พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทัททรชาดก ไม่ควรถือตัวในที่ที่เขาไม่รู้จัก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35754
อ่าน  431

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 400

๔. ทัททรชาดก

ไม่ควรถือตัวในที่ที่เขาไม่รู้จัก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 400

๔. ทัททรชาดก

ไม่ควรถือตัวในที่ที่เขาไม่รู้จัก

[๕๑๔] ข้าแต่พี่ทัททระ ถ้อยคําด่าว่าอันหยาบ-คายในมนุษยโลกเหล่านี้ ย่อมทําให้ฉันเดือดร้อน พวกเด็กๆ ชาวบ้านผู้ไม่มีพิษฤทธิ์เดช ยังนาด่าว่าเราผู้เป็นอสรพิษร้ายได้ว่าเป็นสัตว์กินกบกินเขียด และว่าเป็นสัตว์น้ำ.

[๕๑๕] บุคคลผู้ถูกขับไล่จากแว่นแคว้นของตนไปอยู่ยังถิ่นอื่นแล้ว ควรสร้างฉางใหญ่ไว้สําหรับเก็บคําหยาบคายทั้งหลาย.

[๕๑๖] บุคคลอยู่ในสํานักคนผู้ไม่รู้จักชาติและโคตรของตน ไม่พึงทําการถือตัวในที่ที่ไม่มีใครรู้จักตน โดยชาติหรือโดยวินัย.

[๕๑๗] บุคคลผู้มีปัญญา แม้เปรียบเสมอด้วยไฟ เมื่อไปอยู่ต่างถิ่นไกล พึงอดทน แม้จะเป็นคําขู่ ตะคอกของทาสก็ตาม.

จบ ทัททรชาดกที่ ๔

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 401

อรรถกถาทัททรชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มักโกรธรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่าอิมานิ มํ ททฺทร ตาปยนฺติ ดังนี้.

เรื่องได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล. ก็ครั้งนั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องที่ภิกษุนี้เป็นคนขี้โกรธ ในโรงธรรมสภา พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าเรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงรับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาแล้วตรัสถามว่าดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นคนขี้โกรธจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุนี้ก็เป็นคนขี้โกรธเหมือนกัน ก็เพราะความเป็นคนขี้โกรธของเธอ โบราณกบัณฑิตทั้งหลายแม้ตั้งอยู่ในความเป็นนาคราชผู้บริสุทธิ์ ก็ได้อยู่ในพื้นที่เปื้อนคูถซึ่งเต็มไปด้วยคูถถึง ๓ ปี แล้วทรงนําเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นโอรสของพระยาทัททรนาคราชผู้ครองราชสมบัติอยู่ในทัททรนาคภพ อันมีอยู่ ณ เชิงเขาทัททรบรรพต ในหิมวันตประเทศ ได้มีนามว่า มหาทัททระ ส่วน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 402

น้องชายของมหาทัททรนาคราชนั้นชื่อว่าจุลลทัททระ. จุลลทัททรนาคนั้น มักโกรธ หยาบคาย เที่ยวด่า เที่ยวประหารพวกนาคมาณพอยู่. พระยานาคราชรู้ว่าจุลลทัททรนาคนั้นเป็นผู้หยาบช้า จึงสั่งให้นําจุลลทัททรนาคนั้นออกจากนาคภพ. แต่มหาทัททรนาคขอให้บิดาอดโทษแล้วทัดทานห้ามไว้. แม้ครั้งที่สองพระยานาคทรงกริ้วต่อจุลลทัททรนาคนั้น. แม้ครั้งที่สอง มหาทัททรนาคนั้นก็ทูลขอให้อดโทษไว้. แต่ในวาระที่สาม พระยานาคผู้บิดาตรัสว่า เจ้าข้ามมิให้พ่อขับไล่มันผู้ประพฤติอนาจาร เจ้าแม้ทั้งสองไป จงออกจากนาคภพนี้ไปอยู่ที่พื้นเปื้อนคูถ ในนครพาราณีกําหนด ๓ ปี แล้วให้ฉุดคร่าออกจากนาคภพ. นาคพี่น้องทั้งสองนั้นจึงไปอยู่ที่พื้นเปื้อนคูถในเมืองพาราณสีนั้น. ครั้งนั้น พวกเด็กชาวบ้านเห็นนาคพี่น้องทั้งสองนั้นเที่ยวหาเหยื่ออยู่ที่ชายน้ำใกล้พื้นที่เปื้อนคูถ จึงพากันประหารขว้างปาท่อนไม้และก้อนดินเป็นต้น. พากันคําว่าคําหยาบเป็นต้นว่า นี้ตัวอะไรหัวใหญ่ หางเหมือนเข็ม มีกบเขียดเป็นภักษาหาร. จุลลทัททรนาคอดกลั้นการดูหมิ่นของพวกเด็กชาวบ้านเหล่านั้นไม่ได้ เพราะตนเป็นผู้ดุร้ายหยาบช้าจึงกล่าวว่า ข้าแต่พี่เจ้าพวกเด็กเหล่านี้ดูหมิ่นพวกเรา ไม่รู้ว่าพวกเราเป็นผู้มีพิษร้าย น้องไม่อาจอดกลั้นการดูหมิ่นของพวกมันได้ น้องจะทําพวกมันให้ฉิบหายด้วยลมจมูก เมื่อจะเจรจากับพี่ชาย จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

พี่ทัททระ คําว่าหยาบคายทั้งหลายใน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 403

มนุษยโลกเหล่านี้ ย่อมทําข้าพเจ้าให้เดือดร้อน พวกเด็กชาวบ้านผู้ไม่มีพิษฤทธิ์เดชพากันสาปแช่งว่า เราผู้มีพิษร้ายว่าเป็นสัตว์กินกบกินเขียด และว่าเป็นสัตว์น้ำ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาปยนฺติ แปลว่า ย่อมทําให้ลําบาก. บทว่า มณฺฑูกภกฺขา อุทกนฺตเสวี ความว่า พวกเด็กชาวบ้านผู้ไม่มีพิษฤทธิ์เดชเหล่านั้นกล่าวกันว่า สัตว์กินกบกินเขียดและว่าเป็นสัตว์น้ำ สาปแช่งคือคําว่าเราซึ่งเป็นผู้มีพิษร้าย.

มหาทัททรนาคผู้พี่ได้ฟังคําของจุลลทัททรนาคผู้น้องนั้นแล้วจึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

บุคคลถูกขับไล่จากแว่นแคว้นของตนไปอยู่ยังถิ่นอื่น ควรทําฉางใหญ่ไว้ เพื่อเก็บคําหยาบคายทั้งหลาย.

บุคคลอยู่ในหมู่ชนผู้ไม่รู้จักตน ไม่ควรทําการถือตัวในที่ที่ไม่มีคนรู้จักตน โดยชาติหรือโดยวินัย.

บุคคลผู้มีปัญญาแม้เปรียบเสมอด้วยไฟเมื่อไปอยู่ต่างถิ่นไกลพึงอดทน แม้คําขู่ตะคอกของทาส.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 404

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุรุตฺตานํ นิเธตเว ความว่าชนทั้งหลายสร้างฉางใหญ่ไว้เพื่อเก็บข้าวเปลือก ทําฉางให้เต็มไว้เมื่อกิจเกิดขึ้น ก็ใช้สอยข้าวเปลือก ฉันใด บุรุษผู้เป็นบัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปต่างถิ่นพึงสร้างฉางใหญ่ไว้ภายในหทัย เพื่อเก็บคําหยาบคาย ครั้นเก็บคําหยาบคายเหล่านั้นไว้ในหทัยนั้นแล้วกลับจักกระทํากิจที่ควรทําในเวลาอันเหมาะแก่ตน. บทว่า ชาติยาวินเยน วา ความว่า ในที่ใด ชนทั้งหลายย่อมไม่รู้จักตนโดยชาติหรือโดยวินัยว่า ผู้นี้เป็นกษัตริย์ ผู้นี้เป็นพราหมณ์ หรือว่าเป็นผู้มีศีลเป็นพหูสูตร เป็นผู้เพรียบพร้อมด้วยคุณธรรม. บทว่า มานํ ความว่าไม่พึงกระทําการถือตัวว่า เขาเรียกเรารู้เห็นปานนี้ด้วยโวหารอันลามก ไม่สักการะ ไม่เคารพ. บทว่า วสํ อฺาตเก ชเนความว่า อยู่ในสํานักของคนผู้ไม่รู้จักชาติและโคตรของตน. บทว่าวสโต แก้เป็น วสตา แปลว่า อยู่. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็เป็น (ศัพท์ว่า วสตา) ดังนี้เหมือนกัน.

นาคพี่น้องทั้งสองนั้นอยู่ ณ ที่นั้น สิ้นกําหนด ๓ ปี ด้วยอาการอย่างนี้. ลําดับนั้น พระยานาคผู้บิดาให้เรียกนาคพี่น้องทั้งสองนั้นมา. ตั้งแต่นั้นมานาคพี่น้องทั้งสองนั้น ก็สิ้นมานะการถือตัว.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้มักโกรธได้ดํารงอยู่

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 405

ในอนาคามิผล. แล้วทรงประชุมชาดกว่า จุลลทัททรนาคในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุผู้มักโกรธในบัดนี้ ส่วนมหาทัททรนาคในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาทัททรชาดกที่ ๔