พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ปลาสชาดก ว่าด้วยขุมทรัพย์ที่ฝั่งไว้ที่โคนต้นไม้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35757
อ่าน  427

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 419

๗. ปลาสชาดก

ว่าด้วยขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ที่โคนต้นไม้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 419

๗. ปลาสชาดก

ว่าด้วยขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ที่โคนต้นไม้

[๕๒๖] ดูก่อนพราหมณ์ ท่านก็รู้ว่าต้นทอง-กวาวนี้ไม่มีจิต ไม่ได้ยินเสียงอะไร และไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะเหตุไรท่านจึงพยายามมิได้มีความประมาท ถามถึงสุขไสยาอยู่เสมอมา.

[๕๒๗] ต้นทองกวาวต้นใหญ่ ปรากฏไปในที่ไกล ตั้งอยู่ในภูมิประเทศราบเรียบ เป็นที่อยู่อาศัยของทวยเทพ เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงนอบน้อมต้นทองกวาวนี้ และเทพเจ้าผู้สิงอยู่ที่ต้นทองกวาวนี้ด้วย เพราะเหตุแห่งทรัพย์.

[๕๒๘] ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้าเพ่งถึงความกตัญูจักทําการทดแทนคุณท่านตามอานุ-ภาพ ความดิ้นรนของท่านผู้มาถึงสํานักของสัตบุรุษทั้งหลาย ไฉนจักเปล่าจากประโยชน์เล่า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 420

[๕๒๙] ไม้เลียบต้นใด อยู่เบื้องหน้าต้น-มะพลับเขาล้อมไว้ มหาชนเคยบูชายัญกันมาแต่ก่อน เป็นต้นไม้ใหญ่ ขุมทรัพย์เขาฝังไว้ที่โคนต้นไม้เลียบนั้นแล ไม่มีเจ้าของท่านจงไปขุดเอาทรัพย์นั้นเถิด.

จบ ปลาสชาดกที่ ๗

อรรถกถาปลาสชาดกที่ ๗

พระศาสดาทรงบรรทม ณ เตียงปรินิพพาน ทรงปรารภพระอานันทเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคําเริ่มต้นว่า อเจตนํพฺราหฺมณ อสุณนฺตํ ดังนี้.

ได้ยินว่า ท่านผู้มีอายุนั้น ทราบว่า ในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่งแห่งราตรีวันนี้ พระศาสดาจักปรินิพพาน ก็นึกถึงตนว่า ก็เราแลยังเป็นเสขบุคคลมีกิจที่จะต้องทํา แต่พระศาสดาของเราจักปรินิพพานการอุปัฏฐากบํารุงที่เรากระทําแก่พระศาสดามาตลอดเวลา ๒๕ ปี น่าจักไร้ผลถูกความเศร้าโศกครอบงํา จึงเหนี่ยวไม้สลักประตูห้องน้อยในอุทยานร้องไห้อยู่. พระศาสดาเมื่อไม่ทรงเห็นท่านพระอานนท์ จึงตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์ไปไหน ครั้นได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้เรียกท่านมาประทานโอวาท แล้วตรัสว่าอานนท์ เธอเป็นผู้ได้ทําบุญไว้แล้ว จงหมั่นประกอบความเพียร

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 421

เธอจักหมดอาสวะโดยเร็วพลัน เธออย่าได้คิดเสียใจไปเลย การอุปัฏฐากที่เธอกระทําแก่เราในบัดนี้ เพราะเหตุไรเล่าจักไร้ผล การอุปัฏฐากที่เธอกระทําแก่เรา แม้ในกาลที่เรายังไม่มีราคะเป็นต้น ในชาติก่อนก็ยังมีผล แล้วทรงนําเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาต้นทองกวาว ในที่ไม่ใกล้พระนครพาราณสี. ในกาลนั้น ชาวเมืองพาราณสี พากันถือเทวดามงคล จึงขวนขวายในการทําพลีกรรมเป็นต้นเป็นนิตยกาล.ครั้งนั้น มีพราหมณ์เข็ญใจคนหนึ่งคิดว่า แม้เราก็จักปรนนิบัติเทวดาองค์หนึ่ง จึงทําโคนต้นทองกวาวใหญ่ต้นหนึ่งซึ่งยืนต้นอยู่ในพื้นที่สูงให้ราบเตียนปราศจากหญ้า แล้วล้อมรั้ว เกลี่ยทรายปัดกวาด แล้วเจิมด้วยของหอมที่ต้นไม้ บูชาด้วยดอกไม้ ของหอมและธูป ตามประทีปแล้วกล่าวว่า ท่านจงอยู่เป็นสุขสบาย แล้วทําประทักษิณต้นไม้แล้วหลีกไป. เช้าตรู่วันที่สองพราหมณ์นั้นไปถามถึงการนอนเป็นสุขสบาย. อยู่มาวันหนึ่ง รุกขเทวดาคิดว่า พราหมณ์นี้ปฏิบัติเรายิ่งนัก เราจักทดลองพราหมณ์นั้นดู แกปฏิบัติบํารุงเราด้วยเหตุอันใด ก็จักให้เหตุอันนั้น เมื่อพราหมณ์นั้นมาปัดกวาดโคนไม้ จึงยืนอยู่ใกล้ๆ ด้วยเพศของพราหมณ์แก่ แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านก็รู้ว่าต้นทองกวาวนี้ไม่มีจิตใจ ไม่ได้ยินเสียงและไม่รู้สึก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 422

อะไร เพราะเหตุไรท่านจึงเพียรพยายาม มิได้มีความประมาท ถามถึงสุขไสยาอยู่เสมอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสุณนฺตํ แปลว่า ไม่ได้ยินเสียงได้แก่ ชื่อว่าไม่ได้ยินเสียง เพราะไม่มีเจตนาเลย. บทว่า ชาโนแปลว่า รู้อยู่ ได้แก่ ท่านเป็นผู้รู้อยู่. บทว่า ธุวํ อปฺปมตฺโตแปลว่า ไม่มีความประมาทเป็นนิจ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ประมาทเป็นนิตย์.

พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ต้นทองกวาวใหญ่ปรากฏไปในที่ไกลตั้งอยู่ในภูมิประเทศราบเรียบ เป็นที่อยู่อาศัยของทวยเทพ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงนอบน้อมต้นทองกวาวนี้ และเทพเจ้าผู้สิงอยู่ที่ต้นทองกวาวนี้ด้วย เพราะเหตุแห่งทรัพย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูเร สุโต ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ ต้นไม้นี้ปรากฏไปในที่ไกล มิใช่ปรากฏอยู่ในที่ใกล้ๆ .บทว่า พฺรหาว แปลว่า ใหญ่. บทว่า เทเส ิโต ได้แก่ ยืนต้นอยู่ในภูมิประเทศอันสูง ราบเรียบ. บทว่า ภูตนิวาสรูโป ได้แก่มีสภาวะเป็นที่อยู่อาศัยของเทวดา คือ เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่จักสิงอยู่ที่ต้นทองกวาวนี้แน่. บทว่า เต จ ธนสฺส เหตุ ความว่า เรานอบน้อมต้นไม้นี้ และเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้นี้ เพราะเหตุแห่งทรัพย์ มิใช่เพราะไม่มีเหตุ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 423

รุกขเทวดาได้ฟังดังนั้น มีความเลื่อมใสพราหมณ์ จึงปลอบ.โยนพราหมณ์นั้นให้เบาใจว่า พราหมณ์ เราเป็นเทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้นี้ ท่านอย่ากลัวไปเลยเราจะให้ทรัพย์แก่ท่าน แล้วยืนในอากาศที่ประตูวิมานของตน ด้วยเทวานุภาพอันยิ่งใหญ่ ได้กล่าวคาถา ๒ คาถานอกนี้ว่า :-

ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นมาเพ่งถึงความกตัญู จักทําการทดแทนคุณท่านตามสมควรแก่อานุภาพ การที่ท่านดิ้นรนมายังสํานักของสัตบุรุษทั้งหลาย จะพึงเปล่าประโยชน์ได้อย่างไรเล่า.

ไม้เลียบต้นใด อยู่เบื้องหน้าต้นมะพลับเขาล้อมไว้ มหาชนเคยบูชายัญกันมาแต่ก่อน เป็นต้นไม้ใหญ่ ขุมทรัพย์เขาฝังไว้ที่โคนต้นไม้เลียบนั้นแล ไม่มีเจ้าของ ท่านจงไปขุดเอาทรัพย์นั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถามุภาวํ ได้แก่ ตามสามารถคือ ตามกําลัง. บทว่า ภตฺุตํ ความว่า รู้คุณที่ท่านทําไว้แก่เราชื่อว่าเพ่งถึงความกตัญูซึ่งมีอยู่ในตนนั้น. บทว่า อาคมฺม แปลว่ามาแล้ว บทว่า สตํ สกาเส ได้แก่ ในสํานักของสัตตบุรุษทั้งหลาย.บทว่า โมฆา แปลว่า เปล่า. บทว่า ปริยนฺทิตานิ ความว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 424

ดิ้นรนด้วยวาจาด้วยการถามถึงการนอนเป็นสุขสบาย และดิ้นรนด้วยกายด้วยการทําการปัดกวาดเป็นต้น จักไม่เป็นผลแก่ท่านได้อย่างไร.บทว่า โย ตินฺทุรุกฺขสฺส ความว่า รุกขเทวดายืนที่ประตูวิมานนั่นแหละ เหยียดมือแสดงว่า ต้นเลียบนั้นได้ตั้งอยู่เบื้องหน้าต้นมะพลับ. ในบทว่า ปริวาริโต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-ที่โคนต้นเลียบนั้น ต้นเลียบนี้ชื่อว่า เขาล้อมไว้ เพราะเขาฝังทรัพย์ไว้รอบโคนต้นไม้นั้น ชื่อว่า เขาเคยบูชายัญ เพราะทรัพย์เกิดขึ้นแก่พวกเจ้าของตนแรกๆ ด้วยอํานาจยัญที่เขาบูชาแล้วในกาลก่อนชื่อว่ายิ่งใหญ่ เพราะเป็นต้นไม้ใหญ่ โดยมีหม้อขุมทรัพย์มิใช่น้อยชื่อว่าเขาฝังไว้ ชื่อว่าไม่มีทายาท เพราะบัดนี้ทายาททั้งหลายไม่มี.ท่านกล่าวอธิบายนี้ไว้ว่า ขุมทรัพย์ใหญ่นี้เราฝังไว้ โดยหม้อขุมทรัพย์เอาคอจดคอติดๆ กันรอบโคนต้นไม้นี้ ไม่มีเจ้าของ ท่านจงไป จงขุดขุมทรัพย์นั้นเอาไป.

ก็แหละเทวดานั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงให้โอวาทแก่พราหมณ์ว่า พราหมณ์ ท่านขุดเอาขุมทรัพย์นั้นไปจักลําบากเหน็ดเหนื่อย ท่านจงไปเถิด เราเองจักนําขุมทรัพย์นั้นไปยังเรือนของท่านแล้วจักฝังไว้ ณ ที่โน้นและที่โน้น ท่านจงใช้สอยทรัพย์นั้นจนตลอดชีวิต จงให้ทาน รักษาศีลเถิด แล้วยังทรัพย์นั้นให้ไปประดิษฐานอยู่ในเรือนของพราหมณ์นั้น ด้วยอานุภาพของตน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 425

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ส่วนรุกขเทวดาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปลาสชาดกที่ ๗