พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. กุฏิทูสกชาดก ว่าด้วยลิงกับนกขมิ้น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35772
อ่าน  865

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 522

๓. กุฏิทูสกวรรค

๑. กุฏิทูสกชาดก

ว่าด้วยลิงกับนกขมิ้น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 522

๑. กุฏิทูสกชาดก

ว่าด้วยลิงกับนกขมิ้น

[๕๘๒] ดูก่อนวานร ศีรษะ มือและเท้าของท่านเหมือนของมนุษย์ เออก็เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงไม่มีเรือนอยู่.

[๕๘๓] ดูก่อนนกขมิ้น ศีรษะ มือและเท้าของเราเหมือนของมนุษย์ก็จริง แต่ปัญญาที่บัณฑิตกล่าวว่าประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ของเราไม่มี.

[๕๘๔] ผู้มีจิตไม่มั่นคง มีจิตกลับกลอก มักประทุษร้ายมิตร มีปกติไม่ยั่งยืนเป็นนิจย่อมไม่มีความสุข.

[๕๘๕] ท่านจงสร้างอานุภาพขึ้น เปลี่ยนปกติเดิมเสียเถิด ดูก่อนวานร ท่านจงสร้างกระท่อมไว้ป้องกันความหนาว และลมเถิด.

จบ กุฏีทูสชาดกที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 523

อรรถกถากุฏีทูสกวรรคที่ ๓

อรรถกถากุฏิทูสกชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุหนุ่มผู้เผาบรรณศาลาของพระมหากัสสปเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า มนุสฺสสฺเสว เต สีสํ ดังนี้.

เรื่องตั้งขึ้นในนครชาชคฤห์. ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระเถระอาศัยนครราชคฤห์อยู่ในอรัญญกุฎี ภิกษุหนุ่ม ๒ รูป การทําการอุปัฏฐากพระเถระ ในภิกษุหนุ่ม ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งเป็นผู้มีอุปการะแก่พระเถระ ส่วนอีกรูปหนึ่งเป็นผู้ว่ายาก กระทํากิจวัตรที่ภิกษุนอกนี้กระทํา ให้เป็นเสมือนตนกระทํา เมื่อภิกษุนั้นตั้งน้ำบ้วนปากเป็นต้นตนเองไปยังสํานักของพระเถระ ไหว้แล้วกล่าวว่า ท่านขอรับ น้ำกระผมตั้งไว้แล้ว ขอท่านจงล้างหน้าเถิดขอรับ เมื่อบริเวณกุฎีอันภิกษุนั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ปัดกวาดไว้แล้ว ในเวลาพระเถระออกมา ตนเองบริหารข้างโน้นข้างนี้ กระทําบริเวณทั้งสิ้นให้เป็นเสมือนตนปัดกวาดไว้. ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรคิดว่า พระหัวดื้อรูปนี้ กระทํากิจวัตรที่เรากระทําให้เป็นเสมือนตนกระทํา เราจักกระทํากรรมของพระหัวดื้อนี้ให้ปรากฏ. เมื่อภิกษุหัวดื้อนั้นฉันในภายในบ้านแล้วมานอนบนเตียงของตนเองนั่นแหละ ผู้ภิกษุสมบูรณ์ด้วยวัตรจึงต้มน้ำสําหรับอาบให้ร้อนแล้ววางไว้หลังซุ้ม. แล้วตั้งน้ำอื่นประมาณกึ่งทะนานไว้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 524

บนเตา. ภิกษุหัวดื้อนอกนี้ตื่นนอนแล้วมา เห็นไอน้ำพลุ่งขึ้นจึงคิดว่าภิกษุนั้นจักต้มน้ำให้เดือดแล้วตั้งไว้ในซุ้ม จึงไปยังสํานักของพระเถระแล้วกล่าวว่า ท่านขอรับกระผมตั้งน้ำไว้ในซุ้มสําหรับอาบแล้ว ขอนิมนต์อาบเถิด. พระเถระกล่าวว่า จักอาบ แล้วมาพร้อมกับภิกษุหัวดื้อนั้น ไม่เห็นน้ำในซุ้มจึงถามว่า น้ำอยู่ที่ไหน น้ำอยู่ที่ไหน?ภิกษุนั้นจึงรีบไปยังโรงไฟ หย่อนกระบวยลงในภาชนะเปล่า กระบวยกระทบพื้นภาชนะเปล่งเสียงดังฆระ ตั้งแต่นั้นมาภิกษุนั้นจึงมีชื่อว่าอุฬุงกสัททกะ. ขณะนั้น ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรจึงนําน้ำมาจากหลังซุ้มแล้วกล่าวว่า อาบเถิด ท่านขอรับ. พระเถระอาบน้ำแล้วรําพึงอยู่ ได้รู้ว่าพระอุฬุงกสัททกะเป็นคนหัวดื้อ จึงโอวาทพระอุฬุงกสัททกะนั้นผู้มายังเถระอุปัฏฐากในตอนเย็นว่า ผู้มีอายุธรรมดาสมณะกล่าวสิ่งที่ตนทําเท่านั้นว่าเราทํา จึงควร กล่าวโดยประการอื่นไป ย่อมเป็นสัมปชานมุสาวาท กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้ตั้งแต่นี้ไปเธออย่าได้การทํากรรมเห็นปานนี้. พระอุฬุงกสัททกะนั้นโกรธพระเถระ. วันรุ่งขึ้น จึงไม่เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตกับพระเถระ.พระเถระจึงเข้าไปบิณฑบาตพร้อมกับภิกษุนอกนี้. ฝ่ายพระอุฬุงกสัททกะได้ไปยังตระกูลอุปัฏฐากของพระเถระ เมื่อเขากล่าวว่าพระเถระไปไหนขอรับ จึงกล่าวว่า พระเถระนั่งอยู่ในวิหารนั่นแหละ เพราะไม่ผาสุก เมื่อเขากล่าวว่า ได้อะไรจึงจะควรขอรับจึงกล่าวว่า ท่านจงให้สิ่งนี้และสิ่งนี้ แล้วถือเอาไปยังที่ชอบใจของตน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 525

ฉันแล้วจึงได้ไปยังวิหาร. วันรุ่งขึ้น พระเถระไปยังตระกูลนั้นแล้วนั่ง.คนทั้งหลายจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าไม่มีความผาสุกหรือได้ยินว่า เมื่อวานท่านนั่งอยู่แต่ในวิหารเท่านั้น พวกกระผมส่งอาหารไปถวายกะมือภิกษุหนุ่มชื่อโน้น พระผู้เป็นเจ้าบริโภคอาหารแล้วหรือ.พระเถระได้นิ่งเสีย กระทําภัตกิจแล้วไปยังวิหาร เรียกพระอุฬุงกสัททกะผู้มาในเวลาบํารุงพระเถระในเวลาเย็นแล้วกล่าวว่า อาวุโสได้ยินว่า เธอขอในตระกูลชื่อโน้นในบ้านชื่อโน้นว่า การได้สิ่งนี้และสิ่งนี้ ย่อมควรแก่พระเถระแล้วบริโภคเสียเอง แล้วกล่าวว่าขึ้นชื่อว่าการขอย่อมไม่ควร เธออย่าประพฤติอนาจารเห็นปานนี้อีก.พระอุฬุงกสัททกะผูกความอาฆาตในพระเถระ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ คิดว่า แม้เมื่อวานนี้ พระเถระนี้ก็กระทําความทะเลาะกับเราเพราะอาศัยเหตุสักว่าน้ำ มาบัดนี้ท่านอดกลั้นไม่ได้ว่า เราบริโภคภัตกํามือหนึ่งในเรือนป่องพวกอุปัฏฐากของท่าน จึงกระทําการทะเลาะอีกเราจักรู้กิจที่ควรทําแก่พระเถระนี้ วันรุ่งขึ้น เมื่อพระเถระเข้าไปบิณฑบาต จึงถือไม้ค้อนทุบภาชนะเครื่องใช้ทั้งหลาย เผาบรรณศาลาแล้วหลบหนีไป. พระอุฬุงกสัททกะนั้น ยังมีชีวิตอยู่แล เป็นมนุษย์เพียงดังเปรต ผอมโซ กระทํากาละแล้วได้บังเกิดในอเวจีมหานรก.อนาจารนั้นที่พระอุฬุงกสัททกะนั้นกระทําได้ปรากฏไปในท่ามกลางมหาชน. ครั้งนั้น ภิกษุพวกหนึ่งจากกรุงราชคฤห์มานครสาวัตถีเก็บบาตรจีวรไว้ในที่ที่เป็นสภาคกัน ณ ที่ที่มาถึง แล้วไปยังสํานัก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 526

ของพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่. พระศาสดาทรงกระทําปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสถามว่า พวกเธอมาแต่ไหน?ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า มาจากกรุงราชคฤห์ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า ใครเป็นอาจารย์ให้โอวาทในที่นั้น. ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระมหากัสสปเถระ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่ากัสสปเป็นสุขสบายดีหรือ. ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้าพระเถระเป็นสุขสบายดี แต่สัทธิวิหาริกของท่านโกรธในโอวาทที่ท่านให้ แม้เมื่อพระเถระเข้าไปเพื่อบิณฑบาต ก็ถือไม้ค้อนทุบภาชนะเครื่องใช้ทั้งหลายเผาบรรณศาลาของพระเถระ แล้วหลบหนีไป.พระศาสดาใช้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย การเที่ยวไปผู้เดียวเท่านั้นแห่งกัสสป ประเสริฐกว่าการเที่ยวไปกับคนพาลเห็นปานนี้ แล้วตรัสพระคาถาในพระธรรมบทนี้ว่า :-

บุคคลเมื่อจะเที่ยวไป ถ้าไม่ประสบคนที่ดีกว่า หรือคนเช่นกับตน พึงทําการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นไว้ เพราะความเป็นสหายในคนพาลย่อมไม่มี.

ก็แหละ ครั้นตรัสคาถานี้แล้ว จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมาตรัสอีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เป็นผู้ประทุษร้ายกุฎีในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้เป็นผู้ประทุษร้ายกุฎีมาแล้วเหมือนกัน และย่อมโกรธผู้ให้โอวาทแต่ในบัดนี้เท่านั้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 527

ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็โกรธแล้วเหมือนกัน อันภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกําเนิดนกขมิ้น เจริญวัยแล้ว. กระทํารังฝนรั่วรดไม่ได้เป็นที่ชอบใจของตน อยู่ในหิมวันตประเทศ ครั้งนั้น ลิงตัวหนึ่ง เมื่อฝนตกไม่ขาดเม็ดในฤดูฝน ถูกความหนาวบีบคั้น นั่งกัดฟันอยู่ในที่ไม่ไกลพระโพธิสัตว์. พระโพธิ-สัตว์เห็นลิงนั้นลําบากอยู่อย่างนั้น เมื่อจะเจรจากับลิงนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนวานร ศีรษะ มือ และเท้าของท่านเหมือนของมนุษย์ เมื่อเป็นเช่นนั้นเพราะเหตุไรหนอ เรือนของท่านจึงไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วณฺเณน แปลว่า เพราะเหตุ.ด้วยบทว่า อคารํ นี้ นกขมิ้นถามว่า เพราะเหตุไร เรือนเป็นที่อยู่อาศัยของท่านจึงไม่มี.

วานรได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนนกขมิ้น ศีรษะ มือและเท้าของเราเหมือนของมนุษย์ก็จริง แต่ปัญญาที่บัณฑิตกล่าวว่าประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ของเราไม่มี.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 528

ในคาถานั้น ลิงเรียกนกนั้นโดยชื่อว่า สิงคิละ. บทว่ายาหุ เสฏา มนุสฺเสสุ ความว่า วิจารณปัญญาของเรา ที่บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ย่อมไม่มี ศีรษะ มือ เท้าและกําลังกายเป็นต้น ไม่เป็นประมาณในโลก วิจารณปัญญาเท่านั้นประเสริฐสุด วิจารณปัญญานั้น ไม่มีแก่เรา เพราะฉะนั้น เรือนของเราจึงไม่มี.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าว ๒ คาถานอกนี้ว่า :-

ผู้มีจิตไม่มั่นคง มีจิตกลับกลอกมักประทุษร้ายมิตร มีปกติไม่ยั่งยืนเป็นนิจย่อมไม่มีความสบาย.

ท่านจงสร้างอานุภาพขึ้นเถิด จงเปลี่ยนปกติเดิมเสียเถิด ดูก่อนกระบี่ ท่านจงสร้างกระท่อมไว้ป้องกันความหนาวและลมเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนวฏิตจิตฺตสฺส ได้แก่ผู้มีจิตไม่ตั้งอยู่เฉพาะแล้ว. บทว่า ทุพฺภิโน แปลว่า ผู้มีปกติประทุษร้ายมิตร. บทว่า อทฺธุวสีลสฺส ได้แก่ ผู้รักษาปกติไว้ตลอดทุกกาลไม่ได้. บทว่า โส กรสฺสานุภาวํ ตฺวํ ความว่าดูก่อนลิงผู้สหาย ท่านนั้นจงอาศัยอานุภาพ คือกําลังสร้างขึ้น เพื่อทําปัญญาให้เกิดขึ้น. บทว่า วีติวตฺตสฺสุ สีลิยํ ความว่า ท่านจง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 529

ก้าวล่วงความปกติ คือ ความเป็นผู้ทุศีลเสีย จงเป็นผู้มีศีล. บทว่ากุฏิกํ ความว่า ท่านจงกระทํากระท่อมคือรัง ได้แก่เรือนเป็นที่อยู่หลังหนึ่งของตน อันสามารถป้องกันความหนาวและลม.

ลิงคิดว่า อันดับแรก เจ้านกนี้บริภาษเรา เพราะความที่ตนจับอยู่ในที่ที่ฝนไม่รั่วรด เราจักไม่ให้มันจับอยู่ในรังนี้ ลําดับนั้นมันมีความประสงค์จะจับพระโพธิสัตว์ จึงโลดแล่นมา. พระโพธิสัตว์จึงบินไปในที่อื่น ลิงจึงทําลายรังกระทําให้ละเอียดเป็นจุรณวิจุรณแล้วหลีกไป.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ลิงในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้เผากุฎีในครั้งนี้ ส่วนนกขมิ้นในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถากุฏิทูสกชาดกที่ ๑