๑๐. สัยหชาดก ว่าด้วยการแสวงหาที่ประเสริฐ
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 437
๑๐. สัยหชาดก
ว่าด้วยการแสวงหาที่ประเสริฐ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 437
๑๐. สัยหชาดก
ว่าด้วยการแสวงหาที่ประเสริฐ
[๕๓๘] บัณฑิตไม่พึงปรารถนาพื้นแผ่นดิน มีสัณฐานดุจกุณฑลท่ามกลางสาคร มีมหา-สมุทรล้อมอยู่โดยรอบ พร้อมด้วยการนินทาดูก่อนสัยหะอํามาตย์ ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด.
[๕๓๙] ดูก่อนพราหมณ์ เราติเตียนการได้ยศการได้ทรัพย์ และความประพฤติเลี้ยงชีวิตด้วยการทําตนให้ตกต่ําหรือด้วยการประพฤติไม่เป็นธรรม.
[๕๔๐] ถึงแม้เราบวชเป็นบรรพชิต ถือภาชนะเที่ยวภิกขาจาร ความประพฤติเลี้ยงชีวิตนั้นแหละประเสริฐกว่า การแสวงหาโดยไม่เป็นธรรมจะประเสริฐอะไร.
[๕๔๑] ถึงแม้เราบวชเป็นบรรพชิต ถือภาชนะเที่ยวภิกขาจาร ไม่เบียดเบียนผู้อื่นในโลกนั้นประเสริฐกว่าราชสมบัติเสียอีก.
จบ สัยหชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 438
อรรถกถาสัยหชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันจะสึก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่าสสมุทฺทปริสาสํ ดังนี้
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถี เห็นหญิงตกแต่งประดับประดามีรูปร่างงดงามคนหนึ่ง. เป็นผู้กระสันอยากสึก ไม่ยินดีในพระศาสนา ลําดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย จึงพากันแสดงภิกษุนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ภิกษุนั้นถูกพระศาสดาตรัสถามว่าดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้กระสันอยากสึกจริงหรือ. จึงกราบทูลว่าจริง พระเจ้าข้า. เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ใครทําให้เธอกระสันอยากสึกจึงกราบทูลเนื้อความนั้น. พระศาสดาตรัสว่า เรอบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนําออกจากทุกข์เห็นปานนี้ เพราะเหตุไรจึงกระสันอยากสึกบัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อน แม้จะได้ตําแหน่งปุโรหิต ก็ยังปฏิเสธตําแหน่งนั้นแล้วไปบวช ครั้นตรัสแล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในท้องนางพราหมณีของปุโรหิตคลอดในวันเดียวกันกับพระโอรสของพระราชา. พระราชาตรัสถามอํามาตย์ทั้งหลายว่า ใครๆ ผู้เกิดในวันเดียวกันกับโอรสของเรา มีอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 439
หรือหนอ? อํามาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช มีพระเจ้าข้าคือบุตรของปุโรหิต. พระราชาจึงทรงสั่งเอาบุตรของปุโรหิตนั้นมามอบให้แม่นมทั้งหลาย ให้ประคบประหงมร่วมกันกับพระราชโอรส. เครื่องประดับและเครื่องดื่ม เครื่องบริโภคของกุมารแม้ทั้งสอง ได้เป็นเช่นเดียวกันทีเดียว. พระราชกุมารและกุมารเหล่านั้นเจริญวัยแล้วไปเมืองตักกศิลาเรียนศิลปะทั้งปวงร่วมกันแล้วกลับมา. พระราชาได้พระราชทานตําแหน่งอุปราชแก่พระโอรส. พระโพธิสัตว์ได้มียศยิ่งใหญ่ จําเดิมแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์กับ พระราชโอรสก็กินร่วมกัน ดื่มร่วมกันนอนร่วมกัน ความวิสาสะคุ้นเคยกันและกันได้มั่นคงแน่นแฟ้น ในกาลต่อมา เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พระราชโอรสได้ดํารงอยู่ในราชสมบัติ ทรงเสวยสมบัติใหญ่. พระโพธิสัตว์คิดว่า สหายของเราได้ครองราชย์ ก็ในขณะที่ทรงกําหนดตําแหน่งนั่นแหละ คงจักพระราชทานตําแหน่งปุโรหิตแก่เรา เราจะประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือนเราจักบวชพอกพูนความวิเวก. พระโพธิสัตว์นั้นไหว้บิดามารดาให้อนุญาตการบรรพชาแล้วสละสมบัติใหญ่ ผู้เดียวเท่านั้น ออกไปหิมวันตประเทศ สร้างบรรณศาลาอยู่ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ บวชเป็นฤๅษี ทําอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดแล้วเล่นฌานอยู่. ในกาลนั้นพระราชาหวนระลึกถึงพระโพธิสัตว์นั้นจึงถามว่า หายของเราไม่ปรากฏเขาไปไหนเสีย. อํามาตย์ทั้งหลายกราบทูลถึงความที่พระโพธิ-สัตว์นั้นบวชแล้วกราบทูลว่า ได้ยินว่า สหายของพระองค์อยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 440
ไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์. พระราชาตรัสถานตําแหน่งแห่งที่อยู่ของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว ตรัสกะสัยหอํามาตย์ ท่านจงมา จงพาสหายของเรามา เราจักให้ตําแหน่งปุโรหิตแก่สหายของเรานั้น. สัยหอํามาตย์นั้นรับพระดํารัสแล้วออกจากนครพาราณสี ถึงปัจจันตคามโดยลําดับแล้วตั้งค่าย ณ บ้านปัจจันตคามนั้น แล้วไปยังสถานที่อยู่ของพระโพธิสัตว์พร้อมกับพวกพรานป่า เห็นพระโพธิสัตว์นั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา เหมือนรูปทองจึงไหว้แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งกระทําปฏิสันถารแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระราชามีพระประสงค์จะพระราชทานตําแหน่งอุปราชแก่ท่าน ทรงหวังให้ท่านกลับมา. พระโพธิสัตว์กล่าวว่าตําแหน่งปุโรหิตจงพักไว้ก่อน เราแม้จะได้ราชสมบัติในแคว้นกาสีโกศล และชมพูทวีปทั้งสิ้น หรือเฉพาะสิริแห่งพระเจ้าจักรพรรดิก็ตามก็จักไม่ปรารถนา ก็บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่กลับ ถือเอากิเลสทั้งหลายซึ่งละแล้วครั้งเดียวอีก เพราะสิ่งที่ละทิ้งไปแล้วครั้งเดียว เป็นเช่นกับก้อนเขฬะที่ถ่มไปแล้ว จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
บัณฑิตไม่พึงปรารถนาพื้นแผ่นดิน มีสัณฐานดุจกุณฑลท่ามกลางสาคร มีมหา-สมุทรล้อมอยู่โดยรอบ พร้อมด้วยการนินทาดูก่อนสัยหะอํามาตย์ ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด.
ดูก่อนพราหมณ์ เราติเตียนการได้ยศการได้ทรัพย์ และการเลี้ยงชีพด้วยการทําตนให้ตกต่ํา หรือด้วยการประพฤติไม่เป็นธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 441
ถึงแม้เราบวชเป็นบรรพชิตถือบาตรเที่ยวภิกขาจาร ความเลี้ยงชีวิตนั้นนั่นแหละประ-เสริฐกว่า การแสวงหาโดยไม่เป็นธรรมจะประเสริฐกว่าอะไร
ถึงแม้เราบวชเป็นบรรพชิตถือบาตรเที่ยวภิกขาจาร ไม่เบียดเบียนผู้อื่นในโลกนั้นประเสริฐกว่าราชสมบัติเสียอีก.
บรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสมุทฺทปริสาสํ ความว่า บริวารท่านเรียกว่า ปริสาสะ. แม้กับบริวารกล่าวคือสมุทร พร้อมด้วยภูเขาจักรวาล ซึ่งตั้งล้อมสมุทร. บทว่า สาครกุณฺฑลํ ความว่า เป็นดังกุณฑลคือต่างหูของสาครนั้น เพราะตั้งอยู่โดยเป็นเกาะในท่ามกลางสาคร บทว่า นินฺทาย ได้แก่ ด้วยการนินทาดังนี้ว่า ละทิ้งการบวชอันสมบูรณ์ด้วยสุขในฌานแล้วถือเอาอิสริยยศ. พระโพธิสัตว์เรียกอํามาตย์นั้นโดยชื่อว่า สัยหะ บทว่า วิชานาหิ แปลว่า ท่านจงรู้ธรรม บทว่า ยา วุตฺติ วินิปาเตน ความว่า การได้ยศ การได้ทรัพย์ และการเลี้ยงชีพอันใดที่เราได้ด้วยความมักใหญ่ใฝ่สูง ย่อมมีได้ด้วยการทําตนให้ตกต่ํากล่าวคือการยังตนให้ตกไปจากความสุขในฌาน หรือด้วยการไปจากที่นี้แล้ว ประพฤติไม่เป็นธรรมแห่งเราผู้มัวเมาด้วยความมัวเมาในยศ เราติเตียนความเลี้ยงชีพนั้น. บทว่าปตฺตมาทาย ได้แก่ ถือภาชนะเพื่อภิกษา. บทว่า อนาคาโร ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 442
เราเป็นผู้เว้นจากเรือน เที่ยวไปในตระกูลของคนอื่น. บทว่า สาเอวชีวิกา ความว่า ความเป็นอยู่ของเรานั้นนั่นแหละ ประเสริฐกว่าคือเลิศกว่า. บทว่า ยา จาธมฺเมน ได้แก่ และการแสวงหาโดยไม่เป็นธรรมอันใด. ท่านกล่าวอธิบายว่า ความเป็นอยู่นี้นั่นแลดีกว่าการแสวงหาโดยไม่เป็นธรรมนั้น. บทว่า อหึสยํ แปลว่า ไม่เบียดเบียนบทว่า อปิ รชฺเชน ความว่า เราถือกระเบื้องสําเร็จการเลี้ยงชีพโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่นอย่างนี้ ประเสริฐคือสูงสุดแม้กว่าความเป็นพระราชา.
พระโพธิสัตว์นั้นห้ามปราม สัยหะอํามาตย์แม้ผู้จะอ้อนวอนอยู่บ่อยๆ ด้วยประการฉะนี้. ฝ่ายสัยหะอํามาตย์ครั้นไม่ได้ความตกลงปลงใจของพระโพธิสัตว์ จึงไหว้พระโพธิสัตว์แล้วไปกราบทูลแก่พระราชาถึงความที่พระโพธิสัตว์นั้นไม่กลับมา.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลายแล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึก ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ชนเป็นอันมากแม้อื่นอีกได้กระทําให้แจ้งโสดาปัตติผลเป็นต้น. พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ สัยหะอํามาตย์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร. ส่วนบุตรของปุโรหิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสัยหชาดกที่ ๑๐