๙. โกมาริยปุตตชาดก ว่าด้วยผู้ไกลจากภูมิฌาน
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 358
๙. โกมาริยปุตตชาดก
ว่าด้วยผู้ไกลจากภูมิฌาน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 358
๙. โกมาริยปุตตชาดก
ว่าด้วยผู้ไกลจากภูมิฌาน
[๔๙๖] เจ้าลิง เมื่อก่อนเจ้าเคยโลดเต้นเล่นในสํานักเราผู้คะนองเล่นเป็นปกติ เจ้าจะกระทําอาการโลดเต้นอย่างลิง บัดนี้ เราไม่ชื่นชมยินดีอาการนั้นของเจ้าแล้ว.
[๔๙๗] ความหมดจดด้วยฌานอย่างสูง เราได้ฟังมาจากอาจารย์ชื่อโกมาริยบุตรผู้เป็นพหูสูตบัดนี้ ท่านอย่าเข้าใจเราว่าเหมือนแต่ก่อนดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราประกอบไปด้วยฌานอยู่ทั้งนั้น.
[๔๙๘] เจ้าลิงเอย ถ้าแม้บุคคลจะพึงหว่านพืชลงที่แผ่นหิน ถึงฝนจะตกลงมา พืชนั้นก็งอกงามขึ้นไม่ได้แน่ ความหมดจดด้วยฌานอย่างสูงนั้น ถึงเจ้าจะได้ฟังมาแล้ว เจ้าก็ยังเป็นผู้ไกลจากภูมิฌานมากนัก.
จบ โกมาริยปุตตชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 359
อรรถกถาโกมาริยปุตตชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ บุพพาราม ทรงปรารภภิกษุทั้งหลายผู้มักเล่นเป็นปกติ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า ปุเร ตุวํดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในปราสาทชั้นบน ต่างพากันนั่งพูดถึงเรื่องที่ตนได้เห็นและได้ยินมาเป็นต้น ทําความตลกคะนองและหัวเราะเฮฮาอยู่ในปราสาทชั้นล่าง. พระศาสดาตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานะมาแล้วตรัสว่า เธอจงทําภิกษุเหล่านี้ให้สังเวชสลดใจ. พระเถระเหาะขึ้นไปในอากาศ แล้วเอาปลายนิ้วหัวแม่เท้ากระทุ้งยอดปราสาท ทําให้ปราสาทสั่นสะเทือนจนถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด. ภิกษุเหล่านั้นกลัวมรณภัย จึงได้ออกไปยืนข้างนอก. ความที่ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีปกติเล่นคนองนั้น เกิดปรากฏไปในหมู่ภิกษุทั้งหลาย. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุพวกหนึ่งบวชในพระศาสนาอันเป็นเครื่องนําออกจากทุกข์เห็นปานนี้ ยังพากันเที่ยวเล่นคนองเป็นปกติอยู่ ไม่กระทําวิปัสสนากรรมฐานว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนภิกษุเหล่านี้ก็เป็นผู้เล่นคะนองเป็นปกติเหมือนกัน แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 360
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง. ชนทั้งหลายจํากุมารนั้นได้โดยชื่อว่าโกมาริยบุตร. ในเวลาต่อมา โกมาริยบุตรนั้น ออกบวชเป็นฤๅษีอยู่ในหิมวันตประเทศ.ครั้งนั้น มีดาบสผู้มักเล่นคะนองพวกอื่น สร้างอาศรมอยู่ในหิมวันตประเทศ. กิจแม้เพียงกสิณบริกรรม ก็ไม่มีแก่ดาบสนั้น ดาบสเหล่านั้นนําผลาผลไม้น้อยใหญ่มาจากป่าเคี้ยวกินหัวเราะร่าเริง ยังกาลเวลาให้ล่วงเลยไปด้วยการเล่นมีประการต่างๆ . ในสํานักของดาสเหล่านั้น มีลิงอยู่ตัวหนึ่ง. แม้ลิงตัวนั้นก็มักเล่นคะนองเหมือนกันกระทําหน้าตาวิการต่างๆ เป็นต้น แสดงการเล่นคะนองมีอย่างต่างๆ อย่างดาบสทั้งหลาย. ดาบสเหล่านั้นอยู่ในที่นั้นนานแล้ว จึงได้พากันไปยังถิ่นมนุษย์ เพื่อต้องการเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว จําเดิมแต่ดาบสเหล่านั้นไปแล้ว พระโพธิสัตว์จึงมายังที่นั้นแล้วสําเร็จการอยู่อาศัย. ลิงจึงแสดงการเล่นคะนองแม้แก่พระโพธิสัตว์ เหมือนดังแสดงแก่ดาบสเหล่านั้น. พระโพธิสัตว์จึงดีดนิ้วมือแล้วให้โอวาทแก่ลิงนั้นว่า ธรรมดาผู้อยู่ในสํานักของบรรพชิตผู้มีการศึกษาดีแล้ว ควรจะถึงพร้อมด้วยอาจารมารยาท สํารวมระวังกายและวาจา ประกอบขวนขวายในฌาน. จําเดิมแต่นั้น ลิงตัวนั้นได้เป็นสัตว์มีศีลถึงพร้อมด้วยอาจารมารยาท. พระโพธิสัตว์ได้จากแม้ที่นั้นไปอยู่ในที่อื่น. ลําดับนั้นดาบสขี้เล่นเหล่านั้นเสพรสเค็มและเปรี้ยวแล้ว ได้ไปยังสถานที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 361
นั้น. ลิงไม่แสดงการเล่นคนองแก่ดาบสเหล่านั้น เหมือนอย่างเมื่อก่อน. ลําดับนั้น ดาบสเหล่านั้นเมื่อจะถามลิงนั้นว่า ดูก่อนอาวุโสเมื่อก่อนเจ้าได้กระทําการเล่นคนองเบื้องหน้าพวกเรา เพราะเหตุไรบัดนี้ เจ้าจึงไม่กระทํา จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
เมื่อก่อนเจ้าเคยโลดเต้นเล่นคะนองในอาศรมสํานักเราทั้งหลายผู้มีปกติเล่นคะนอง.เฮ้ยเจ้าลิง เจ้าจงกระทํากิริยาของลิง บัดนี้เราไม่ชื่นชมยินดีศีลและพรตอันนั้นของเจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวตํ สกาเส ได้แก่ ในอาศรมอันเป็นสํานักของเราทั้งหลายผู้คะนองเล่นเป็นปกติ. บทว่าโอกฺกนฺทิกํ ได้แก่ โลดเล่นคะนอง ดังมฤคชาติ. บทว่า กโรหเรแปลว่า จงกระทํา. ศัพท์ว่า เร เป็น อาลปนะ คําร้องเรียก.บทว่า มกฺกฎิยานิ ได้แก่ ทําปากให้แปลกๆ ไปเป็นต้น กล่าวคือเล่นซนทางปาก. บทว่า น ตํ มยํ สีลวตํ รมาม ความว่าศีลวัตรคือการเล่นคะนองของเจ้าในกาลก่อนนั้น บัดนี้ พวกเราไม่ยินดี คือไม่ยินดียิ่ง แม้เจ้าไม่ทําให้พวกเรายินดี มีเหตุอะไรหนอ.ลิงได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
ความหมดจดด้วยฌานชั้นสูง เราได้ฟังมาจากอาจารย์ชื่อโกมาริยบุตร ผู้เป็นพหูสูตรบัดนี้ ท่านอย่าเข้าใจเราว่าเหมือนแต่ก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 362
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราประกอบด้วยฌานอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มยฺหํ เป็นจตุตถีวิบัติใช้ในอรรถของตติยาวิภัติ. บทว่า วิสุทฺธิ ได้แก่ ความหมดจดด้วยฌานบทว่า พหุสฺสุตสฺส ได้แก่ ชื่อว่าผู้เป็นพหูสูตร เพราะได้ฟังและเพราะได้รู้แจ้งกสิณบริกรรมและสมาบัติ ๘. บทว่า ตุวํ นี้ลิงเมื่อจะเรียกดาบสรูปหนึ่งในบรรดาดาบสเหล่านั้น จึงแสดงว่า บัดนี้ท่านอย่าได้จําหมายข้าพเจ้า เหมือนเมื่อก่อน ข้าพเจ้าไม่เป็นเหมือนเมื่อกาลก่อน ข้าพเจ้าได้อาจารย์แล้ว.
ดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
เจ้าลงเอย ถ้าแม้บุคคลจะพึงหว่านพืชลงบนแผ่นหิน ถึงฝนจะตกลงมา พืชนั้นก็งอกงามขึ้นไม่ได้แน่ ความหมดจดด้วยฌานชั้นสูงนั้น ถึงเจ้าจะได้ฟังมา เจ้าก็ยังเป็นผู้ไกลจากภูมิฌานมากนัก.
ความของคาถานั้นว่า ถ้าแม้บุคคลจะพึงหว่านพืช ๕ ชนิดลงบนหลังแผ่นหิน และฝนจะตกลงมาอย่างสม่ําเสมอ พืชนั้นจะงอกขึ้นไม่ได้. เพราะแผ่นหินนั้นไม่ใช่เนื้อนา ความหมดจดแห่งฌานชั้นสูงที่เจ้าได้ฟังมา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนเจ้าลิง ก็เพราะเจ้าเกิดในกําเนิดดิรัจฉาน เจ้าจึงยังห่างไกลจากภูมิฌานนัก คือเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 363
ไม่อาจทําฌานให้บังเกิดได้ ดาบสเหล่านั้นติเตียนลิง ด้วยประการดังนี้.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พวกดาบสผู้เล่นคนองเป็นปกติในกาลนั้น ได้เป็นภิกษุเหล่านี้ ส่วนโกมาริยบุตรคือเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาโกมาริยปุตตชาดกที่ ๙