การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต เป็นอุดมมงคล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 39
อรรถกถา อกิตติจริยาที่ ๑
อเสวนา จ พาลานัง ปณฺฑิตานญฺ จ เสวนา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมัง
การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต เป็นอุดมมงตล
ท่านท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้บุคคลไม่พึงเห็น ไม่พึงได้ยินคนพาล ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยดนพาล ไม่พึงกระทำและไม่พึงชอบใจการสนทนาปราศรัยด้วยคนพาล
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะอะไร ท่านจึงไม่ชอบคนพาล ขอจงบอกเหตุ เพราะเหตุไรพระคุณเจ้าจึงไม่ปรารถนาที่จะเห็นคนพาล
คนพาลย่อมแนะนำสี่งไม่ควรแนะนำ ย่อมขวนขวายในกิจอันไม่ใช่ธุระ คนพาลแนะนำให้ดีได้ยาก พูดดีหวังจะให้เขาเป็นคนประเสริฐกลับโกรธ คนพาลนั้นไม่รู้วินัย การไม่เห็นคนพาลได้เป็นความดี
ข้าแต่ท่านกัสสปะ พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก
ท่านท้าวสักกะจอมเทพ หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ บุคคลพึงเห็นนักปราชญ์ พึงฟังนักปราชญ์ พึงอยู่ร่วมกับนักปราชญ์ พึงกระทำและพึงชอบใจการสนทนาปราศรัยกับนักปราชญ์
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงชอบใจนักปราชญ์ ขอจงบอกเหตุนั้นเพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงปรารถนาจะเห็นนักปราชญ์ นักปราชญ์แนะนำสี่งที่ควรแนะนำ ไม่ขวนขวายในกิจที่ไม่ใช่ธุระ นักปราชญ์แนะนำได้ง่าย พูดหวังจะให้ดีก็ไม่โกรธ นักปราชญ์ย่อมรู้วินัย การสมาคมกับนักปราชญ์เป็นความดี
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 386
"การพบเห็นเหล่าอริยบุคคล เป็นการดี การอยู่ ร่วม (ด้วยเหล่าอริยบุคคล) ให้เกิดสุขทุกเมื่อ บุคคล พึงเป็นผู้มีสุข เป็นนิตย์แท้จริง เพราะไม่พบเห็น พวกคนพาล เพราะว่า คนเที่ยวสมาคมกับคนพาล ย่อมโศกเศร้าตลอดกาลยืดยาวนาน ความอยู่ร่วมกับ พวกคนพาลให้เกิดทุกข์เสมอไป เหมือนความอยู่ร่วม ด้วยศัตรู ปราชญ์มีความอยู่ร่วมกันเป็นสุข เหมือน สมาคมแห่งญาติ เพราะฉะนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงคบหาผู้ที่เป็นปราชญ์ และมี ปัญญาทั้งเป็นพหูสูต นำธุระไปเป็นปกติ มีวัตร เป็นอริยบุคคล เป็นสัตบุรุษมีปัญญาดี เช่นนั้น เหมือนพระจันทร์ซ่องเสพคลองแห่งนักขัตฤกษ์ ฉะนั้น"
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 197
"ชนพาลทั้งหลาย มีปัญญาทราม มีตนเป็นดัง ข้าศึก เที่ยวทำกรรมลามกซึ่งมีผลเผ็ดร้อนอยู่" บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จรนฺติ ความว่า เที่ยวกระทำอกุศลถ่ายเดียว ด้วยอิริยาบถ ๔ อยู่. ชนทั้งหลาย ผู้ไม่รู้ประโยชน์ในโลกนี้ และประโยชน์โนโลกหน้าข้อว่าพาล ในบทว่า พาลา นี้
[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170
ข้อความบางตอนจาก
อรรถกถา มงคลสูตร
บทว่า พาลาน ความว่า ชื่อว่า พาล เพราะเป็นอยู่ หายใจได้ อธิบายว่า เป็นอยู่โดยเพียงหายใจเข้าหายใจออก ไม่เป็นอยู่โดยความเป็นอยู่ด้วยปัญญา ซึ่งพาลเหล่านั้น.
บทว่า ปณฺฑิตาน ความว่า ชื่อว่าบัณฑิต เพราะดำเนินไป อธิบายว่า ดำเนินไปด้วยคติ คือความรู้ในประโยชน์ที่เป็นปัจจุบันและภายภาคหน้าซึ่งบัณฑิตเหล่านั้น.
บทว่า เสวนา ได้แก่ การคบ การเข้าใกล้ ความมีบัณฑิตนั้นเป็นสหาย มีบัณฑิตนั้น เป็นเพื่อน ความพรักพร้อมด้วยบัณฑิตนั้น.
[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 147
ข้อความบางตอนจาก
พาลบัณฑิตสูตร
[๔๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายลักษณะเครื่องหมาย เครื่องอ้าง ว่าเป็นพาลของคนพาลนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลในโลกนี้มักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคำพูดที่ชั่ว มักทำการทำที่ชั่ว ถ้าคนพาลจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ชั่ว พูดคำพูดที่ชั่ว และทำการทำที่ชั่ว บัณฑิตพวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่า ผู้นี้เป็นคนพาล เป็นอสัตบุรุษ เพราะคนพาลมักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคำพูดที่ชั่วและมักทำการทำที่ชั่ว ฉะนั้น พวกบัณฑิตจึงรู้ได้ว่า นี้เป็นคนพาล เป็นอสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแล ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ๓ อย่างในปัจจุบัน.
ขออนุโมทนาคุณpirmsombat
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
คบคนพาลเปรียบเหมือนใบไม้ห่อของเน่า
คบบัณฑิตเปรียบเหมือนใบไม้ห่อของหอม
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