พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. อุทุมพรชาดก ผู้อ่อนน้อมชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35748
อ่าน  495

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 353

๘. อุทุมพรชาดก

ผู้อ่อนน้อมชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 353

๘. อุทุมพรชาดก

ผู้อ่อนน้อมชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม

[๔๙๓] ต้นมะเดื่อ ต้นไทร และต้นมะขวิดนี้มีผลสุกแล้วเชิญท่านออกมากินเสียเถิด จะยอมตายเพราะความหิวโหยทําไม.

[๔๙๔] ผู้ใดประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ผู้นั้นชื่อว่า เป็นผู้อิ่มแล้ว ไม่หวงแหน เหมือนข้าพเจ้า เคี้ยวกินผลไม่สุกจนอิ่มแล้วในวันนี้ฉะนั้น.

[๔๙๕] ลิงเกิดในป่า พึงหลอกลวงลิงที่เกิดในป่าเพราะเหตุอันใด แม้ลิงหนุ่มเช่นท่านก็ไม่พึงเชื่อ เหตุอันนั้น ลิงผู้ใหญ่ที่แก่เฒ่าชราเช่นข้าพเจ้า ไม่พึงเชื่อถือเลย.

จบ อุทุมพรชาดกที่ ๘

อรรถกถาอุทุมพรชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่งจึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า อุทุมฺพรา นิเจ ปกฺกา (๑) ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นสร้างวิหารอยู่ในปัจจันตคามแห่งหนึ่ง. วิหารน่ารื่นรมย์ตั้งอยู่เหนือแผ่นหินดาด. สถานที่ปัดกวาดคล้ายปะรํา มีน้ำใช้ผาสุกสําราญ. โคจรคามก็ไม่ไกล. คนทั้งหลายรักใคร่พากันถวาย


(๑) บาลี เป็น จิเม.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 354

ภิกษา. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวจาริกไปถึงวิหารนั้น. ภิกษุผู้เป็นเจ้าถิ่นกระทําอาคันตุกวัตรแก่ภิกษุนั้น ในวันรุ่งขึ้น ได้พาภิกษุนั้นไปบิณฑบาตยังบ้าน. คนทั้งหลายถวายภิกษาอันประณีตแก่ภิกษุนั้น แล้วนิมนต์ฉันในวันพรุ่งนี้อีก. อาคันตุกะภิกษุฉันอยู่ ๒ - ๓ วัน จึงคิดว่าเราจักลวงภิกษุเจ้าถีนนั้นด้วยอุบายอย่างหนึ่งฉุดคร่าออกไป แล้วยึดวิหารนี้. ลําดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะได้ถามภิกษุเจ้าถิ่นผู้มายังที่บํารุงพระเถระว่า อาวุโส ท่านไม่ได้ทําการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าหรือ?ภิกษุเจ้าถิ่นกล่าว่า ชื่อว่าคนผู้จะปฏิบัติดูแลวิหารนี้ ไม่มี ด้วยเหตุนั้นกระผมจึงไม่เคยไป. ภิกษุอาคันตุกะกล่าวว่า ผมจักปฏิบัติดูแลวิหารนี้จนกว่าท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกลับมา. ภิกษุเจ้าถิ่นกล่าวว่า ดีแล้วท่านผู้เจริญ แล้วกล่าวกะคนทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาทพระเถระจนกว่าเราจะกลับมา แล้วหลีกไป. จําเดิมแต่นั้นมา อาคันตุกะภิกษุก็กล่าวว่า ภิกษุเจ้าถิ่นนั้นมีโทษนี้และนี้ แล้วยุยงคนทั้งหลายเหล่านั้นให้แตกร้าวกัน. ฝ่ายภิกษุเจ้าถิ่นถวายบังคมพระศาสดาแล้วกลับมา. ลําดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะนั้น ไม่ให้ภิกษุเจ้าถิ่นเข้าไป. ภิกษุเจ้าถิ่นนั้นจึงอยู่ในที่แห่งหนึ่ง. วันรุ่งขึ้น เข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน.ฝ่ายคนทั้งหลายก็ไม่กระทําแม้มาตรว่าสามีจิกรรม. ภิกษุเจ้าถิ่นนั้นเดือดร้อน จึงไปยังพระเชตวันวิหารอีก แล้วบอกเหตุการณ์อันนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายจึงนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่าอาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่าภิกษุโน้นคร่าภิกษุโน้นออกจากวิหาร แล้ว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 355

ตนเองอยู่ในวิหารนั้น. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน อาคันตุกะภิกษุนั้นก็ได้ด้ฉุดคร่าภิกษุนี้ออกจากที่อยู่มาแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในป่า. ในฤดูฝนฝนตกในป่านั้น ตลอด ๗ สัปดาห์. ครั้งนั้นมีลิงเล็กหน้าแดงตัวหนึ่งอยู่ในซอกเขาหินแห่งหนึ่งซึ่งไม่เปียกฝน วันหนึ่ง นั่งอยู่ในที่ที่ไม่เปียก ณ ที่ประตูซอกเขา. ลําดับนั้น ลิงใหญ่หน้าดําตัวหนึ่ง เปียกฝน ถูกความหนาวเบียดเบียน เที่ยวมา เห็นลิงเล็กนั้นนั่งอยู่อย่างนั้นจึงคิดว่า เราจักนําเจ้าลิงนี้ออกไปด้วยอุบาย แล้วจักอยู่ในที่นี้เสียเองจึงทําให้ท้องย้อยยานแสดงอาการอิ่มเหลือล้น ไปยืนอยู่ข้างหน้าลิงเล็กนั้น แล้วกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า

ต้นมะเดื่อ ต้นไทร และต้นมะขวิดนี้มีผลสุกแล้ว เชิญท่านออกมากินเถิด จะยอมตายเพราะความหิวทําไม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปิตฺถนา ได้แก่ ผลไม้เลียบ.บทว่า เอหิ นิกฺขมฺม ความว่า ต้นมะเดื่อเป็นต้นเหล่านี้ วิจิตร

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 356

แล้วเพราะเต็มด้วยผล แม้เราก็เคี้ยวกินจนอิ่มแล้วจึงมา แม้ท่านก็จงไปกินเสีย.

ฝ่ายลิงเล็กนั้น ได้ฟังคําของลิงใหญ่นั้นก็เชื่อ ประสงค์จะเคี้ยวกินผลาผลทั้งหลายจึงได้ออกแล้วเที่ยวไปในที่นั้นๆ เมื่อไม่ได้อะไรๆ จึงกลับมาอีก เห็นลิงใหญ่นั้นเข้าไปนั่งในซอกเขาของตนคิดว่า จักลวงลิงใหญ่นั้น จึงยินอยู่ข้างหน้าลิงใหญ่นั้นแล้วกล่าวคาถาที่สองว่า

ผู้ใดประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้อิ่มแล้ว เหมือนข้าพเจ้าเคี้ยวกินผลไม้สุกเป็นผู้อิ่มแล้วในวันนี้ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุมปกฺกานิ มาสิโต ความว่าข้าพเจ้าเคี้ยวกินผลไม้มีผลมะเดื่อเป็นต้นเป็นผู้อิ่มแล้ว.

ลิงใหญ่ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่สามว่า

ลิงเกิดในป่า พึงหลอกลวงลิงที่เกิดในป่า เพราะเหตุใด แม้ลิงหนุ่มก็ไม่พึงเชื่อเหตุอันนั้น ลิงที่แก่เฒ่าชราจะไม่เชื่อเลย.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ลิงผู้เกิดในป่า พึงกระทําการหลอกลวงลิงผู้เกิดในป่า เพราะเหตุอันใด ลิงแม้หนุ่มเช่นท่าน ก็จะไม่พึงเชื่อ เพราะเหตุอันนั้น ลิงแก่ชรา คือ ลิงผู้เฒ่าแม้เช่นกับเรา จะไม่พึงเชื่อเลย คือจะไม่เชื่อต่อลิงผู้หนุ่มเช่นกับท่าน ผู้กล่าวตั้ง ๗ ครั้ง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 357

ในหิมวันตประเทศ มีผลาผลทั้งปวงอันเปียกชุ่มด้วยน้ำฝนหล่นลงแล้วในสถานที่นี้ ไม่มีสําหรับท่านอีกต่อไป ท่านจงไปเสียเถิด. ลิงเล็กตัวนั้น จึงหลีกไปจากที่นั้นเอง.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ลิงเล็กในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้เป็นเจ้าถิ่นในบัดนี้ลิงดําใหญ่ในครั้งนั้น ได้เป็นอาคันตุกะภิกษุในบัดนี้ ส่วนรุกขเทวดาคือ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอุทุมพรชาดกที่ ๘