พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สุจจชชาดก ว่าด้วยภรรยาที่ดี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35770
อ่าน  502

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 512

๑๐. สุจจชชาดก

ว่าด้วยภรรยาที่ดี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 512

๑๐. สุจจชชาดก

ว่าด้วยภรรยาที่ดี

[๕๗๘] พระราชาเมื่อไม่พระราชทานภูเขาด้วยพระวาจา นับว่าไม่พระราชทานสิ่งที่ควรให้ง่ายหนอ เมื่อพระราชาพระราชทานอะไรบ้างก็ชื่อว่าได้พระราชทานภูเขาด้วยพระวาจา.

[๕๗๙] คนฉลาดทําสิ่งใดก็พูดถึงสิ่งนั้น ไม่ทําสิ่งใดก็ไม่พูดถึงสิ่งนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้จักคนที่ไม่ทํา ดีแต่พูด.

[๕๘๐] ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอนอบน้อมแด่ฝ่า-พระบาท พระองค์ทรงประสบความพินาศแต่พระทัยของพระองค์ยังทรงยินดีอยู่ในสัจจะ พระองค์ชื่อว่าดํารงมั่นอยู่ในสัจจะแลธรรม.

[๕๘๑] หญิงใด เมื่อสามีขัดสนก็ขัดสนด้วยเมื่อสามีมั่งคั่งก็พลอยเป็นผู้มั่งดังมีชื่อเสียงด้วย หญิงนั้นแหละ นับว่าเป็นยอดภรรยา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 513

ของเขา เมื่อสามีมีเงิน หญิงก็ย่อมมีเงินเหมือนกัน.

จบ สุจจชชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาสุจจชชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภกฎมพีคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า สุจชํ วตน จชิ ดังนี้.

ได้ยินว่า กฎมพีนั้นคิดว่า จักสะสางหนี้สินในหมู่บ้าน จึงไปในหมู่บ้านนั้นพร้อมกับภรรยา ครั้นชําระสะสางแล้วคิดว่า เราจักนําเกวียนมาขนไปภายหลัง จึงฝากไว้ในตระกูลหนึ่ง กลับไปยังเมืองสาวัตถีอีก ได้เห็นภูเขาลูกหนึ่งในระหว่างทาง. ครั้งนั้น ภรรยากล่าวกะกฎมพีนั้นว่า นาย ถ้าภูเขานี้จะพึงเป็นทองไซร้ ท่านจะให้อะไรฉันบ้าง. กฎมพีกล่าวว่า เธอเป็นใคร ฉันจักไม่ให้อะไรเลย. ฝ่ายภรรยานั้นได้น้อยใจว่า สามีของเรานี้มีหัวใจกระด้างนัก นัยว่า เมื่อภูเขาแม้เดินเป็นทองไปทั้งลูก ก็จักไม่ให้อะไรแก่เราเลย. สามีภรรยาทั้งสองนั้นเดินมาใกล้พระเชตวัน คิดว่าจักดื่มน้ำ จึงเข้าไปยังพระวิหารดื่มน้ำ. ในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่งนั้นแล แม้พระศาสดาก็ทรงได้เห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของคนทั้งสองนั้น เมื่อจะทรงรอคอยการมา จึงประทับนั่งในบริเวณพระคันธกุฎี ทรงเปล่งพระรัศมีมีพรรณ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 514

๖ ประการ. ฝ่ายสามีภรรยาทั้งสองนั้นดื่มน้ำแล้วก็มาถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่งอยู่. พระศาสดาทรงทําปฏิสันถารกับสามีภรรยาทั้งสองนั้น แล้วตรัสถามว่า ท่านทั้งสองไปไหนมา? สามีภรรยาทั้งสองกราบทูลว่า ไปสะสางหนี้สินในหมู่บ้านของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.พระศาสดาตรัสถามภรรยาของเขาว่า อุบาสิกา สามีของเธอหวังประโยชน์เกื้อกูลแห่งเธอ ทําอุปการะแก่เธออยู่หรือ? ภรรยากฎมพีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความสิเน่หาในสามีนี้ แต่สามีนี้ไม่มีความสิเน่หาในข้าพระองค์ วันนี้ เมื่อข้าพระองค์เห็นภูเขาแล้วพูดว่า ถ้าภูเขาลูกนี้จะเป็นทอง ท่านจะให้อะไรแก่ฉันบ้าง เขากลับพูดว่า เธอเป็นใคร ฉันจักไม่ให้อะไร สามีผู้นี้เป็นคนมีหัวใจกระด้างอย่างนี้ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า อุบาสิกา กฎมพีนี้ย่อมกล่าวอย่างนี้เอง แต่เมื่อใด เขานึกถึงคุณความดีนั้นของเธอเมื่อนั้น เขาจะให้ความเป็นใหญ่ทั้งหมด อันภรรยาของกฎมพีนั้นทูลอาราธนาว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกเถิด พระเจ้าข้า จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอํามาตย์ผู้สําเร็จราชกิจทั้งหมดของพระเจ้าพรหมทัตนั้น. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงเห็นพระราชโอรสมายังที่เฝ้า ทรงดําริว่า ลูกคนนี้คงจะทรยศประทุษร้ายในฝ่ายในของเราจึงรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสนั้นมาแล้วตรัสว่า ลูกรัก ตราบเท่าที่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 515

พ่อยังมีชีวิตอยู่ เจ้าอย่าได้อยู่ในพระนคร จงอยู่ในที่อื่น เมื่อพ่อล่วงลับไปแล้วจึงค่อยครองราชสมบัติ. พระโอรสรับพระบัญชาแล้วถวายบังคมพระราชบิดาพร้อมกับพระเชษฐชายา ออกจากพระนครไปยังชายแดน สร้างบรรณศาลาอยู่ในป่า ยังพระชนม์ชีพให้เป็นอยู่ด้วยมูลผลาผลในป่า. จําเนียรกาลนานมา พระราชาเสด็จสวรรคตอุปราชราชโอรสตรวจดูนักขัตฤกษ์ รู้ว่าพระราชาผู้พระบิดานั้นสวรรคตแล้ว จึงมายังพระนครพาราณสี ในระหว่างทางได้เห็นภูเขาลูกหนึ่ง. ลําดับนั้น พระชายาตรัสกะพระราชโอรสนั้นว่า ข้าแต่เทวะถ้าภูเขานี้จะเป็นทอง พระองค์จะประทานอะไรแก่หม่อมฉันบ้าง.พระราชโอรสตรัสว่า เธอเป็นใคร ฉันจักไม่ให้อะไรเลย. พระชายานั้นได้น้อยพระทัยว่า เราไม่อาจละทิ้ง เพราะความสิเน่หาในพระสวามีนี้ จึงเข้าไปสู่ป่าด้วย แต่พระสวามีนี้ตรัสอย่างนี้ เป็นผู้มีพระทัยกระด้างยิ่งนัก พระสวามีนี้ได้เป็นราชาแล้ว จักไม่กระทําความดีงามแก่เรา. พระราชโอรสนั้นเสด็จมาแล้วดํารงอยู่ในราชสมบัติ จึงทรงตั้งพระชายานั้นไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี ได้ประทานเพียงยศนี้เท่านั้นส่วนการนับถือยกย่องที่ยิ่งขึ้นไป ไม่มี แม้ความที่พระนางมีอยู่ ก็ไม่ทรงสนพระทัย. พระโพธิสัตว์คิดว่า พระเทวีนี้มีอุปการะแก่พระราชานี้มิได้คํานึงถึงความลําบากได้เสด็จอยู่ในป่าด้วย แต่พระราชานี้มิได้ทรงคํานึงถึงพระเทวีนี้เลย เที่ยวอภิรมย์อยู่กับนางสนมอื่นๆ เราจักกระทําโดยประการที่พระเทวีนี้ได้อิสริยยศทั้งปวง วันหนึ่ง จึงเข้าไป

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 516

เฝ้าพระเทวีนั้นแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาเทวี ข้าพระองค์ไม่ได้แม้แต่ก้อนข้าวจากสํานักของพระองค์ เพราะเหตุไร? พระองจึงทรงละเลยข้าพระองค์ มีน้ำพระทัยกระด้างยิ่งนัก. พระเทวีนั้นตรัสว่า ดู-ก่อนพ่อ ถ้าตัวเราได้ เราก็จะให้ท่านบ้าง แต่เราเมือไม่ได้ จักให้ได้อย่างไร จนบัดนี้ แม้พระราชาก็มิได้ประทานอะไรเลยแก่เรา ดูก่อนพ่อในระหว่างทาง เมื่อเรากล่าวว่า เมื่อภูเขานี้เกิดเป็นทอง พระองค์จักประทานอะไรหม่อมฉันบ้าง พระราชานั้นยังตรัสว่า เธอเป็นใครฉันจักไม่ให้อะไรเลย แม้ของที่บริจาคได้ง่ายๆ พระองค์ก็ไม่ทรงบริ-จาคเลย. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ก็พระองค์จักอาจตรัสเรื่องนี้ในสํานักของพระราชาหรือ? พระเทวีตรัสว่า ทําไมฉันจักไม่อาจเล่าพ่อ.พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ข้าพระองค์อยู่ในสํานักของพระราชา จักทูลถามพระองค์พึงตรัสขึ้นเถิด. พระเทวีรับว่า ได้ซิพ่อ.ในเวลาที่พระเทวีเสด็จไปยังที่เฝ้าพระราชา แล้วประทับยืนอยู่ พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ข้าพระองค์ไม่ได้แม้อะไรๆ จากสํานักของพระองค์เลยมิใช่หรือ? พระเทวีตรัสว่า พ่ออํามาตย์เราเมื่อได้จึงจะให้ท่าน เราเองก็ไม่ได้อะไรเลย บัดนี้ แม้พระราชาก็จักประทานอะไรแก่เราบ้าง เพราะว่าในเวลามาจากป่า พระราชานั้นทรงเห็นภูเขาลูกหนึ่ง เมื่อเราทูลว่า ถ้าภูเขานี้จะเป็นทอง พระองค์จะประทานอะไรแก่หม่อมฉันบ้าง พระองค์ยังตรัสว่า เธอเป็นใครฉันจักไม่ให้อะไรเลย แม้ของที่สละได้ง่ายพระองค์ก็ไม่ทรงเสียสละ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 517

เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้ จึงตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

พระราชาเมื่อไม่พระราชทานภูเขาด้วยพระวาจา ชื่อว่าไม่ทรงสละสิ่งที่ควรสละได้ง่าย เมื่อพระราชานั้นพระราชทานอะไรบ้างก็ชื่อว่าได้พระราชทานภูเขาด้วยพระวาจา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุจชํ วต ความว่า ชื่อว่าไม่ทรงสละแม้สิ่งที่อาจสละได้โดยง่าย. บทว่า อททํ ได้แก่ ไม่พระราชทานภูเขาแม้ด้วยสักว่าพระดํารัส. บทว่า กิฺจิ ตสฺส จชนฺตสฺส (๑) ความว่า เมื่อพระราชานั้นผู้อันเราทูลขอแล้วได้ทรงสละภูเขานั้น ชื่อว่าได้ทรงสละอะไรบ้าง. บทว่า วาจาย อททํ (๒) ปพฺพตํ ความว่า ถ้าพระราชานี้อันเราทูลขอแล้วได้พระราชทานภูเขานั้น ซึ่งแม้เป็นทองตามคําพูดของเรา ด้วยพระวาจา คือได้พระราชทานด้วยเพียงสักว่าพระดํารัส. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

บัณฑิตกระทําสิ่งใด พึงพูดสิ่งนั้น ไม่กระทําสิ่งใด ไม่พึงพูดสิ่งนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมกําหนดรู้คนที่ไม่ทําดีแต่พูด.


(๑) ม. อจชนฺตสฺส.

(๒) ม. อทท.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 518

คําอันเป็นคาถานั้นมีใจความว่า ก็คนที่เป็นบัณฑิตกระทําสิ่งใดด้วยกาย พึงพูดถึงสิ่งนั้นด้วยวาจา แม้สิ่งใดไม่ได้กระทํา ก็ย่อมไม่พูดสิ่งนั้น. อธิบายว่า ประสงค์จะให้ก็ควรพูดว่าจะให้ เมื่อไม่ประสงค์จะให้ก็ไม่ควรจะพูดว่าจะให้. เพราะเหตุไร? เพราะบุคคลใด แม้พูดว่าจักให้ ภายหลังกลับไม่ให้ บัณฑิตทั้งหลายย่อมกําหนดรู้บุคคลนั้นว่าไม่ทํา ดีแต่พูดเท็จอย่างเดียว. อธิบายว่า บุคคลกล่าวแต่เพียงคําพูดว่าเราจักให้ แต่ไม่ได้ให้ ก็แต่ว่าสิ่งใดถึงแม้จะไม่ได้ให้ด้วยกายเป็นแต่ให้ด้วยสักว่าคําพูดเท่านั้น สิ่งนั้นชื่อว่าจักเป็นอันได้ก่อนทีเดียวบัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้ว่าบุคคลนั้นเป็นผู้กล่าวเท็จด้วยประการดังกล่าวนี้ แต่คนเขลาทั้งหลายย่อมยินดีชอบใจโดยสักแต่คําพูดเท่านั้น.พระเทวีได้ทรงสดับดังนั้น จึงประคองอัญชลีแล้วตรัสคาถาที่๓ ว่า :-

ข้าแต่พระราชบุตร ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์ทรงประสบความพินาศ แต่พระทัยยังทรงยินดีอยู่ในสัจจะพระองค์ชื่อว่าดํารงมั่นอยู่ในวจีสัจ และสภาวธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺเจ ธมฺเม ได้แก่ ในวจีสัจจะและสภาวธรรม. บทว่า พฺยสนํ ปติโต ความว่า พระทัยของ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 519

พระองค์แม้จะถึงความพินาศ กล่าวคือถูกขับไล่จากแว่นแคว้น ก็ยังทรงยินดีอยู่ เฉพาะในสัจจธรรม.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระเสาวณีของพระเทวี ผู้ตรัสคุณความดีของพระราชาอยู่อย่างนั้น เมื่อจะประกาศคุณความดีของพระเทวีนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

หญิงใด เมื่อสามีขัดสน ก็ขัดสนด้วยเมื่อสามีมั่งคั่ง ก็พลอยมั่งคั่งมีชื่อเสียงด้วยหญิงนั้นแหละ นับว่าเป็นยอดภรรยาของเขาเมื่อสามีมีเงิน หญิงภรรยาก็ย่อมมีเงินเหมือนกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิตฺติมา ความว่า เพียบพร้อมด้วยเกียรติ. บทว่า สา หิสฺส ปรมา ความว่า หญิงใดในเวลาสามีเป็นคนยากจน แม้ตนเองเป็นคนยากจนก็ไม่ละทิ้งสามีนั้น. บทว่าอฑฺฒสฺส ความว่า ในเวลาสามีมั่งคั่ง ก็เป็นคนมั่งคั่ง อนุวรรตตามสามี เป็นผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย. หญิงนั้นแหละ ชื่อว่าเป็นภรรยาชั้นยอดเยี่ยมของเขา. บทว่า สหิรฺสฺส ความว่า ก็เมื่อสามีมีเงินตั้งอยู่ในความเป็นใหญ่ หญิงภรรยาทั้งหลายก็ย่อมมีเงินด้วย ไม่น่าอัศจรรย์เลย.

ก็แหละ พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคุณ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 520

ความดีของพระเทวีว่า ข้าแต่มหาราช พระเทวีนี้ เวลาเมื่อพระองค์มีความทุกข์ ก็ทรงเป็นผู้ร่วมทุกข์อยู่ในป่า ควรจะทรงกระทําความยกย่องพระเทวีนี้. พระราชาทรงระลึกถึงคุณความดีของพระเทวีเพราะคําพูดของพระโพธิสัตว์นั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต เราระลึกถึงคุณของพระเทวีได้ เพราะถ้อยคําของท่าน จึงพระราชทานอิสริยยศทั้งปวงแก่พระเทวีนั้น แล้วตรัสว่า เธอทําให้ฉันระลึกถึงคุณความดีของพระเทวี จึงได้พระราชทานสักการนับถืออย่างใหญ่หลวงแก่พระโพธิสัตว์.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะแล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ผัวและเมียทั้งสองได้ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล. พระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้เป็นกฎมพีนี้ พระเทวีในครั้งนั้น ได้เป็นอุบาสิกานี้ ส่วนอํามาตย์ผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสุจจชชาดกที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 521

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุจิมันทชาดก

๒. กัสสปมันทิยชาดก

๓. ขันติวาทิ-ชาดก

๔. โลหกุมภิชาดก

๕. มังสชาดก

๖. สสปัณฑิตชาดก๗.

๗. มตโรทนชาดก

๘. กณเวรชาดก

๙. ติตฺติรชาดก

๑๐. สุจจชชาดก

จบ ปุจิมันทวรรคที่ ๒