พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. พรหมทัตตชาดก ว่าด้วยผู้ขอกับผู้ถูกขอ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35774
อ่าน  478

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 538

๓. พรหมทัตตชาดก

ว่าด้วยผู้ขอกับผู้ถูกขอ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 538

๓. พรหมทัตตชาดก

ว่าด้วยผู้ขอกับผู้ถูกขอ

[๕๙๐] ดูก่อนมหาบพิตร ผู้ขอย่อมได้ ๒ อย่างคือ ได้ทรัพย์หรือไม่ได้ทรัพย์ แท้จริงการขอมีอย่างนี้เป็นธรรมดา.

[๕๙๑] ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่ในปัญจาลรัฐบัณฑิตกล่าวถึงการขอว่า เป็นการร้องไห้ ผู้ใดปฏิเสธคําขอ บัณฑิตกล่าวคําปฏิเสธของผู้นั้นว่า เป็นการร้องไห้ตอบ.

[๕๙๒] ชาวปัญจาลรัฐผู้มาประชุมกันแล้ว อย่าได้เห็นอาตมภาพผู้กําลังร้องไห้อยู่ หรืออย่าได้เห็นพระองค์ผู้ทรงกรรแสงตอบอยู่ เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงปรารถนาขอเฝ้าในที่ลับ.

[๕๙๓] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอถวายวัวแดงหนึ่งพันพร้อมด้วยวัวจ่าฝูงแก่ท่านอันอารยชนได้ฟังคาถาอันประกอบด้วยเหตุ-ผลของท่านแล้ว ทําไมจะไม่พึงให้แก่ท่านผู้เป็นอารยชนเล่า.

จบ พรหมทัตตชาดกที่ ๓

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 539

อรรถกถาพรหมทัตตชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยเมืองอาฬวีประทับอยู่ ณ อัตตาฬวเจดีย์ ทรงปรารภกุฏิการสิกขาบท จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า ทฺวยํ ยาจนโก ราช ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันมีมาแล้วในมณิขันธชาดก ในหนหลังนั่นเอง.แต่ในเรื่องนี้ พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าพวกเธอมากไปด้วยการขอ มากไปด้วยการทําวิญญัติอยู่ จริงหรือเมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จึงทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้ผู้อันพระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินปวารณาไว้ปรารถนาจะขอร่มใบไม้ และรองเท้าชั้นเดียวคู่หนึ่ง ก็ไม่ขอในท่ามกลางมหาชน เพราะกลัวหิริโอตตัปปะร้าวฉาน จึงได้กล่าวขอในที่ลับแล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าปัญจาลราชครองราชสมบัติอยู่ในอุตตรปัญจาลนคร กบิลรัฐ พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ในบ้านตําบลหนึ่ง เจริญวัยแล้วไปเมืองตักกศิลาเรียนศิลปะทั้งปวงในกาลต่อมา ได้บวชเป็นดาบส เลี้ยงชีพด้วยมูลผลาผลของป่า ด้วยการแสวงหา อยู่ในหิมวันตประเทศช้านาน เมื่อจะเที่ยวไปยังถิ่นมนุษย์เพื่อต้องการเสพรสเค็มและรสเปรี้ยวจึงไปยังอุตตรปัญจาลนคร

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 540

อยู่ในพระราชอุทยาน วันรุ่งขึ้น เมื่อจะแสวงหาภิกษาจึงเข้าไปยังพระนคร ถึงประตูพระราชวัง. พระราชาทรงเลื่อมใสในอาจาระของพระดาบสนั้น จึงนิมนต์ให้นั่งในท้องพระโรง ให้ฉันโภชนะอันควรแก่พระราชา ถือเอาปฏิญญาแล้วให้อยู่ในพระราชอุทยานนั่นแหละ.พระดาบสนั้นฉันอยู่ เฉพาะในพระราชมณเฑียรนั่นเองเป็นประจําเมื่อล่วงฤดูฝนแล้ว มีความประสงค์จะไปยังหิมวันตประเทศตามเดิมจึงคิดว่า เมื่อเราจะเดินทางไป ควรจะได้รองเท้าชั้นเดียวหนึ่งคู่ และร่มใบไม้หนึ่งคัน เราจักทูลขอพระราชา. วันหนึ่ง พระดาบสนั้นเห็นพระราชาเสด็จมายังพระราชอุทยานไหว้แล้วประทับนั่งอยู่ จึงคิดว่า จักทูลขอรองเท้าและร่ม กลับคิดอีกว่า คนเมื่อขอผู้อื่นว่า ท่านจงให้ของชื่อนี้ ชื่อว่าย้อมร้องไห้ ฝ่ายคนอื่นผู้กล่าวว่า ไม่มี ชื่อว่าย่อมร้องไห้ตอบ ก็มหาชนอย่าได้เห็นเราผู้ร้องไห้ อย่าได้เห็นพระราชาร้องไห้ตอบเลย ดังนั้น เราแม้ทั้งสองร้องไห้กันอยู่ในที่ปกปิดเร้นลับจักเป็นผู้นิ่งเงียบ. ลําดับนั้น พระดาบสจึงกราบทูลกะพระราชานั้นว่า ข้าแต่มหาราช อาตมภาพหวังเฉพาะที่ลับ. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงรับสั่งให้พวกราชบุรุษถอยออกไป. พระโพธิสัตว์คิดว่า ถ้าเมื่อเราทูลขอ พระราชาจักไม่ประทานให้ไซร้ ไมตรีของเราก็จักแตกไป เพราะฉะนั้น เราจักไม่ทูลขอ จึงในวันนั้น เมื่อไม่อาจระบุชื่อ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จไปก่อนเถิด อาตมภาพจักรู้ในวันพรุ่งนี้. ในกาลที่พระราชาเสด็จมา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 541

พระราชอุทยานอีกวันหนึ่ง ก็กราบทูลเหมือนอย่างนั้น อีกวันหนึ่งก็กราบทูลเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ รวมความว่า เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นไม่อาจทูลขออย่างนี้เวลาได้ล่วงเลยไป ๑๒ ปี. ลําดับนั้น พระราชาทรงดําริว่า พระผู้เป็นเจ้าของเรากล่าวว่า หวังเฉพาะที่ลับ เมื่อบริษัทถอยออกไปแล้ว ก็ไม่อาจกล่าวคําอะไรๆ เมื่อพระผู้เป็นเจ้าประสงค์จะกล่าวเท่านั้น กาลเวลาล่วงไปถึง ๑๒ ปี อนึ่ง พระผู้เป็นเจ้านั้น ประพฤติพรหมจรรย์มานาน ชะรอยเธอจะระอาใจใคร่จะบริโภคสมบัติ หวังเฉพาะราชสมบัติกระมัง ก็เธอเมื่อไม่อาจระบุชื่อราชสมบัติจึงได้นิ่ง วันนี้เราจักรู้กันละ เธอปรารถนาสิ่งใด เราจักให้สิ่งนั้น ตั้งต้นแต่ราชสมบัติไป. พระราชานั้นเสด็จไปยังพระราชอุทยานทรงนมัสการแล้วประทับนั่ง เมื่อพระโพธิสัตว์กราบทูลว่าอาตมภาพหวังเฉพาะในที่ลับ และเมื่อบริษัทถอยออกไปแล้ว จึงตรัสกะพระโพธิสัตว์นั้นผู้ไม่อาจกราบทูลอะไรๆ ว่า ท่านกล่าวว่า หวังได้ที่ลับ แม้ได้ที่ลับแล้วก็ไม่อาจกล่าวอะไร ตลอดเวลา ๑๒ ปี ข้าพเจ้าขอปวารณาสิ่งทั้งปวงมีราชสมบัติเป็นต้นต่อท่าน ท่านอย่าได้กลัวภัยจงขอสิ่งที่ท่านชอบใจเถิด. พระโพธิสัตว์จึงทูลว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระองค์จักประทานสิ่งที่อาตมภาพทูลขอหรือ. พระราชาตรัสว่าท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักให้. พระโพธิสัตว์ทูลว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร เมื่ออาตมภาพเดินทางไปควรจะได้รองเท้าชั้นเดียวคู่หนึ่งกับร่มใบไม้หนึ่งคัน. พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ สิ่งของมีประมาณ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 542

