้มิได้ทําให้ข้าพเจ้าเดือดร้อนในที่นี้เลย.
หอกและเกราะนี้ข้าพเจ้าเก็บไว้ที่หัวนอนอนึ่ง แหวนก้อยที่ทําด้วยทองคําเนื้อสุกและผู้แคว้นกาสีเนื้ออ่อน ข้าพเจ้าเก็บไว้ที่หัวนอน ขอภรรยาที่รักของข้าพเจ้า ผู้มีความต้องการทรัพย์ จงยินดีด้วยทรัพย์นี้เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เฑมาน แปลว่า บิน คือไป.บุรุษคนนั้นเรียกกาตัวนั้นแหละว่า ปตฺตยาน ผู้มีปีกเป็นยานะ เรียกว่า วิหงฺคม ผู้ไปในเวหา ก็เหมือนกัน . จริงอยู่ กานั้น ชื่อว่ามีปีกเป็นยาน เพราะกระทําการไปด้วยปีกทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ไปในเวหา เพราะไปทางอากาศ. บทว่า วชฺชาสิ แปลว่า ท่านพึงบอก.บทว่า วามูรุํ แปลว่า ผู้มีขาอ่อนเสมอลําต้นกล้วย. ท่านพึงบอกว่าข้าพเจ้านั่นอยู่บนหลาว. บทว่า จิรํ โข สา กริสฺสติ ความว่านานเมื่อไม่ทราบข่าวคราวนี้ จักกระทําการรอคอยการมาของข้าพเจ้าในเวลานาน คือ นางจักคิดอย่างนี้ว่า สามีอันเป็นที่รักไปนานแล้วยังไม่มา. ด้วยบทว่า อสิ สตฺติฺจ แปลว่า ดาบและหอก นี้บุรุษนั้นกล่าวหมายเอาเฉพาะหอกเท่านั้น เพราะมันเสมอด้วยดาบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 352
และหอก. จริงอยู่หอกนั้น เขาวางคือปักไว้ เพื่อเสียบประจานบุรุษนั้น. บทว่า จณฺฑี ได้แก่ เป็นผู้มักโกรธ. บทว่า กาหตี โกธํความว่า นางจักกระทําความโกรธต่อเราว่า มัวชักช้าอยู่. บทว่า ตํเม ตปฺปติ ความว่า ความโกรธของนางนั้น ย่อมทําเราให้เดือดร้อน. ด้วยบทว่า โน อิธ นี้ บุรุษนั้นแสดงว่า ก็หลาวนี้ย่อมไม่ทําเราให้เดือดร้อนในที่นี้เลย. ด้วยคําเป็นต้นว่า นี้หอกและเกราะดังนี้ บุรุษผู้นั้นบอกถึงสิ่งของของตนซึ่งวางไว้บนหัวนอนในเรือน.บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปลสนฺนาโห ได้แก่ หอกและเกราะอธิบายว่า หอกชนิดหนึ่งคล้ายดอกบัวและเกราะ. บทว่า นิกฺขฺจได้แก่ แหวนก้อยที่ทําด้วยทองเนื้อ ๕. ด้วยบทว่า กาสิกฺจ มุทุํวตฺถํ นี้ บุรุษนั้นกล่าว หมายเอาผ้าสาฎกคู่หนึ่ง ซึ่งทําจากแคว้นกาสีมีเนื้ออ่อนนุ่ม. ได้ยินว่า สิ่งของมีประมาณเท่านี้ ที่บุรุษนั้นเก็บไว้บนหัวนอน. บทว่า ตปฺเปตุ ธนกามิยา ความว่า ภรรยาผู้เป็นที่รักของเรานั้นมีความต้องการทรัพย์ จงถือเอาทรัพย์ทั้งหมดนี้ จงอิ่มเอิบ บริบูรณ์ คือจงยินดีด้วยทรัพย์นี้.
บุรุษนั้นคร่ําครวญอยู่อย่างนี้นั้นแล ก็ตายไปบังเกิดในนรก
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลายแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึก ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล. ภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภรรยาในครั้งนี้ เทวบุตรผู้เห็นเหตุการณ์นั้น คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถากามวิลาปชาดกที่ ๗