พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. พกชาดก ว่าด้วยการทําลายตบะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35750
อ่าน  432

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 364

๑๐. พกชาดก

ว่าด้วยการทําลายตบะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 364

๑๐. พกชาดก

ว่าด้วยการทําลายตบะ

[๔๙๙] นกยางผู้มีเนื้อและเลือดเป็นอาหาร เป็นอยู่ได้ เพราะฆ่าสัตว์อัน สมาทานวัตรแล้วรักษาอุโบสถอยู่.

[๕๐๐] ท้าวสักกะทรงทราบวัตรของนกยางนั้นแล้ว จึงจําแลงเป็นแพะมา นกยางนั้นปราศจากตบะ ต้องการดื่มกินเลือด จึงโผไปจะกินแพะ ได้ทําลายตบะธรรมเสียแล้ว.

[๕๐๑] บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีวัตรอันเลวทรามในการสมาทานวัตร ย่อมทําคนให้เบา ดุจนกยางทําลายตบะของตน เพราะเหตุต้องการแพะ ฉะนั้น.

จบ พกชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาพกชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภสันถัดเก่า จึงตรัสเรื่องนี้มีคําเริ่มต้นว่า ปรปาณฆาเต ดังนี้. แม้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 365

เรื่องนี้ก็ได้มาแล้วโดยพิสดาร ในพระวินัยนั่นแล ก็ในที่นี้มีความย่อดังต่อไปนี้ :- ท่านพระอุปเสนะ มีพรรษาได้๒ พรรษา พร้อมด้วยสัทธิวิหาริกซึ่งมีพรรษาเดียว พากันเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถูกพระศาสดาทรงติเตียน จึงกลับแล้วหลีกไปเริ่มบําเพ็ญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว ประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้น สมาทานธุดงค์ ๑๓ กระทําการชักชวนบริษัทให้เป็นผู้ทรงธุดงค์ ๑๓ ด้วยเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส จึงพร้อมด้วยบริษัทเข้าไปเฝ้าพระศาสดา เพราะอาศัยบริษัทนั่นแหละ จึงได้รับการติเตียนเป็นครั้งแรก แต่เพราะประพฤติตามกติกาอันประกอบด้วยธรรม จึงได้รับสาธุการเป็นครั้งที่สอง เป็นผู้อันพระศาสดาทรงกระทําอนุเคราะห์ว่า จําเดิมแต่นี้ไป ภิกษุทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์ จงเข้ามาเฝ้าเราตามสบายเถิด แล้วจึงออกไปแจ้งเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.ตั้งแต่นั้นมา ภิกษุทั้งหลายจึงพากันเป็นผู้ทรงธุดงค์ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อพระศาสดาเสด็จออกจากที่เร้น ก็พากันทิ้งผ้าบังสุกุลไว้ในที่นั้นๆ ถือเอาไปเฉพาะบาตรและจีวรของตนเท่านั้น. พระศาสดาเสด็จเที่ยวจาริกไปยังเสนาสนะพร้อมด้วยภิกษุมากด้วยกัน ทอดพระเนตรเห็นผ้าบังสุกุลตกเรี่ยราดอยู่ในที่นั้นๆ จึงตรัสถาม ได้ทรงสดับความนั้นแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสมาทานวัตรของภิกษุเหล่านี้ เป็นของไม่ตั้งอยู่ยั่งยืน ได้เป็นเช่นกับอุโบสถกรรมของนกยาง แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 366

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกเทวราช. ครั้งนั้น มีนกยางตัวหนึ่งอยู่ที่หลังหินดาดใกล้ฝังแม่น้ำคงคา ต่อมา ห้วงน้ำใหญ่ในแม่น้ำคงคาไหลมาจดรอบหินดาดนั้น นกยางจึงขึ้นไปนอนบนหลังหินดาด. ที่แสวงหาอาหารและทางที่จะไปแสวงหาอาหารของนกยางนั้นไม่มีเลย. แม่น้ำก็เปียมอยู่นั่นเอง นกยางนั้นคิดว่า เราไม่มีที่แสวงหาอาหาร และทางที่จะไปแสวงหาอาหาร ก็อุโบสถกรรมเป็นของประเสริฐกว่าการนอนของเราผู้ว่างงาน จึงอธิษฐานอุโบสถด้วยใจเท่านั้น มาทานศีล นอนอยู่. ในกาลนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงรําพึงอยู่ ทรงทราบการสมาทานอันทุรพลของนกยางนั้น ทรงพระดําริว่า เราจักทดลองนกยางนี้ จึงแปลงเป็นรูปแพะเสด็จมายืนแสดงพระองค์ให้เห็นในที่ไม่ไกลนกยางนั้น. นกยางเห็นแพะนั้นแล้วคิดว่าเราจักรู้การรักษาอุโบสถกรรมในวันอื่น จึงลุกขึ้นโผบินไปเพื่อจะเกาะแพะนั้น ฝ่ายแพะวิ่งไปทางโน้นทางนี้ ไม่ให้นกยางเกาะตนได้. นกยางเมื่อไม่อาจเกาะแพะได้ จึงกลับมานอนบนหลังหินดาดนั้นนั่นแลอีกโดยคิดว่า อุโบสถกรรมของเรายังไม่แตกทําลายก่อน. ท้าวสักกเทวราชประทับยืนในอากาศด้วยอานุภาพของท้าวเธอ ทรงติเตียนนกยางนั้นว่า ประโยชน์อะไรด้วยอุโบสถกรรมของตนผู้มีอัธยาศัยอันทุรพลเช่นท่าน ท่านไม่รู้ว่าเราเป็นท้าวสักกะ จึงประสงค์จะกินเนื้อแพะ ครั้นทรงติเตียนแล้วก็เสด็จไปยังเทวโลกทันที.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 367

มีอภิสัมพุทธคาถา แม้๓ คาถาว่า :-นกยางแหละมีเนื้อและเลือดเป็นอาหารเป็นอยู่ได้เพราะฆ่าสัตว์อื่น สมาทานเข้าจําอุโบสถกรรมนั้นแล้ว.

ท้าวสักกะทรงทราบวัตรของนกยางนั้นแล้ว จึงจําแลงเป็นแพะมา นกยางนั้นปราศจากตบะ ต้องการดื่มกินเลือด จึงโผไปจะกินแพะ ได้ทําลายตบะเสียแล้ว.

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีวัตรอันเลวทรามในการสมาทานวัตร ย่อมทําคนให้เบา ดุนกยางทําลายตบะของตน เพราะเหตุต้องการแพะฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปปชฺชิ อุโปสถํ ได้แก่ เข้าจําอุโบสถ. บทว่า วตฺาย ความว่า ทรงทราบวัตรอันทุรพลของนกยางนั้น. บทว่า วีตตโป อชฺฌปฺปตฺโต ความว่า เป็นผู้ปราศจากตบะบินเข้าไป อธิบายว่า โผแล่นไปเพื่อจะกินแพะนั้น. บทว่าโลหิตโป แปลว่า ผู้ดื่มเลือดเป็นปกติ. บทว่า ตปํ ความว่านกยางทําลายตบะที่ตนสมาทานแล้วนั้น.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ท้าวสักกะในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาพกชาดกที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 368

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภัทรฆฏเภทกชาดก

๒. สุปัตตชาดก

๓. กายนิพพินทชาดก

๔. ชัมพูขาทกชาดก

๕. อันตชาดก

๖. สมุททชาดก

๗. กามวิลาปชาดก

๘. อุทุมพรชาดก

๙. โกมาริยปุตตชาดก

๑๐. พกชาดก

จบ กุมภวรรคที่ ๕

รวมวรรคที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. สังกัปปวรรค

๒. ปทุมวรรค

๓. อุทปานทูสกวรรค

๔. อัพภันตรวรรค

๕. กุมภวรรค

จบ ติกนิบาต