พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. กัสสปมันทิยชาดก ว่าด้วยรู้ตัวว่าผิดแล้วสารภาพผิด

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35762
อ่าน  447

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 450

๒. กัสสปมันทิยชาดก

ว่าด้วยรู้ตัวว่าผิดแล้วสารภาพผิด


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 450

๒. กัสสปมันทิยชาดก

ว่าด้วยรู้ตัวว่าผิดแล้วสารภาพผิด

[๔๕๖] ข้าแต่ท่านกัสสปะ เด็กหนุ่มจะด่าแช่งหรือจะตีก็ตาม ด้วยขอความเป็นเด็กหนุ่มบัณฑิตผู้มีปัญญาย่อมอดทนความผิดที่พวกเด็กทําแล้วทั้งหมดนั้นได้.

[๕๔๗] ถ้าแม้สัตบุรุษทั้งหลายวิวาทกัน ก็กลับเชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ส่วนคนพาลทั้ง-หลายย่อมแตกกันเหมือนภาชนะดิน เขาย่อมไม่ถึงความสงบเวรกันได้เลย.

[๕๔๘] ผู้ใดรู้โทษที่ตนล่วงแล้ว ๑ ผู้ใดรู้แสดงโทษ ๑ คนทั้งสองนั้นย่อมพร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น ความสนิทสนมของเขาย่อมไม่เสื่อมคลาย.

[๕๔๙] ผู้ใด เมื่อคนเหล่าอื่นล่วงเกินกัน คนเองสามารถจะเชื่อมให้สนิทสนมได้ ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐยิ่ง ผู้นําภาระไป ผู้ทรงธุระไว้.

จบ กัสสปมันทิยชาดกที่ ๒

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 451

อรรถกถากัสสปมันทิยชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภภิกษุแก่รูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า อปิกสฺสป มนฺทิย ดังนี้.

ได้ยินว่า ในนครสาวัตถีมีกุลบุตรผู้หนึ่งเห็นโทษในกามทั้งหลาย จึงบวชในสํานักของพระศาสดา ขวนขวายในพระกรรมฐานไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต. จําเพียรกาลนานมา มารดาของภิกษุนั้นได้กระทํากาลกิริยาตาย. เมื่อมารดาล่วงลับไปแล้ว ภิกษุนั้นจึงให้บิดาและน้องชายบวช แล้วอยู่ในพระเชตวันวิหาร ในวัสสูปนายิกสมัยใกล้วันเข้าพรรษา ได้ฟังว่าปัจจัยคือจีวรหาได้ง่าย จึงไปยังอาวาสประจําหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ทั้ง ๓ รูปจําพรรษาอยู่ในอาวาสประจําหมู่บ้านนั้น ออกพรรษาแล้วจึงกลับมายังพระเชตวันวิหารตามเดิม. ภิกษุหนุ่มจึงสั่งสามเณรน้องชาย ณ ที่ใกล้พระเชตวันว่า สามเณร เธอจงให้พระเถระแก่พักแล้วค่อยนํามา เราจะล่วงหน้าไปจัดแจงบริเวณก่อนแล้วก็เข้าไปยังพระเชตวัน. พระเถระแก่ค่อยๆ เดินมา. สามเณรทําราวกะว่าเอาศีรษะรุนอยู่บ่อยๆ นําท่านไปโดยพลการว่า ท่านผู้-เจริญ จงเดินๆ ไปเถิด. พระเถระกล่าวว่า เธอนําฉันมาเป็นแน่จึงหวนกลับไปใหม่ แล้วเดินมาตั้งแต่ปลายทาง. เมื่อพระเถระกับสามเณรทําการทะเลาะกันอยู่อย่างนี้นั่นแหละ พระอาทิตย์ก็อัสดงคตความมืดมนอนธการก็เกิดขึ้น. ฝ่ายภิกษุหนุ่มนอกนี้ก็กวาดบริเวณตั้ง-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 452

น้ำไว้ เมื่อไม่เห็นการมาของพระเถระกับสามเณรเหล่านั้น จึงถือคบเพลิงไปคอยรับ ได้เห็นพระเถระและสามเณรกําลังมาอยู่ จึงถามว่าทําไมจึงชักช้าอยู่? พระเถระแก่จึงบอกเหตุนั้น ภิกษุหนุ่มนั้นให้พระเถระและสามเณรนั้นพักแล้วค่อยๆ พามา. วันนั้น ไม่ได้โอกาสการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า. ครั้นในวันที่สองภิกษุหนุ่มนั้นมายังที่อุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง พระศาสดาจึงตรัสถามว่าเธอมาเมื่อไร? ภิกษุหนุ่มนั้นกราบทูลว่า มาเมื่อวาน พระเจ้าข้า.พระศาสดาตรัสว่า เธอมาเมื่อวาน แต่มากกระทําพุทธอุปัฏฐากวันนี้.ภิกษุหนุ่มนั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แล้วกราบทูลเหตุนั้น. พระศาสดาทรงติเตียนพระแก่แล้วตรัสว่า ภิกษุแก่รูปนี้กระทํากรรมเห็นปานนี้ ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้กระทําแล้ว แต่บัดนี้ พระแก่นั้นทําเธอให้ลําบาก แต่ในกาลก่อนได้กระทําบัณฑิตให้ลําบาก อันภิกษุนั้นทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พละโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในนิคมกาสี เมื่อพระโพธิสัตว์นั้น เจริญวัยแล้ว มารดาได้กระทํากาลกิริยาตาย. พระโพธิสัตว์นั้นกระทําฌาปนกิจสรีระของมารดาแล้ว พอล่วงไปได้กึ่งเดือน ได้ให้ทรัพย์ที่มีอยู่ในเรือนให้เป็นทาน แล้วพาบิดากับน้องชายไป ถือเอาผ้าเปลือกไม้ที่เทวดาให้ แล้วบวชเป็นฤาษีอยู่ในหิมวันต-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 453

ประเทศ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเหง้ามันและผลาผลไม้ โดยการเที่ยวแสวงหาอยู่ในไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์. ก็ในหิมวันตประเทศในฤดู-ฝน เมื่อฝนตกไม่ขาดเม็ด ไม่อาจขุดเหง้ามัน ทั้งผลาผลไม้และใบผักก็ล่วงหล่นโดยมาก ดาบสทั้งหลายพากันลงจากหิมวันตประเทศไปอยู่ในถิ่นมนุษย์. แม้ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ก็พาบิดาและน้องชายไปอยู่ในถิ่นมนุษย์ เมื่อหิมวันตประเทศผลิดอกออกกผลอีก จึงพาบิดาและน้องชายทั้งสองนั้น มายังอาศรมบทของตนในหิมวันตประเทศ ณ ที่ไม่ไกลอาศรม เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายค่อยๆ มาเถิด ข้าพเจ้าจักล่วงหน้าไปจัดแจงอาศรมบทก่อน แล้วก็ละดาบสทั้งสองนั้นไป. ดาบสน้อยค่อยๆ ไปกับบิดา ราวกะจะเอาศีรษะรุนท่านที่แถวๆ สะเอวเร่งพาท่านไป โดยพูดว่า เดินเข้า เดินเข้า. ดาบสแก่กล่าวว่า เจ้าพาเรามาตามความชอบใจของตน จึงหวนกลับไปแล้วเดินตั้งแต่ปลายมาใหม่. เมื่อดาบสพ่อลูกเหล่านั้นทําการทะเลาะกันและกันอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ เวลาได้มืดลง. พระโพธิสัตว์ปัดกวาดบรรณศาลาตั้งน้ำใช้และฉัน แล้วถือคบเพลิงเดินสวนทางมาเห็นดาบสพ่อลูกนั้น แล้วจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายมัวทําอะไรกันอยู่ตลอดเวลามีประมาณเท่านี้. ดาบสน้อยจึงบอกเหตุที่บิดาทํา. พระโพธิ-สัตว์นําดาบสแม้ทั้งสองนั้นไปช้าๆ ให้เก็บงําบริขาร ให้บิดาอาบน้ำทําการล้างเท้า ทาเท้าและนวดหลัง ตั้งกระเบื้องถ่านไฟ แล้วเข้าไปนั่งใกล้บิดาผู้ระงับความอิดโรยแล้ว จึงกล่าวว่า ข้าแต่บิดา ธรรมดา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 454

เด็กหนุ่มทั้งหลาย เช่นกับภาชนะดิน ย่อมแตกได้โดยครู่เดียวเท่านั้นตั้งแต่เวลาที่แตกแล้วครั้งเดียว ย่อมไม่อาจต่อกันได้อีก เด็กหนุ่มเหล่านั้น ด่าอยู่ก็ดี บริภาษอยู่ก็ดี ผู้ใหญ่ควรจะอดทน เมื่อจะโอวาทบิดาจึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ข้าแต่ท่านกัสสปะ เด็กหนุ่มจะด่าแช่งหรือจะตีก็ตาม ด้วยความเป็นเด็กหนุ่ม บัณ-ฑิตผู้มีปัญญาย่อมอดทนความผิดที่พวกเด็กทําแล้วทั้งหมดนั้นได้.

ถ้าแม้สัตบุรุษทั้งหลายวิวาทกัน ก็กลับเชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ส่วนคนพาลทั้ง-หลายย่อมแตกกัน เหมือนภาชนะดิน เขาย่อมไม่ถึงความสงบเวรกันได้เลย.

ผู้ใดรู้โทษที่คนล่วงเกินแล้ว และรู้การแสดงโทษ คนทั้งสองนั้นย่อมพร้อม-เพรียงกันยิ่งขึ้น ความสนิทสนมของเขาย่อมไม่เสื่อมคลาย.

ผู้ใด เมื่อคนเหล่าอื่นล่วงเกินแล้ว ตนเองสามารถเชื่อมให้สนิทสนมได้ ผู้นั้นแล

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 455

ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐยิ่ง เป็นผู้นําภาระไปเป็นผู้ทรงธุระไว้.

พระโพธิสัตว์เรียกบิดาโดยชื่อว่า กัสสปะ ในกาลนั้น. บทว่ามนฺทิยา ได้แก่ ด้วยความเป็นคนหนุ่ม โดยความเป็นผู้มีปัญญาน้อย.บทว่า ยุวา สปติ หนฺติ วา ความว่า เด็กหนุ่มด่าก็ดี ประหารก็ดี. ด้วยบทว่า ธีโร นี้ ท่านเรียกบุคคลผู้ปราศจากบาปว่า ผู้มีความเพียร. บทว่าธีโร มีความว่า ผู้ประกอบด้วยปัญญา ดังนี้ก็มี.ส่วนบทว่า ปณฺฑิโต เป็นไวพจน์ของบทว่า ธีโร นี้เท่านั้น. แม้ด้วยบททั้งสอง ท่านแสดงว่า บัณฑิตผู้มีปัญญามาก ย่อมอดกลั้น คืออดทนความผิดที่พวกเด็กผู้อ่อนปัญญากระทําแล้วนั้นทั้งหมด. บทว่าสนฺธิยเร ความว่า ย่อมสนิทสนมกัน คือ เชื่อมกันได้ด้วยมิตรภาพอีก บทว่า พาลา ปตฺตาว ความว่า ส่วนคนพาลทั้งหลายย่อมแตกกันเลย เหมือนภาชนะดินแตกแล้วต่อกันไม่ได้ฉะนั้น. บทว่าน เต สมถนชฺฌคู ความว่า คนพาลเหล่านั้นทําการทะเลาะกันแม้มีประมาณน้อย ย่อมไม่ได้ คือไม่ประสบความสงบเวร. บทว่าเอเต ภิยฺโย ความว่า ชนทั้งสองนั้นแม้แตกกันแล้วย่อมสมานกันได้อีก บทว่า สนฺธิ ได้แก่ ความสนิทสนมโดยความเป็นมิตร.บทว่า เตสํ ความว่า ความสนิทสนมของตนทั้งสองนั้นเท่านั้น ย่อมไม่เสื่อมคลาย. บทว่า โย จาธิปนฺนํ ความว่า ก็ผู้ใดย่อมรู้โทษผิดที่ทําไว้ในคนอื่น ซึ่งตนต้องแล้วคือล่วงเกินแล้ว. บทว่า เทสน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 456

ความว่า และผู้ใดย่อมรู้ที่จะรับการแสดงโทษที่ผู้นั้นแม้รู้โทษตนจึงแสดงแล้ว. บทว่า โย ปเรสาธิปนฺนานํ ความว่า ผู้ใดเมื่อคนอื่นล่วงเกิน คือถูกโทษครอบงํา กระทําความผิด. บทว่า สยํ สนฺธาตุ-มรหติ ความว่า เมื่อคนเหล่านั้นแม้ไม่ขอขมาโทษ ตนเองสามารถทําความสนิทสนม คือเชื่อมมิตรภาพอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีหน้างามมาเถิดจงเรียนอุเทส จงฟังอรรถกถา จงหมั่นประกอบภาวนา เพราะเหตุไรท่านจึงเหินห่าง ผู้นี้คือผู้เห็นปานนี้ เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา เป็นผู้ประเสริฐยิ่ง ย่อมถึงการนับว่า ผู้นําภาระ และว่า ผู้ทรงธุระไว้เพราะนําภาระ และธุระของมิตรไป.

พระโพธิสัตว์ได้ให้โอวาทแก่ดาบสบิดาอย่างนี้. จําเดิมแต่นั้นดาบสผู้บิดาแม้นั้นก็ได้เป็นผู้ฝึกตนทรมานตนได้ดีแล้ว.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า. ดาบสผู้บิดาในครั้งนั้น ได้เป็นพระเถระแก่ในบัดนี้ดาบสน้อยในครั้งนั้น ได้เป็นสามเณรในบัดนี้ ส่วนพระโพธิสัตว์ผู้ให้โอวาทแก่ดาบสผู้บิดาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากัสสปมันทิยชาดกที่ ๒