พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ฉวชาดก ว่าด้วยการนั่งที่ไม่สมควร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35759
อ่าน  466

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 430

๙. ฉวชาดก

ว่าด้วยการนั่งที่ไม่สมควร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 430

๙. ฉวชาดก

ว่าด้วยการนั่งที่ไม่สมควร

[๕๒๔] กิจทั้งหมดที่เราทั้งสองกระทําแล้วเป็นกิจลามก คนทั้ง ๒ ไม่เห็นธรรม คนทั้ง ๒เคลื่อนแล้วจากปกติเดิม คือ อาจารย์นั่งบนอาสนะต่ําบอกมนต์ และศิษย์นั่งบนอาสนะสูงเรียนมนต์.

[๕๓๕] เราบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีขาวสะอาดปรุงด้วยเนื้อ ของพระราชาพระองค์นี้เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ซ่องเสพธรรมนั้นที่พวกฤๅษีส้องเสพมาแล้ว.

[๕๓๖] ท่านจงหลีกไปเสียเถิด ขึ้นชื่อว่าโลกกว้างใหญ่ แม้คนอื่นๆ ก็หุงต้นกิน เพราะเหตุนั้น อธรรมที่ท่านประพฤติมาแล้ว อย่าทําลายท่านเสียเลย ดุจก้อนหินต่อยหม้อให้แตก ฉะนั้น.

[๕๓๗] ดูก่อนพราหมณ์ เราติเตียนการได้ยศการได้ทรัพย์ และความประพฤติเลี้ยงชีวิต

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 431

ด้วยการทําตนให้ตกต่ํา หรือด้วยการประพฤติไม่เป็นธรรม.

จบ ฉวชาดกที่ ๙

อรรถกถาฉวกชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุพวกฉัพพัคคีย์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า สพฺพํอิทฺจ มริกตํ ดังนี้.

เรื่องนี้มีมาแล้วโดยพิสดารในพระวินัยนั่นแล. ส่วนในชาดกนี้มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :- พระศาสดารับสั่งให้เรียกภิกษุพวกฉัพพัคคีย์มาแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเธอนั่งบนอาสนะต่ําแล้วแสดงธรรมแก่ผู้นั่งบนอาสนะสูงจริงหรือ? เมื่อพวกภิกษุฉัพพัคคีย์กราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จึงทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการที่พวกเธอไม่กระทําความเคารพในธรรมของเรา ไม่สมควร ด้วยว่า โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ได้ติเตียนอาจารย์นั่งอาสนะต่ํา บอกแม้มนต์แก่ชนพวกพากเพียร แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้.


(๑) ในพระสูตรเป็น ฉวชาดก.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 432

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกําเนิดคนจัณฑาล พอเจริญวัยแล้วก็ตั้งตัวได้. ภรรยาของบุรุษจัณฑาลนั้น แพ้ท้องอยากมะม่วง จึงกล่าวกะเขาว่า ข้าแต่นาย ดิฉันอยากกินมะม่วง. สามีกล่าวว่า นางผู้เจริญ ในฤดูกาลนี้ มะม่วงไม่มี พี่จักนําผลไม้เปรี้ยวอย่างอื่นมาให้.ภรรยากล่าวว่า ข้าแต่นาย ดิฉันอยากได้ผลมะม่วงเท่านั้น จักมีชีวิตรอดอยู่ได้ เมื่อดิฉันไม่ได้. ชีวิตก็จะหาไม่. สามีนั้นเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ภรรยานั้น จึงคิดว่า เราจักได้มะม่วงที่ไหนหนอ. ก็สมัยนั้นแล ในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี ได้มีต้นมะม่วงมีผลเป็นประจํา บุรุษจัณฑาลนั้น จึงคิดว่า เราจักนําผลมะม่วงสุกจากพระราชอุทยานนั้น มาระงับความแพ้ท้องของภรรยานี้ ในตอนกลางคืนจึงไปยังพระราชอุทยาน ขึ้นต้นมะม่วงแอบซ่อนตัวอยู่ เที่ยวมองดูผลมะม่วงกิ่งนั้นกิ่งนี้อยู่. เมื่อบุรุษจัณฑาลนั้นกระทําอยู่อย่างนี้แหละราตรีก็รุ่งสว่าง. เขาคิดว่า เราจักลงไปในบัดนี้ คนเผาพระราชอุทยานเห็นเราเข้าก็จักจับเราว่าเป็นโจร เราจักไปในตอนกลางคืน ที่นั้นเขาจึงปีนขึ้นยังค่าคบแห่งหนึ่งแอบซ่อนอยู่. ครั้งนั้น พระเจ้าพาราณสี ทรงเรียนมนต์ในสํานักของปุโรหิต. พระองค์จึงเสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยานประทับนั่งบนอาสนะสูง ณ ที่โคนต้นมะม่วงให้อาจารย์นั่งอาสนะต่ํา แล้วทรงเรียนมนต์. พระโพธิสัตว์นั่งอยู่ข้างบนคิดว่า พระราชานี้ประทับนั่งอยู่บนอาสนะสูงเรียนมนต์ ไม่ทรงเคารพ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 433