เท่านี้ ท่านไม่อาจขอจนตลอดเวลา ๑๒ ปีเทียวหรือ. โพธิสัตว์ทูลว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร. พระราชาตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร? ท่านจึงได้กระทําอย่างนี้. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า มหาบพิตร คนผู้ขอว่า ท่านจงให้สิ่งชื่อนี้แก่เรา ชื่อว่าร้องไห้ คนผู้กล่าวว่า ไม่มี ชื่อว่าร้องไห้ตอบ ถ้าพระองค์ถูกอาตมภาพทูลขอจะไม่พระราชทานไซร้ มหาชนจงอย่าได้เห็นการที่อาตมภาพและพระองค์ร้องไห้และร้องไห้ตอบนั้น เพราะฉะนั้น อาตมภาพจึงหวังเฉพาะที่ลับ เพื่อประโยชน์นี้ แล้วได้กล่าวคาถา ๓ คาถาเบื้องต้นว่า :-

ข้าแต่พระเจ้าพรหมทัต ผู้ขอย่อมได้๒ อย่าง คือไม่ได้กับได้ทรัพย์ แท้จริง การขอย่อมมีอย่างนี้เป็นธรรมดา.

ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าชาวปัญ-จาละ บัณฑิตกล่าวการขอว่า เป็นการร้องไห้ผู้ใดปฏิเสธต่อผู้ขอ บัณฑิตกล่าวผู้นั้นว่าเป็นการร้องไห้ตอบ.

ชาวปัญจาละผู้มาประชุมกันแล้ว อย่าได้เห็นอาตมภาพผู้กําลังร้องไห้อยู่ หรืออย่าได้เห็นพระองค์ผู้กําลังกรรแสงตอบอยู่ เพราะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 543

ฉะนั้น อาตมภาพจึงปรารถนาขอเฝ้าในที่ลับ.

บรรดาบทเหล่านั้น พระโพธิสัตว์เรียกพระราชา แม้ด้วยบททั้งสองว่า ราช พฺรหฺมทตฺต. บทว่า นิคจฺฉติ ได้แก่ ย่อมได้เฉพาะ คือ ย่อมประสบ. บทว่า เอวํธมฺมา แปลว่า มีอย่างนี้เป็นสภาวะ. บทว่า อาหุ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าว. บทว่าปฺจาลานํ รเถสภ ได้แก่ ผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้นปัญจาละ. บทว่าโย ยาจนํ ปจฺจกฺขาติ ความว่า ก็ผู้ใดย่อมปฏิเสธต่อผู้ขอนั้นว่าไม่มี. บทว่า ตมาหุ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวแล้ว คือย่อมกล่าวการปฏิเสธนั้นว่า เป็นการร้องไห้ตอบ. บทว่า มํ มาทฺทสํ สุความว่า ชาวปัญจาละผู้อยู่ในแคว้นของพระองค์มาประชุมกันแล้วอย่าได้เห็นอาตมภาพผู้ร้องไห้อยู่เลย.

พระราชาทรงเลื่อมใสในลักษณะแห่งความเคารพของพระโพธิสัตว์ เมื่อจะทรงให้พร จึงตรัสคาถาที่ ๔ ว่า :-

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอถวายวัวแดงหนึ่งพันตัวพร้อมด้วยโคจ่าฝูงแก่ท่านอันอารยชนได้ฟังคาถาอันประกอบด้วยเหตุผลของท่านแล้ว ไฉนจะไม่พึงให้แก่อารยชนเล่า.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 544

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โรหิณีนํ แปลว่า มีสีแดง. บทว่าอริโย ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระคือมารยาท. บทว่า อริยสฺสได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระคือมารยาท. บทว่า กถํ น ทชฺเชความว่า เพราะเหตุไร จะไม่พึงให้. บทว่า ธมฺมยุตฺตา ได้แก่ประกอบด้วยเหตุ.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร อาตมภาพไม่ต้องการวัตถุกาม พระองค์จงประทานสิ่งที่อาตมภาพทูลขอ แล้วรับเอารองเท้าชั้นเดียวกับร่มใบไม้ โอวาทพระราชาว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร ขอพระองค์อย่าทรงประมาท จงรักษาศีล กระทําอุโบสถกรรมเถิด เมื่อพระราชาทรงวิงวอนอยู่นั่นแล ได้ไปยังหิมวันตประเทศ ทําอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดในที่นั้นแล้ว ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ ส่วนดาบสในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาพรหมทัตตชาดกที่ ๓