พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ชวสกุณชาดก ผู้ไม่มีกตัญญูไม่ควรคบ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35758
อ่าน  598

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 426

๘. ชวสกุณชาดก

ผู้ไม่มีกตัญูไม่ควรคบ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 426

๘. ชวสกุณชาดก

ผู้ไม่มีกตัญูไม่ควรคบ

[๕๓๐] ข้าแต่พระยาเนื้อ ขอนอบน้อมแด่ท่านข้าพเจ้าได้ทํากิจอย่างหนึ่งแก่ท่าน ตามกําลังของข้าพเจ้าที่มีอยู่ ข้าพเจ้าจะได้อะไรตอบแทนบ้าง.

[๕๓๑] การที่ท่านเข้าไปอยู่ในระหว่างฟันของเราผู้มีเลือดเป็นภักษาหาร ผู้ทํากรรมอันหยาบช้าอยู่เป็นนิตย์ ท่านยังเป็นอยู่ได้ นั่นก็เป็นคุณมากอยู่แล้ว.

[๕๓๒] น่าติเตียนคนที่ไม่รู้คุณที่เขาทําแล้ว ผู้ไม่ทําคุณให้ใคร และผู้ที่ไม่ทําตอบแทนคุณที่เขาทําก่อน ความกตัญูไม่มีในคนใด การคบคนนั้นย่อมไร้ประโยชน์.

[๕๓๓] บุคคลไม่ได้มิตรธรรมด้วยอุปการคุณที่ตนประพฤติต่อหน้าในผู้ใด ผู้นั้นบัณฑิตไม่ต้องริษยา ไม่ต้องคําว่า พึงค่อยๆ หลีกออกห่างจากผู้นั้นไปเสีย.

จบ ชวสกุณชาดกที่ ๘

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 427

อรรถกถาชวสกุณชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภความอกตัญูของพระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า อกรมฺหาว เต กิจฺจํ ดังนี้.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้นแม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็เป็นคนอกตัญูเหมือนกัน แล้วทรงนําเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นนกหัวขวานอยู่ในหิมวันตประเทศ. ครั้งนั้นราชสีห์ตัวหนึ่งกินเนื้อ กระดูกติดคอจนคอบวม.ไม่สามารถจับเหยื่อกินได้ เวทนากล้าแข็งเป็นไป. ลําดับนั้น นกนั้นเที่ยวขวนขวายหาเหยื่อ เห็นราชสีห์นั้นจึงจับที่กิ่งไม้ ถามว่า สหายท่านเป็นทุกข์เพราะอะไร ราชสีห์นั้นจึงบอกเนื้อความนั้น. นกนั้นกล่าวว่า สหาย เราจะนํากระดูกนั้นออก ให้แก่ท่าน แต่เราไม่อาจเข้าไปในปากของท่าน เพราะกลัวว่า ท่านจะกินเรา. ราชสีห์กล่าวว่า ท่านอย่ากลัวเลย สหาย เราจะไม่กินท่าน. ท่านจงให้ชีวิตเราเถิด. นกนั้นรับคําว่าดีละ แล้วให้ราชสีห์นั้นนอนตะแคง แล้วคิดว่า ใครจะรู้ว่าอะไรจักมีแก่เรา จึงวางท่อนไม้ค้ำไว้ริมฝีปากทั้งข้างล่างและข้างบนของราชสีห์นั้นโดยที่มันไม่สามารถหุบปากได้ แล้วเข้าไปในปาก เอาจงอยปากเคาะปลายกระดูก. กระดูกก็เคลื่อนตกไป. จากนั้นครั้นทําให้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 428

กระดูกตกไปแล้ว เมื่อจะออกจากปากราชสีห์จึงเอาจะงอยปากเคาะท่อนไม้ให้ตกลงไป แล้วบินออกไปจับที่ปลายกิ่งไม้. ราชสีห์หายโรคแล้ว วันหนึ่ง ฆ่ากระบือป่าได้ตัวหนึ่งแล้วกินอยู่. นกคิดว่า เราจักทดลองราชสีห์นั้นดู จึงจับที่กิ่งไม้ ณ ส่วนเบื้องบนราชสีห์นั้น เมื่อจะเจรจากับราชสีห์นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ข้าแต่พระยาเนื้อ ขอความนอบน้อมจงมีแก่ท่าน ข้าพเจ้าได้ทํากิจอย่างหนึ่งแก่ท่านตามกําลังของข้าพเจ้าที่มีอยู่ ข้าพเจ้าจะได้อะไรตอบแทนบ้าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกรมฺหาว เต กิจฺจํ ความว่าท่านสีหะผู้เจริญ แม้เราก็ได้กระทํากิจอย่างหนึ่งแก่ท่าน บทว่า ยํ พลํอหุวมฺหเส ความว่า กําลังใดได้มีแก่เรา เรามิได้ทําอะไรๆ ให้เสื่อมเสียจากกิจนั้น ได้กระทําแล้วด้วยกําลังนั้นทีเดียว.

ราชสีห์ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ข้อที่ท่านเข้าไปอยู่ในระหว่างฟันของข้าพเจ้าผู้มีโลหิตเป็นภักษาหารผู้กระทํากรรมหยาบเป็นนิจ ท่านยังรอดชีวิตอยู่ได้นั้นก็เป็นคุณมากอยู่แล้ว.

นกได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถานอกนี้ว่า :-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 429

น่าติเตียนคนที่ไม่รู้คุณที่เขาทําแล้ว ผู้ไม่ทําคุณให้แก่ใคร ผู้ไม่ทําตอบแทนคุณที่เขาทําไว้ ความกตัญูย่อมไม่มีในบุคคลใดการคบคนนั้นย่อมไร้ประโยชน์.

บุคคลไม่ได้มิตรธรรมด้วยอุปการคุณที่ตนประพฤติต่อหน้า ในบุคคลใด บุคคลนั้นบัณฑิตไม่ต้องริษยา ไม่ต้องด่าว่า พึงค่อยๆ หลีกห่างออกจากบุคคลนั้นไปเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าอกตฺุํ แปลว่า ผู้ไม่รู้คุณที่เขากระทําแล้ว. บทว่า อกตฺตารํ ได้แก่ ผู้ไม่ทํากิจอย่างใดอย่างหนึ่ง.บทว่า สมฺมุขจิณฺเณน ความว่า ด้วยคุณที่ทําไว้ต่อหน้า. บทว่าอนุสฺสุยมนกฺโกสํ ความว่า บัณฑิตอย่าริษยา อย่าด่าว่าบุคคลนั้นพึงค่อยๆ หลีกออกห่างจากบุคคลนั้น.

ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นกนั้นก็บินหลีกไป.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่าราชสีห์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต ส่วนนกในครั้งนั้นได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาชวสกุณชาดกที่ ๘