ในธรรม แม้พราหมณ์ผู้นั่งอาสนะต่ําสอนมนต์ ก็ไม่เคารพในธรรมแม้เราผู้ไม่คํานึงถึงชีวิตของเรา บอกภรรยาว่า จะลักมะม่วง เพราะเหตุแห่งมาตุคามก็เป็นผู้ไม่เคารพในธรรม พระโพธิสัตว์นั้นเมื่อจะลงจากต้นมะม่วง จึงจับกิ่งห้อยอยู่กิ่งหนึ่งลงยืน เฉพาะอยู่ในระหว่างพระราชาและปุโรหิตแม้ทั้งสองนั้น แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชข้าพระบาทเป็นคนฉิบหายแล้ว พระองค์ทรงเป็นผู้เขลา ปุโรหิตเป็นคนตายแล้ว ถูกพระราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร จึงกล่าวคาถาที่๑ ว่า :-

กิจทั้งหมดที่เราทั้งหลายทําแล้วนี้ เป็นกิจลามก คนทั้งสองไม่เห็นธรรม คนทั้งสองเคลื่อนจากปกติเดิม คือ อาจารย์นั่งบนอาสนะต่ําบอกมนต์ และศิษย์นั่งบนอาสนะสูงเรียนมนต์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพํ อิทฺจ มริกตํ ความว่ากิจทั้งหมดที่เราทั้งหลาย คือที่ชนทั้ง ๓ กระทําเป็นกิจลามก คือไร้มารยาท ไม่เป็นธรรม. ก็พระโพธิสัตว์ติเตียนความที่ตนเป็นโจรและความที่พระราชา และปุโรหิตเหล่านั้นไม่เคารพในมนต์ทั้งหลายแล้ว เมื่อจะติเตียนเฉพาะพระราชาและปุโรหิตทั้งสองนอกนี้ จึงกล่าวคํามีอาทิว่า คนทั้งสองไม่เห็นธรรม ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า อุโภ ความว่า ชนแม้ทั้งสองย่อมไม่เห็นโบราณกธรรมอันควร

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 434

แก่การทําความเคารพ และเป็นผู้คลาดเคลื่อนจากปกติในธรรมนั้น.เพราะว่าธรรม ชื่อว่าปกติ เพราะเกิดขึ้นก่อน. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ธรรมแลปรากฏขึ้นก่อน อธรรมเกิดขึ้นในโลก ต่อภายหลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย จายํ ความว่า ปุโรหิตนี้นั่งบนอาสนะต่ําให้ท่องมนต์ และพระราชานี้นั่งบนอาสนะสูงได้เรียนเอา.

พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่๒ ว่า :-

เราบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันสะอาดปรุงด้วยเนื้อ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ส้องเสพธรรมนั้น อันฤๅษีทั้งหลายซ่องเสพแล้ว.

คําอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า ท่านผู้เจริญก็เราบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันเป็นของแห่งพระราชานี้ อันขาวสะอาด อันปรุงเจือด้วยเนื้อราดรสด้วยชนิดแห่งเนื้อมีประการต่างๆ เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้ผูกพันเยื่อใยในท้อง จึงไม่ได้ส้องเสพธรรมนี้ ที่พวกฤๅษีทั้งหลายผู้แสวงหาคุณเสพแล้ว.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ท่านจงหลีกไปเสียเถิด โลกยังกว้าง-

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 435

ใหญ่ แม้คนอื่นๆ ก็ยังหุงต้มกิน เพราะเหตุนั้น อธรรมที่ท่านประพฤติมา แล้วอย่าได้ทําลายท่านเสียเลย เหมือนก้อนหินต่อยหม้อให้แตกฉะนั้น.

ดูก่อนพราหมณ์ เราติเตียนการได้ยศการได้ทรัพย์ และการเลี้ยงชีวิตด้วยการทําตนให้ตกต่ํา หรือด้วยการประพฤติไม่เป็นธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริพฺพช ความว่า ท่านจงจากที่นี้ไปที่อื่น. บทว่า มหาความว่า ชื่อว่าโลกนี้เป็นของใหญ่. บทว่าปจนฺตฺเปิ ความว่า คนแม้อื่นๆ ในชมพูทวีปนี้ก็หุงต้ม มิใช่พระราชาพระองค์เดียวนี้เท่านั้น. บทว่า ตสฺมา ภุมฺภมิว ความว่าเหมือนหินต่อยหม้อฉะนั้น. ท่านกล่าวคําอธิบายนี้ไว้ว่า ท่านไม่ไปที่อื่น ยังประพฤติอธรรมอยู่ในที่นี้ อธรรมนั้นอันท่านประพฤติแล้วอย่างนั้น อย่าได้ทําลายท่านเลย เหมือนก้อนหินต่อยหม้อแตกฉะนั้น.คาถาที่ว่า ธิรตฺถุ เป็นต้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :- ดูก่อนพราหมณ์ เราติเตียนคือครหานินทา การได้ยศและทรัพย์ของท่านอย่างนี้ เพราะเหตุไร? เพราะลาภที่ท่านได้แล้วนี้ และความถึงพร้อมด้วยเหตุอันเป็นเครื่องให้ตกไปในอบายทั้งหลายต่อไป ชื่อว่าเป็นการ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 436

ประพฤติเลี้ยงชีพโดยไม่ชอบธรรม จะประโยชน์อะไรด้วยการเลี้ยงชีพซึ่งสําเร็จด้วยการทําตนให้ตกต่ําต่อไปนี้ หรือด้วยการประพฤติอันไม่ชอบธรรมนี้ ด้วยเหตุนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้กะท่าน.

ลําดับนั้น พระราชาทรงเลื่อมใสธรรมกถาของพระโพธิสัตว์นั้น ตรัสถามว่า บุรุษผู้เจริญ เธอเป็นชาติอะไร? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าพระองค์เป็นคนจัณฑาล พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่าท่านผู้เจริญ ถ้าเธอจักได้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยชาติไซร้ เราจักได้ให้ราชสมบัติแก่เธอ ก็ตั้งแต่นี้ไป เราจักเป็นพระราชาตอนกลางวันเธอจงเป็นพระราชาตอนกลางคืน แล้วประทานพวงดอกไม้ เครื่องประดับพระศอของพระองค์ให้ประดับคอของพระโพธิสัตว์นั้น แล้วได้ทรงกระทําพระโพธิสัตว์นั้น ให้เป็นผู้รักษาพระนคร. นี้เป็นธรรมเนียมของการประดับพวงดอกไม้แดงที่คอของตนผู้รักษาพระนคร. จําเดิมแต่นั้นมา พระราชาทรงดํารงอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์นั้นทรงทําความเคารพในฐานอาจารย์ ประทับนั่งบนอาสนะต่ําแล้วทรงเรียนมนต์

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ ส่วนบุตรคนจัณฑาล คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาฉวกชาดกที่ ๙