๗. มตโรทนชาดก ว่าด้วยร้องไห้ถึงคนตาย
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 490
๗. มตโรทนชาดก
ว่าด้วยร้องไห้ถึงคนตาย
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 490
๗. มตโรทนชาดก
ว่าด้วยร้องไห้ถึงคนตาย
[๕๖๖] ท่านทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงแต่คนที่ตายแล้วๆ ทําไมจึงไม่ร้องไห้ถึงคนที่จักตายบ้างเล่า สัตว์ทุกจําพวกผู้ดํารงสรีระไว้ ย่อมละทิ้งชีวิตไปโดยลําดับ.
[๕๖๗] เทวดา มนุษย์ สัตว์จตุบาท หมู่ปักษีชาติ และพวกงู ไม่มีอิสระในสรีระร่างกายนี้ถึงจะอภิรมย์อยู่ในร่างกาย นั้นก็ต้องละทิ้งชีวิตไปทั้งนั้น
[๕๖๘] สุขและทุกข์ที่เพ่งเล็งกันอยู่ในหมู่มนุษย์เป็นของแปรผัน ไม่มั่นคงอยู่อย่างนี้ ความคร่ําครวญ ความร่ําไห้ ไม่เป็นประโยชน์เลยเพราะเหตุไร กองโศกจึงท่วมทับท่านได้.
[๕๖๙] พวกนักเลงและพวกคอเหล้า ผู้ไม่ทําความเจริญ เป็นพาลห้าวหาญ ไม่มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสําคัญบัณฑิตว่าเป็นพาลไป.
จบ มตโรทนชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 491
อรรถกถามตโรทนชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประโยคทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภกฏมพีในนครสาวัตถีคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า มตมตเมว โรทถ ดังนี้.
ได้ยินว่า พี่ชายของกฎมพีนั้น ได้ทํากาลกิริยาตายไป เขาถูกความโศกครอบงํา เพราะกาลกิริยาของกฎมพีนั้น ไม่อาบน้ำ ไม่บริโภคอาหาร ไม่ลูบไล้ ไปป่าช้าแต่เช้าตรู่ ถึงความเศร้าโศกร้องไห้อยู่. พระศาสดาทรงตรวจดูโลกในเวลาปัจจุสมัย ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของพี่ชายแห่งกฎมพีนั้น จึงทรงพระดําริว่า เราควรนําอดีตเหตุมาระงับความเศร้าโศก แล้วให้โสดาปัตติผลแก่พี่ชายกฎมพีนี้ เว้นเราเสียใครๆ อื่นผู้สามารถ ย่อมไม่มี เราเป็นที่พึ่งอาศัยของพี่ชายแห่งกฏมพีนี้ จึงจะควร. ในวันรุ่งขึ้นเสด็จกลับจากบิณบาตภายหลังภัตแล้ว ทรงพาปัจฉาสมณะไปยังประตูเรือนของพี่ชายกฎมพีนั้น ผู้อันกฎมพีพี่ชายได้ฟังว่า พระศาสดาเสด็จมา จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงปูลาดอาสนะแล้วนิมนต์ให้เสด็จเข้ามา พระองค์จึงเสด็จไปแล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้. ฝ่ายกฎมพีก็มาถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ลําดับนั้น พระศาสดาจึงตรัสกะกุฎมพีนั้นว่า ดูก่อนกฎมพี ท่านคิดเสียใจอะไรหรือ. กฎมพีกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดเสียใจตั้งแต่เวลาที่พี่ชายของข้าพระองค์ตายไป. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 492
ผู้มีอายุ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งที่ควรจะแตกทําลาย ก็แตกทําลายไป ไม่ควรคิดเสียใจในเรื่องนั้น แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อพี่ชายตายไป ก็ไม่ได้คิดเสียใจว่า. สิ่งที่ควรจะแตกทําลาย ได้แตกทําลายไปแล้ว อันกฏมพีนั้น ทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสีพระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ.เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาก็ได้ทํากาลกิริยาตายไป.เมื่อมารดาบิดานั้นทํากาลกิริยาตายไปแล้ว พี่ชายของพระโพธิสัตว์จึงจัดแจงทรัพย์สมบัติแทน. พระโพธิสัตว์อาศัยพี่ชายนั้นเป็นอยู่ ในกาลต่อมา พี่ชายนั้นได้ทํากาลกิริยาตายไปด้วยความป่วยไข้เห็นปานนั้น. ญาติมิตร และอํามาตย์ทั้งหลายพากันประคองแขนคร่ําครวญร้องไห้ แม้คนเดียวก็ไม่อาจดํารงอยู่โดยภาวะของตนได้ ส่วนพระโพธิสัตว์ไม่คร่ําครวญ ไม่ร้องไห้ คนทั้งหลายพากันติเตียนพระโพธิ-สัตว์ว่า ดูเอาเถิดท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อพี่ชายของผู้นี้ตายไปแล้วอาการแม้สักว่าหน้าสยิ้วก็ไม่มี เขามีใจแข็งกระด้างมาก เห็นจะอยากให้พี่ชายตายด้วยคิดว่า เราเท่านั้นจักได้ใช้สอยทรัพย์สมบัติ ทั้งสองส่วน. ฝ่ายญาติทั้งหลายก็ติเตียนพระโพธิสัตว์นั้นเหมือนว่า เมื่อพี่ชายตายเจ้าไม่ร้องไห้. พระโพธิสัตว์นั้นได้ฟังคําของญาติเหล่านั้นจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายไม่รู้จักโลกธรรม ๘ ประการ เพราะความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 493
ที่ตนเป็นคนบอดเขลา จึงพากันร้องไห้ว่า พี่ชายของเราตาย แม้เราเองก็จักตาย เพราะเหตุไรท่านทั้งหลายจึงไม่ร้องไห้ถึงเราบ้างว่า ผู้นี้ก็จักตาย แม้ท่านทั้งหลายก็จักตาย เพราะเหตุไรจึงไม่ร้องให้ถึงตนเองบ้างว่า แม้เราทั้งหลายก็จักตายๆ สังขารทั้งปวงย่อมเป็นของไม่เที่ยง แม้สังขารอย่างหนึ่งซึ่งสามารถดํารงอยู่ตามสภาวะนั้นนั่นแหละย่อมไม่มี ท่านทั้งหลายเป็นผู้บอดเขลา ไม่รู้จักโลกธรรม ๘ ประการจึงพากันร้องไห้ เพราะความไม่รู้ เราจักร้องไห้เพื่ออะไรกัน แล้วกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
ท่านทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงแต่คนที่คายแล้วๆ ทําไมจึงไม่ร้องไห้ถึงคนที่จักตายบ้างเล่า สัตว์ทุกจําพวกผู้ครองสรีระไว้ ย่อมละทิ้งชีวิตไปโดยลําดับ.
เทวดา มนุษย์ สัตว์จตุบาท หมู่ปักษี-ชาติ และพวกงู ไม่มีอิสระในสรีระร่างกายนี้ถึงจะอภิรมย์อยู่ในร่างกายนั้น ก็ต้องละทิ้งชีวิตไปทั้งนั้น.
สุขทุกข์ที่เพ่งเล็งกันอยู่ในหมู่มนุษย์เป็นของผันแปรไม่มั่นคงอยู่อย่างนี้ ความคร่ําครวญ ความร่ําไห้ ไม่เป็นประโยชน์เลยเพราะเหตุไร กองโศกจึงท่วมทับท่านได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 494
พวกนักเลง และพวกคอเหล้า ผู้ไม่ทําความเจริญ เป็นพาล ห้าวหาญ ไม่มีความขยันหมั่นเพียรไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสําคัญนักปราชญ์ว่าเป็นคนพาล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มตมตเมว แปลว่า ตายไปแล้วๆ เท่านั้น. บทว่าอนุปุพฺเพน ความว่า เมื่อประจวบคราวตายของตนๆ สัตว์ทั้งหลายย่อมละชีวิตไปโดยลําดับๆ คือสัตว์ทั้งปวงไม่ใช่พากันตายพร้อมกัน ถ้าจะตายพร้อมกันอย่างนั้น ความเป็นไปของโลกก็จะขาดศูนย์ไป. บทว่า โภคิโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยขนาดร่ายกายใหญ่โต. บทว่า รมมานา ความว่า สัตว์ทั้งหลายมีเทวดาเป็นต้นเหล่านี้แม้ทั้งหมดผู้บังเกิดในภพนั้นๆ ถึงจะชื่นชมคือไม่เดือดร้อนรําคาญในที่เกิดของตนๆ ก็ย่อมละทิ้งชีวิตไป. บทว่า เอวํ จลิตํ ความว่าสุขทุกข์ชื่อว่ายักย้ายไปไม่ดํารงอยู่ เพราะไม่มีความหยุดนิ่ง และความตั้งมั่นอยู่ในภพทั้ง ๓ อย่างนั้น. บทว่า กึ โว โสกคุณาภิกีรเรเพราะเหตุไร กองแห่งความโศกจึงครอบงํา คือท่วมทับท่านทั้งหลาย.บทว่า ธุตฺตา โสณฺฑา จ อกตา ความว่า นักเลงหญิง นักเลงสุรานักเลงการพนัน นักดื่ม นักกินเป็นต้น เป็นผู้ไม่ทําความเจริญทั้งขาดการศึกษา. บทว่า พาลา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเขลาคือ ผู้ไม่รู้. บทว่า สูรา อโยคิโน ความว่า ชื่อว่าผู้ห้าวหาญ เพราะไม่ใส่ใจโดยแยบคาย ชื่อว่าผู้ไม่มีความเพียร เพราะความเป็นผู้ไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 495
ประกอบความเพียร. บาลีว่า อโยธิโน ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ผู้ไม่สามารถรบกับกิเลสมาร. บทว่า ธีรํ มฺนฺติ พาโลติ เยธมฺมสฺส อโกวิทา ความว่า พวกนักเลงเป็นต้นเห็นปานนั้นเป็นผู้ไม่รู้โลกธรรม ๘ ประการ เมื่อทุกขธรรมแม้มีประมาณน้อยเกิดขึ้นแล้ว ก็เสียใจคร่ําครวญร้องไห้อยู่ เพราะไม่รู้โลกธรรม ๘ โดยถ่องแท้จึงสําคัญนักปราชญ์ คือบัณฑิตผู้เช่นกับเราผู้ไม่คร่ําครวญไม่ร้องไห้ในการตายของญาติเป็นต้นว่า ผู้นี้เป็นพาลไม่ร้องไห้.
พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงธรรมแก่ญาติเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้แล้ว ได้กระทําญาติแม้ทั้งหมดนั้นให้หายโศกแล้ว.พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะ กฎมพีดํารงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล. บัณฑิตผู้แสดงธรรมแก่มหาชนแล้วกระทําให้หายโศกเศร้าในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามตโรทนชาดกที่ ๗