๖. สุชาตาชาดก ได้รับโทษเพราะประมาท
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 412
๖. สุชาตาชาดก
ได้รับโทษเพราะประมาท
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 412
๖. สุชาตาชาดก
ได้รับโทษเพราะประมาท
[๕๒๒] ข้าแต่พระราชสวามีผู้ประเสริฐ ไข่ที่เก็บไว้ในจานทองนี้เป็นไข่อะไร ลูกกลมเกลี้ยงมีสีแดง หม่อมฉันทูลถามพระองค์ถึงสิ่งนั้น โปรดตรัสบอกด้วย.
[๕๒๓] ดูก่อนพระเทวี เมื่อก่อนนี้เธอเป็นหญิงหัวโล้นนุ่งผ้าท่อนเก่าๆ มือถือห่อพกเลือกเก็บผลไม้อันใดอยู่ สิ่งที่ฉันรับประทานอยู่ณ บัดนี้ เป็นผลไม้อันนั้น เป็นผลไม้ประจําตระกูลของเธอ.
[๕๒๔] หญิงทรามเมื่ออยู่ในราชสกุลนี้ ย่อมร้อนรนไม่รื่นรมย์ โภคสมบัติทั้งหลายก็ย่อมละเขาไปเสียสิ้น ท่านทั้งหลายจงช่วยกันนําหญิงทรามคนนั้นคืนไปไว้ที่ๆ เขาจัดเก็บผล-ไม้ประจําตระกูลขายเลี้ยงชีวิตได้ตามเดิม.
[๕๒๕] ข้าแต่มหาราช โทษเพราะความประ-มาทเหล่านี้ ย่อมมีได้แก่นารีผู้ได้รับยศ ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์ได้ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 413
โปรดอดโทษแด่พระนางสุชาดาเทวีเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้ปริเสริฐ ขอพระองค์อย่าได้ทรงพระพิโรธแด่พระเทวีเลย.
จบ สุชาตาชาดกที่ ๖
อรรถกถาสุชาตาชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพระนางมัลลิกาเทวี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า กึ-อณฺฑภา อิเม เทว ดังนี้.
ได้ยินว่า วันหนึ่ง พระราชาได้มีการวิวาทโต้เถียงเรื่องสิริกับพระนางมัลลิกาเทวี. บางอาจารย์กล่าวว่า ทรงทะเลาะเรื่องที่บรรทมดังนี้ก็มี. พระราชาทรงกริ้วถึงกับไม่สนพระทัยกับพระนาง. ฝ่ายพระนางมัลลิกาเทวีก็ทรงพระดําริว่า พระศาสดาเห็นจะไม่ทรงทราบว่าพระราชาทรงพิโรธเรา. แม้พระศาสดาก็ทรงทราบ ทรงดําริว่าจักกระทําพระราชาและพระเทวีนี้ให้สมัครสมานกัน ในเวลาเช้าจึงทรงนุ่งแล้วถือบาตรและจีวร มีภิกษุ ๕๐๐ รูป เป็นบริวาร เสด็จเข้ากรุงสาวัตถีแล้วได้เสด็จไปที่ประตูพระราชนิเวศน์. พระราชาทรงรับบาตรของพระตถาคตแล้วทูลนิมนต์เสด็จเข้าพระนิเวศน์ ให้ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ถวายน้ำทักษิโณทกแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วทรงนําข้าวยาคูและของควรเคี้ยวมาถวาย. พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 414
ศาสดาทรงเอาพระหัตถ์ปิดบาตรแล้วตรัสว่า มหาบพิตร พระเทวีเสด็จไปไหน. พระราชาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประโยชน์อะไรด้วยพระเทวีนั้นผู้มัวเมาด้วยยศของตน. พระศาสดาตรัสว่าดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ทรงประทานยศยกมาตุคามขึ้นด้วยพระองค์เอง แล้วไม่ทรงอดโทษความผิดที่พระเทวีนั้นกระทํา ดูไม่สมควร.พระราชาทรงสดับพระดํารัสของพระศาสดาแล้ว จึงรับสั่งให้เรียกพระเทวีมา. พระเทวีเสด็จมาทรงอังคาสพระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า ควรที่พระองค์ทั้งสองจะเป็นผู้สามัคคีปรองดองกันและกัน ได้ตรัสพรรณนาสามัคคีรสแล้ว เสด็จหลีกไป. จําเดิมแต่นั้น พระราชาและพระเทวีทั้งสองพระองค์ก็ทรงอยู่ด้วยความสามัคคีปรองดองกัน.ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาได้ทรงกระทําพระราชาและพระเทวีทั้งสองพระองค์ให้สมัครสมานกัน ด้วยพระดํารัสข้อเดียวเท่านั้น พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เราตถาคตก็ได้ทําให้ท้าวเธอทั้งสองนี้มีความสามัคคีปรองดองกัน ด้วยวาทะข้อเดียวเท่านั้น แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอํามาตย์ผู้สั่งสอนอรรถธรรมแก่พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 415
เจ้าพรหมทัตนั้น อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงเปิดบานพระแกรใหญ่ได้ประทับทอดพระเนตรพระลานหลวง. ขณะนั้น ธิดาคนเก็บผักคนหนึ่ง มีรูปสวย ตั้งอยู่ในประถมวัย เทินกระเช้าพุทราไว้บนศีรษะ.เดินร้องขายไปทางหน้าพระลานหลวงว่า ซื้อพุทราเจ้าข้า ซื้อพุทราเจ้าข้า. พระราชาได้ทรงสดับเสียงของนางนั้นแล้วทรงมีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ ทรงทราบว่านางยังไม่มีสามี. จึงรับสั่งให้เรียกมาแล้วทรงตั้งนางนั้นไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี แล้วได้ประทานยศอันยิ่งใหญ่แก่นาง. นางนั้นได้เป็นที่รักใคร่โปรดปรานของพระราชา. อยู่มาวันหนึ่งพระราชาประทับนั่งหยิบผลพุทราในจานทองเสวยอยู่ พระสุชาดาเทวีได้ทรงเห็นพระราชาเสวยผลพุทรา เมื่อจะทูลถามว่า ข้าแต่มหาราช นี่คือผลอะไร พระองค์ทรงเสวยอยู่ จึงตรัสคาถาที่๑ ว่า :-
ข้าแต่พระราชสามีผู้ประเสริฐ ไข่ที่เก็บไว้ในจานทองนี้ เป็นไข่อะไร ลูกกลมเกลี้ยงมีสีแดง หม่อมฉันทูลถามพระองค์ถึงสิ่งนั้น ขอพระองค์ตรัสบอกด้วย.
ด้วยบทว่า กิอณฺฑกา นี้ ในคาถานั้น พระนางสุชาดาเทวีทูลว่า นี้ชื่อผลอะไร แต่เป็นดุจไข่ โดยมันกลม. บทว่า กํ สมลฺลเกได้แก่ ในจานทองคํา. บทว่า อุปโลหิตกา แปลว่า มีสีแดง บทว่าวคฺคู ได้แก่ งาม คือไม่มีมลทิน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 416
พระราชาทรงกริ้วตรัสว่า นางแม่ค้าพุทราสุก ลูกสาวคนเก็บผัก ช่างไม่รู้จัก แม้ผลพุทราอันเป็นของประจําตระกูลของตน แล้วได้ตรัสคาถา ๒ คาถาว่า :-
ดูก่อนพระเทวี เมื่อก่อนเธอเป็นหญิงหัวโล้นนุ่งผ้าท่อนเก่าๆ จับท่อพก เลือกเก็บผลไม้ใดอยู่ สิ่งที่ฉันรับประทานอยู่ ณบัดนี้ เป็นผลไม้นั้น เป็นผลไม้ประจําตระกูลของเธอ.
หญิงทรามเมื่ออยู่ในราชตระกูลนี้ ย่อมร้อนรนไม่รื่นรมย์ โภคทรัพย์ทั้งหลายย่อมละเขาไปเสียสิ้น หญิงนี้จักเลือกเก็บผลไม้ประจําตระกูลได้ในที่ใด ท่านทั้งหลายจงช่วยนําหญิงนั้นคืนไปไว้ในที่นั้นนั่นเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภณฺฑุ แปลว่า เป็นผู้มีศีรษะโล้นบทว่า นนฺตกวาสินี ได้แก่ ผู้นุ่งผ้าท่อนเก่า. บทว่า อจฺฉงฺคหตฺถาปจินาสิ ความว่า เธอเข้าดงเอาขอเหนี่ยวกิ่งลงมา เอามือหยิบผลที่เลือกเก็บแล้วเป็นผู้จับห่อพก โดยใส่เข้าไปในพกเลือกคัดเก็บเอาไป. บทว่า ตสฺสา เต โกลิยํ ผลํ ความว่า เมื่อเธอนั้นเลือกเก็บอยู่อย่างนี้ บัดนี้ เรากินผลไม้ใด ผลไม้นี้เป็นผลไม้ประจําตระกูล คือเป็นผลไม้ที่ตระกูลให้เธอ. บทว่า อุทยฺหเต น รมติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 417
ความว่า หญิงลามกนี้เมื่ออยู่ในราชตระกูลนี้ ย่อมร้อนรนไม่รื่นรมย์เหมือนโยนลงในโลหกุมภีนรก. บทว่า โภคาได้แก่ ราชโภคทรัพย์ย่อมละหญิงนี้ผู้ไม่มีบุญ. ด้วยบทว่า ยตฺถ โลกํ ปจิสฺสติ นี้พระราชาตรัสว่า หญิงนี้ไปในที่ใด แล้วเลือกเก็บพุทรานั่นแหละค้าขายเลี้ยงชีวิตได้อีก ท่านทั้งหลายจงนําหญิงนั้นไปในที่นั้นนั่นแหละ.
พระโพธิสัตว์คิดว่า เว้นเราเสีย คนอื่นจักไม่สามารถทําท้าวเธอทั้งสองนี้ให้สามัคคีปรองดองกัน เราจักทูลให้พระราชาทรงยินยอมแล้วกระทํามิให้ขับไล่พระเทวีนี้ไป จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
ข้าแต่มหาราช โทษผิดเหล่านี้ ย่อมมีแก่นารีผู้ได้รับยศ ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพพระองค์โปรดอดโทษแก่พระนางสุชาดา ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์อย่าได้ทรงพระพิโรธแก่พระนางสุชาดานี้เลย.
คาถานั้นมีอธิบายว่า ข้าแต่มหาราช โทษเพราะความประมาทเหล่านี้ คือเห็นปานนี้ ย่อมมีเฉพาะแก่นารีผู้ได้รับยศ การแต่งตั้งพระนางไว้ในตําแหน่งสูงเห็นปานนี้ แล้วไม่ทรงอดโทษผิดมีประมาณเท่านี้ ณ บัดนี้ ดูจะไม่สมควรแก่พระองค์ ข้าแต่สมมติเทพ เพราะฉะนั้น ขอพระองค์ได้โปรดอดโทษ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 418
ผู้เป็นใหญ่ในพลรถ ขอพระองค์โปรดอย่าได้ทรงพิโรธแก่พระนางสุชาดานี้.
พระราชาทรงอดกลั้นความผิดนั้นแก่พระเทวี เพราะถ้อยคําของพระโพธิสัตว์นั้น จึงทรงแต่งตั่งไว้ในตําแหน่งเดิมนั่นเอง. ตั้งแต่นั้นมา พระราชาและพระเทวีทั้งสองพระองค์ทรงอยู่ด้วยความสมัครสมานปรองดองกันแล.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเจ้าโกศลพระนางสุชาดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระนางมัลลิกา ส่วนอํามาตย์ในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุชาตาชาดกที่ ๖